เนื้อหาวันที่ : 2016-05-18 13:21:58 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2762 views

เคล็บลับสำหรับเอสเอ็มอี: “หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์” คือคำตอบของการเพิ่มผลผลิต

เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

เอสเอ็มอี: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

มีบริษัทไม่น้อยกว่า 2.7 ล้านบริษัทที่มีส่วนในว่าจ้างงานกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทยด้าน การบริการ การค้าขาย และด้านการผลิต[1] และในกลุ่มบริษัทเหล่านี้ วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางหรือเอสเอ็มอี (SMEs) ประเมินได้ว่าคิดเป็นร้อยละ 37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศ ตามข้อมูลของบมจ. หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง[2]

ภาคส่วนการผลิตเติบโตรุดหน้า

ภาคส่วนการผลิตของประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยคิดเป็นร้อยละ 40[3] จากการที่มีคู่แข่งสินค้านำเข้าจากจีน และอุปสงค์จากตลาดท้องถิ่นที่ค่อนข้างต่ำ[4] ภาคส่วนการผลิตของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมจึงมีความเปราะบางต่อการสูญเสียรายได้ หากผู้ผลิตไม่เริ่มต้นที่จะเพิ่มผลิตผลจากโรงงาน และลดค่าใช้จ่าย

ความท้าทายและโอกาสสำหรับเอสเอ็มอี

วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางในภาคส่วนการผลิตนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลายประการ อาทิ ข้อจำกัดของพื้นที่และงบประมาณ รวมทั้ง ความขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและกลางที่จะประสบความสำเร็จ โดยอาศัยประโยชน์จากการนำออโตเมชั่นมาใช้ในกระบวนการทำงานประจำวันในโรงงานผลิต

ในระดับโลก ร้อยละ 56 ของบริษัททั่วโลกกำลังใช้ออโตเมชั่น หรือวางแผนที่จะนำมาใช้งานภายในปีนี้ จากการสำรวจเมื่อปีพ.ศ. 2558 ใน 36 เขตเศรษฐกิจ[5] อย่างไรก็ตาม การสำรวจเดียวกันนี้ชี้ว่าประเทศไทย เพียงร้อยละ 36 ของธุรกิจในไทยที่นำเอาออโตเมชั่นมาใช้งาน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

สถิติข้างต้นเป็นตัวกระตุ้นเตือน ขณะที่สภาพการทำงานในสภาวะที่เป็นโรงงานนั้นอาจจะต้องกินเวลาหลายชั่วโมงปฏิบัติงานซ้ำๆ เดิมๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้ขึ้นมา ดังนั้น วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางสามารถพิจารณาตัวเลือกที่จะใช้ออโตเมชั่น เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ (collaborative robots หรือ co-bots) เข้ามาใช้ในสายการผลิตเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปฏิบัติงานในการทำชิ้นงานที่ต้องอาศัยความบากบั่นอุตสาหะ

หุ่นยนต์ Co-bots เหมาะสำหรับโรงงาน

Co-bots เป็นหุ่นยนต์ที่มีแขนกลที่เคลื่อนไหวคล่องตัว และเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้เหมาะสำหรับโรงงานที่มีแผนผังงานโปรดักชั่นตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดย co-bots ส่วนมากจะมีขนาดกะทัดรัดและนำหนักเบา ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งมักจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ และต้องทำชิ้นงานที่มีความซ้ำซากจำเจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปหล่อแบบไปจนถึงงานประกอบชิ้นส่วน ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญในสภาพแวดล้อมการผลิตที่ต้องอาศัยความรวดเร็วคือความยืดหยุ่นคล่องตัวนั่นเอง

จากภาวการณ์แข่งขันในหมู่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่ทวีความเข้มข้น บริษัทจึงหันมาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อให้เป็นตัวที่สร้างความแตกต่างโดดเด่นจากคู่แข่ง โดยอิงจากประเภทของแอพพลิเคชั่น พบว่าหนึ่งหรือหลาย co-bots สามารถที่จะทำงานเคียงข้างกับมนุษย์ในโนโรงงานได้ เมื่อได้สรุปชิ้นงานให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานสามารถตั้งค่าโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำกิจกรรมตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมยุ่งยากด้านวิศวกรรมใดๆ เลย

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่ง คือ co-bots มีช่วงคืนทุนที่รวดเร็วกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน ซึ่งนอกจากนี้แล้ว การยกระดับทักษะด้านการปฏิบัติงานก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องไม่มองข้าม

เมื่อ co-bots มาทำงานบนสายการผลิต ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำชิ้นงานอื่นที่ต้องอาศัยความประณีตละเอียดอ่อนมากกว่า เช่น การวางแผนงานหรือรับผิดชอบคุมงาน แรงงานที่มีทักษะนั้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลได้ และส่งผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจ

อนาคตที่สดใสสำหรับเอสเอ็มอีไทย

เจ้าของธุรกิจมีตัวเลือกที่จะเพิ่มประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ และสานสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กรของตน ออโตเมชั่นของกระบวนการผลิตเป็นตัวเลือกหนึ่งนั้น ที่จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในพื้นที่การผลิต เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นการสำคัญมากที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่จะสร้างแนวความคิดที่มีความสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น co-bots ที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกระดับในระยะยาว

 

[1] http://www.nationmultimedia.com/business/SMEs-hold-key-to-economic-future-30277081.html

[2] http://www.straitstimes.com/business/thailand-approves-812-bln-measures-to-aid-small-firms-as-economy-falters

[3] http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_dialogue/---sector/documents/publication/wcms_161290.pdf

[4] http://www.wsj.com/articles/thailands-industrial-production-remains-weak-in-february-1459239293

[5] http://www.grantthornton.global/en/insights/growthiq/automation/

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด