เนื้อหาวันที่ : 2008-01-24 16:59:37 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5199 views

จับตาโฟโตนิกส์ในไต้หวันเสือเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

ในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานักวิจัยชาวไต้หวันจำนวนมากที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาและทำงานในอุตสาหกรรมของอเมริกาอย่างที่ General Electric, IBM, HP ได้ทยอยกันกลับมาสู่ไต้หวันเพื่อหางานที่ดีด้วยค่าตอบแทนที่ดึงดูดใจ หรือได้กลับมาตั้งบริษัทของตัวเอง การตั้งบริษัทและการหาเงินทุนนั้นง่ายมากเพราะมีแหล่งทุนจำนวนมากพร้อมที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจนี้

Peter Shih ผู้ก่อตั้งองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทางด้านโฟโตนิกส์ในไต้หวัน PIDA (Photonics Industry and Technology Development Association) ได้กล่าวถึงกิจการ Op toe lectronics ภายในประเทศกับ Oliver Gradon ผู้สื่อข่าวของนิตยาสาร OLE Magazine

 

 

.

รูปที่ 1 Peter Shih ผู้ก่อตั้งองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทางด้านโฟโตนิกส์ในไต้หวัน (PIDA)

.

ถาม  PIDA มีมาเพื่ออะไร ?

ตอบ PIDA ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ขณะที่ผมใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศได้พบว่าองค์กรอย่าง ITIDA ของญี่ปุ่น และ องค์กร OIDA ของสหรัฐอเมริกา ให้การสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องโฟโตนิกส์เป็นอย่างมาก ดังนั้นหลังจากที่ผมกลับมายังไต้หวันได้เสนอให้รัฐบาลก่อตั้งองค์กรเพื่อส่งเสริมและให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภายในประเทศทางด้านนี้ โดยจุดประสงค์หลักของ PIDA คือการกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมโฟโตนิกส์ มีทั้งการให้บริการ, การให้ข้อมูล, และการสนับสนุน เช่นการจัดงานแสดงเพื่อส่งเสริม และการให้ข้อมูลทางการตลาด

.

ถาม อุตสาหกรรมโฟโตนิกส์เริ่มขึ้นในไต้หวันได้อย่างไร ?

ตอบ ประมาณ 20 ปีที่แล้ว อุตสาหกรรมด้าน Op toe lectronics แทบไม่มีเลยในไต้หวัน มีเพียงกิจการบรรจุและประกอบหลอด LEDs ด้วยการใช้แรงงานราคาถูก และมีบริษัทข้ามชาติจากอเมริกาและญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนบ้างเนื่องจากต้นทุนการดำเนินการต่ำเป็นแรงดึงดูด

.

แม้ว่าไต้หวันในขณะนั้นแทบไม่มีกิจการด้านนี้เลย แต่ไต้หวันมีอุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์ (PC) ที่แข็งแกร่งมาก และนั่นเป็นจุดสำคัญมากเพราะ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เองก็กำลังเดินหน้าเข้าหาโฟโตนิกส์เทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีทางด้านออปติก อย่างเช่นในอุปกรณ์จำพวก สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล เลเซอร์พรินเตอร์ ตัวเก็บข้อมูล CD/DVD ด้วยวิธีออปติก และจอภาพแบน

.

ซึ่ง ณ เวลานั้นจอแสดงภาพยังเป็นจอแบบ CRT และการเก็บข้อมูลยังใช้แผ่นดิสก์แม่เหล็กอยู่  อย่างไรก็ตามนั่นทำให้เราได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยุคโฟโตนิกส์ที่กำลังมาถึง และได้ตระหนักว่าสักวันหนึ่งอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ PC จะกลายเป็นแบบออปติกทั้งหมด ปัจจุบันหลังจากที่ผ่านมาแล้ว 20 ปี สิ่งที่เราคิดได้เป็นจริงขึ้นมาแล้ว เกิดเป็นธุรกิจในวงเงินถึง 25 พันล้านดอลลาร์ ($ 25bn )

.

ถาม ทำอย่างไรไต้หวันถึงได้มีความแข็งแกร่งมากทางด้าน Op toe lectronics ?

ตอบ สิ่งสำคัญที่นำมาซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้คือ นโยบายของรัฐบาลเพราะรัฐบาลเลือกที่จะลงทุนเพื่อการพัฒนาสินค้าโฟโตนิกส์ ถึงแม้จะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงและมีอัตราภาษีสูง นอกจากนี้การใช้วิธีการโปรโมต การจัดสัมมนา และสื่อมวลชนร่วมกันส่งเสริมในครั้งนี้ด้วย และเงินทุนส่วนหนึ่งได้ให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยพัฒนาและการอบรมในสาขานี้โดยเฉพาะ โดยในช่วง 4 ปีส่าสุดเราได้ตั้งโครงการวิจัยและพัฒนาโฟโตนิกส์ในประเทศแบ่งออกเป็น 3 ระยะในแต่ล่ะปี เป็นวงเงินถึง 480 ล้านยูโร (€ 480m)

.

ในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานักวิจัยชาวไต้หวันจำนวนมากที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาและทำงานในอุตสาหกรรมของอเมริกาอย่างที่ General Electric, IBM, HP ได้ทยอยกันกลับมาสู่ไต้หวันเพื่อหางานที่ดีด้วยค่าตอบแทนที่ดึงดูดใจ หรือได้กลับมาตั้งบริษัทของตัวเอง การตั้งบริษัทและการหาเงินทุนนั้นง่ายมากเพราะมีแหล่งทุนจำนวนมากพร้อมที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจนี้

.

ถาม ปัจจุบันสถานการณ์ในไต้หวันเป็นอย่างไร ?

ตอบ ปัจจุบันนี้มีผู้ประกอบการด้าน Op toe lectronics ในไต้หวันกว่า 1000 แห่ง แบ่งเป็นผู้ผลิต 700 แห่ง ผู้จัดจำหน่าย 200 แห่ง และการลงทุนจากต่างชาติอีก 100 แห่ง  โดยส่วนมากอุตสาหกรรมในประเทศเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงกลาง  SMEs  ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อุตสาหกรรมส่วนมากมักจะตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ไต้หวัน และปัจจุบันนี้ถือได้ว่าไต้หวันเป็นผู้ผลิตสินค้าหลาย ๆ ประเภทติดอันดับโลก (World’s Number One Producer) ส่วนผลิตภัณฑ์โฟโตนิกส์ 10 อันดับแรกเมื่อปีที่แล้วมีมูลค่าสูงถึง16 พันล้านดอลลาร์  ($ 16bn)   ซึ่งเป็นสินค้าประเภทจอTFT-LCD, CD/DVD ไดร์ฟ, กล้องดิจิตอล และหลอดLEDs โดยมีบางบริษัท เช่น  BenQ และ Au Optronics เป็นผู้ผลิตจอแบน LCD ซึ่งกำลังเติบโตเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นและสร้างชื่อของตัวเองสู่สากล 

.

ถาม สำหรับอนาคตจะเป็นอย่างไร ?

ตอบ ไต้หวันถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการเปลี่ยนสถานะจากการเป็นแหล่งผลิตสินค้าด้วยแรงงานราคาถูกไปสู่ผู้ผลิตที่มีความชำนาญในเทคโนโลยีขั้นสูง (High-tech) ส่วนกิจการประกอบและบรรจุที่อาศัยแรงงานราคาถูกให้ย้ายไปที่จีนแผ่นดินใหญ่ เสมือนเป็นการย้ายสถานะธุรกิจแรงงานคนไปสู่ระบบอัตโนมัติด้วยเงินลงทุนที่สูงขึ้น ซึ่งอนาคตสถานการณ์จะดำเนินไปเช่นนี้

.

ทำให้ไต้หวันในปัจจุบันตระหนักถึงความสำคัญของการมีหน่วยวิจัยและพัฒนา R&D และ IP (Intellectual Property) เป็นของตัวเอง นำไปสู่การสร้างนัยสำคัญใหม่ในการติดต่อกับมหาวิทยาลัย  เช่นการร่วมกันสร้างศูนย์วิจัย R&D จากการเติบโตดังกล่าวทำให้ปัจจุบันเกิดความขาดแคลนวิศวกรด้าน Op toe lectronics ในไต้หวันอย่างหนัก เฉพาะในปีนี้มีตำแหน่งวิศวกรด้านนี้เปิดรับมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง

.

สำหรับเราแล้วคงเป็นเรื่องยากที่จะแข่งขันกับอเมริกาและญี่ปุ่น แต่เพราะความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมกับญี่ปุ่นในเรื่องจอ LCD และอเมริกาด้านสินค้า OEM ได้เปิดช่องทางการแข่งขันให้เรา โดยหนทางเดียวที่อุตสาหกรรมไต้หวันจะประสบความสำเร็จได้คือการผลิตสินค้ามูลค่าสูง และการสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ขึ้น โดยเทคโนโลยี 4 ประเภทที่จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ กระบวนการส่งถ่ายข้อมูลความเร็วสูงหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ”tera-photonics”, Nanophotonics, Poly-photonics เช่น  OLED ไดโอดเป็นแหล่งกำเนิดแสงแบบ Organic, และ Biophotonics

.

ถาม จะมีบริษัทไต้หวันที่สามารถโตจนสร้าง Brand name ของตัวเองได้ไหม ?

ตอบ ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาไต้หวันได้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบการผลิตแบบหลบซ่อน “hidden” (OEM Modules) ซึ่งหมายถึงการผลิตที่ประกอบสินค้าให้กับบริษัทข้ามชาติที่มีชื่อเสียงอย่าง IBM นั่นทำให้นักธุรกิจจำนวนมากยังเชื่อว่าการทำธุรกิจแบบ OEM Modules คือเส้นทางสู่ความสำเร็จ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้าง Brand name ของตัวเองออกสู่สากล เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลารวมกับความพยายามอย่างมาก แต่ก็มียังบางบริษัทเช่น Acer และ BenQ กำลังเติบโตเป็นที่รู้จักกันนอกไต้หวันมากขึ้นด้วย Brand name ของตัวเอง

.

รูปที่ 2 ผลิตภัณฑ์โฟโตนิกส์ 10 อันดับแรก

.

ไต้หวันกองกำลังสำคัญด้านโฟโตนิกส์

ภายในทศวรรษที่ผ่านมาไต้หวันได้ผันตัวเองเข้าสู่ความเป็นผู้ผลิตชั้นนำของโลกในการผลิตดิสก์ไดรฟ์ออปติก จอแบน และหลอด LEDs เป็นเหตุให้ Oliver Graydon ผู้สื่อข่าวของนิตยาสาร OLE Magazine ต้องเข้าไปหาข้อมูลในเรื่องนี้ถึงเกาะไต้หวันเพื่อศึกษาการลงทุนในด้านโฟโตนิกส์ที่นั่น

.

ตามคลื่นการเจริญเติบโตอย่างน่าจับตามองที่ตามมาหลังจากอุตสาหกรรม PC หลังยุค 1980s ทำให้ไต้หวันกำลังหันเข้าหาโฟโตนิกส์เพื่อคงไว้ซึ่งความสำเร็จทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 เกาะอุตสาหกรรม Op toe lectronics นี้กำลังรุ่งเรืองในฐานะเป็นแหล่งผลิตของสินค้าที่โลกต้องการเช่น กล้องดิจิตอล จอแบน และดิสก์เก็บข้อมูลแบบออปติก

.

ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ราคาถูกผสมผสานกับความเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์  และความพร้อมของแหล่งลงทุนใหญ่ ๆ รวมทั้งมีวิธีการพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว นำไต้หวันไปสู่การสร้างอุตสาหกรรม Op toe lectronics ที่จะนำมาซึ่งผลกำไรมหาศาล ได้ภายในทศวรรษเดียวจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นี้

.

นับตั้งแต่การเปิดตัว Op toe lectronics ในไต้หวันกลางยุค 1990s ได้เกิดปรากฏการณ์การเติบโตในส่วนนี้เป็นอย่างมาก และได้เพิ่มผู้ประกอบการกว่า 1000 บริษัทในธุรกิจด้านนี้ ที่ผลิตทุกอย่างจากเลเซอร์ไดโอด และหลอด LEDs ถึงจอแสดงภาพแบน LCD และ CD/DVD ไดรฟ์แบบออปติก

.

จากข้อมูลของ PIDA องค์กรพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมด้านโฟโตนิกส์ในไต้หวัน มูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้านออปติกที่ผลิตในไต้หวันปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 25 พันล้านดอลลาร์ ($ 25bn)  เป็นตัวเลขที่น่าประทับใจจริง ๆ โดยเฉพาะถ้าเทียบกับเมื่อ 5 ปีที่แล้วมีมูลค่าเพียง 5 พันล้านดอลลาร์ และเมื่อ 10 ปีที่แล้วมีมูลค่าแค่ 2 พันล้านดอลลาร์ และ PIDA ยังได้ทำนายไว้อีกว่าอัตราการเติบโตนี้จะไม่หยุดและจะดำเนินต่อไปแบบนี้อย่างต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้าด้วยอัตราการโตถึง 17% จะทำให้มูลค่าการผลิตทะลุ 24 พันล้านยูโร ( 24 bn) ในปี ค.ศ.2006

.

รูปที่ 3 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ด้านออปติก

.

ตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือช่วงสิบปีที่ผ่านมาชิ้นส่วน Op toe lectronics ได้ถูกนำเข้าไปประกอบในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขว้าง และเป็นสินค้าที่ไต้หวันปกติได้ผลิตอยู่แล้ว อย่างเช่น ไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และกล้อง ซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ Op toe lectronics ที่ประกอบอยู่ด้วยคือ LCD, เลเซอร์ไดโอด, Imaging Chip หรือชุดของ LEDs ทำให้ผู้ผลิตชาวไต้หวันในขณะนั้นมองเห็นตลาดสินค้าออปติกราคาถูกที่น่าจะให้ผลกำไรดี โดยการผลิตแบบ Mass Production ส่วนเหลือก็เป็นแค่เรื่องราวในอดีต

.

กิจการที่เข้มข้นในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะส่วนของเทคโนโลยีการแสดงผล  ที่เห็นได้จากงานแสดงสินค้าออปติกครั้งใหญ่ในไต้หวันถึง 2 ครั้ง (Taipei Opto Show) ในเดือนเมษายน ท่วมท้นไปด้วยทีวีจอแบนรุ่นล่าสุดชนิด TFT-LCD และ LCD บนเทคโนโลยีซิลิกอน เพียงแค่ 4 วัน ทำให้ทางเดินเท้าใน Taipei World Trade Center เต็มไปด้วยจอรุ่นใหม่นี้ที่มีขนาดใหญ่สุดถึง 50 นิ้ว

.

และในเดือน มิถุนายนต่อมามีงานแสดง PIDA’s Photonics Week 2004 Show ที่สามารถดึงดูดผู้เข้าชมได้กว่า 25,000 คน โดยมีสินค้าที่น่าสนใจ 3 ประเภทหลัก คือ สินค้า op toe lectronics, จอแบน, และการสื่อสารด้วยออปติก ทั้งยังมีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ากว่า 500 ราย  ทำให้รวม ๆ มีบูธเข้าแสดงกว่า 1000 บูท งานนี้ถือได้ว่าเป็นงานแสดงสินค้า ฯๅOp toe lectronics ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในไต้หวัน

.

รูปที่ 4 Taipei Opto Show in April

.

มองย้อนอดีต

ในอดีตด้วยกิจการบรรจุและประกอบในไต้หวันที่มั่นคงอยู่แล้วทำให้อุตสาหกรรม Op toe lectronics ได้เกิดขึ้นจริงในปี ค.ศ.1993 เมื่อ Kio-Hsin Huang ออกจากงานที่ HP ในอเมริกาและได้ย้ายกลับมาที่ไต้หวัน เพื่อร่วมงานกับ United Epitaxy Corporation (UEC) และได้ตั้งโรงงาน MOCVD แห่งแรกในไต้หวัน เพื่อผลิตหลอด LEDs ที่ให้ความคมชัดและสีสดใส

.

เมื่อผ่านไปอีก 5 ปี มีบริษัท  MOCVD เพิ่มขึ้นอีก 20 แห่งที่สามารถสร้าง LEDs และเลเซอร์ไดโอด เช่นบริษัท Epistar (1996) Union Optronics (1996) Kingmax (1998) และ Tekcore (1999) ถึงวันนี้ประมาณได้ว่ามีเครื่องจักรในกระบวนการผลิต MOCVD กว่า 235 เครื่องติดตั้งทั่วไต้หวัน

.

"แนวความคิดในไต้หวันเรื่องการลงทุนคือ ถ้าคุณมีเงินและมีเทคโนโลยี ทำไมไม่ตั้งบริษัท" กล่าวโดย Dan Chen CTO ของ Excellent Op toe lectronics Incorporated (EOI) บริษัทผู้ผลิตจอ LEDs ชั้นนำที่ให้ความคมชัดสูง ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1995 และอยู่ในเครือของ UEC Group ถ้าวันนี้เดินไปรอบ ๆ เกาะไต้หวันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่สังเกตเห็นหลอด LEDs บนสัญญาณไฟถนน บนป้ายโฆษณาใหญ่ ๆ และที่ภายนอกตัวอาคารสมัยใหม่

.

กลางยุค 1990s ได้เห็นการเข้ามาของโฟโตนิกส์เทคโนโลยีในรูปชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เช่น ดิสก์ไดรฟ์แบบออปติก เลเซอร์พรินเตอร์ สแกนเนอร์ และชุดสื่อสารด้วยออปติก ทำให้เกิดการขยายการลงทุนในด้านออปติกมากขึ้น แม้ว่าจะเกิดวิกฤตช่วงขาลงของอุตสาหกรรมเทเลคอมในไต้หวันปี 2001 ซึ่งครั้งนั้นเกิดผลกระทบไปยังเขตอุตสาหกรรมขั้นสูงในทวีปตะวันตกด้วย รวมทั้งใน Silicon Valley และนั่นทำให้ธุรกิจในไต้หวันเติบโตช้าลงเล็กน้อย

.

เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาธุรกิจในส่วนออปติกเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเพราะความนิยมในจอภาพแบน โดยเฉพาะจอ TFT-LEDs และกล้องดิจิตอล ที่มีชิ้นส่วนออปโตอิเล็กทรอนิกส์อยู่ด้วย อย่างเช่น CCD/CMOS, Imaging Senser, และ LCD Viewfinders โดยในปี 2003 ประมาณกันว่ากล้องดิจิตอลกว่า 30 ล้านเครื่องถูกผลิตสู่ตลาดทั่วโลกนี้ไม่นับรวมกล้องแบบเก่า เฉพาะไต้หวันเองได้ผลิตกล้องดิจิตอลกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณดังกล่าว ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จจะอยู่ในชื่อ Brand name ของญี่ปุ่น หรืออเมริกา ในอีก 3 ปีข้างหน้าไต้หวันคาดว่าจะผลิตกล้องดิจิตอลได้มากขึ้นในอัตราเพิ่มขึ้น 25% ต่อปี ส่งให้ยอดจำหน่ายในปี 2006 น่าจะถึง 28.8 ล้านเครื่องต่อปี หรือเท่ากับ 79,000 เครื่องต่อวัน

.

บริษัทส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่งของไต้หวัน เช่น ที่ Hsinchu, TaiChung และ Tainan แต่อุทยานที่ใหญ่ที่สุดคือ Hsinchu ตั้งอยู่ห่างจากรุงไทเปไปทางใต้ประมาณ 1 ชั่วโมงโดยรถยนต์ ครอบคลุมพื้นที่ 632 เฮคเตอร์ (ha) ซึ่งดูเหมือนเป็นเมืองวิทยาศาสตร์มากกว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ Hsinchu ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1980 และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในไต้หวันไปแล้ว โดยในปลายปีที่แล้ว Hsinchu กลายเป็นบ้านของอีกกว่า 370 บริษัทและพนักงานอีกกว่า 100,000 คน โดย 60 บริษัทในนั้นทำธุรกิจด้าน Op toe lectronics และมีการจ้างงานกว่า 20,000 ตำแหน่ง ส่วนอีก 60 บริษัทที่มีพนักงานกว่า 7,000 คน ทำธุรกิจทางด้านเทเลคอม

.

บริษัท HC Photonics เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ตั้งอยู่ใน อุทยาน Hsinchu ผลิต Periodically-poled Lithium Niobate ใช้สำหรับงาน Optics แบบ Nonlinear ก่อตั้งโดย Ming Hsein Chou ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัท ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ OLE ว่า ถึงแม้เขาจะได้สร้างงานวิจัยแรกเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัย Standford ในอเมริกา แต่ทางบริษัทต้องการมาตั้งในไต้หวันเพราะไต้หวันมีข้อดีที่อยู่ติดกับจีนซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจและยังเป็นแหล่งผลิตวิศวกรที่ดีด้วย รวมทั้งเงินทุนในการดำเนินการก็ต่ำมากเมื่อเทียบกับที่ Silicon Valley เป็นต้น"

.

Truelight ผู้ผลิตชั้นนำทางด้าน VCSELs และ PIN Detector ตั้งอยู่ในอุทยาน Hsinchu เช่นกัน ก็ได้รับประโยชน์จากการเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานด้วยเพราะมีความสะดวกในการติดต่อกับบริษัทอื่น ๆ ทั้งยังมีแหล่งวิจัยและพัฒนาที่ดีมาก และมหาวิทยาลัย Tsing Hua ก็ตั้งอยู่ใกล้ ๆ

.

ถึงแม้บริษัทด้าน Op toe lectronics ในไต้หวันจะเป็นบริษัทของขนาดย่อมและขนาดกลาง แต่ก็มีบริษัทใหญ่ๆ เกิดขึ้นมาเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตจอภาพแบน อย่าง AU Optronics (AUO) ซึ่งขณะนี้กลายเป็นผู้ผลิตจอ TFT-LCDs ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ผลิตจอขนาดใหญ่กว่า 10 นิ้วขึ้นไป  AUO ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ กันยายน 2001 จากความร่วมมือของ Acer และ Unipac Op toe lectronics ในปีที่แล้วมีรายงานผลกำไร AUO มูลค่าถึงประมาณ 3.1 พันล้านดอลลาร์ ($ 3.1 bn) บริษัทนี้ได้จ้างงานถึงกว่า 15,500 ตำแหน่งทั่วโลก และมีโรงงานผลิต 4 แห่ง ตั้งอยู่ในอุทยาน Hsinchu, 5 แห่งในอุทยาน Lung Ian และโรงงานใหม่ที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในอุทยาน Tai Chung

.

บริษัท AU ผลิตจอ TFT-LCDs ขนาดระหว่าง1.546 นิ้ว มีผลกำไรและปริมาณการผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเมื่อปีกลายมีปริมาณการผลิตจอ TFT-LCDs คิดเป็น 40% ของการผลิตเป็นจำนวนกว่า 12 ล้านชิ้น ได้ผลกำไรเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ตั้งแต่บริษัทได้ก่อตั้ง โดยผลิตภัณฑ์ล่าสุดมีทั้ง LCD-TVs ที่มีจอขนาดเกิน 30 นิ้ว และได้เปิดตัวไปในงานแสดงจอภาพแบน PIDA’s เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

.

ยังมีอีกหนึ่งบริษัทที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้เช่นกันคือ Chi Mei Op toe lectronics (CMO) เป็นผู้ผลิตจอ TFT-LCDs สำหรับคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ได้ก่อตั้งเมื่อปี 1998 มีการจ้างงานถึง 8,000 ตำแหน่ง และมีโรงงานผลิต 3 แห่งในอุทยานวิทยาศาสตร์ Tainan โดยปีที่แล้วมีการผลิตจอ LCD ถึง 10.2 ล้านชิ้น และได้สร้างผลกำไรถึง 83.4 พันล้านไต้หวันดอลลาร์ (TWD 83.4 bn)

.

และในปีที่แล้ว CMO ได้ประกาศที่จะมีการลงทุนอีก 9 พันล้านดอลลาร์ ($9bn) ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างโรงงาน 3 รุ่น (5, 5.5, 7G)  ที่อุทยาน Tainan โดยโรงงาน 5G ได้ทำการสร้างเรียบร้อยแล้วและขณะนี้อยู่ในช่วงขยายการผลิต ขณะที่โรงงาน 5.5G และ 7G จะสามารถทำการผลิตได้ ในปี 2005 และ 2006 ตามลำดับ แผนการวางไว้ว่าโรงงาน 7G จะใช้ผลิตจอขนาดใหญ่กว่า 40 นิ้ว CMO และ AUO มีส่วนแบ่งตลาดจอ TFT-LCDs ถึง 20% (Share Market) โดยมีบางตลาดทำนายว่าอีกไม่นานนักไต้หวันจะครองตลาดนี้แทนเกาหลีที่ขณะนี้มี Samsung และ LG-Philips เป็นผู้ผลิตหลักในตลาด

.

นอกจาก CMO และ AUO ยังมีบริษัทไต้หวันขนาดเล็กอีกมากเช่น Powertip and Wintek ผลิตจอสี STN/TFT-LCD ขนาดเล็กที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือและบนอุปกรณ์ที่ถอดเคลื่อนย้ายได้ ที่งาน Taipei Opto บริษัท Wintek ได้นำจอ  TFT-LCDs ขนาด 19 นิ้ว สำหรับโทรศัพท์มือถือมาแสดง โดยจอมีสีทั้งหมด 262,000 สี และมีความละเอียด 128 x 60 pixels ซึ่งจอแบบนี้จะเป็นจอรุ่นใหม่บนหน้าปัดโทรศัพท์มือถือรุ่นต่อ ๆ ไป ที่ให้ความคมชัดของภาพสูงมากจนสามารถแสดงภาพในอัตราการแสดงวีดีโอได้

.

รูปที่ 5 หน้าจอโทรศัพท์มือถือ

.

งานวิจัยที่ต้องการ

ดังภาพธุรกิจที่รุ่งเรืองอย่างที่เห็น ไต้หวันทำงานอย่างหนักเพื่อก่อตั้ง R&D เพื่อเป็นฐานสนับสนุนให้กับอุตสาหกรรมโฟโตนิกส์ โดยมีมหาวิทยาลัยรอบ ๆ อุทยาน Hsinchu 2 แห่งคือ Tsing-Hua และ Chiao-Tung ที่มีพื้นฐานด้านการวิจัยในเทคโนโลยีขั้นสูงที่แข็งแกร่ง และสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศที่สำคัญ (ITRI) ที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศซึ่งยังไม่มี R&D เป็นของตัวเอง

.

"ในอเมริกาและญี่ปุ่นจะมีบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากให้การสนับสนุนโครงการวิจัยใหญ่ ๆ ได้ แต่สถานการณ์ในไต้หวันไม่ใช่แบบนั้น เพราะบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในไต้หวันยังเป็นบริษัทขนาดย่อม ดังนั้น ITRI จึงมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนา กล่าวโดย Der Ray Huang รักษาการผู้จัดการทั่วไปของ ITRI’s Op toe lectronics and Systems Labboratories

.

แนวความคิดในเรื่องการตั้ง R&D หรือความสำคัญของงานวิจัยถูกเผยแพร่ในไต้หวันโดย Fanny Huang ประธาน EOI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ UEC Group ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิต LED ที่ติดตั้งเป็นสัญญาณไฟถนน โดยเขาได้กล่าวว่า ในอเมริกาและยุโรปนั้น 30% ของผลกำไรในบริษัทใหญ่ ๆ จะไปอยู่ในส่วน R&D แต่ในไต้หวันเงินที่ลงไปในส่วน R&D ยังน้อยมาก ถึงเราต้องการงานวิจัยที่มากขึ้นแต่งานวิจัยก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมาก"

.

อุตสาหกรรมไฮเทคในไต้หวันยังถือว่าอยู่ในช่วงวัยเด็กแต่อยู่ในสถานะพร้อมที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงแล้ว  จากความรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นบนเกาะนี้ทำให้ ค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับงานที่อาศัยแรงงานราคาถูกในการบรรจุหรือประกอบผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า OEM ได้ย้ายไปที่จีนแผ่นดินใหญ่แล้ว ที่ที่มีค่าแรงถูกกว่า ดังนั้นอุตสาหกรรมไฮเทคในไต้หวันเรียกได้ว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้วโดยจะเหลือเฉพาะการผลิตสินค้าราคาแพง เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และจอภาพแบน ทำให้เกาะไต้หวันต้องเปลี่ยนให้เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมบนฐานความรู้ และต้องสร้าง IP ของตัวเอง (Intellectual Property) ถ้าย้อนไปเมื่อ 15–20 ปีที่แล้วกลุ่มอุตสาหกรรมไต้หวันไม่มีรู้เรื่องเกี่ยวกับ IP เลย ทั้งยังจดจ่ออยู่กับการผลิตสินค้า OEM แต่ปัจจุบันเริ่มมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการมี IP ของตัวเองมากขึ้น

.

จากจุดแข็งเดิมของไต้หวันในเรื่องการเป็นผู้ตามที่ดี ด้วยการรับเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามา แม้จะทำให้ธุรกิจก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วซึ่งเห็นได้จากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ช่วงยุค 1980s แต่ไต้หวันต้องเริ่มสร้างภาพพจน์ของตัวเองใหม่ด้วยการสร้างเทคโนโลยีของตัวเองขึ้น ซึ่งสถานการณ์ในอเมริกาค่อยข้างแตกต่างไปจากที่ไต้หวันมากเพราะบริษัทแต่ละที่ต่างสร้างแนวความคิดใหม่และสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราคาดว่ามันคงจะเป็นแบบนี้ที่ไต้หวันเหมือนกันแต่คงต้องใช้เวลาสักพัก

.

พลังสร้างสรรค์ภายในประเทศกำลังเป็นที่ต้องอย่างมาก และบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยลงเลือกที่จะไปทำงานในต่างประเทศ โดยในอดีตวิธีการนี้เป็นวิธีการนำเข้าแนวความคิดที่ได้ผลที่สุด ขณะที่วิศวกรไต้หวันจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ เลือกที่จะทำงานอยู่ในอเมริกาสัก 2-3 ปี ก่อนที่จะกลับที่ไต้หวัน ในอดีตคนเหล่านั้นจะนำความคิดสร้างสรรค์กลับมาด้วย แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมไต้หวันกำลังรุ่งเรืองนั่นหมายความว่าหลายคนคงเลือกที่จะทำงานในประเทศเพราะมีงานที่ดี และเงินเดือนที่น่าดึงดูดรองรับอยู่ ทำให้เกิดความกังวลขึ้นมาแล้วว่าในอนาคตเราจะไปเอาความคิดใหม่ ๆ มากจากไหนกัน EOI’s Chen กล่าว

.

ITRI แนวความคิดที่สำคัญของ Op toe lectronics ในไต้หวัน

ITRI (The Industrial Technology Research Institute) ก่อตั้งเมื่อปี 1973 ในเวลาซึ่งมีอุตสาหกรรมไฮเทคในประเทศน้อยมาก โดยมีจุดประสงค์ของสถาบันคือการผลิตงานวิจัยที่ไม่ต้องการผลกำไร และเน้นการช่วยให้อุตสาหกรรมในประเทศก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยการสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีและงานวิจัยสู่บริษัทภายในประเทศ

.

ITRI มี R&D 12 ห้องทดลองทั่วไต้หวันและมุ่งไปที่เทคโนโลยี 5 สาขาหลักคือ เซมิคอนดักเตอร์, จอภาพ อุปกรณ์การแพทย์, การสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ/Broad Band และนาโนเทคโนโลยี นับตั้งแต่ปี 2001 ได้จดสิทธิบัตรกว่า 800 ฉบับต่อปี ในปลายปี 2003 ITRI จ้างงานกว่า 6,200 ตำแหน่ง และได้รับเงินทุนจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นเงิน 50 ล้านดอลลาร์ ($500m) ณ ปัจจุบันนี้ต้องขอบคุณงานวิจัยจาก ITRI ที่ทำให้ไต้หวันเป็นผู้ผลิตชั้นนำด้านเซมิคอนดักเตอร์ชิป คอมพิวเตอร์ และสินค้า Op toe lectronics และ ITRI ได้ช่วยให้บริษัทใหม่ ๆ กว่า 100 แห่งอยู่ได้

.

The Op toe lectronics and Systems Laboratories ห้องทดลอง (OES) เป็นสาขาของสถาบัน ITRI ตั้งอยู่ที่ อุทยาน Hsinchu ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ได้ผลิตงานวิจัยด้านการเก็บข้อมูลด้วยวิธีออปติก (CD/DVD และ HD-DVD) การสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูล และจอภาพแบนได้ช่วยเติมกำลังให้อุตสาหกรรมที่มีผลกำไรดีได้โตขึ้นโดยห้องทดลอง OES มีพนักงาน 500 คน  80% ของพนักงานเป็นนักวิจัย ซึ่งห้องทดลองนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นห้องทดลองที่มีความรู้เรื่อง DVD/HD-DVD ที่ดีที่สุดในโลก และยังได้ช่วยให้อีก 6 บริษัทของไต้หวันได้มีห้องทดลอง DVD Class B เป็นของตัวเอง

.

กิจการของ OES-ITRI

1987 OES ได้เริ่มโครงงานวิจัยด้านดิสก์ไดร์ฟ CD/DVD ในช่วง 3 ปีจากนั้นมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยัง 16 บริษัทในประเทศ ได้ช่วยเปิดอุตสาหกรรมใหม่ในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีออปติกขึ้นในไต้หวัน

1996 OES ได้พัฒนาอุปกรณ์ออปติกใหม่ (Optical Engine) ไปใช้งานด้านการฉายโปรเจกชัน ซึ่งรวมทั้งการออกแบบส่วนประกอบเช่น กระจก Dichroic, ปริซึม Dichroic, และ Convertors polarization  โดยเทคโนโลยีนี้ถ่ายทอดให้กับบริษัท Chungwa Pictures Tubes

1990-2000 OES ได้ปรับปรุงเทคโนโลยี Epitaxy ของเซมิคอนดักเตอร์ (MBE/MOCVD) สำหรับการพัฒนาของหลอด LEDs สีแดง เหลือง น้ำเงิน เขียว โด

มี UEC (United Epitaxy Company) และ Epistar รับเทคโนโลยีนี้ไป และสร้างรากฐานการผลิต LED ขึ้นในไต้หวัน

2001 OES ได้พัฒนาเลเซอร์ไดโอด GaN สีน้ำเงินในไต้หวันเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาออปติกไดรฟ์ high-density DVD ต่อ ๆ ไป

2001 OES ประยุกต์ใช้กระบวนการทำงานของ Ink-jet พรินเตอร์ในงานการแสดงผล เช่น สร้างตัวกรองแสงสีของจอ TFT-LCDs และจอ Polymer-LED

2000-2002 OES ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวรับส่ง Ethernet 1.25 และ 2.5 Gbps และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังบริษัท Yfc-Boneagel Electric และ Baycom Op toe lectronics and coretek

.

ข้อมูลอ้างอิง

- OLE July/August 2004

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด