เนื้อหาวันที่ : 2016-04-05 10:37:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2103 views

ดาต้าเซ็นเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลกำลังจะล้มหายตายจาก

By Venugopal Pai, VP of alliances and business development for Nutanix

 

เมื่อถึงเวลาของการอัพเกรดศูนย์ข้อมูลในครั้งต่อไป อย่าพยายามเสี่ยงด้วยการ เป็นปฏิปักษ์ต่อความเสี่ยง เพราะนั่นเท่ากับว่าเรากำลังจะเผชิญกับความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของทั้งหมดทั้งมวล  แต่เราควรจะตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงจะดีกว่า

ธุรกิจจำนวนมากในขณะนี้ยืนอยู่บนปากเหวของการต้องกำหนดรูปแบบการอัพเดทศูนย์ข้อมูลครั้งต่อไปอย่างจริงจัง และสำหรับซีไอโอรวมทั้งผู้จัดการในแต่ละหน่วยธุรกิจจะต้องเผชิญกับคำถามเดียวกันว่า  พวกเขาสามารถคาดเดาได้หรือไม่ว่าศูนย์ข้อมูลประเภทใดที่ธุรกิจของพวกเขาต้องการใช้ในปี 2564? และหากพวกเขาคิดไม่ออก พอจะระบุได้ไหมว่าศูนย์ข้อมูลแบบใดที่พวกเขาควรจะคำนึงถึง?

การตอบคำถามดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสองปัจจัยที่แตกต่างกัน: ข้อแรกเกิดอะไรขึ้นกับเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวม? และข้อสองธุรกิจและการตลาดของพวกเขามุ่งไปในทิศทางใด? นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่เหล่าบรรดาซีไอโอและผู้จัดการฝ่ายธุรกิจทั้งหลายจะตอบคำถามทั้งสองข้ออย่างไม่เข้าที่เข้าทางกัน และปัจจัยทางการตลาดบ่งบอกว่ามันจะเกิดเร็วขึ้นกว่าวงจรชีวิตของศูนย์ข้อมูลโดยปกติ

ตลาดการค้าในปัจจุบันนี้อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลง และธุรกิจเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการดำเนินธุรกิจและวิธีการทำตลาดในรูปแบบใหม่ ๆ การชะงักงันอย่างคาดไม่ถึงจากการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจและการบุกตลาดแนวใหม่นี่เอง คือสาเหตุที่ทำให้ผู้นำทางธุรกิจจำเป็นต้องประเมินทิศทางกลยุทธ์ของพวกเขาใหม่หมด ควบคู่ไปกับการปรับรูปแบบธุรกิจที่ต้องพร้อมเสมอสำหรับการรับมือกับการจู่โจมที่ไม่อาจคาดเดาได้

ตัวอย่างที่ฮือฮาในระดับพาดหัวข่าวก็เช่นในกรณีของ Uber,  Airbnb และ Netflix  ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของระบบเครือข่าย รวมถึงการปลดล็อคช่องทางการทำธุรกิจที่มีมูลค่าสูงหากแต่ยังไม่มีใครเข้าถึงก่อนหน้านี้  ซึ่งธุรกิจดังกล่าวล้วนมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคการตลาด  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวอย่างเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญก็คือผลกระทบที่กำลังก่อหวอดอยู่ในตลาดขณะนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและถาวร

การเปลี่ยนแปลงในระดับฐานรากนี้เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น  แต่ยังเกิดขึ้นกับรูปแบบธุรกิจซึ่งจนถึงขณะนี้แค่เพียงยืนหยัดเพื่อผ่านการทดสอบของเวลา นอกจากนี้ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายภาครัฐบาลซึ่งจำเป็นต้องปรับพิจารณากฎระเบียบที่จำเป็นเพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค

ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีแนวคิดใหม่ที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดการทำงานและหน้าที่ต่างๆ หรือที่รู้จักกันดี ในชื่อ SDDC (Software-Defined Data Centers) – ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วซอฟต์แวร์นั้นใช้เป็นตัวกำหนดอะไร  ก็ตามและรวมถึงทุกๆอย่างได้ – กำลังท้าทายความแข็งแกร่งของการออกแบบศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม สมาร์ทโฟนที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของเรา ยังไม่ได้ขยายฐานไปยังศูนย์ข้อมูลซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความสลับซับซ้อนและยังคงถูกมองว่าความยุ่งยากในการจัดการนั้นเป็นเรื่องปกติ

ความเสี่ยงขั้นสูงสำหรับธุรกิจที่ต้องการจะรับมือกับสถานการณ์นี้ในช่วงห้าปีถัดไป - ซึ่งเป็นวงจรชีวิตที่คาดการณ์สำหรับการอัพเกรดศูนย์ข้อมูลในแต่ละครั้ง – พวกเขามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะพบกับความเสียหายขั้นรุนแรง ทั้งในแง่ของการเลือกโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลและแนวทางในการทำธุรกิจของพวกเขา

ประเด็นนี้สวนทางกับรูปแบบดั้งเดิมของการบริหารจัดการธุรกิจแบบความเสี่ยงปรปักษ์  โดยจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  แนวคิด “ตราบใดที่ยังทำงานได้อยู่ ก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงอะไร” เคยเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่คงไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว

ในขณะที่ศูนย์ข้อมูลทันสมัยหันมาใช้ฮาร์ดแวร์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น และวงจรชีวิตในระดับห้าปีถือว่าเป็นที่ยอมรับได้สำหรับการใช้งานแบบดั้งเดิม การเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตในการใช้งานต่างหากที่เริ่มจะบีบบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง  ในปัจจุบันนี้แอพพลิเคชั่นสามารถที่จะพัฒนาเพิ่มลงไปในระบบใช้งานจริงหรือโละทิ้งด้วยระยะเวลาที่วัดกันในระดับเดือน เมื่อผนวกกับรอบการอัพเกรดที่ย่นระยะเวลาเร็วขึ้น มันจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะมองเห็นว่าทำไมวิธีการแบบดั้งเดิมในการกำหนดคุณสมบัติของศูนย์ข้อมูลจึงจำเป็นต้องได้รับการยกเครื่องขนานใหญ่ และนั่นก็ไม่ได้จะหยุดอยู่เพียงแค่นี้

การเติบโตในการใช้งานของรูปแบบแอพพลิคชั่นตามแนวคิดของ DevOps และ Continual Delivery ซึ่งเป็นรูปแบบที่การติดตั้งแอพพลิเคชั่น จะไม่ใช่แพ็คเกจขนาดใหญ่และยุ่งยากในระดับที่ต้องแยกระบบออกมาจากระบบใช้งานจริง ในทางกลับกันแอพพลิเคชั่นต่างๆ เหล่านี้จะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้แบบเอกเทศและในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าวิธีการนี้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพได้ดีขึ้นเพียงเพราะว่าปัญหาสามารถถูกค้นพบและแก้ไขได้รวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกันก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ว่าการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและยึดติดกับวิธีการแบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลจะกลายเป็นความเสี่ยงมากที่สุดเท่าที่บริษัทจะพึงทำได้ ตรรกะแนวใหม่ความเสี่ยงปรปักษ์ คือความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความเสี่ยงทั้งหมด

รูปแบบการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่มักอิงบนแนวคิดของการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่มีขนาดใหญ่ เป็นเอกเทศ และจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนแร็คทรัพยากรคอมพิวเตอร์แบบถาวร ในลักษณะเดียวกันกับที่ Uber และ Airbnb ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจไปอย่างมาก  สถาปัตยกรรมที่ใช้ “ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่” ก็กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของศูนย์ข้อมูล เซิร์ฟเวอร์เก่าคร่ำครึและใหญ่เทอะทะกำลังจะกลายเป็นของเก่าตกยุคไปเสียแล้ว

"ของเก่า" ที่ว่านี้ไม่เข้าท่าเสียแล้วกับบริบทของการพัฒนาที่ระบุไว้ข้างต้น และการก่อเกิดของศูนย์ข้อมูลแนวคิดใหม่ที่สนับสนุนรูปแบบการพัฒนาดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่นการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะปัจจุบันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในการใช้งานแอพลิเคชันใหม่ๆ ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วองค์กรขนาดใหญ่มักชอบวิธีการแบบไฮบริด โดยคลาวด์จะถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เป็นส่วนตัวเท่านั้น

สถาปัตยกรรมที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นตัวกำหนด (Software Defined Data Center -SDDC) สนับสนุนแนวทางที่เพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นเหล่านี้ ซึ่งช่วยให้ซอฟต์แวร์สามารถกำหนดสภาพแวดล้อมการใช้งานที่ต้องการโดยทำการตั้งค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์สูงสุดได้ด้วยตนเอง

เมื่อมองไปยังอนาคตข้างหน้า ศูนย์ข้อมูลจะยังคงมีอยู่ แต่มันจะเป็นสิ่งที่แตกต่างจากวันนี้อย่างเห็นได้ชัดเพราะสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเซิร์ฟเวอร์แร็คที่จัดเก็บทรัพยากรข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจัดสรรตามการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงกำลังจะถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ การปรับขนาดให้เหมาะสมตามการใช้งานและทรัพยากรที่มีจะกลายเป็นฟังก์ชั่นของการกำหนด ตั้งค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยตนเอง

ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงคือความเสี่ยงที่ควรตระหนักรู้และตรวจสอบข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและตลาดการค้าของคุณเองในขณะนี้

ข้อโต้เถียงของแนวคิดปรปักษ์ความเสี่ยงอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อก่อนนั้นอาจเคยเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะพูดว่า “เราจำเป็นต้องรัน SAP บนแพลตฟอร์มที่ได้รับการอนุมัติและตรวจสอบแล้ว ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องอยู่บนเทคโนโลยีเดียวกัน”  แต่ปัจจุบันกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป เนื่องจากแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่สำคัญโดยส่วนมากสามารถทำงานบนสภาพแวดล้อมของศูนย์ข้อมูลแบบ hyperconverged รวมทั้ง SAP ด้วย คุณอาจจะเถียงว่าถ้าอย่างนั้น SAP ก็กลายเป็นแอพพลิเคชั่นตกรุ่นไปด้วยอย่างนั้นหรือ?

ไม่ใช่อย่างนั้น เทคโนโลยี SDDC ในปัจจุบันช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและให้ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานสำหรับแอพพลิเคชั่นทุกประเภทที่จะนำลงติดตั้งแอพพลิเคชั่นเช่น SAP เป็นการผสมผสานของแอพพลิเคชั่นหลากหลายทางธุรกิจมากกว่าที่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่ต้องการการบำรุงรักษาสูง หรือมีข้อเรียกร้องเยอะ  SAP มักจะพูดถึงการทำให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ นั้นง่ายขึ้นอยู่บ่อยๆ  ดังนั้นมันจึงเหมาะสมที่จะรวมการใช้งานแอพพลิเคชั่นองค์กรขนาดใหญ่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่พูดถึงความต้องการทั้งในด้านความคล่องตัวและความยืดหยุ่น

บทสรุป – หลีกเลี่ยงความเสี่ยงปรปักษ์ด้วยการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด