เนื้อหาวันที่ : 2008-02-08 11:15:00 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8395 views

Lean Six Sigma: คู่หูอันทรงพลัง

การปฏิบัติงานแบบ Lean และ Six Sigma นั้นเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้บรรลุประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน หลายบริษัทได้นำทั้งสองแนวคิดมาช่วยในการลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร ซึ่งผลักดันให้เกิดแนวคิดบูรณาการที่ทำให้ทั้งคน เครื่องมือ เครื่องจักร และกำลังการผลิตทั้งหมดบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน

การปฏิบัติงานแบบ Lean และ Six Sigma นั้นเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้บรรลุประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน หลายบริษัทได้นำทั้งสองแนวคิดมาช่วยในการลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร ซึ่งผลักดันให้เกิดแนวคิดบูรณาการที่ทำให้ทั้งคน เครื่องมือ เครื่องจักร และกำลังการผลิตทั้งหมดบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนด้วยโดย

-           ระบุ และกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะลดต้นทุนลง

-           จัดสรรเครื่องมือที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะควบคุมความแปรปรวนของกระบวนการ และปรับปรุงความสามารถในการคาดการณ์

 .

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการแนวคิด Lean Six Sigma นั้นมีอะไรบ้าง ที่แน่ ๆ ไม่ใช่การลงทุนในเรื่องของทุน (Capital) แต่ต้องมีความเข้าใจถึงการทำงานของธุรกิจ และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้สำหรับทำการเปลี่ยนแปลง

 .

คู่หู : Lean Six Sigma

การเปลี่ยนแปลงการทำงานต้องทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ การจะก้าวไปถึงขั้นสูงสุดได้นั้นต้องค่อย ๆ ก้าวไปทีละขั้นอย่างต่อเนื่องดังรูปที่ 1

 .

.

รูปที่ 1 ขั้นตอนในการดำเนินการ Lean Six Sigma

 .
จากรูปที่ 1 ขั้นตอนในการดำเนินการ Lean Six Sigma ประกอบไปด้วย

1.กำหนดคุณค่า/ตัวชี้วัด (Define Value/Measure) เริ่มแรกสุดจะต้องมีภาพที่ชัดเจนของธุรกิจในการสร้างสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ก่อน บริษัทต้องมีการทบทวนถึงการจัดการสินค้าคงคลัง การบริการลูกค้า การสื่อสาร และคุณภาพ โดยต้องไปสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ และสังเกตกระบวนการที่กำลังจะมาแทนที่ การเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ กับสิ่งที่ควรจะเป็นถูกกระทำเพื่อให้รู้ถึงลำดับความสำคัญก่อนหลังของประเด็นต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการ

.

2.การจัดระเบียบคุณค่า/วิเคราะห์ (Value Streamlining/Analyze) ต้นทุนที่ไม่จำเป็นจะถูกกำจัดออกไปโดยการระบุวัตถุดิบ และหน้าที่ที่ไม่จำเป็น หรือไม่มีคุณค่า และลดเวลาในการตั้งค่าเครื่องจักร (Setup Time) เพื่อลดความสูญเปล่าที่ไม่จำเป็น

.

3.ปรับปรุงการไหลของระบบ และคุณภาพ/ปรับปรุง (Improve System Flow and Quality/Improve) การลดความแปรปรวนโดยการปรับปรุงการไหล และคุณภาพ เพื่อให้ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานมีความชัดเจนมากขึ้น และผิดพลาดน้อยลง การทำเช่นนี้รวมถึงการทำให้ความเร็วของงาน (TAKT) การทำ TPM และ Poka-Yoke เหมาะสมที่สุดและใช้เครื่องมือทางสถิติเข้ามาช่วยในการพิจารณา

.

4.ระบบดึง/ปรับปรุง (Pull System/Improve) ระบบดึงต้องถูกออกแบบ และดำเนินการในลักษณะที่เป็น Make to Order เพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลัง ต้องมีการลดขนาด หรือปริมาณ (Batch Size) ที่ต้องผลิตในแต่ละครั้งลงโดยใช้เทคนิคของ JIT (Just in Time) และ Kanban เข้าช่วยปรับปรุงเวลานำ และลดจำนวนสินค้าคงคลัง

.

5.ความสมบูรณ์ของระบบ/ควบคุม (System Perfection/Control) กระบวนการถูกกำหนดสำหรับการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้สามารถควบคุมความแปรปรวนให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตลอดเวลา

 .

Lean ประสานพลังด้วย Six Sigma

คราวนี้ลองมาดูอีกมุมมองกันบ้างในการดำเนินการ Lean Six Sigma ซึ่งมีความเชื่อเช่นเดียวกันว่าการนำ Lean และ Six Sigma มาใช้ร่วมกันย่อมส่งผลให้เกิดการประสานพลัง และยังเชื่อต่อไปอีกว่าถ้าทั้งสองแนวคิดถูกดำเนินการอย่างสอดคล้อง และสมดุลกันจะเป็นแนวคิด หรือกรอบความคิดที่มีพลังในการลดความแปรปรวน และของเสียของกระบวนการลงได้ โดยที่ Six Sigma เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับปัญหาประเภทที่ว่า หายากแต่แก้ไขง่ายส่วน Lean จะเหมาะกับปัญหา "หาง่ายแต่แก้ไขยาก" ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงได้มีการคิดค้นแนวคิด LPDS (Lean Project Delivery System) โดยนำวิธีการของ Six Sigma เข้ามาใช้ร่วมกับแนวคิดลีนด้วยดังรูป

 .

รูปที่ 2 LPDS และ Six Sigma

 .

จากรูปที่ 2 เห็นได้ว่า LPDS มีอยู่ 5 เฟสด้วยกันตามชื่อในกล่องสี่เหลี่ยม ได้แก่ 1) คำนิยามโครงการ 2) การออกแบบลีน 3) อุปทานลีน 4) การประกอบลีน และ 5) การนำไปใช้ ซึ่งแต่ละเฟสจะมีอยู่ประมาณ 2-3 Module ส่วนที่เชื่อมกัน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ กับการออกแบบกระบวนการสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้ นอกจากนี้การเรียนรู้ยังเกิดขึ้นหลังจากที่มีการดำเนินการผ่านไปแต่ละ Module ซึ่งต้องมีการจัดทำเอกสารสิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่างการทำงานที่เกิดขึ้น

 .

Module ที่อยู่ในกล่องแปดเหลี่ยมจะใช้แนวคิด DMAIC เนื่องจากแนวคิดนี้เหมาะกับการสำรวจ และปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่แล้ว เช่น กระบวนการติดตั้งกำลังประสบปัญหาจากความแปรปรวนของผลการดำเนินงานเนื่องจากการส่งมอบช้าของวัตถุดิบ อุปกรณ์ การออกแบบผิดพลาด การเปลี่ยนคำสั่งซื้อ เครื่องจักรหยุดทำงาน หรืออาจจะเป็นอุบัติเหตุชั่วครั้งชั่วคราวเหล่านี้ DMAIC สามารถช่วยในการระบุ และกำจัดสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ได้

 .

ส่วน Module ที่อยู่ในวงกลมจะใช้แนวคิด DFSS ซึ่งเหมาะกับกระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อกระบวนการที่มีอยู่เดิม วิธีการที่ถูกใช้ใน DFSS เป็นการขยายออกมาจาก DMAIC ที่ใช้สำหรับกระบวนการที่มีอยู่ เป้าหมายของ DFSS คือเพื่อให้บรรลุความต้องการของลูกค้าทั้งภายใน และภายนอกตั้งแต่เริ่มต้น ตัวนี้สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลักษณะงานที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณ และเวลาที่จำกัด

 .

ประโยชน์ที่ได้รับ

ด้วยการคิดแบบ Lean และการใช้ประโยชน์จาก Six Sigma จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้ ตัวอย่างของการปรับปรุง Lean Six Sigma มีดังนี้

-           สินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ สินค้าที่อยู่ระหว่างกระบวนการ หรือสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วลดลงไปเกือบ 90%

-           เพิ่มความสามารถของกระบวนการ และลด DPM

-           เวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนถึงส่งมอบเร็วขึ้น เวลานำถูกลดลงอย่างมาก

-           คุณภาพเกิดขึ้นทุกขั้นตอน และการตอบกลับของข้อมูลรวดเร็วขึ้น

-           ความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และการตอบสนองต่อลูกค้าดีขึ้นด้วย

-           ต้นทุนลดลง

.

สรุป

ในบทความนี้ได้นำเสนอการดำเนินการแนวคิด Lean Six Sigma ทั้ง 2 มุมมองพร้อมทั้งเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการในแต่ละช่วงของการดำเนินการ โดยทั้ง 2 มุมมองเห็นตรงกันว่าการนำเอาทั้ง 2 แนวคิดมาใช้ร่วมกันย่อมเกิด Synergy โดยข้อดีของ Six Sigma คือการลด และควบคุมความแปรปรวนที่อาจเกิดขึ้นในน้อยที่สุด ส่วน Lean นั้นมีข้อดีตรงที่พยายามหา และกำจัดสิ่งที่ไร้สาระ หรือสูญเปล่าทิ้งไป เมื่อนำทั้ง 2 แนวคิดมาใช้จะก่อให้เกิดกระบวนการที่มีแต่คุณค่า และมีความแปรปรวนน้อยที่สุด และท้ายที่สุดแล้วผู้ที่ได้ประโยชน์คงไม่ใช่แค่บริษัทที่ทำเท่านั้น แต่เป็นผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ด้วย

 .

เอกสารอ้างอิง

Abdelhamid, T. S. “Six-Sigma in Lean Construction Systems: Opportunities and Challenges”

Tefen. “Lean Operations & Six Sigma: A Powerful Combination” http://www.tefen.com/industries.asp?pageInstanceId=147

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด