เนื้อหาวันที่ : 2013-05-07 14:42:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7142 views

บัญญัติศัพท์ด้านมาตรวิทยานานาชาติ (VIM 1993) ตอนที่ 1

ท่านผู้อ่านเคยเกิดมีความสงสัย และงงงวยในความหมายของคำศัพท์หลาย ๆ คำที่อ่านพบในเอกสารมาตรฐานนานาชาติต่าง ๆ เหล่านี้บ้างไหม

บัญญัติศัพท์ด้านมาตรวิทยานานาชาติ (VIM 1993) ตอนที่ 1


บุรินทร์ ไตรชินธนโชติ
ที่ปรึกษาระบบคุณภาพและสอบเทียบ,
burinkub@yahoo.com


    ท่านผู้อ่านเคยเกิดมีความสงสัย และงงงวยในความหมายของคำศัพท์หลาย ๆ คำที่อ่านพบในเอกสารมาตรฐานนานาชาติต่าง ๆ เหล่านี้บ้างไหม เช่น การสอบเทียบ (Calibration) มาตรฐานการวัด (Measurement Standard) ห่วงโซ่การวัด (Measurement Chain) มาตรฐานปฐมภูมิ (Primary Standard) มาตรฐานทุติยภูมิ (Secondary Standard) ค่าแก้ (Correction) ความผิดพลาด (Error) ความถูกต้อง (Accurcy) ฯลฯ ที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐานต่าง ๆ อาทิ ISO 9000, ISO/TS 16949, ISO/IEC 17025, ISO 14001 ฯลฯ โดยเฉพาะในบทที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการวัดต่าง ๆ จนบางครั้งเล่นเอาหมดภูมิไปเลย โดยเฉพาะเมื่อต้องนำไปบอกเล่าต่อกับคนอื่น ๆ

    ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะไม่คุ้นเคยกับคำเหล่านี้ และโดยมากคำแปลกเหล่านี้จะมีความหมายเฉพาะ และไม่ได้ปรากฏในบรรดามาตรฐานนานาชาติ (หรือที่เรียกว่ามาตรฐาน ISO นั่นเอง) เท่านั้น แต่จะยังปรากฏในเอกสารขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับในระดับกว้างทั่วไป ซึ่งที่จริงแล้วในมาตรฐานมักจะอ้างอิงถึงเอกสารที่อ้างอิงเอาคำเหล่านี้มาใช้ แต่บ่อยครั้งก็มักจะมีปัญหาในการไปหามาอ้างอิง สำหรับบทความในชุดนี้ จะขอนำเอาบัญญัติศัพท์ด้านมาตรวิทยานานาชาติ ฉบับที่ดูจะมีคำจำกัดความที่ถูกอ้างอิงมาใช้มากที่สุดมาเสนอกัน โดยเฉพาะสำหรับผู้มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และนำไปปฏิบัติ รวมถึงท่านที่กำลังรออ่านมาตรฐาน ISO/IEC 17020 ที่จะนำมาเสนอต่อไป


ที่มาของบัญญัติศัพท์ VIM 1993

    บัญญัติศัพท์ฉบับนี้มีชื่อเต็มว่า “International Vocabulary of Basic and General Terms in Metrology” ฉบับแก้ไขครั้งที่สองปี ค.ศ. 1993 ซึ่งเป็นการบัญญัติร่วมกันระหว่างองค์กรด้านมาตรวิทยา และองค์กรนานาชาติต่าง ๆ 7 องค์กรได้แก่ BIPM (Bureau International des Poids et Measures), IEC (International Electrotechnical Commission), IFCC (International Federation of Clinical Chemistry), ISO (International Organization for Standardization), IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry), IUPAP (International Union of Pure and Applied Physics), OIML (International Organization of Legal Metrology) เพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกันเป็นอันเดียวกัน และประกาศใช้ฉบับนี้เป็นฉบับแก้ไขครั้งที่สองนี้เอง

    การบัญญัติศัพท์ ได้แบ่งหมวดคำศัพท์ออกเป็น 6 หมวด ดังนี้

1. QUANTITIES AND UNITS เกี่ยวกับหน่วยการวัด และปริมาณของการวัด
2. MEASUREMENTS เกี่ยวกับการดำเนินการวัด
3. MEASUREMENT RESULTS เกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ได้จากการวัด
4. MEASURING INSTRUMENTS เกี่ยวกับตัวเครื่องมือวัด
5. CHARACTERISTICS OF MEASURING INSTRUMENTS เกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของเครื่องมือวัด
6. MEASUREMENT STANDARDS, ETALONS เกี่ยวกับมาตรฐานการวัดต่าง ๆ


สองภาษาแล้วแต่สะดวกจะอ่าน
    เพื่อความสะดวกตามแต่ท่านผู้อ่านจะถนัดภาษาไหน จึงขอยกมาทั้งสองภาษา โดยที่ภาษาไทยได้แปลและวางต่อท้ายภาษาอังกฤษในแต่ละข้อ

บัญญัติศัพท์หมวดที่ 1 ปริมาณ (ของการวัด) และหน่วย

1. QUANTITIES AND UNITS
     1.1 Measurable Quantity
     Attribute of a phenomenon, body or substance that may be distinguished qualitatively and determined quantitatively

     NOTES
     1. The term quantity may refer to a quantity in a general sense [see example a)] or to a particular quantity [see example b)].

     EXAMPLES
     a) quantities in a general sense: length, time, mass, temperature, electrical resistance, amount-of-substance concentration;

     b) particular quantities:
     - length of a given rod
     - electrical resistance of a given specimen of wire
     - amount-of-substance concentration of ethanol in a given sample of wine.

     2. Quantities that can be placed in order of magnitude relative to one another are called quantities of the same kind.

     3. Quantities of the same kind may be grouped together into categories of quantities, for
     example:
     - work, heat, energy
     - thickness, circumference, wavelength.

     4. Symbols for quantities are given in ISO31.


     ปริมาณ (ที่สามารถวัดได้)
     คุณสมบัติของปรากฏการณ์ธรรมชาติ วัตถุ หรือสารที่อาจมีคุณลักษณะประจำตัว และวัดปริมาณได้

     หมายเหตุ
     1. คำว่าปริมาณ อาจจะอ้างอิงถึง ปริมาณ ที่รู้จักทั่วไป (ดูตัวอย่าง a) หรือปริมาณเฉพาะตัว (ดูตัวอย่าง b) ตัวอย่างเช่น
     a) ปริมาณในความรู้จักทั่วไป ความยาว เวลา น้ำหนัก อุณหภูมิ ความต้านทานทางไฟฟ้า ปริมาณความเข้มข้นของสาร

     b) ปริมาณเฉพาะตัว
     - ความยาวของแท่งวัตถุ
     - ความต้านทานทางไฟฟ้าของตัวอย่างลวด
     - ปริมาณความเข้มข้นของสารอีเทอร์ ในตัวอย่างไวน์

     2. ปริมาณที่สามารถแทนที่ด้วยขนาดที่มีความสัมพันธ์อันอื่น ๆ ที่เรียกกว่ามีปริมาณที่เป็นชนิดเดียวกัน

     3. ปริมาณของชนิดเดียวกันอาจจะรวมด้วยกันเป็นปริมาณประเภทต่าง ๆ เช่น
     - งาน ความร้อน พลังงาน
     - ความหนา ความยาวเส้นรอบวง ความยาวคลื่น

     4. สัญลักษณ์ ของ ปริมาณ ดูได้จาก ISO31

 
     1.2 System of Quantities
     set of quantities, in the general sense, among which defined relationships exist

     ระบบปริมาณ
     กลุ่มของปริมาณที่รู้จักทั่วไป ไนการกำหนดความสัมพันธ์ในที่มีอยู่


     1.3 Base Quantity
     One of the quantities that, in a system of quantities, are conventionally accepted as functionally independent of one another

     EXAMPLE the quantities length, mass and time are generally taken to be base quantities in the field of mechanics.

     NOTE The base quantities corresponding to the base units of the International System of Units (SI) are given in the NOTE to 1.12.


  ปริมาณมูลฐาน
     ปริมาณอันหนึ่งในระบบปริมาณ ที่ยอมรับกันมานานว่ามีคุณสมบัติที่เป็นอิสระจากอันอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ปริมาณความยาว มวล และเวลา ซึ่งโดยทั่วไปกำหนดให้เป็นปริมาณมูลฐานในสายเครื่องกล
  หมายเหตุ ปริมาณมูลฐาน รับหน้าที่เป็นหน่วยมูลฐานใน ระบบหน่วยนานาชาติ (SI) ดูได้จากหมายเหตุข้อ 1.12


     1.4 Derived Quantity
     Quantity defined, in a system of quantities, as a function of base quantities of that system
EXAMPLE in a system having base quantities length, mass and time, velocity is a derived quantity defined as: length divided by time.

  ปริมาณที่สร้างขึ้น
     ปริมาณที่กำหนด ในระบบปริมาณ ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณมูลฐานของระบบนั้น
     ตัวอย่างเช่น ในระบบหนึ่งมีปริมาณมูลฐาน คือ ความยาว มวล และเวลา ความเร็ว เป็นปริมาณที่สร้างมาจาก ความยาวหารด้วยเวลา


     1.5 Dimension of a Quantity
     Expression that represents a quantity of a system of quantities as the product of powers of factors that represent the base quantities of the system

     EXAMPLES
     a) in a system having base quantities length, mass and time, whose dimensions are denoted by L, M and T respectively, LMT-2 is the dimension of force;

     b) in the same system of quantities, ML-3 is the dimension of mass concentration as well as of mass density.

     NOTES
     1. The factors that represent the base quantities are called “dimensions” of these base quantities.
     2. For details of the relevant algebra, see ISO 31-0.


  มิติของปริมาณ
     สมการการที่แสดงถึงปริมาณของระบบปริมาณ ที่เป็นผลของกำลังของตัวแปรที่อธิบายถึงระบบปริมาณมูลฐาน ตัวอย่าง เช่น
     a) ในระบบที่มีปริมาณมูลฐาน ความยาว มวล และเวลา อันซึ่งมิติแทนด้วย L M และ Tตามลำดับ LMT-2 เป็นมิติของ กำลัง
     b) ในระบบปริมาณเดียวกัน, ML-3 คือ มิติของความเข้มของแรง เช่นเดียวกับ ความหนาแน่นของแรง

     หมายเหตุ
     1. ตัวแปรที่แสดงถึง ปริมาณมูลฐานเรียกว่า มิติ ของปริมาณมูลฐานเหล่านี้
     2. รายละเอียดของพิชคณิตที่เกี่ยวข้อง ดู ISO 31-0


     1.6 Quantity of Dimension One
     Dimension Quantity
     Quantity in the dimensional expression of which all the exponents of the dimensions of the base quantities reduce to zero

     EXAMPLES linear strain, friction factor, mach number, refractive index, mole fraction (amount-of-substance fraction), mass fraction.
 
     ปริมาณมิติที่หนึ่ง
     ปริมาณเกี่ยวกับขนาด
     ปริมาณในสมการมิติ ซึ่งการยกกำลังของมิติของปริมาณมูลฐานลดลงไปสู่ศูนย์ ตัวอย่างเช่น Linear Strain, Friction Factor, Mach Number, Refractive Index, Mole Fraction (Amount-of-substance fraction), Mass Fraction.

     หมายเหตุ ผู้เขียนจะละเว้นการแปลความที่เป็นศัพท์เฉพาะ เพราะว่าโดยปกติมักจะเรียกทับศัพท์อยู่แล้ว หากแปลไปจะทำให้ความหมายผิดไปได้


     1.7 Unit (of Measurement)
     Particular quantity, defined and adopted by convention, with which other quantities of the same kind are compared in order to express their magnitudes relative to that quantity

     NOTES
     1. Units of measurement have conventionally assigned names and symbols.
     2. Units of quantities of the same dimension may have the same names and symbols even when the quantities are not of the same kind.

  หน่วย (ของการวัด)
     ปริมาณเฉพาะ ที่กำหนดขึ้น และปรับเปลี่ยนจากการประชุม ซึ่งเปรียบเทียบกับปริมาณอื่น ๆ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน เพื่อจะแสดงระดับของปริมาณสัมพันธ์กับปริมาณนั้น

     หมายเหตุ
     1. หน่วยของการวัด มีการกำหนดชื่อ และสัญลักษณ์
     2. หน่วยของปริมาณที่มีมิติเดียวกัน อาจจะมีชื่อ และสัญลักษณ์เดียวกัน แม้ว่าปริมาณอาจจะไม่ใช่ชนิดเดียวกัน


     1.8 Symbol of a Unit (of Measurement)
     Conventional sign designating a unit of measurement

     EXAMPLES
     a) m is the symbol for metre;
     b) A is the symbol for ampere.

  สัญลักษณ์หน่วย (ของการวัด)
     สัญลักษณ์ที่ตกลงกัน ที่กำหนดเป็นหน่วยการวัด
     ตัวอย่างเช่น
     a) m เป็นสัญลักษณ์ของ เมตร
     b) A เป็นสัญลักษณ์ของ แอมแปร์


     1.9 System of Units (of Measurement)
     Set of base units, together with derived units, defined in accordance with given rules, for a given system of quantities

     EXAMPLES
     a) International System of Units, SI;
     b) CGS system of units.

  ระบบหน่วย (ของการวัด)
     ชุดของหน่วยมูลฐาน พร้อมด้วยที่มาของหน่วย กำหนดสอดคล้องกับกฎที่ตั้งขึ้น เพื่อเป็นระบบของหน่วย ตัวอย่างเช่น
     a) หน่วยการวัดนานาชาติ SI
     b) ระบบหน่วย CGS


     1.10 Coherent (Derived) Unit (of Measurement)
     Derived unit of measurement that may be expressed as a product of powers of base units with the proportionality factor one

     NOTE Coherency can be determined only with respect to the base units of a particular system. A unit may be coherent with respect to one system but not to another.

     หน่วย (ของการวัด) สัมพันธ์ (ที่สร้างขึ้น)
     หน่วยการวัดที่สัมพันธ์นั้น อาจจะเป็นสมการที่เป็นผลผลิตของพลังงาน ของหน่วยมูลฐานที่มีสัดส่วนตัวแปรที่หนึ่ง
     หมายเหตุ ความสัมพันธ์สามารถหาเทียบกับหน่วยมูลฐานของระบบเฉพาะใดเฉพาะหนึ่งเท่านั้น หน่วยสามารถเชื่อมโยงกับหนึ่งระบบ แต่ไม่สามารถข้ามระบบอื่น ๆ ได้


     1.11 Coherent System of Units (of Measurement)
     System of units of measurement in which all of the derived units are coherent
     EXAMPLE The following units (expressed by their symbols) form part of the coherent system of units in mechanics within the International System of Units, SI:
     
            


     ระบบที่สัมพันธ์ของหน่วย (ของการวัด)
     ระบบหน่วยของการวัด ซึ่งหน่วยที่สัมพันธ์กันมีความต่อเนื่องกัน
     ตัวอย่างเช่น หน่วยดังต่อไปนี้ (แสดงโดยใช้สัญลักษณ์) เป็นส่วนหนึ่งของความต่อเนื่องของระบบหน่วยในทางกล ซึ่งอยู่ใน ระบบหน่วยนานาชาติ SI

        


        1.12 International System of Units, SI
     The coherent system of units adopted and recommended by the General Conference on Weights and Measures (CGPM)

     NOTE The SI is based at present on the following seven base units.,

     ระบบหน่วยนานาชาติ SI
     ระบบที่สัมพันธ์ของหน่วย ที่ดัดแปลง และนำโดย General Conference on Weights and Measures (CGPM)
     หมายเหตุ SI นี้มีมูลฐาน จากหน่วยพื้นฐาน 7 หน่วยดังนี้


     1.13 Base Unit (of Measurement)
     Unit of measurement of a base quantity in a given system of quantities
     NOTE In any given coherent system of units there is only one base unit for each base quantity.

     หน่วยมูลฐาน (ของการวัด)
     หน่วยการวัดของหน่วยมูลฐานที่อยู่ในระบบปริมาณ
     หมายเหตุ ในการยกกำลังระบบหน่วยใด ๆ จะมีหน่วยมูลฐานแค่หนึ่งในแต่ละปริมาณมูลฐานเท่านั้น


     1.14 Derived Unit (of Measurement)
     Unit of measurement of a derived quantity in a given system of quantities
     NOTE Some derived units have special names and symbols; for example, in the SI:

     หน่วยที่สร้างขึ้น (ของการวัด)
     หน่วยของการวัด ของปริมาณที่สร้างขึ้นที่อยู่ในระบบปริมาณ
     หมายเหตุ หน่วยที่สร้างขึ้นบางหน่วยจะมีชื่อ และสัญลักษณ์พิเศษ ตัวอย่างเช่น ในระบบ SI


     1.15 Off-system Unit (of Measurement)
     Unit of measurement that does not belong to a given system of units

     EXAMPLES
     The electronvolt (about 1,602 18 x 10-19 J) is an off system unit of energy with respect to the SI;
day, hour, minute are off-system units of time with respect to the SI.

  หน่วยนอกระบบ (ของการวัด)
     หน่วยของการวัดที่ไม่เป็นไปตามระบบหน่วยที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น
     อิเล็กตรอนโวลต์ (ประมาณ1,602 18 x 10-19 J) คือหน่วยนอกระบบของพลังงาน เทียบกับหน่วยระบบ SI วัน ชั่วโมง นาที เป็นหน่วยนอกระบบของเวลาเทียบกับหน่วยระบบ SI

     หมายเหตุผู้เขียน นอกจากนั้น บรรดาหน่วยวัดของแต่ละประเทศ เช่นของไทย ก็ถือว่าเป็นหน่วยนอกระบบเทียบกับหน่วยระบบ SI เช่นกัน

     Unit of measurement that does not belong to a given system of units     EXAMPLES     The electronvolt (about 1,602 18 x 10-19 J) is an off system unit of energy with respect to the SI;day, hour, minute are off-system units of time with respect to the SI.       หน่วยของการวัดที่ไม่เป็นไปตามระบบหน่วยที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น     อิเล็กตรอนโวลต์ (ประมาณ1,602 18 x 10-19 J) คือหน่วยนอกระบบของพลังงาน เทียบกับหน่วยระบบ SI วัน ชั่วโมง นาที เป็นหน่วยนอกระบบของเวลาเทียบกับหน่วยระบบ SI     นอกจากนั้น บรรดาหน่วยวัดของแต่ละประเทศ เช่นของไทย ก็ถือว่าเป็นหน่วยนอกระบบเทียบกับหน่วยระบบ SI เช่นกัน


     1.16 Multiple of a Unit (of Measurement)
     Larger unit of measurement that is formed from a given unit according to scaling conventions

     EXAMPLES
     a) one of the decimal multiples of the metre is the kilometre;
     b) one of the non-decimal multiples of the second is the hour.

  ผลคูณของหน่วย (ของการวัด)
     หน่วยของการวัดที่ใหญ่ขึ้น ที่สร้างมาจากหน่วยที่มีอยู่ตามการตกลงกันด้านมาตรฐานการนับ ตัวอย่างเช่น
     a) หนึ่งหน่วยการคูณสิบของเมตร คือ กิโลเมตร
     b) หนึ่งหน่วยการคูณที่ไม่ใช่สิบของนาที คือ ชั่วโมง


     1.17 Submultiple of a Unit (of Measurement)
     Smaller unit of measurement that is formed from a given unit according to scaling conventions

     EXAMPLE
     one of the decimal submultiples of the metre is the millimetre.

  ส่วนคูณของหน่วย (ของการวัด)
     หน่วยของการวัดที่เล็กลง ที่สร้างมาจากหน่วยที่มีอยู่ตามการตกลงกันด้านมาตรฐานการนับ ตัวอย่างเช่น หนึ่งหน่วยส่วนคูณของสิบ ของเมตร คือ มิลลิเมตร


     1.18 Value (of a Quantity)
     Magnitude of a particular quantity generally expressed as a unit of measurement multiplied by a number

     EXAMPLES
     length of a rod: 5,34 m or 534 cm;
     mass of a body: 0,152kg or 152g;
     amount of substance of a sample of water (H2O): 0,012 mol or 12 mmol.

     NOTES
     1. The value of a quantity may be positive, negative or zero.
     2. The value of a quantity may be expressed in more than one way.
     3. The values of quantities of dimension one are generally expressed as pure numbers.
     4. A quantity that cannot be expressed as a unit of measurement multiplied by a number may be expressed by reference to a conventional reference scale or to a measurement procedure or to both.

     ค่า (ของปริมาณ)
     ระดับของปริมาณเฉพาะ โดยทั่วไปแสดงเป็น หน่วยของการวัดที่คูณด้วยจำนวน ตัวอย่างเช่น
     ความยาวของแท่ง 5,34 m or 534 cm
     มวลของร่างกาย 0,152kg or 152g
     จำนวนองค์ประกอบของน้ำที่สุ่ม (H2O): 0,012 mol or 12 mmol

     หมายเหตุ
     1. ค่าของปริมาณอาจเป็น ค่าบวก ลบ หรือค่าเป็นศูนย์
     2. ค่าของปริมาณอาจแสดงได้รูปแบบเดียวหรือมากกว่า
     3. ค่าปริมาณของมิติที่หนึ่ง โดยทั่วไปแสดงเป็นจำนวนล้วน ๆ
     4. ค่าของปริมาณไม่สามารถแสดงเป็นหน่วยของการวัด ที่คูนด้วยจำนวน อาจจะแสดงด้วยการอ้างอิงไปยังตกลงกันการอ้างอิงสเกล หรือขั้นตอนการวัด หรือทั้งคู่


     1.19 True Value (of a Quantity)
     value consistent with the definition of a given particular quantity

     NOTES
     1. This is a value that would be obtained by a perfect measurement.
     2. True values are by nature indeterminate.
     3. The indefinite article “a”, rather than the definite article “the”, is used in conjunction with “true value” because there may be many values consistent with the definition of a given particular quantity.

     ค่าจริง (ของปริมาณ)
     ค่าที่คงที่ จากการกำหนด ปริมาณเฉพาะที่ได้

     หมายเหตุ
     1. เป็นค่าที่ได้มาจากการวัดที่สมบูรณ์
     2. ค่าจริงมาจากธรรมชาติ ที่ไม่คงที่
     3. การใช้คำนำหน้า a แทนที่จะเป็น the ร่วมกับคำว่า “ค่าจริง” เพราะว่า อาจจะมีค่าหลายค่าที่ตรงกับปริมาณเฉพาะที่มีอยู่


     1.20 Conventional True Value (of a Quantity)
     Value attributed to a particular quantity and accepted, sometimes by convention, as having an uncertainty appropriate for a given purpose

     EXAMPLES
     a) at a given location, the value assigned to the quantity realized by a reference standard may be taken as a conventional true value;
     b) the CODATA (1986) recommended value for the Avogadro constant, NA : 6,022 136 7 x 1023 mol-1.

     NOTES
     1. “Conventional true value” is sometimes called assigned value, best estimate of the value, conventional value or reference value. “Reference value”, in this sense, should not be confused with “reference value” in the sense used in the NOTE to 5.7.
     2. Frequently, a number of results of measurements of a quantity is used to establish a conventional true value.

     ค่าจริงที่ตกลงกัน (ของปริมาณ)
     ค่าที่อ้างถึงปริมาณเฉพาะ และเป็นที่ยอมรับ บางครั้งจากการตกลงกัน มีความไม่แน่นอนที่เหมาะสมเพื่อวัตถุประสงค์ที่ใช้ ตัวอย่างเช่น
     a) ในสถานที่ที่กำหนด ค่าที่กำหนดให้เป็นปริมาณที่ทำให้เป็นจริงโดยมาตรฐานอ้างอิงอาจจะถือเป็นค่าจริงที่ตกลงกัน
     b) the CODATA (1986) แนะนำค่าคงที่ของ Avogadro, NA : 6,022 136 7 x 1023 mol-1.

     หมายเหตุ
     1. ค่าจริงที่ตกลงกัน บางครั้งเรียกว่า ค่าที่กำหนด การประมาณค่าที่ดีที่สุด คือค่าที่ตกลงกัน หรือค่าอ้างอิง  ค่าอ้างอิง ในความหมายนี้ ไม่ควรสับสนกับ ค่าอ้างอิงในหมายเหตุข้อ 5.7
     2. บ่อยครั้ง ที่จำนวนของผลการวัดปริมาณ ใช้สร้างค่าจริงที่ตกลงกัน


     1.21 Numerical Value (of a Quantity)
     Quotient of the value of a quantity and the unit used in its expression

     EXAMPLES
     in the examples in 1.18, the numbers:
     a) 5,34 , 534
     b) 0, 152 , 152
     c) 0,012 , 12.

  ค่าตัวเลข (ของปริมาณ)
     ผลหารของค่าปริมาณ และหน่วยที่ใช้ในการแสดงผล
     ตัวอย่างเช่น
     a) 5,34 , 534
     b) 0, 152 , 152
     c) 0,012 , 12.


     1.22 Conventional Reference Scale
     Reference-value Scale
     For particular quantities of a given kind, an ordered set of values, continuous or discrete, defined by convention as a reference for arranging quantities of that kind in order of magnitude
    
     EXAMPLES
     a) the Mohs hardness scale
     b) the pH scale in chemistry
     c) the scale of octane numbers for petroleum fuel.
 
     สเกลอ้างอิงที่ตกลงกัน
     สเกลค่าอ้างอิง
     สำหรับปริมาณเฉพาะของชนิดที่มีอยู่ ชุดอนุกรมค่า ต่อเนื่อง หรือไม่ต่อเนื่อง กำหนดโดยการตกลงกัน เป็นปริมาณที่สร้างขึ้นอ้างอิงของลำดับของระดับของชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น
     a) สเกลความแข็ง Mohs
     b) สเกลของค่า pH ในทางเคมี
     c) สเกลของค่าอ็อกเทน สำหรับเชื้อเพลิงปิโตรเลียม


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด