เนื้อหาวันที่ : 2013-05-07 10:07:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7787 views

กว่าจะมาเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Latex Glove) รู้จักชนิด การใช้งาน กระบวนการ และจักรกลผลิตถุงมือยางของไทย (ตอนจบ)

ถังในกระบวนการ นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในกระบวนการผลิตถุงมือ ซึ่งแต่ละถังของแต่ละกระบวนการมีหน้าที่ต่าง ๆ กันไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวถึงถังต่าง ๆ

กว่าจะมาเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Latex Glove)
รู้จักชนิด การใช้งาน กระบวนการ และจักรกลผลิตถุงมือยางของไทย (ตอนจบ)


ทนงศักดิ์ วัฒนา, ศุภัสชกรณ์ หลิมเฮงฮะ

     3.3)  ถังในกระบวนการ นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในกระบวนการผลิตถุงมือ ซึ่งแต่ละถังของแต่ละกระบวนการมีหน้าที่ต่าง ๆ กันไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวถึงถังต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตถุงมือยางได้พอสังเขป ซึ่งไล่ตามกระบวนการผลิต ดังนี้

     3.3.1) ถังล้างกรดและด่าง สำหรับแบบมือ (Acid & Alkaline Washing Tank) จากกระบวนการผลิต ในรูปที่ 20 หลังจากถุงมือยางถูกออกจากแบบมือ จะมีคราบสกปรกติดที่แบบมือ จำเป็นต้องมีการล้างออก ปกติจะใช้กรดเจือจางในการล้าง และปรับสมดุลด้วยเบสอีกครั้ง หลังจากนั้น ก็ล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง ลักษณะของถังกรด และถังเบส โดยมากจะออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม ดังแสดงในรูปที่ 43



รูปที่ 43 ลักษณะของถังกรด และเบส ที่ใช้ในกระบวนการผลิตถุงมือยาง     

 

     3.3.2) ถังน้ำล้าง (Washing Tank) ถังน้ำล้าง ทำหน้าที่ล้างทำความสะอาดแบบมือ (Former) หลังจากผ่านถังกรด และเบส เพื่อล้างกรด และเบส ออกจากแบบมือ เพื่อให้แบบมือสะอาด โดยปกติ ถังน้ำล้างจะมี 2-3 ถัง ในการล้างแบบมือนี้ จะต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 60-70 ๐C โดยการทำให้น้ำร้อนอาจให้ความร้อนโดยตรง หรือผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ลักษณะของถังล้างแบบมือ ในกระบวนการผลิตถุงมือ สามารถแสดงได้ในรูปที่ 44

                      

 รูปที่ 44 ลักษณะทั่วไปของถังน้ำล้างในกระบวนการผลิตถุงมือ

    3.3.3)
ถัง Coagulant เป็นถังสารเคมี ซึ่งประกอบด้วย สารละลายแคลเซียมไนเตรต (CaNO3)2 และสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่ง สารละลายแคลเซียมไนเตรต (CaNO3)2 เป็นสารช่วยจับตัวอนุภาคยาง และสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นสารช่วยป้องกันยางไม่ให้ยางติดแบบพิมพ์ (Former) ลักษณะของถัง Coagulant จะมีเครื่องกวนทำหน้าที่กวนไม่ให้สารเคมีตกตะกอน และเป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนให้สารเคมีไหลวน

   

รูปที่ 45 ลักษณะทั่วไปของถัง Coagulant



     3.3.4) ถังน้ำยาง (Latex Dipping Tank) น้ำยางที่ใช้เพื่อผลิตถุงมือยาง จะเป็นน้ำยางคอมปาวด์ (Latex Compound) ซึ่งเป็นสารละลายน้ำยางสดรวมกับสารเคมี ถังน้ำยางเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตถุงมือยาง ถังน้ำยางจะถูกออกแบบให้มีการหมุนเวียนของน้ำยาง เพื่อไม่ให้น้ำยางคอมปาวด์ตกตะกอน โดยใช้เครื่องกวนมีลักษณะเป็นใบพัด โดยทั่วไปถังน้ำยาง มักจะออกแบบเป็น 2 ลักษณะ

ถังน้ำยาง (Latex Dipping Tank) น้ำยางที่ใช้เพื่อผลิตถุงมือยาง จะเป็นน้ำยางคอมปาวด์ (Latex Compound) ซึ่งเป็นสารละลายน้ำยางสดรวมกับสารเคมี ถังน้ำยางเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตถุงมือยาง ถังน้ำยางจะถูกออกแบบให้มีการหมุนเวียนของน้ำยาง เพื่อไม่ให้น้ำยางคอมปาวด์ตกตะกอน โดยใช้เครื่องกวนมีลักษณะเป็นใบพัด โดยทั่วไปถังน้ำยาง มักจะออกแบบเป็น 2 ลักษณะ      คือมีเครื่องกวนอยู่บริเวณปลายข้างใดข้างหนึ่งของถังน้ำยาง และแบบอยู่ด้านข้างของน้ำยาง โดยการออกแบบให้อัตราการวนของน้ำยางให้มีความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างการไหลวนกับความเร็วในการจุ่มของแบบมือ ให้เป็นศูนย์หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเร็วในการจุ่มกับความเร็วในการไหลวน มีค่าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ถังน้ำยางมักจะออกแบบให้มี 2 ชั้น โดยมีน้ำเย็นหล่อเย็นทั่วทั้งถัง เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำยางให้มีค่าคงที่ เนื่องจากแบบมือที่มาจุ่มเพื่อให้เกิดฟิล์มบางบนแบบมือ จะมีอุณหภูมิสูงเพราะเพิ่งผ่านการอบแห้งมา

รูปที่ 46 ลักษณะทั่วไปของถังน้ำยาง


     3.3.5) ถังชะล้าง (Leaching Tank) ถังชะล้าง เป็นถังที่ทำหน้าที่ในการชะล้างสารเคมี ที่ละลายน้ำออกจากฟิล์มบางถุงมือยางเพื่อเพิ่มความใสของถุงมือ เพิ่มความทนต่อแรงดึง ถังชะล้างเป็นขั้นตอนสำคัญในการกำจัดโปรตีนออกจากฟิล์มของถุงมือ โดยการชะล้างจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การล้างขณะที่ฟิล์มถุงมือเปียก (Wet Gel) และล้าง ขณะฟิล์มแห้ง (Dry Film) การชะล้างฟิล์ม ในกระบวนผลิตถุงมือยาง จะใช้น้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 60-80 ๐C นานประมาณ 1-20 นาที

    ถังชะล้าง เป็นถังที่ทำหน้าที่ในการชะล้างสารเคมี ที่ละลายน้ำออกจากฟิล์มบางถุงมือยางเพื่อเพิ่มความใสของถุงมือ เพิ่มความทนต่อแรงดึง ถังชะล้างเป็นขั้นตอนสำคัญในการกำจัดโปรตีนออกจากฟิล์มของถุงมือ โดยการชะล้างจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การล้างขณะที่ฟิล์มถุงมือเปียก (Wet Gel) และล้าง ขณะฟิล์มแห้ง (Dry Film) การชะล้างฟิล์ม ในกระบวนผลิตถุงมือยาง จะใช้น้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 60-80 ๐C นานประมาณ 1-20 นาที

กระบวนการล้างจะถูกชะล้างก่อนกระบวนการทำให้แห้ง ในตู้อบ ถังชะล้างโดยส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ ทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม ส่วนการให้ความร้อน จะมี 2 รูปแบบ คือ การให้ความร้อนโดยตรง คือใช้หัวเผาให้ความร้อนใต้ถัง หรือใช้คอยล์ เป็นอุปกรณ์ในการแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งอาจใช้น้ำมันร้อน หรือไอน้ำก็ได้ แล้วแต่ผู้ออกแบบ เป็นแหล่งจ่ายความร้อน ถังชะล้าง (Leaching) โดยทั่วไปจะแสดงในรูปที่ 47

 

รูปที่ 47 ลักษณะทั่วไปของถังชะล้าง (Leaching) ในกระบวนการผลิตถุงมือ


     3.3.6) ถังแป้ง (Power Tank) เป็นกระบวนการจุ่มลงในน้ำแป้ง ของถุงมือที่ผ่านการทำให้ถุงมือแห้งและเกิดการวัลคาไนซ์ ลักษณะของถังแป้ง โดยทั่วไปจะออกแบบคล้าย ๆ กับถังกรด แต่มีผนังกันให้น้ำแป้งไหล Overflow และจะตกลงสู่ถังเก็บ เพื่อส่งผ่านโดยปั๊มให้ไปยังถังแป้งอีกครั้ง ถังแป้ง มักทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม

     เป็นกระบวนการจุ่มลงในน้ำแป้ง ของถุงมือที่ผ่านการทำให้ถุงมือแห้งและเกิดการวัลคาไนซ์ ลักษณะของถังแป้ง โดยทั่วไปจะออกแบบคล้าย ๆ กับถังกรด แต่มีผนังกันให้น้ำแป้งไหล Overflow และจะตกลงสู่ถังเก็บ เพื่อส่งผ่านโดยปั๊มให้ไปยังถังแป้งอีกครั้ง ถังแป้ง มักทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม

 รูปที่ 48 ลักษณะของถังแป้งทีใช้ในกระบวนการผลิตถุงมือ


     3.4)  ตู้อบถุงมือ (Oven) ตู้อบถุงมือ เป็นอุปกรณ์และกระบวนการที่สำคัญมากอีกหนึ่งกระบวนการผลิตถุงมือยาง เพราะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและนานที่สุด ใช้พลังงานมากที่สุดในการผลิตถุงมือ ปกติตู้อบในกระบวนการผลิตถุงมือจะแบ่งตามกระบวนการผลิต คือ 

กระบวนการอบแห้งแบบมือหลังถังล้าง ซึ่งกระบวนการนี้ อาจจะไม่มีก็ได้ แต่ต้องมีอุปกรณ์ทำให้น้ำสะเด็ดจากแบบมือ ซึ่งอาจใช้วิธีการสะบัด เพื่อให้น้ำออกจากแบบมือ

 กระบวนการอบแห้งสารเคมี หลังจากการจุ่มสารเคมี จากถัง Coagulant จะเป็นตู้อบตู้ที่สอง ทำหน้าที่ทำแห้งสารเคลือบบนแบบมือ จากถัง Coagulant โดยจะใช้อุณหภูมิประมาณ 120 OC เพื่อระเหยน้ำในสารละลายเคมี

 กระบวนการอบถุงมือหลังการจุ่มจากถังน้ำยาง เป็นการอบเพื่อระเหยน้ำในเนื้อยางโดยเมื่อออกจากตู้อบนี้ ฟิล์มถุงมือยางจะมีลักษณะเป็นเจล (Gel) เพื่อม้วนขอบ หรือ การล้างเปียกในถังชะล้าง ต่อไป

 กระบวนการอบเพื่อถุงมือยางวัลคาไนซ์  เป็นกระบวนการอบให้ยางแห้ง และวัลคาไนซ์  โดยในกระบวนการนี้จะเป็นกระบวนการที่นานที่สุด และใช้พลังงานในการอบมากที่สุด โดยปกติจะแบ่งการอบออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงการอบเพื่อไล่ความชื้น โดยการใช้อุณหภูมิประมาณ 70-80 OC เพื่อไม่ให้เกิดฟองอากาศในเนื้อยาง และในช่วงต่อมาจะเป็นการอบเพื่อให้ยางวัลคาไนซ์ ใช้อุณหภูมิไม่เกิน 100 OC

     ตู้อบถุงมือในแต่ละกระบวนการ มักจะถูกออกแบบโครงสร้างคล้าย ๆ กัน จะมีลักษณะเปิด ทางด้านเข้าและออกของแบบมือ ผนังเป็นเหล็กกล้า 2 ชั้น และมีฉนวนความร้อนอยู่ด้านใน ส่วนความหนาและชนิดของฉนวนความร้อนต้องผ่านการออกแบบโดยวิศวกร เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนผ่านผนังมากเกินไป

รูปที่ 49 แสดงตู้อบถุงมือในตำแหน่งต่าง ๆ ในสายการผลิตถุงมือ


     3.5) เครื่องม้วนขอบถุงมือ (Beading Machine) เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนขอบถุงมือ กระบวนการนี้จะทำหลังจากออกจากตู้อบ ที่อบถุงมือยางให้เป็นเจล ลักษณะของเครื่องม้วนขอบมีหลายแบบ เช่น ใช้แปรงม้วนขอบ หรือใช้พลาสติก ชนิด PE ในการม้วนขอบ โดยทั่วไปเครื่องม้วนขอบจะมี 2 ส่วน คือส่วนด้านล่าง จะออกแบบให้เป็นสายพานเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของแบบมือ และส่วนที่ 2 คือ จะอยู่ด้านบนแบบมือ จะทำหน้าที่ม้วนขอบถุงมือยาง โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวขับให้แปรงม้วน ดังแสดงในรูปที่ 50

รูปที่ 50 แสดงลักษณะทั่วไปของเครื่องม้วนขอบ โดยใช้แปรงม้วนขอบ


     3.6) เครื่องถอดถุงมือยาง (Auto Stripping) เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการถอดถุงมือ ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบการนำถุงมือใช้งาน เช่น ถอดแบบกลับด้าน หรือถอดแบบไม่กลับด้าน เป็นต้น ซึ่งแต่ละแบบมักจะออกแบบเครื่องแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากมักจะออกแบบโดยใช้ลมอัดส่งผ่านหัวฉีด เป่าไปยังถุงมือ และมีอุปกรณ์รับถุงมือที่หลุดออกจากการเป่า ดังแสดงในรูปที่ 51

รูปที่ 51 ลักษณะของเครื่องถอดถุงมือแบบอัตโนมัติที่ใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง


     4. เครื่องจักรสนับสนุนหลังถุงมือออกจากสายการผลิต นอกจากอุปกรณ์ เครื่องจักรที่กล่าวมาแล้ว ยังมี อุปกรณ์ และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ที่มีความสำคัญมากในกระบวนการผลิตถุงมือ เพื่อให้ถุงมือยางที่ผลิตมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาด อย่างเช่น ตู้อบถุงมือ เครื่องตรวจคุณภาพถุงมือ ซึ่งในส่วนนี้ จะไม่กล่าวในบทความนี้


มาตรฐานการตรวจสอบถุงมือยางของไทย

     นอกจากอุปกรณ์ เครื่องจักรที่กล่าวมาแล้ว ยังมี อุปกรณ์ และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ที่มีความสำคัญมากในกระบวนการผลิตถุงมือ เพื่อให้ถุงมือยางที่ผลิตมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาด อย่างเช่น ตู้อบถุงมือ เครื่องตรวจคุณภาพถุงมือ ซึ่งในส่วนนี้ จะไม่กล่าวในบทความนี้

 เนื่องด้วยถุงมือยางทางการแพทย์เป็นสินค้าเข้าข่ายเครื่องมือทางการแพทย์จึงต้องมีการควบคุมคุณภาพและตรวจมาตรฐานให้เป็นไปตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ถุงมือยางทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ถุงมือยางที่ใช้ในงานผ่าตัด (Surgical Glove) หรือทางศัลยกรรม และถุงมือตรวจโรค ในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะมาตรฐานของถุงมือยางสำหรับตรวจโรคเท่านั้น 
   
      

รูปที่ 52 การใช้งานถุงมือยางในทางการแพทย์


    มาตรฐานของถุงมือยางสำหรับตรวจโรค สำหรับผลิตและนำเข้าเพื่อขายให้ผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งอาจทำจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ จะต้องผ่านคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2547 เรื่องถุงมือสำหรับการตรวจโรค โดยมี รายละเอียด ดังนี้

1) ประเภท โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือถุงมือยางทำจากยางธรรมชาติและทำจากยางสังเคราะห์

    สำหรับผลิตและนำเข้าเพื่อขายให้ผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งอาจทำจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ จะต้องผ่านคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2547 เรื่องถุงมือสำหรับการตรวจโรค โดยมี รายละเอียด ดังนี้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือถุงมือยางทำจากยางธรรมชาติและทำจากยางสังเคราะห์

2) ชนิดถุงมือ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด  คือ ชนิดปราศจากเชื้อ และไม่ปราศจากเชื้อ

3) มิติและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ในการพิจารณาความกว้างของฝามือและความยาวของถุงมือยาง ให้อ้างอิงมาตรฐาน มอก.1056-2548 และความหนาของถุงมือยาง โดยความหนา ให้อ้างอิง ตามมาตรฐาน ISO 4648 และตำแหน่งสำหรับวัดความหนาให้อ้างอิง มาตรฐาน มอก.1056-2548  ซึ่งค่ามิติและความคลาดเคลื่อน ให้อ้างอิงตามตารางที่ 3

ตารางที่ 3 มิติและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของถุงมือยางสำหรับตรวจโรค

 
4) การรั่วซึมน้ำ โดยให้อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก.1056-2548 ภาคผนวก ก

5) คุณลักษณะเกี่ยวกับแรงดึง ชิ้นตัวอย่างถุงมือที่นำมาทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 12 เดือน โดยทำให้เป็นรูป ดรัมเบลล์แบบที่ 2 จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น จากถุงมือแต่ละข้าง โดยค่าที่ได้ต้องเป็นไปตามค่าในตารางที่ 4


ตารางที่ 4 คุณลักษณะเกี่ยวกับแรงดึงและเกณฑ์ที่กำหนดของถุงมือยางสำหรับตรวจโรค

 

 
6) ความปราศจากเชื้อโรค ถุงมือยางสำหรับการตรวจโรคชนิดปราศจากเชื้อ ต้องปราศจากเชื้อเมื่อทดสอบตาม USP 26

7) การชักตัวอย่างและเกณฑ์การยอมรับ การชักตัวอย่างและการตรวจสอบถุงมือ ให้เป็นไปตาม ISO 2859-1 ในกรณีไม่ทราบรุ่นให้ถือว่ามีขนาด 35,001-150,000


  จากที่กล่าวมาอุตสาหกรรมถุงมือยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตวัตถุดิบ แต่อุตสาหกรรมถุงมือยางของประเทศไทยยังคงประสบปัญหาหลายด้าน ที่ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงรัฐบาลให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเร่ง ด้วยปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมถุงมือ คือ

1) ด้านวัตถุดิบ ซึ่งมีราคาสูงอย่างต่อเนื่องและทางด้านคุณภาพของวัตถุดิบ ที่ยังขนาดการควบคุมที่ดีตั้งแต่ต้นทาง คือเกษตรกรชาวสวน

2) ด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ซึ่งผู้ผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องประสบปัญหาเรื่องถุงมือรั่วและปริมาณโปรตีนในถุงมือยังสูงทำให้เกิดการแพ้ของผู้ใช้งาน

3) ด้านเทคโนโลยีการผลิต ประเทศไทยยังขาดความเป็นเอกภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในเรื่องถุงมือยาง รวมถึงการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี อีกทั้งยังขาดงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างมาก

4) ด้านการจัดการเรื่องพลังงานและต้นทุน ปัจจุบันปัจจัยด้านพลังงานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลต่อต้นทุนการผลอย่างมากมาย เนื่องจากพลังงานมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาด้านพลังงานทดแทนจึงเป็นเรื่องต้องไห้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง

  อุตสาหกรรมถุงมือยาง โดยเฉพาะที่ใช้ในทางการแพทย์ นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ทำให้อัตราการใช้ถุงมือยางในวงการแพทย์มีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น อุตสาหกรรมถุงมือยางคงเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีของไทย ควรได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิต รวมถึงเกษตรกรชาวสวนของไทย ให้มีชีวิตความเป็นอย่างที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และตลอดไป


    

เอกสารอ้างอิง
- คู่มือการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับถุงมือทางการแพทย์, กองควบคุมเครื่องมือแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข: พ.ศ.2547

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด