เนื้อหาวันที่ : 2022-10-18 18:09:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 52389 views

ยกระดับการขับเคลื่อนข้อมูลอย่างปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีจาก HPE

โดย นายนครินทร์ เทียนประทีป

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

ถึงตอนนี้ มีงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่า โดยเฉลี่ย 67% ขององค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะเกิดการถดถอยทางธุรกิจ ขณะองค์กรที่มีการเปลี่ยนผ่านจะมีการเติบโตทางธุรกิจราวสองถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม องค์กรยังคงต้องเผชิญกับคลื่นความท้าทายสองประการ ได้แก่

1) การปรับเปลี่ยนอินฟราสตรัคเจอร์ไปสู่เทคโนโลยี Hyper Converged เพื่อแก้ปมปัญหาระบบงานไอทีหลากรุ่นหลายเทคโนโลยี (Multi-Gen IT) ในองค์กร รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกเก็บกระจัดกระจาย (Silo) ตามฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ดีพอสำหรับรองรับการทำงานแบบไฮบริด เพื่อการรับ-ส่งข้อมูลหรือภาระงานต่าง ๆ ที่ข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ ระบบที่ใช้งานในองค์กร (On Premise) แอปพลิเคชัน หรือ อินฟราสตรัคเจอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องการความปลอดภัยจากแรนซั่มแวร์ในระดับสูง

 2) การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล (Data Driven) ซึ่งทวีความสำคัญต่อการเสริมสร้างรายได้และชี้ทิศทางความเป็นไปของธุรกิจ ดังนั้น ในยุคที่ “ข้อมูลต้องมาก่อน (Data First)” จึงต้องมีการกำกับการใช้งานและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งกระจายอยู่ทุกที่และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตลอดจนจัดหาเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Root Insight) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ         

dHCI อินฟราสตรัคเจอร์ในยุคข้อมูลเป็นใหญ่

เดิมเทคโนโลยี Hyper Converged ถูกออกแบบมาเพื่อให้ระบบไอทีมีความยืดหยุ่นในการย่อ-ขยายให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน ประสานให้เกิดการทำงานแบบมัลติแพลตฟอร์มระหว่างข้อมูลทั้งแบบมีและไม่มีโครงสร้าง แอปพลิเคชันเดิมและแอปพลิเคชันเกิดใหม่ เช่น คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส ให้พร้อมรับการทำงานบนคลาวด์อย่างปลอดภัย และด้วยต้นทุนการใช้งานแบบจ่ายตามจริง (Pay Per Use) แต่ในปัจจุบัน Disaggregated Hyperconverged Infrastructure-dHCI เช่น แพลตฟอร์ม HPE dHCI มีความพิเศษกว่า HCI แบบเดิม คือ เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขยายส่วนการประมวลผลและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแยกจากกันได้อย่างอิสระ (Disaggregated) แต่ยังคงขีดความสามารถในบริหารจัดการเทคโนโลยีทั้งหมดได้จากจุดเดียว รองรับการทำงานร่วมกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อน เช่น Gen8  Gen9 ระบบงานเก่าอย่าง     

อีอาร์พีไปจนถึงเทคโนโลยีแบบโอเพ่นสแต็คซึ่งขจัดปัญหาเรื่อง Multi-Gen IT โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั้งหมดให้เป็น dHCI เพื่อประหยัดต้นทุน การันตีระดับการให้บริการ SLA ที่มีมาตรฐานสูงเพื่อรองรับภาระงานสำคัญทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับวีเอ็มแวร์ หรือ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์

แพลตฟอร์ม HPE GreenLake ซึ่งบูรณาการบริการ As a Service ทั้งส่วนการประมวลผล แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ การบริหารและการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลทั้งระบบสำหรับรองรับการทำงานบนเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กร หรือขึ้นสู่คลาวด์ แพลตฟอร์ม HPE SimpliVity แบบครบจบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว เหมาะกับการรองรับภาระงานนอกดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น สำนักงานสาชา ซึ่งสามารถเริ่มต้นการทำงานได้ที่หนึ่งโหนดและขยายโหนดเพิ่มได้ผ่านออนไลน์โดยการทำงานไม่หยุดชะงัก มีฟังก์ชันการปกป้องข้อมูลในตัวและการขจัดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนและการบีบอัด ทำให้การแบ็คอัพข้อมูลมีความรวดเร็ว

ตัดคลื่นรบกวนความปลอดภัยของข้อมูลด้วย HPE Data Management  

มีการประเมินกันว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา แรนซั่มแวร์ได้สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจราว 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่ผ่านไปถึงปี 2568 คาดการณ์ว่าแรนซั่มแวร์จะสร้างความเสียหายสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยทุก ๆ 11 วินาที จะมีคนที่โดนแรนซั่มแวร์ 1 รายทั้ง ๆ ที่องค์กรส่วนใหญ่ต่างมีระบบปกป้องข้อมูล เช่น แอนตี้ไวรัส ไฟร์วอลล์ และ ระบบแบ็คอัพข้อมูล เป็นต้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เพราะแรนซั่มแวร์ยุคนี้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือ 1) เน้นโจมตีระบบแบ็คอัพเป็นอันดับแรก เพื่อให้องค์กรไม่สามารถกู้ระบบกลับคืนมาได้ เมื่อกู้คืนไม่ได้ก็ต้องจ่ายค่าไถ่ และ 2) การโจมตีไฟล์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ใช้ร่วมกัน (File Sharing) ทั้งจากระบบงาน แอปพลิเคชัน หรือการทำงานของยูสเซอร์ ซึ่งทำให้การแพร่ของแรนซั่มแวร์เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ดังนั้น การบริหารระบบแบ็คอัพให้มีประสิทธิภาพ องค์กรสามารถเริ่มต้นได้ด้วยสูตร 3-2-1-1 คือ มีข้อมูลแบ็คอัพ 3 ชุด เก็บบนมีเดียที่ต่างกัน 2 ประเภท เก็บไว้นอกองค์กร 1 ชุด เป็นข้อมูลแบ็คอัพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ (Immutable Backup) 1 ชุด ซึ่งสำคัญต่อการรับมือแรนซั่มแวร์ที่แอบเข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้งาน เก็บรหัสผ่านและรายละเอียดในการเข้าสู่ระบบ (Credentials) ก่อนจะออกไปและกลับเข้ามาอีกครั้งโดยปลอมตัวเป็นแอดมิน รวมถึงต้องมีระบบตรวจจับและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพด้วย

HPE Cohesity แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลและการจัดการกับแรนซั่มแวร์ครบจบในเครื่องเดียว เพื่อการบริหารจัดการจากส่วนกลาง โดยมีซอฟต์แวร์ Helios เป็นตัวช่วยควบคุมการทำงาน มีจุดเด่นที่ฟังก์ชัน Immutable File System ซึ่งป้องกันการแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ เพื่อปิดช่องโหว่การโจมตี File Sharing ระบบการยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (Multi-factor Authentication-MFA) เสริมด้วยเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งในการตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อการป้องกันแรนซั่มแวร์ได้ 100%

Zerto โซลูชันสำหรับการปกป้องระบบงานทางธุรกิจด้วยการกู้คืนข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ โดย media ต้นทางและปลายทางไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน ฟังก์ชัน CDP (Continuous Data Protection) สามารถช่วยปกป้องข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจึงสามารถกำหนดระยะเวลาของข้อมูลที่ต้องการกู้คืนได้มีประสิทธิภาพ สามารถกู้คืนแอปพลิเคชันได้ 100% หรือกู้คืนข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้โซลูชันสำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง (DR site) ได้ทั้ง Private Cloud และ Multi-cloud

การให้บริการ HPE Backup and Recovery เป็นการให้บริการสำรองข้อมูลผ่าน Cloud Management เรียกใช้Software As A Service  มีความยืดหยุ่น ไม่มีข้อกำหนดของระยะเวลาและจำนวน VM ขั้นต่ำ ธุรกิจสามารถเริ่มต้นเพียงจาก 1 VM ต่อเดือนเพียง 168 บาท ระบบรองรับการแบ็คอัพระบบ VMware แบบ Immutable รวมทั้งยังสามารถสำรองข้อมูลขึ้นคลาวด์ของ HPE

 

เพิ่มความทันสมัยให้กับแอปพลิเคชัน

ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาแอปพลิเคชันจะอยู่ในแนวทาง 5Rs ได้แก่ 1) Replace หาแอปพลิเคชันมาใช้งานแทน 2) Rehost เอาแอปพลิเคชันไปรันบนระบบที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 3) Re-platform เอาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน เช่น คอนเทนเนอร์ 4) Refactor เอาแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีใหม่ และ 5) Rebuild การเขียนแอปพลิเคชันให้ใช้งานบนคลาวด์แพลตฟอร์ม

HPE Ezmeral แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ DevOps ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ในรูปแบบ SOA หรือแอปพลิเคชันที่มีขนาดเล็กลงมาอย่างคอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส โดยลดความยุ่งยากในการจัดการกับอินฟราสตรัคเจอร์ มีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลหลากแพลตฟอร์มและกระจัดกระจายให้เห็นเสมือนเป็นข้อมูลผืนเดียวกัน (Data Fabric) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและหยิบมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสนับสนุน ML Ops (Machine Learning Operations) ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็ว

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด