เนื้อหาวันที่ : 2018-09-04 16:20:04 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5947 views

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เสริมแกร่งให้ศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ดร.อิทธิพล ฟองแก้ว นักวิจัยสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 จากนโยบายของรัฐบาลในการกระจายโอกาสทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ให้มากยิ่งขึ้น และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ มทส.ได้ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีอายุน้อยที่สุดใน 10 อันดับมหาวิทยาลัยแรกของไทย และล่าสุด ได้ตีตื้นขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จากการจัดอันดับของ World University Ranking ซึ่งเป็นการการันตีถึงความสำเร็จในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

นอกจากนี้ มทส. ยังได้ตั้งปณิธานสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ด้าน จนถึงปัจจุบัน

การมุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้เอง จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลายด้านที่เกื้อหนุนกัน และองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ มทส. ให้ความสำคัญก็คือเรื่องของระบบไอทีและคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ High-performance Computer รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ฉบับนี้ เราได้รับเกียรติจาก ดร.อิทธิพล ฟองแก้ว ซึ่งเป็นนักวิจัยของสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นของการดำเนินงานในส่วนของการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่จะมาช่วยตอบโจทย์การทำงาน รวมถึงภาพรวมและแนวโน้มการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต

มทส. มหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างนวัตกรรม

ดร.อิทธิพล กล่าวว่า “มทส. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นเฉพาะทาง การเรียนการสอนจะเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการจัดการ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ ในหลายปีที่ผ่านมา มทส. ได้มุ่งส่งเสริมให้เกิดการวิจัยใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในระดับนักศึกษา ดังนั้นนักศึกษาของเราจะมีโปรเจ็กต์ที่เป็นสตาร์ทอัพของแต่ละกลุ่ม และพัฒนาแนวคิดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต”

ดร.อิทธิพล ยังกล่าวว่า “ในส่วนของงานที่ผมดูแลรับผิดชอบนั้น จะอยู่ในส่วนของนักฟิสิกส์ทฤษฎี ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้มีการจัดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือที่เรียกว่า High-performance Computer ขึ้นภายในสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะใช้กับงานของนักวิจัยและการเรียนการสอนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และลักษณะของงานที่มีความจำเป็นต้องใช้การคำนวณเพื่อจำลองคุณสมบัติทางวัสดุศาสตร์ โดยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงนี้จะแตกต่างจากคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือดาต้าสตอเรจทั่วไป เพราะจะใช้สำหรับการคำนวณโดยเฉพาะ เช่น การจำลองในระดับอะตอม (Atomic Scale) ต่าง ๆ หรือการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ทำนายคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ ที่เราต้องการทราบ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนจากการทดลองจริงไปได้มาก”

“นอกจากนี้ ในส่วนที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้น สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ของเรายังได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าเอไอ (Artificial Intelligence: AI) และแมชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) อีกด้วย ซึ่งขณะนี้เราได้เริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วน และมีความจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเข้ามาอีกมากเพื่อรองรับการใช้งานของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัยและนักศึกษาในสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด” ดร.อิทธิพล กล่าวเสริม

ปัญหาจากระบบไฟฟ้า ยังคงอยู่คู่กับมหาวิทยาลัยเขตภูธร

แม้ว่าปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านสาธารณูปโภคในประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า แต่กระนั้น ต้องยอมรับว่า ความมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในบ้านเรา ก็ยังคงมีปัญหาอยู่พอสมควร ทั้งในเรื่องไฟฟ้าดับ และไฟฟ้าตก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ความถี่ของปัญหานี้จะเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่ง ดร.อิทธิพล อธิบายกับเราว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เองถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตภูธร ดังนั้นเรื่องระบบไฟฟ้าจะเป็นปัญหาหลัก โดยปัญหาที่เจอส่วนใหญ่ก็คือไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตก แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะกินระยะเวลาไม่นาน แต่เป็นไปในลักษณะที่เกิดขึ้นถี่ เพราะฉะนั้นการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบไฟฟ้าโดยตรง จะมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของข้อมูลสูญหาย และอาจจะเกิดความเสียหายโดยตรงต่อตัวคอมพิวเตอร์ได้ และยิ่งถ้าเป็นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High-performance Computer) ด้วยแล้ว ความเสียหายที่เกิดจะมีมูลค่าสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นระบบหรือโซลูชั่นที่ใช้ป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงต้องยกให้เป็นหน้าที่ของ เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่เราคำนึงถึง”

สำหรับการเลือกใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าของ EATON นั้น ดร.อิทธิพล ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้เคยมีประสบการณ์ในการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้ามาหลายยี่ห้อมาก แต่สุดท้ายก็มาลงตัวที่แบรนด์ของอีตั้นด้วยเหตุผลของความเหมาะสมหลายอย่างคือ

  1. ผลิตภัณฑ์ของ EATON มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน สามารถให้อินพุตไฟฟ้าได้ทั้งแบบ 1 เฟสและ 3 เฟส ตามสเปกที่เราต้องการ
  2. นโยบายการบริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของ EATON และจากประสบการณ์ สามารถทำการนัดหมายวันเวลาเพื่อบริการหลังการขายได้ง่าย และสะดวก
  3. ด้วยเรายังเป็นระบบของมหาวิทยาลัยที่ยังต้องใช้ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎระเบียบ เมื่อเทียบราคากับสเปกของเครื่องสำรองไฟฟ้า EATON แล้ว จัดได้ว่าเป็นยี่ห้อที่ให้ประสิทธิภาพสูงในราคาที่ไม่สูงมากนัก
  4. และการที่มหาวิทยาลัยของเราคลุกคลีอยู่กับการวิจัยทางด้านพลังงาน ทำให้เราต้องมองถึงแนวโน้มในการพัฒนาทางด้านแบตเตอรี่ของผู้ผลิตด้วย ซึ่ง EATON ได้เริ่มมีการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดชาร์จเร็ว หรือที่เทคโนโลยีที่เรียกว่าซูเปอร์คาปาซิเตอร์ (Super Capacitor) มาใช้ ซึ่งเรามองว่าบริษัทมีพัฒนาการที่ดี

“ปัจจุบันเรามีการใช้งานเครื่องสำรองไฟฟ้าของ EATON 93E-XL ขนาด 20kVA เพื่อรองรับการทำการของเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของเราจำนวน 15 เครื่อง แบบเผื่อการขยายจำนวนคอมพิวเตอร์ได้อีกในอนาคต จึงเป็นขนาดที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับการใช้งานของเราในขณะนี้”

ส่วนความต้องการโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องสำรองไฟฟ้าที่จะรองรับการเติบโตในอนาคตของทางมหาวิทยาลัยนั้น ดร.อิทธิพล กล่าวเสริมว่า “อยากจะเห็นเครื่องสำรองไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลง ราคาต่อวัตต์ไม่สูง และสำรองไฟได้นานขึ้น ซึ่งทราบว่าทางอีตั้นก็กำลังพัฒนาแบตเตอรี่ระบบลิเธียมไอออน และซูเปอร์คาปาซิเตอร์ ที่มีความบางและขนาดเล็กลง สามารถเก็บไฟได้นานกว่า และไม่เป็นพิษต่อโลก ซึ่งเราอาจจะได้มีการใช้งานต่อไปในอนาคต และอีกอย่างคือ เนื่องจากพื้นที่หน้างานจริงของเราขณะนี้ เครื่องสำรองไฟฟ้ากับศูนย์คอมพิวเตอร์จะอยู่คนละชั้นกันภายในอาคาร ทำให้ต้องมีการเดินสายแลนเพื่อทำการมอนิเตอร์ ซึ่งในอนาคตถ้าทำให้เครื่องสำรองไฟฟ้าสามารถเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยระบบออนไลน์ได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก”

ภาพรวมและแนวโน้มการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต

สำหรับบริบทของการศึกษาในโลกปัจจุบันนั้น ดร.อิทธิพล กล่าวกับเราว่า “ปัจจุบันระบบการศึกษาทั้งของไทยและต่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยปัจจัยของความก้าวหน้าทางด้านไอทีและระบบออนไลน์ที่มีความเสถียรขึ้น ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรการเรียนการสอนในต่างประเทศหลายแห่ง ที่แต่เดิมจะอยู่แต่เพียงภายในมหาวิทยาลัย ก็ได้เริ่มมีการเปิดหลักสูตรออนไลน์ให้นักศึกษาได้สามารถเลือกเรียนวิชาหรือคอร์สที่ตนเองสนใจผ่านระบบออนไลน์จากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ มีการสอบประเมินความรู้และสามารถเรียนจบหลักสูตรแล้วได้วุฒิบัตรเช่นเดียวกัน การเรียนการสอนในลักษณะนี้จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยจากปัจจุบันที่เราจะเรียนในรูปแบบของ ‘Long Term’ แต่ในอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ‘Long Life’ ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตจากหลักสูตรวิชาหรือคอร์สที่สนใจในแต่ละช่วงเวลานั้น ๆ ของชีวิต”     

“เมื่อโลกมีการพัฒนาไปสู่การเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์มากขึ้น มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัว ทุกวันนี้ถ้าเราไปดูกราฟของมหาวิทยาลัย จะเห็นได้ว่าจำนวนของนักศึกษาที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะลดลงเรื่อย ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการมีหลักสูตรให้เลือกเรียนได้มากขึ้นจากระบบออนไลน์ก็เป็นทางเลือกให้นักศึกษามีความสนใจและเลือกเรียนในระบบแบบนี้มากขึ้น อย่างทาง มทส.เอง ก็มีแพลตฟอร์มสำหรับการสนทนาออนไลน์ ให้นักศึกษาสามารถส่งการบ้านทางออนไลน์ได้ ในส่วนของสำนักวิทยาศาสตร์เอง เรากำลังมีการพัฒนาในบางหลักสูตรสำหรับผู้ที่จะเรียนต่อก็สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ แค่เข้ามาคุยมาปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิทยานิพนธ์เป็นครั้งคราวซึ่งจะช่วยลดเวลาของผู้เรียนลงไปได้มาก” ดร.อิทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

อีตั้น มอบโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า

คุณดุษฎี ทองไทย-Regional Sales Manager for Thailand and Indo China, Eaton กล่าวว่าจุดเด่นของโซลูชั่นอีตั้นที่สำคัญ คือ เรามีระบบที่ตอบโจทย์ลูกค้าในทุก ๆ อุตสาหกรรม รวมถึง ระบบการศึกษา ซึ่งอีตั้นใส่ใจและให้ความสำคัญถึงความต้องการในธุรกิจของลูกค้าเป็นหลัก ระบบการศึกษาที่ดีประกอบด้วยหลากหลายปัจจัย และปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าสิ่งอื่น คือ ทำอย่างไรให้เทคโนโลยีการศึกษา สามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และเสถียรภาพมากที่สุดแม้ขณะที่ระบบของการไฟฟ้าขัดข้อง  

ระบบสำรองไฟรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับแบตเตอรี่ในตัว ขนาดกำลังพอดีไม่เปลืองพื้นที่อย่าง รุ่น 93E-XL จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และเป็นคำตอบที่ผู้ใช้งานได้เลือก

อีกทั้งบริการหลังการขายที่ครอบคลุมทั่วประเทศและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เราจึงมั่นใจว่า โซลูชั่นของอีตั้นจะสามารถช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด ประหยัดพลังงาน ตั้งแต่โซลูชั่นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ดังปฏิญาณของอีตั้น We make what matters work”

คุณดุษฎี ทองไทย-Regional Sales Manager for Thailand and Indo China, Eaton

สนใจข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กรุณาติดต่อ 0-2511-5300

หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.eaton.co.th

   

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด