เนื้อหาวันที่ : 2016-08-11 09:16:00 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2318 views

ปรับตัวเพื่อรับการเติบโตอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์

เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

การเติบโตขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย

ด้วยชายหาดทรายและวัดวาอารามที่งามสง่า จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจ แต่ที่น่าสนใจก็คือ ประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายทางการแพทย์ระดับพรีเมี่ยมที่ได้รับความนิยมอีกด้วย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เพราะการผ่าตัดเฉพาะที่ในกรอบค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก ดำเนินการโดยโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยและคุณภาพโดย Joint Commission International (JCI)[1]

รวมทั้งเงื่อนไขเชิงบวกอื่นๆ อาทิ มีกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลางเพิ่มมากขึ้น บุคลากรมีการศึกษา มีตลาดกลุ่มเภสัชกรรม มีการเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ และสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแลที่เป็นมิตรต่อการลงทุนจากต่างประเทศ บริษัทผู้ประกอบการผู้ผลิตด้านเวชภัณฑ์จึงมองประเทศไทยเป็นแหล่งโอกาสที่จะเติบโตไปอีกได้ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

ผู้ผลิตต้องปรับประยุกต์

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น นวัตกรรมเทคโนโลยีได้เติบโตพรวดพราด นำไปสู่พัฒนาการด้านอุปกรณ์เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมการดูแลรักษาสุขภาพที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ผู้ผลิตอุปกรณ์เวชภัณฑ์เผชิญภาวะการแข่งขันรุนแรง มีความกดดันด้านค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน แต่ขณะเดียวกันต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด ซึ่งทวีความท้าทายเข้ามาอีก เมื่ออีกด้านหนึ่งบริษัทก็ต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมออกมา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ หรือลดขนาดชิ้นส่วนทางการแพทย์ลง เพื่อให้เข้ากับความต้องการที่ผันแปรอยู่เสมอของทั้งคณะแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัย หรือแม้แต่ผู้ป่วย

การสร้างยอดขาย การพัฒนาโปรดักส์ใหม่ และการลดค่าใช้จ่ายกลายมาเป็นสามหัวข้อหลักของบริษัทเวชภัณฑ์ในอีกสองสามปีข้างหน้า[2] หากอยากอยู่แถวหน้า เป็นผู้นำธุรกิจ ต้องประยุกต์เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในแผนกลยุทธ์ธุรกิจ เช่น ทำออโตเมชั่นกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดค่าใช้จ่าย

ทำออโตเมชั่นกันทำไม?

แผนกอุปกรณ์การแพทย์เป็นผู้รับประโยชน์ทางนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นส่งผลกระทบต่อผู้คน – ตั้งแต่พัฒนาคุณภาพชีวิตไปจนกระทั่งช่วยชีวิต ขั้นตอนการผ่าตัดในบางแห่งของโลกเริ่มที่จะนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และวิช่วลแอพพลิเคชั่นมาทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดเคสสำคัญๆ ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนเลยเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ในวันนี้ ความฝันได้กลายมาเป็นความจริง แต่นักวิจัยและพัฒนาก็มิได้หยุดยั้งแต่เพียงเท่านั้น

ความเป็นไปได้ทางนวัตกรรมนั้นไม่มีขีดจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดปัจจุบันที่บริษัทต่างต่อสู้แย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างดุเดือด อันมาจากปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ นั่นคือ Urbanisation ที่ได้จุดกำเนิดผู้คนกลุ่มใหม่ที่มีลักษณะความเป็นคนเมืองมากกว่าชนบท - ชนชั้นกลางที่มีอันจะกินที่มีความต้องการและความคาดหวังสูงขึ้น เช่น ต้องการการผ่าตัดที่เปิดแผลให้เล็กที่สุด เป็นต้น ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มประชากรที่ปราถนาคุณภาพชีวิตมากกว่าแค่ขั้นพื้นฐานเดิมๆ

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาขั้นตอนการทำงานเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อต้องออกโปรดักส์ใหม่ ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตและต้องมีความยืดหยุ่นสูง เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานประจำทุกวัน เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ (co-bots) สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการได้งานมากขึ้นแต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง (do more with less) ด้วยการออกแบบให้สามารถทำงานเคียงข้างกับคนได้แม้ในพื้นที่จำกัด ซึ่ง co-bots นี้มีสภาพไม่ต่างไปจากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ใช้ขันสกรู หรือคำนวณ ช่วยอำนวยความสะดวกลื่นไหลให้ขั้นตอนทำงาน และยังเพิ่มความคล่องตัวอีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นข้อควรคำนึงของเหล่าผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เมื่อทำออโตเมชั่น ประการแรก ได้แก่ นักพัฒนาอุปกรณ์จะลดเวลาและขั้นตอนในการทำงานลงได้มากหากเข้าใจกระบวนการผลิตและดำเนินการ แม้โปรดักส์นั้นจะดูทันสมัยสุดๆ บนกระดาษ แต่ต้องมีความเป็นไปได้ในการผลิตด้วย จึงจะดี ประการที่สอง ห้องที่ได้รับการดูแลควบคุมความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญในการผลิตสินค้าที่ปราศจากเชื้อโรค ดังนั้น การติดตั้ง co-bot ในสายการผลิตและไม่เคลื่อนย้ายไปนอกสถานที่นั้นๆ ก็จะลดโอกาสการเป็นพาหะของสิ่งสกปรกได้ ต่างกับผู้ปฏิบัติงานทั่วไปที่ต้องใช้เวลาทำความสะอาดตัวก่อนเข้าบริเวณห้องควบคุมเชื้อโรค เป็นต้น[3]

ความสำคัญของการทำออโตเมชั่นของกระบวนการผลิต

ด้วยเทคโนโลยีเกิดใหม่มีมากมายให้เลือกสรรมาใช้งานสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถทำการประเมินงานและปรับแผนงานระยะยาวรองรับได้เลย ในกรณีของประเทศไทย การลงทุนเทคโนโลยีใหม่ เช่น หุ่นยนต์ทำงานกับมนุษย์ (co-bots) สามารถนำมาซึ่งสมรรถนะในการผลิต

ออโตเมชั่นให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิต เพิ่มสมรรถนะให้แก่กระบวนการผลิต และศักยภาพในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้โดยง่าย

วงจรชีวิตของโปรดักส์มีระยะสั้น และลักษณะการผลิต ปริมาณน้อยแต่หลากหลาย (High Mix Low Volume) ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องมีศักยภาพในการปรับตัวสูง สามารถนำเครื่องจักรเดิมมาใช้ในการผลิตงานใหม่ต่างไปจากเดิมได้ และผลิตในปริมาณไม่มาก และมีความหลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการตลาดและผู้บริโภค

หากมีภาวะเงินเฟ้อ ผู้ผลิตก็ยังมั่นใจได้ว่ามีความพร้อมในการรองรับสายการผลิตด้วยทูลที่ทันสมัยเสมอ การแก้ปัญหาด้วยการทำออโตเมชั่นเชิงอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์นั้นช่วยให้บริหารจัดการธุรกิจเมื่อต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงในการผลิต แต่คงศักยภาพในการปรับตัวให้ตอบรับความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะตัวได้ หมายถึง โดดเด่นท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด

 

[1] Patients Beyond Borders, November 2015 http://www.patientsbeyondborders.com/thailand
[2] KPMG International, September 2015 https://www.kpmg.com/SG/en/IssuesAndInsights/ArticlesPublications/Documents/the-future-of-innovation-for-the-medical.pdf
[3] Jabil blog, August 2014 http://www.jabil.com/blog/automation-opportunities-for-medical-device-companies-are-wide-open/

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด