เนื้อหาวันที่ : 2016-09-22 16:06:15 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2492 views

HID Global เสนอเทคโนโลยี่ล้ำยุคในการระบุอัตลักษณ์ของประชากรด้วยไบโอเมตริกซ์ ( Biometrics)

โดย Sujan Parthasaradhi, กรรมการของ Biometric Applications, HID Global, ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

 

ถึงแม้ว่าไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) จะสามารถพบเห็นได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดพาณิชย์ แต่จริง ๆ แล้วรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กันนานแล้ว ไม่ใช่แค่เพื่อลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงและการฉ้อโกงเท่านั้น แต่ยังเพื่อปรับปรุงการส่งมอบสินค้าและบริการแก่พลเมืองของตนด้วย และในการบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ การระบุตัวตนของบุคคลอย่างแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งการพิสูจน์ทราบข้อมูลของบุคคลที่เข้ามาในประเทศ รวมถึงเข้าถึงบริการหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสอบตัวตนของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการควบคุมพรมแดนหรือการแจกจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชน

ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบไบโอเมตริกซ์

รัฐบาลจำเป็นต้องทราบว่าตนได้ออกบัตรประจำตัว เช่น ใบอนุญาตขับขี่หรือหนังสือเดินทาง ให้กับใคร และกำลังหันมาใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์กันมาขึ้นเรื่อย ๆ ระบบจัดการข้อมูลประจำตัวไบโอเมตริกซ์ (BIMS) ที่ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกนั้นได้ช่วยตรวจสอบและปรับปรุงระเบียนของผู้อพยพทั้งที่ลงทะเบียนแล้วและยังไม่ได้ลงทะเบียนเกือบ 110,000 คนในค่ายที่พักพิง 9 แห่งบริเวณพรมแดนในประเทศไทยภายในเวลา 5 เดือน ผลก็คือ ปัจจุบัน เรามีภาพรวมทางสถิติที่สมบูรณ์เกี่ยวกับประชากรผู้อพยพชาวพม่าในประเทศไทย[1]

เนื่องจากโครงการของภาครัฐนั้นครอบคลุมประชากรจำนวนมหาศาล การเลือกวิธีตรวจสอบข้อมูลที่เหมาะสมจึงเป็นความท้าทายที่แตกต่างจากโครงการทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น โครงการบัตรประชาชนของอินเดีย (UID) ที่มีการจัดทำข้อมูลประจำตัวให้แก่ประชาชนกว่าหนึ่งพันล้านคน เป็นต้น เทคโนโลยีตรวจสอบตัวตนของประชาชนจะต้องถูกต้องแม่นยำและปลอดภัยกว่าปกติเพราะผู้ที่นำไปใช้คือประชากรของประเทศจำนวนมหาศาลที่มีภูมิหลังหลากหลาย นอกจากนี้ ข้อมูลของแต่ละคนยังต้องแตกต่างกัน คัดลอกได้ยาก แต่ต้องนำไปใช้งานได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถปกป้องพลเมืองจากการแอบอ้างข้อมูลประจำตัวได้ด้วย[2]

ด้วยขนาดโครงการของรัฐบาล แม้แต่อัตราความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจกลายเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ดังนั้นความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีไบโอเมตริกเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เราไม่คาดคิดมาก่อน เนื่องจากมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่รองรับผู้อพยพจำนวนมากที่สุดในเอเชีย รัฐบาลจึงพยายามหาทางป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลบุคคลและการใช้เอกสารปลอมมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว UNHCR จึงได้ออกบัตรประจำตัวไบโอเมตริกซ์ที่มีคุณลักษณะความปลอดภัยทันสมัยกว่าเดิมให้แก่ผู้อพยพชาวมาเลเซีย เช่น ข้อมูลม่านตา ลายนิ้วมือ และการสแกนใบหน้า เป็นต้น บัตรแบบใหม่นี้ช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถตรวจสอบตัวตนของบุคคลได้อย่างง่ายดายโดยการสแกนรหัส SQR จากแอพบนอุปกรณ์พกพา[3]

เทคโนโลยีสร้างภาพจำลองแบบมัลติสเปกตรัมพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือที่เกิดขึ้นกับเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือแบบปกติ เช่น บัตรประตัวปลอม โดยเทคโนโลยี HID Global Lumidigm® จะใช้ประโยชน์จากสเปคตรัมแสงจำนวนมากและเทคนิคโพลาไรซ์ขั้นสูงเพื่ออ่านลักษณะของลายนิ้วมือทั้งจากด้านบนและด้านล่างของผิวหนัง การเก็บข้อมูลใต้ผิวหนังมีความสำคัญมากเพราะรอยนิ้วมือที่มองเห็นได้จากด้านบนของผิวหนังนั้นจะมีรากอยู่ใต้ผิวหนังในบริเวณที่เป็นแหล่งรวมหลอดเลือดฝอยและโครงสร้างอื่น ๆ ใต้ผิวหนัง โดย "ลายนิ้วมือใต้ผิวหนัง" จะอยู่ใต้ผิวหนังโดยไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง แตกต่างจากลายนิ้วมือบนผิวหนังที่อาจจะมองไม่เห็นระหว่างการสร้างภาพจำลองเพราะมีความชื้น ฝุ่น หรือผิวหนังสึก เมื่อนำข้อมูลลายนิ้วมือบนผิวหนังมารวมกับข้อมูลลายนิ้วมือใต้ผิวหนัง โดยนำมาประกอบกันอย่างชาญฉลาด ก็จะได้ข้อมูลที่มีความสม่ำเสมอ สมบูรณ์ และเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเดิม

การจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีตรวจสอบตัวตนไบโอเมตริกซ์

รัฐบาลทั่วโลกมอบสวัสดิการโดยตรงให้แก่ประชาชน เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ เงินบำนาญ การจ้างงาน การแจกจ่ายอาหาร และการสนับสนุนทางการเงิน แล้วผู้ดูแลโครงการจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสินค้าและบริการเหล่านี้ส่งไปถึงผู้รับผลประโยชน์ตัวจริง มีสินค้ากี่เปอร์เซ็นต์ตกไปอยู่ในมือของข้าราชการทุจริต รัฐบาลยังคงจ่ายเงินบำนาญหลังจากผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่ ผู้ดูแลโครงการจะต้องทราบว่าใครเป็นผู้รับสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งมีเพียงข้อมูลไบโอเมตริกซ์เท่านั้นที่จะสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้รับผลประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ

ในอินเดีย โครงการสวัสดิการสังคมใหญ่ ๆ บางโครงการประสบปัญหาเพราะผลประโยชน์ตกอยู่ในมือของคนที่ไม่มีสิทธิ์์ได้รับผลประโยชน์เหล่านั้นและข้าราชการทุจริตระงับหรือชะลอการชำระเงินให้แก่ประชาชนที่กำลังลำบาก การผสมผสานระบบตรวจสอบข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของประเทศซึ่งปัจจุบันครอบคลุมประชากร 19 ล้านคน เข้ากับโครงการรับรองการจ้างงานในชนบทของอินเดียที่มีมูลค่า 5,500 ล้านเหรียญ จึงช่วยลดการทุจริตและความผิดพลาดลงได้อย่างมาก นอกจากนี้ ผู้รับผลประโยชน์ตัวจริงยังได้รับเงินเร็วขึ้นด้วย[4]

การบริหารจัดการการข้ามพรมแดนด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์

การใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์บริหารงานบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศผ่านการพิสูจน์แล้ว พรมแดนข้ามประเทศบางแห่งนั้นเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก แต่ถึงอย่างนั้นการดูแลให้ผู้คนข้ามพรมแดนได้อย่างรวดเร็วก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ในตลาดแข่งขัน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของฮ่องกงแก้ไขปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ลายนิ้วมือแบบมัลติสเปคตรัมซึ่งสามารถตรวจสอบตัวตนของของผู้เข้าประเทศได้ถึง 250,000-400,000 คนต่อวัน ในขณะเดียวกันลดความล่าช้าและป้องกันการโจมตีข้อมูล ซึ่งนี่ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่จะพบเห็นได้ทั่วไปในภาคส่วนอื่น ๆ

ในประเทศไทย ตำรวจนำระบบจดจำใบหน้ามาใช้ในบริเวณด่านตรวจทุกจุด ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ขั้นตอนตรวจสอบคนเข้าเมืองมีความรวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังป้องกันอาชญากรรมข้ามประเทศได้อีกด้วย

การควบคุมการข้ามพรมแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะการทำงานและรอบการทำงานที่หนักหน่วง เซ็นเซอร์จึงต้องทนทาน แข็งแรง และยากต่อการทำลาย อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เลือกมานั้นจะต้องสามารถเก็บภาพได้อย่างเหมาะสมภายใต้สภาพแดล้อมและลักษณะของบุคคลที่หลากหลาย และข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจะต้องนำมาใช้งานได้จริง

ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์บุคคล

อัตลักษณ์บุคคลเป็นปัญหาทางสังคมและการเมืองที่เรื้อรังมานานหลายปี แต่ด้วยการกำหนดสิทธิ์และสิทธิพิเศษให้แก่บุคคล ข้อมูลไบโอเมตริกซ์จะทำให้เราสามารถปกป้องอัตลักษณ์ สิทธิ์ สิทธิพิเศษ รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้อีกครั้ง เราทุกคนต่างก็มีอัตลักษณ์ตัวตนที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งจะต้องได้รับการปกป้องด้วยวิธีการที่สมเหตุผล สมดุล และมีประสิทธิภาพ และด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ รัฐบาลจะมั่นใจได้ว่าใครกำลังใช้สิทธิ์และสิทธิพิเศษเหล่านั้นอยู่

 

ถ้าท่านต้องการข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มของความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล สามารถปรึกษาผู้บริหารของ HID Global โดยติดต่อคุณ Sujan Parthasaradhi Director of Biometric Applications, APAC, Biometrics/Lumidigm® brand มือถือ +9199 4900 4235  หรือ sparthasaradhi@lumidigm.com/sparthasaradhi@hidglobal.com

 

[1] Find Biometrics. UN’s Biometric Refugee ID Rollout Starts in Thailand. 2015.
[2] International Business Times. One Billion Indians to Have UID Numbers By Year-­End As India Seeks To Boost Social Security. 2016.
[3] World Bulletin. UNHCR introduces new refugee ID cards in Malaysia. 2016.
[4] World Bank. Another Boost to Global Action against Corruption. 2016.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด