เนื้อหาวันที่ : 2013-05-03 15:08:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5585 views

นวัตกรรมผลิตภาพสีเขียวเพื่ออาคารยุคใหม่ (ตอนจบ)

อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย เน้นบูรณาการแนวคิดอาคารสีเขียวควบคู่กับการอนุรักษ์มรดกและสิ่งแวดล้อม ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอยรวม 85,856 ตารางเมตร

นวัตกรรมผลิตภาพสีเขียวเพื่ออาคารยุคใหม่ (ตอนจบ)


โกศล  ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com

     อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย เน้นบูรณาการแนวคิดอาคารสีเขียวควบคู่กับการอนุรักษ์มรดกและสิ่งแวดล้อม ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอยรวม 85,856 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน 5 ชั้นและที่จอดรถชั้นใต้ดิน 4 ชั้น มีโครงสร้างอาคารเรียบง่ายที่เน้นการประหยัดพลังงาน โดยมีการออกแบบให้แสงส่องผ่านเข้ามาในตัวอาคารได้ทั่วถึงนอกจากนี้ ตัวอาคารยังมีรูปทรงที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์โดยรอบ แนวอาคารทิศตะวันตกเป็นเสมือน ฉากหลังที่สอดประสานระหว่างอาคารที่สร้างต่างยุคสมัยอย่างกลมกลืน

 โดยมีทางเชื่อมต่อกับอาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกเพื่อรองรับการใช้งานที่ขยายตัวตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ส่วนผนังอาคารได้ออกแบบให้มีส่วนเว้าเข้าตัวอาคารเพื่อลดพื้นที่รับความร้อนและช่องแสงส่องผ่านเข้าถึงกลางอาคารได้ สำหรับพื้นที่ส่วนกลางอาคารได้ออกแบบให้มีช่องแสงธรรมชาติผ่านเข้ามาภายในตัวอาคารอย่างทั่วถึง

 ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากดวงโคมส่องสว่างในเวลากลางวัน กรอบตัวอาคารใช้กระจกสองชั้นชนิด Low E มีคุณสมบัติไม่นำความร้อนผ่านช่องอากาศระหว่างกระจกและช่วยกรองแสงที่จะเข้าสู่อาคาร ด้านการประหยัดพลังงานได้มีการนำเอาหลอดฟลูออเรสเซนต์ รุ่นพิเศษ ขนาด 30W มีความสว่าง 2,850 ลูเมน โดยใช้ร่วมกับกล่องโคมกระจายแสงที่ออกแบบพิเศษเพื่อเพิ่มปริมาณแสงสว่างมากขึ้น รวมทั้งงใช้ระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติควบคุมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ

 

  อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย



   อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่แห่งที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากเครือธนาคารกสิกรไทยประกาศปณิธานสีเขียว มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยใช้อาคารแจ้งวัฒนะ เป็นต้นแบบอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาตรฐานโลก เพื่อมุ่งสู่องค์กรที่ร่วมปกป้องรักษาโลก ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมและชุมชน สะอาดปราศจากมลพิษ โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้ 

ด้านการสนับสนุนสินเชื่อแก่โครงการและธุรกิจ โดยมุ่งธุรกิจสีเขียวที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการหรือเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต้องการลงทุนเพื่อพยายามลดผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อสภาวะแวดล้อมโลกและชุมชน รวมทั้งโครงการสินเชื่อ K-Energy Saving ให้แก่ธุรกิจที่ลดการใช้พลังงาน 

ด้านการให้บริการลูกค้าส่วนบุคคล โดยให้การสนับสนุนลูกค้าซื้อที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงาน หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงานและช่องทางการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเดินทางมาใช้บริการธนาคารของลูกค้า 

ด้านกิจกรรมชุมชนและกิจกรรมการตลาด กำหนดแนวทางจัดกิจกรรมสีเขียว สื่อสารสู่ลูกค้าผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ บริจาคเงินและสร้างสาธารณะประโยชน์ที่ส่งเสริมโลกสีเขียว 

ด้านการดำเนินงานขององค์กร มีการบริหารจัดการและดำเนินงานภายในขององค์กร ตามปณิธาน สีเขียวเพื่อโลกสะอาดสดใส ด้วยการลดระดับการปล่อยสารเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การประชุมทางไกลแทนการเดินทางระหว่างกัน ใช้ระบบ Virtual Expert System & Web Collaboration ระหว่างธนาคารและลูกค้าแทนการเดินทาง ลดปริมาณการใช้กระดาษและนำกระดาษมาใช้ใหม่ รวมทั้งใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน

    
     ธีรนันท์ ศรีหงส์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การก่อตั้งอาคารสำนักงานใหญ่แห่งที่ 3 เป็นแผนยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ต้องการมีระบบสำรองรองรับการทำงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินกับอาคารพหลโยธินหรืออาคารราษฎร์บูรณะ ตามหลักภูมิศาสตร์ที่เลือกตั้งสำนักงานบนถนนแจ้งวัฒนะ เพราะอาคารอยู่ห่างจากอาคารพหลโยธิน 20 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานราษฎร์บูรณะ 45 กิโลเมตร ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลมาก

   อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่แห่งที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากเครือธนาคารกสิกรไทยประกาศปณิธานสีเขียว มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยใช้อาคารแจ้งวัฒนะ เป็นต้นแบบอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาตรฐานโลก เพื่อมุ่งสู่องค์กรที่ร่วมปกป้องรักษาโลก ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมและชุมชน สะอาดปราศจากมลพิษ โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้  โดยมุ่งธุรกิจสีเขียวที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการหรือเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต้องการลงทุนเพื่อพยายามลดผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อสภาวะแวดล้อมโลกและชุมชน รวมทั้งโครงการสินเชื่อ K-Energy Saving ให้แก่ธุรกิจที่ลดการใช้พลังงาน 

    โดยให้การสนับสนุนลูกค้าซื้อที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงาน หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงานและช่องทางการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเดินทางมาใช้บริการธนาคารของลูกค้า  กำหนดแนวทางจัดกิจกรรมสีเขียว สื่อสารสู่ลูกค้าผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ บริจาคเงินและสร้างสาธารณะประโยชน์ที่ส่งเสริมโลกสีเขียว  มีการบริหารจัดการและดำเนินงานภายในขององค์กร ตามปณิธาน สีเขียวเพื่อโลกสะอาดสดใส ด้วยการลดระดับการปล่อยสารเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่

    โดยให้การสนับสนุนลูกค้าซื้อที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงาน หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงานและช่องทางการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเดินทางมาใช้บริการธนาคารของลูกค้า  กำหนดแนวทางจัดกิจกรรมสีเขียว สื่อสารสู่ลูกค้าผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ บริจาคเงินและสร้างสาธารณะประโยชน์ที่ส่งเสริมโลกสีเขียว  มีการบริหารจัดการและดำเนินงานภายในขององค์กร ตามปณิธาน สีเขียวเพื่อโลกสะอาดสดใส ด้วยการลดระดับการปล่อยสารเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่

อาทิ การประชุมทางไกลแทนการเดินทางระหว่างกัน ใช้ระบบ Virtual Expert System & Web Collaboration ระหว่างธนาคารและลูกค้าแทนการเดินทาง ลดปริมาณการใช้กระดาษและนำกระดาษมาใช้ใหม่ รวมทั้งใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน          รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

กล่าวว่า การก่อตั้งอาคารสำนักงานใหญ่แห่งที่ 3 เป็นแผนยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ต้องการมีระบบสำรองรองรับการทำงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินกับอาคารพหลโยธินหรืออาคารราษฎร์บูรณะ ตามหลักภูมิศาสตร์ที่เลือกตั้งสำนักงานบนถนนแจ้งวัฒนะ เพราะอาคารอยู่ห่างจากอาคารพหลโยธิน 20 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานราษฎร์บูรณะ 45 กิโลเมตร ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลมาก

ทำให้สามารถขนย้ายพนักงานและระบบการทำงานภายในเวลา 20 นาที โดยมีแนวความคิดที่จะให้เป็นอาคารสีเขียว (Green Building) ตามหลักการ 3 ความยั่งยืน ได้แก่ การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของเครือธนาคารกสิกรไทยและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เนื่องจากอาคารแจ้งวัฒนะ มีเป้าหมายให้เป็นอาคารสีเขียวทั้งในระดับมาตรฐานของไทยและนานาชาติ โดยถูกออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) โดยตั้งเป้าให้เป็นอาคารในระดับ Gold 

    นอกจากนี้การออกแบบและก่อสร้างคำนึงถึงมาตรฐาน TEEAM (Thailand Energy & Environmental Assessment Method) เป็นแนวทางการออกแบบและประเมินอาคารประหยัดพลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยตั้งเป้าให้เป็นอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับ “ดีเด่น” อาคารประกอบด้วย 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 66,000 ตารางเมตร แนวคิดการออกแบบภายในได้จัดวางผังแบบเปิดโล่งเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ ลดปริมาณการใช้แสงไฟภายในอาคาร ทำให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้า 30% อาคารหลังนี้ยังนำระบบบริหารอาคารอัตโนมัติมาใช้ควบคุมการใช้ไฟฟ้าในอาคาร

ทั้งในเรื่องระบบส่องสว่างและระบบเครื่องปรับอากาศ ทำให้อาคารสามารถควบคุมการใช้พลังงานได้อย่างดี โดยชั้น 9-10 และชั้น 11 เดินทะลุหากันได้โดยมีบันไดเชื่อมอยู่ตรงกลางตึก โดยทั้ง 3 ชั้น เป็นส่วนรับแสงเข้ามาภายในอาคารช่วยประหยัดพลังงาน ส่วนชั้น 3-5 และชั้น 6 สามารถเดินทะลุได้ โดยมีบันไดเชื่อมต่อถึง 6 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างชั้นและลดการใช้งานลิฟต์เพื่อลดค่าพลังงานไฟฟ้า ส่วนกระจกรอบตัวอาคารเป็นแบบสองชั้นที่ใช้อากาศเป็นฉนวน ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารพร้อมช่วยตัดแสงสะท้อน 
     


 การออกแบบภายในอาคาร



    เนื่องจากเกณฑ์การวัดระดับความเป็นอาคารสีเขียวของ LEED มีเกณฑ์ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Efficiency) ดังนั้นน้ำที่ใช้ในอาคารสามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ ทำให้ประหยัดน้ำได้ 50% นอกจากนี้พื้นถนนส่วนใหญ่ปูด้วย Turf Block โดยปลูกหญ้าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยระบายน้ำฝนที่ตกลงมาบนถนนให้สามารถไหลลงสู่ชั้นดินง่ายขึ้น รวมทั้งปลูกต้นไม้ใหญ่กระจายตามพื้นที่ด้านนอกอาคาร สามารถสร้างความร่มรื่นให้ให้แก่อาคาร ด้วยเหตุนี้อาคารแจ้งวัฒนะจัดเป็น สถาปัตยกรรมสีเขียว ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ตามผลการวิจัยพบว่า พนักงานที่ทำงานในอาคารตามมาตรฐานสถาปัตยกรรมสีเขียวมีศักยภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป เนื่องจากพนักงานมีสุขภาพดี การขาดงานและการเจ็บป่วย ลดลง



    ในปี พ.ศ.2552 ธนาคารได้รับรางวัล “อาคารประหยัดพลังงานระดับดีเด่น ฉลากทอง” จากกระทรวงพลังงาน อาคารแจ้งวัฒนะผ่านเกณฑ์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารทำความเย็นที่ส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจกน้อย ผ่านเกณฑ์การนำอากาศบริสุทธิ์เข้าอาคารมาตรฐานสูง ผ่านเกณฑ์ค่าความส่องสว่างขั้นต่ำ มีระบบบำบัดน้ำเสียและระบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ บ่อดักไขมัน

 มีแผนดำเนินการป้องกันมลภาวะและสิ่งรบกวนจากการก่อสร้าง การเลือกสีและสารเคลือบผิวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ขณะเดียวกันก็ประกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่ดี โดยได้รับฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงานระดับดีเด่น นอกจากนี้ยังได้รางวัลสถาปัตยกรรมสีเขียวดีเด่นของไทย (ASA Green Awards) จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้รางวัลแด่อาคารสีเขียวต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิงแวดล้อม    


อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่แห่งที่ 3



    สำหรับศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (Energy Complex) หรือ EnCo เป็นสถานที่ทำการแห่งใหม่ของกระทรวงพลังงานและศูนย์รวมหน่วยงานด้านพลังงานของประเทศไทย รวม 23 หน่วยงาน ก่อสร้างขึ้นตามนโยบายรวมศูนย์การบริหารงานด้านพลังงานของประเทศเพื่อความสะดวกและความเป็นเอกภาพ โดยมี บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างให้เป็น "อาคารยั่งยืน" (Sustainable Building) ภายใต้แนวคิดผสมผสานนวัตกรรมอาคารอนุรักษ์พลังงาน (Green Building) และอาคารอัจฉริยะ (Intelligent Building) ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย

มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยผสานกับการอนุรักษ์พลังงานและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาคารเริ่มทำก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2550 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อปลายปี พ.ศ.2552 ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 29 ไร่ ภายในศูนย์ประกอบด้วย 6 อาคาร ได้แก่ อาคารที่รองรับที่ทำการกระทรวงพลังงาน สำนักงานบริษัทในกลุ่ม ปตท. ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และอาคารจอดรถ สามารถรองรับคนได้ 8,000 คน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 300,000 ตารางเมตร 

    จุดเด่นศูนย์ดังกล่าว คือ การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร โดยใช้กระจกรอบอาคารเป็นแบบผิวโค้งชนิดถ่ายเทความร้อนต่ำรอบอาคารร่วมกับการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีการควบคุมปริมาณลมเย็นให้พอเหมาะกับความต้องการแต่ละพื้นที่และการนำอากาศที่ใช้แล้วจากระบบปรับอากาศที่เหลือทิ้งมาแลกเปลี่ยนกับอากาศใหม่เพื่อช่วยลดอุณหภูมิก่อนเข้าสู่ระบบปรับอากาศของอาคาร ส่วนหลังคาอาคารจอดรถติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งมีกำลังการผลิตขนาด 330 กิโลวัตต์และปลูกต้นไม้ เพื่อเป็น Green Roof ช่วยลดพลังงานความร้อนที่จะเข้าสู่อาคาร

รวมทั้งมีระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ เช่น การนำน้ำทิ้งมาหมุนเวียนปรับคุณภาพเพื่อใช้ซ้ำและเลือกใช้สุขภัณฑ์ชนิดประหยัดน้ำ ทั้งยังมีระบบกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ ทำให้สามารถนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำกว่า 90% และประหยัดการใช้น้ำประปาได้ 55.3% ในช่วงการก่อสร้างได้มีการจัดการเรื่องสภาพแวดล้อมและวัสดุ รวมทั้งควบคุมของเสียไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อพื้นที่ก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างผลิตจากวัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลประมาณ 44% นอกจากนี้ของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างกว่า 76% เช่น เสาเข็มที่มีความยาวส่วนเกินที่ต้องตัดทิ้ง เศษปูนซีเมนต์ ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 

    การดำเนินการตามแนวคิดอาคารสีเขียวที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ได้การรับรองให้เป็นอาคารแห่งแรกของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประเภท Core & Shell Version 2.0 ระดับแพลตินัม (Platinum) หรือระดับสูงสุดตามเกณฑ์ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) จากสภาอาคารเขียวของสหรัฐอเมริกา (U.S Green Building Council) ทั้งยังเป็นสิ่งปลูกสร้างแห่งแรกที่ได้รับมาตรฐานระดับ LEED Platinum (Core & Shell) ประเภท Office and Commercial Multiple Building Campus นอกประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

 

ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์



    หลายปีที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกค้าขนาดใหญ่ถูกมองว่าเป็นผู้ก่อมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขยะจำนวนมหาศาล รวมถึงต้องเผชิญกับแรงต่อต้านการขยายสาขาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้ธุรกิจดังกล่าวต้องดำเนินการตามกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมและลดการปล่อยกาซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโต ดังกรณีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง เทสโก้ โลตัส ได้มีแนวคิดร้านค้าสีเขียวหรือ กรีนสโตร์ (Green Store)

สะท้อนถึงจุดเปลี่ยนที่ต้องผนวกแนวคิดธุรกิจสีเขียวไว้ในยุทธศาสตร์การแข่งขัน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก โดย เทสโก้ โลตัส ทุกสาขาทั่วโลกประกาศว่า "เราขายถูกกว่า" เพราะมีความสามารถทำธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำกว่า โดยเฉพาะการลดต้นทุนพลังงานซึ่งเป็นอีกกลยุทธ์หลักที่เทสโก้พยายามผลักดันให้สอดคล้องกับกระแสความตื่นตัวทั่วโลกที่กำลังวิตกต่อปัญหาโลกร้อน เพราะการบริโภคพลังงานเกินความจำเป็นจึงเป็นต้นเหตุหลักการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศโลก โดยกลยุทธ์ลดการใช้พลังงานของเทสโก้เป็นกลยุทธ์แบบ Win Win 

  เมื่อต้นปี พ.ศ.2550 เซอร์เทอร์รี่ ลีฮี ประธาน Tesco PLC ประกาศวิสัยทัศน์ว่าเทสโก้จะเป็นผู้นำการขับเคลื่อนเพื่อสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Economy) วิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นพันธกิจการติดตามร่องรอยคาร์บอน (Carbon Footprint) เพื่อลดการแพร่กระจายคาร์บอน (Carbon Emission) ออกสู่บรรยากาศจากทุกกิจกรรมของเทสโก้ทั่วโลก โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ.2563

 เทสโก้ทั่วโลกจะลดการแพร่กระจายคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศลงให้ได้ 50% ของตัวเลขที่เทสโก้ได้ปลดปล่อยออกไปในปี พ.ศ.2549 เป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับผู้บริหารเทสโก้ทั่วโลก แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่น่าหนักใจกับผู้บริหารเทสโก้ โลตัส ประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญ ต้นทุนพลังงานมานานแล้วและมีนโยบายที่จะลดการใช้พลังงานในกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 โดยพยายามลดการใช้พลังงานลงให้ได้ปีละ 3-5% ของยอดการใช้แต่ละปี 

  โครงการที่ถือเป็นหัวใจลดการใช้พลังงาน คือ การก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงานที่สาขาพระราม 1 เปิดให้บริการไปเมื่อปี พ.ศ.2547  ถือเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นก่อนการประกาศวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและพันธกิจร่องรอยคาร์บอนถึง 2 ปี 

  แม้ว่าเทสโก้ โลตัส พยายามลดการใช้พลังงานต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปฏิบัติการของเทสโก้ ประเทศไทยจะไม่ตื่นตัวหรือตระหนักต่อพันธกิจร่องรอยคาร์บอน ตรงกันข้ามภายหลังจากที่ได้ประกาศวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้เหลือเพียง 50% ผู้บริหารเทสโก้ โลตัส ยิ่งต้องพยายามหาวิธีการที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ภายหลังการประกาศพันธกิจ Carbon Footprint ทางเทสโก้ได้ว่าจ้างบริษัท Environmental Resource Management (ERM) เป็นบริษัทที่ปรึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมของอังกฤษให้ประเมินการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของเทสโก้ทั่วโลกเพื่อใช้เป็นข้อมูลเทียบเคียง โดยมีการจัดตั้งเงินกองทุน 100 ล้านปอนด์ ให้กับเทสโก้ทั่วโลกนำใช้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

  สำหรับประเทศไทยผลการวัดของ ERM พบว่าในปี พ.ศ.2549 การดำเนินการของเทสโก้ โลตัส ทั้งสำนักงานใหญ่และสาขาทุกแห่ง รวมถึงศูนย์กระจายสินค้า 2 แห่งและการขนถ่ายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขาได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 4 แสนตัน หมายถึง เทสโก้ โลตัส จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงให้เหลือเพียง 2 แสนตันภายในปี พ.ศ.2563

ส่วนสาขาที่สร้างใหม่จะต้องหาวิธีการที่จะบริโภคพลังงานให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งในการบริโภคพลังงานของสาขาด้วยรูปแบบเดียวกับในปี พ.ศ.2549 การให้ ERM เข้ามาตรวจวัดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากทำให้ทราบเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ชัดเจนแล้ว ยังทราบถึงเป้าหมายหลักของการดำเนินการที่จะลดการใช้พลังงานลงได้ตรงจุดมากที่สุด โครงสร้างการบริโภคพลังงานของ เทสโก้ โลตัส ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศถึง 4 แสนตันในปี พ.ศ.2549 ประกอบด้วย

     1. การใช้ไฟฟ้าเพื่อแสงสว่าง และความเย็นภายในห้าง 70%
     2. การใช้ไฟฟ้าเพื่อทำระบบความเย็น ให้กับตู้แช่อาหารภายในห้าง 13%
     3. การขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขา 13%
     4. การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจของพนักงานและผู้บริหาร 3%
     5. แก๊ส LPG ที่ใช้กับศูนย์อาหารที่อยู่ ตามสาขาต่าง ๆ 1%

     เมื่อเทสโก้ โลตัส รับรู้โครงสร้างการใช้พลังงาน (Baseline) ทำให้ทราบว่าจะต้องลดการบริโภคพลังงานกับกิจกรรมใดเป็นจุดแรกและวิธีการที่จะทำให้กิจกรรมดังกล่าวมีการบริโภคพลังงานลดลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงออกแบบระบบการประหยัดพลังงานและนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ การตัดสินใจเปิดกรีนสโตร์ สาขาพระราม 1 ทำให้เทสโก้ โลตัส มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยี รวมถึงขั้นตอนทำงานที่ช่วยลดการบริโภคพลังงาน 

   อาทิ การออกแบบตัวอาคารให้เลือกรับแสงสว่างโดยตรงเฉพาะช่วงครึ่งวันเช้า การใช้กระจกเคลือบลามิเนตที่ช่วยกรองความร้อนจากแสงแดด  การออกแบบภายนอกอาคารให้มีส่วนบังแดด แต่คนภายนอกสามารถมองเห็นภายในตัวอาคาร ตลอดจนนำระบบคอมพิวเตอร์และเซนเซอร์ใช้ควบคุมการเปิด-ปิด เพื่อลดระดับไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ การลดความเร็วมอเตอร์บันไดเลื่อน รวมถึงการเชื่อมต่อกระบวนการทำงานหอผึ่งน้ำ (Cooling Towers) ระบบปรับอากาศแต่ละหน่วยเข้าด้วยกันและลดความเร็วใบพัดหอผึ่งน้ำลงเพื่อระบายความร้อนจากระบบปรับอากาศในปริมาณเท่าเดิม แต่ใช้พลังงานน้อยลง กระบวนการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากสาขาพระราม 1 ได้ถูกนำไปใช้ในสาขาของ เทสโก้ โลตัส แห่งอื่น

   ทางเทสโก โลตัส ได้ร่วมมือกับลินฟ็อกซ์ ทรานสปอร์ต (ไทยแลนด์)และอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติกส์ เป็นบริษัทผู้รับเหมาขนส่งและกระจายสินค้าให้กับเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ โดยนำไบโอดีเซล ประเภทบี 5 ใช้กับรถขนส่งสินค้าของเทสโก้ โลตัส ที่มีจำนวนกว่า 400 คัน วิ่งอยู่ทั่วประเทศ รถขนส่งสินค้าดังกล่าวทำหน้าที่กระจายสินค้าสู่สาขาของเทสโก้ โลตัส ตลอด 24 ชั่วโมง คิดเป็นระยะทางวิ่งทั้งสิ้นกว่า 73 ล้านกิโลเมตร

แต่ละปีรถเหล่านี้บริโภคน้ำมันดีเซลกว่า 20 ล้านลิตรต่อปีหรือ 53,000 ลิตรต่อวัน  การเปลี่ยนมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 5 ทำให้บริษัทสามารถประหยัดการใช้น้ำมันลงได้ 5% ช่วยลดปริมาณการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศประมาณปีละ 3 ตัน เทียบกับค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคนไทย 4.8 ตันต่อคนต่อปี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจากการนำไบโอดีเซลมาใช้ขนส่งสินค้าของ เทสโก้ โลตัส ‘

  นอกจากนี้เทสโก้ โลตัส ได้เตรียมการที่จะเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า โดยนำหลอด ฟลูออเรสเซนต์ ชนิด T5 ที่มีความประหยัดกว่าหลอดชนิดเดิมถึง 45% มาใช้ภายในสาขาทั้งหมด เริ่มจากสาขาศาลายาที่เป็นกรีนสโตร์แห่งที่ 2 เป็นสาขาแรก โดยมุ่งนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงาน 70 โครงการ เช่น การใช้วัสดุลดโลกร้อน การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ออกแบบตู้แช่อาหารใหม่ให้มีกระจกปิด-เปิดเพื่อไม่ให้ความเย็นจากตู้แช่กระจายออกสู่ภายนอก เป็นต้น โครงการเหล่านี้ถือเป็นความพยายามลดการบริโภคพลังงาน โดยตั้งเป้าว่าจะลดการบริโภคพลังงานลงจากปีก่อนอย่างน้อย 3-5% จากค่า Baseline ที่ปล่อยคาร์บอนออกสู่บรรยากาศ  รวมถึงพยายามสร้างความตระหนักให้กับชุมชนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหรือคู่ค้าที่ส่งสินค้ามาขายใน เทสโก้ โลตัส

  หนึ่งในพันธกิจ Carbon Footprint คือ การวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศในสินค้ากว่า 35,000 รายการ ที่วางจำหน่ายในเทสโก้ โลตัส ข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เป็นเกณฑ์สำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของสินค้าต่อไปในอนาคต นั่นคือ ในอนาคตสินค้าที่วางจำหน่ายใน เทสโก้ โลตัส อาจถูกจัดอันดับว่าชิ้นใดที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากน้อยกว่ากันเพื่อให้ผู้บริโภคพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นซึ่งเรื่องท้าทายมาก แต่ถ้าเทสโก้ โลตัส เป็นผู้นำและพยายามทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง คู่ค้าต้องเข้าใจเป้าหมายและต้องมีส่วนร่วมกับ เทสโก้ โลตัส เพราะเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย

  ตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2549 สาขาของ เทสโก้ โลตัส หลายแห่งได้เปลี่ยนสีอาคารและป้ายชื่อห้างจากเดิมใช้สีน้ำเงิน-แดงมาเป็นสีเขียว-ขาว รวมทั้งเครื่องแบบพนักงาน บรรยากาศภายในห้าง แม้กระทั่งที่จับรถเข็น การนำสีเขียวเข้ามาใช้มิได้เป็นเพียงสัญลักษณ์แนวคิดสีเขียว (Green Concept) ที่ เทสโก้ โลตัส ต้องการประกาศความเป็นผู้นำธุรกิจสีเขียวและการบริโภคสีเขียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการลดบริโภคพลังงานเป็นตัววัดผลทุกหน่วยงานแต่ละปีด้วยว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด

เพราะการลดการบริโภคพลังงาน คือ การลดต้นทุนดำเนินธุรกิจ ผลลัพธ์ระยะยาวที่ได้รับย่อมคุ้มค่ากว่า ดังนั้นการประกาศเปิดตัวโครงการร่องรอยคาร์บอนของ เทสโก้ โลตัส ที่ผ่านมาถือว่าน่าสนใจต่อการดำเนินการทางสิ่งแวดล้อมเชิงรุกเพราะไม่เพียงเป็นองค์กรเอกชนรายแรกของประเทศที่ดำเนินการเรื่องการวัดร่องรอยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการธุรกิจแบบครบวงจร แต่เป็นครั้งแรกที่แสดงเป้าหมายชัดเจนของผู้ค้าปลีกข้ามชาติที่มุ่งสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจสีเขียว โดยประกาศเป้าหมายชัดเจนที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนซึ่งเกิดจากการดำเนินงานในประเทศไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2563 เป็นผลจากการประกาศพันธกิจคาร์บอนของบริษัทแม่ (2020 Mission)

  อย่างไรก็ตามภายใต้โครงการลดร่องรอยคาร์บอนที่สร้างกรีนสโตร์แห่งแรกที่ศาลายาและอาคารสีเขียวใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำระบบความเย็นจากพลังงานแสงอาทิตย ปรับเปลี่ยนระบบจัดส่งสินค้าโดยใช้พลังงานไบโอดีเซล 98% ร่วมกับบริษัทฟิลิปส์คิดค้นหลอดไฟขนาด 5 ฟุต สามารถประหยัดพลังงานมากกว่า 40%  ถือว่าเป็นกลยุทธ์ขั้นต้นที่ทำเป็นต้นแบบ 

 แต่กลยุทธ์ที่วางไว้ในก้าวต่อไปไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับคู่ค้าห่วงโซ่อุปทานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้ตระหนักถึงการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน โดยให้ความรู้ต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับร่องรอยคาร์บอนและทดลองใช้ฉลากคาร์บอนกับสินค้าที่วางจำหน่าย 4 ชนิด รวมทั้งจัดโครงการจูงใจให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การใช้ถุงผ้าเพื่อสะสมแต้มเป็นส่วนลด การขับเคลื่อนครั้งใหญ่นี้ถือเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญทั้งกับคู่แข่งธุรกิจเดียวกัน คู่ค้าและผู้บริโภคซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด

   เนื่องจากข้อมูลของ UK Emission ระบุว่า การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องเริ่มต้นที่การปฏิวัติความคิดผู้บริโภค เพราะกว่า 60% ของการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศเกิดจากผู้บริโภคโดยตรง 35% เกิดจากกิจกรรมประจำวันและอีก 25% เป็นอิทธิพลทางอ้อมที่ผู้บริโภคสร้างแรงกดดันให้ภาครัฐและธุรกิจเอกชนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2551 บริษัทได้ผ่านการตรวจสอบการใช้พลังงานและการคำนวณร่องรอยคาร์บอนตามที่ระบุในอนุสัญญาเรือนกระจก World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ซึ่งได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากลอย่างเป็นทางการ นับจากปี พ.ศ.2549

ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างต่อเนื่องจากจำนวนกว่า 3 แสนตันในปีฐาน โดยลดร่องรอยคาร์บอนได้ร้อยละ 1.17 ในปี พ.ศ.2550 และร้อยละ 14.4 ในปี พ.ศ.2551 พร้อมตั้งเป้าว่าจะลดร่องรอยการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นทุกปี การคำนวณดังกล่าวคิดจาก 3 ส่วนหลัก คือ อาคารสิ่งก่อสร้าง การกระจายสินค้า และการเดินทางของพนักงานที่บริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

   โดยในส่วนศูนย์กระจายสินค้าได้นำนวัตกรรมการก่อสร้างและออกแบบหลังคาเพื่อลดความร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยมีฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาและกระจกที่หลังคาให้แสงผ่านแต่ไม่ให้ความร้อนผ่าน โดยหลังคามีการติดตั้งพัดลมขนาดใหญ่ใต้เพดานหลายจุดเพื่อระบายความร้อนและช่องพัดลมดูดอากาศร้อนออก นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งหลอดไฟ ประหยัดพลังงานในระดับความสูง 5 เมตร ความสูงระยะดังกล่าวพอเหมาะต่อการทำงานมาก รถยกสินค้าใช้แบตเตอรี่ทั้งหมด การติดตั้งแผงพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาผลิตน้ำร้อนใช้ในศูนย์และระบบหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอน ดังงกรณีศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด ลำลูกกา ได้รับการพัฒนาการออกแบบและก่อสร้างภายใต้หลักปฏิบัติดีที่สุดของเทสโก้ คือ "ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ดีที่สุดสำหรับสิ่งแวดล้อม"

    ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด แบ่งโซนการจัดเก็บที่มีอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันถึง 4 ระดับ คือ 20 องศา,12 องศา,1 องศา และ -21 องศา เพื่อให้สินค้าอาหารทุกประเภทถูกจัดเก็บในระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยใช้วัสดุและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลง 32% ต่อตารางเมตร ระบบได้รับการออกแบบให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืนและลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยประหยัดพลังงาน

   อาทิ ช่องรับและส่งสินค้าเข้าศูนย์แบบใหม่ที่คงอุณหภูมิในห้องเย็นของรถบรรทุกทุกขนาด พื้นปูด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน พิเศษ น้ำยาแอมโมเนียทำความเย็น ระบบทำความเย็นและระบบแสงสว่างที่ช่วยประหยัดพลังงาน  ทั้งหมดนี้จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับสินค้าอื่นที่ไม่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เช่น อาหารแห้ง อาหารกระป๋องหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารสดจะมีการจัดเก็บและกระจายโดยศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีและศูนย์กระจายสินค้าสามโคก จังหวัดปทุมธานี ระบบกระจายสินค้าจากส่วนกลางจะช่วยลดจำนวนเที่ยวการขนส่งสินค้า

   นอกจากนี้การออกแบบศูนย์กระจายสินค้าคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดในการทำงานให้กับพนักงานและทุกคนที่เข้ามาในศูนย์กระจายสินค้า โดย เทสโก้ โลตัส ได้ร่วมมือกับคู่ค้าผลิตสินค้าสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีน โปรดักต์ (Green Products) ที่ย่อยสลายได้ เช่น หลอดไฟ ถุงขยะ จานกระดาษจากกากอ้อย สมุดโน้ต กระดาษ เป็นต้น โดยจัดหาคู่ค้าหรือผู้ส่งมอบสินค้าใหม่ที่จะทำงานร่วมกัน รวมถึงนโยบายลดการใช้ถุงพลาสติกที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก 10% แสดงถึงการให้ความสำคัญต่อประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม


      

      ส่วนรายที่ใช้งบลงทุนสูงสุดเท่าที่ผ่านมาคงเป็นเจ้าตลาดค้าปลีกอย่าง ห้างในเครือเซ็นทรัลด้วยแนวคิดจากโครงการรับรองอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ LEED เป็นแนวทางที่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายใหญของไทยได้นำมาใช้ออกแบบอาคารศูนย์การค้า โดยเน้นพัฒนาประสิทธิภาพอาคาร 5 ด้านเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

 อาทิ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพบรรรยากาศภายใน การเลือกใช้วัสดุที่ส่งผลกระทบน้อยต่อสิ่งแวดล้อมและการประหยัดน้ำ รวมทั้งนำระบบช่วยประหยัดพลังงานมาใช้ เช่น การใช้ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามความสว่างจากแสงธรรมชาติ ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ระบบปรับอากาศแบบประหยัดพลังงาน เป็นต้น

     ดังตัวอย่างอาคาร The Office at Central Word เป็นต้นแบบอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน อาคารดังกล่าวสามารถประหยัดพลังงาน 1,459,200 กิโลวัตต์ชั่วโมงหรือเทียบเท่าการลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กว่า 1,000 ตันต่อปี

    ทางซีพีเอ็นนำนวัตกรรมระบบปรับอากาศขนาดใหญ่มาใช้กับศูนย์การค้ารวม 10 ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์การค้าเดิม คือ เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว, บางนา, รามอินทรา, รัตนาธิเบศร์, เชียงใหม่ แอร์พอร์ตและเซ็นทรัลเวิลด์ รวมทั้งใช้ระบบในศูนย์การค้าใหม่ที่จะเปิดตัวอีก 4 แห่ง คือ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช, เซ็นทรัลพลาซ่า ชลบุรี และเซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น

โดยนวัตกรรมปรับอากาศขนาดใหญ่ (High Efficiency Chiller) สามารถประหยัดพลังงานระบบปรับอากาศได้ถึง 16% เทียบได้กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ 40,000 ตันต่อปี ถือเป็นโครงการติดตั้งระบบปรับอากาศที่ช่วยประหยัดพลังงานปีละ 56 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง 

    แนวทางดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวความคิด CPN Green Experience ของ ซีพีเอ็น นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบปรับอากาศของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ยังใช้วัสดุก่อสร้างและการตกแต่ง อาทิ กระจก หลอดไฟ และฉนวนกันความร้อน ในศูนย์การค้าใหม่ทั้ง 4 แห่ง แนวคิดการปรับระบบเครื่องปรับอากาศเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานนั้นถือว่าได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดค่าไฟฟ้าของศูนย์การค้า โดยศูนย์การค้ามีความพยายามลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

    ระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ซีพีเอ็นใช้เงินลงทุนด้านนวัตกรรมการประหยัดพลังงานในศูนย์การค้ากว่า.260 ล้านบาท สามารถช่วยประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 23 ล้านหน่วย คิดเป็นเงิน 82 ล้านบาท เทียบได้กับการปลูกต้นไม้ 45,000 ต้น หรือเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้ถึง 44,390 ล้านตันต่อปี  ด้วยความมุ่งมั่นการอนุรักษ์พลังงงาน ทำให้ซีพีเอ็นได้รับรางวัล Thailand Energy Awards และล่าสุด เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในอาเซียนที่ได้รับรางวัล ASEAN Energy Awards นอกจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังสร้างความภูมิใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้จ่ายในห้างว่าได้มาใช้บริการศูนย์การค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. Pamela J. Gordon, Lean and Green Profit for Your Business and the Environment, Berrett-Koehler Publishers, 2001.
2. Thorne, Debbie M., O.C. Ferrell, and Linda Ferrell, Business and Society: A Strategic Approach to Social Responsibility, Houghton Mifflin Company, 2008.
3. Timothy O’Riodan, Environmental Science for Environmental Management, Prentice Hall, 2000.
4. โกศล ดีศีลธรรม, โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสำหรับการแข่งขันยุคใหม่, สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, 2551.
5. โกศล ดีศีลธรรม, องค์กรทำดีเพื่อสังคม, สำนักพิมพ์ MGR 360?, 2554.
6. ASTV ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553.
7. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553
8. หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
9. http://news.thaieurope.net/content/view/672/170/
10. http://www.abit-ku.com/index.php?mo=3&art=325981
11. http://www.asa.or.th
12. http://www.bot.or.th
13. http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=146&cno=29
14. http://www.cpn.co.th
15. http://www.creativethailand.org/th/creativecity/creativecity_detail.php?id=15
16. http://www.dede.go.th/
17. http://www.greennetworkthailand.com/
18. http://www.gotomanager.com
19. http://www.greenworld.or.th/
20. http://leedinthailand.com
21.  http://www.manager.co.th
22. http://news.thaieurope.net/content/view/672/170
23. http://www.resourcesmart.vic.gov.au/documents/VicUrban_Melbourne_Office_Cobeii_Case_Study.pdf
24. http://www.scgexperience.co.th
25. http://www.siamcement.com/
26. http://www.team.co.th/en/download/category/1.html?download=29
27. http://www.thaitrucknavigator.org

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด