เนื้อหาวันที่ : 2013-05-02 16:07:01 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5387 views

ทำงานด้วยพีแอลซี Allen Bradley (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วนั้นเราได้กล่าวถึงการจัดการหน่วยความจำและคำสั่งพื้นฐานของพีแอลซี Allen Bradley สำหรับตอนนี้เราจะเริ่มต้นสำหรับเขียนโปรแกรมกัน การที่จะทำงานกับพีแอลซีเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือควบคุมกระบวนการนั้นจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหลักสองส่วนคือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ทำงานด้วยพีแอลซี Allen Bradley (ตอนที่ 2)
วัชรชัย สิทธิพันธ์

 

     จากตอนที่แล้วนั้นเราได้กล่าวถึงการจัดการหน่วยความจำและคำสั่งพื้นฐานของพีแอลซี Allen Bradley สำหรับตอนนี้เราจะเริ่มต้นสำหรับเขียนโปรแกรมกัน การที่จะทำงานกับพีแอลซีเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือควบคุมกระบวนการนั้นจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหลักสองส่วนคือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับโปรแกรมพีแอลซี

      การเขียนโปรแกรมพีแอลซีสำหรับควบคุมเครื่องจักรนั้นจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ
1. โปรแกรมสำหรับพัฒนาและเขียนพีแอลซี (Development Software)
2. อุปกรณ์สำหรับเขียนโปรแกรม (Programming Device)
3. สายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์สำหรับเขียนโปรแกรมกับพีแอลซี
4. พีแอลซี
5. เครื่องจักรที่จะควบคุม

รูปที่ 1 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับโปรแกรม PLC

 

โปรแกรมสำหรับพัฒนาและเขียนพีแอลซี (Development Software)
      โปรแกรมสำหรับพัฒนาและเขียนพีแอลซีที่เราจะใช้นั้นมีสองโปรแกรมคือ RS Logix500 และ RS Linx Classic Lite

- โปรแกรม RS Logix 500
โปรแกรม RS Logix 500 นั้นเป็นซอฟต์แวร์สำหรับเขียนโปรแกรมพีแอลซี Allen Bradley ตระกูล SLC500 และ MicroLogix 1000, 1100, 1200 และ1500

- โปรแกรม RS Linx Classic Lite
โปรแกรม RS Linx Classic Lite นั้นเป็นโปรแกรมที่เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับพีแอลซี

ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งขั้นตอนนี้ทำได้ง่ายเหมือนการติดตั้งโปรแกรมทั่วไปลงบนเครื่องนั่นเอง


ความต้องการของระบบ
   ก่อนอื่นขอแนะนำให้เราเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้มีคุณสมบัติพร้อมใช้งานโปรแกรม RS Logix 500 โดยแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีรายละเอียดขั้นต่ำดังนี้
    

ความต้องการฮาร์ดแวร์
- คอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยซีพียู Intel Pentium II หรือสูงกว่า
- หน่วยความจำ RAM 128 MB ขึ้นไป
- พื้นที่ว่างที่ต้องการบนฮาร์ดดิสก์ 45 MB
- จอภาพ SVGA (800x600) แสดงผลที่ 256 สีหรือที่มีความระเอียดสูงกว่า
- ซีดีรอมไดรฟ์
- อุปกรณ์ชี้เมาส์


ความต้องการซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
- Microsoft Windows 2000
- Windows XP (with or without Service Pack 2)
- Windows Server 2003 (with or without Service Pack 1)
- Windows Server 2003 R2


ติดตั้งโปรแกรม RS Linx
     ใส่ซีดีแผ่นติดตั้งในซีดีรอมจากนั้นคลิกเลือกที่ติดตั้ง RS Link ก็จะปรากฏเมนูขึ้นมาดังรูปที่ 2

 รูปที่ 2 RS Link InstallShield Wizard

 

จากนั้นก็คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next ก็จะปรากฏหน้าเงื่อนไขการใช้งานโปรแกรมให้เลือกยอมรับดังรูปที่ 3 และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

รูปที่ 3 แสดงรายละเอียดเงื่อนไขการใช้งานโปรแกรม

 

จากนั้นก็ป้อนชื่อ (User Name) และหน่วยงาน (Organization) ตามรูปที่ 4

รูปที่ 4 ป้อนชื่อ หน่วยงาน

 

 จากนั้นคลิกเมาส์ Next ก็จะเข้าสู่หน้าเลือกรูปแบบการติดตั้งมีสองแบบคือ
     - แบบมาตรฐาน (Standard) เป็นการติดตั้งปกติทั่วไป
     - แบบสามารถเลือกองค์ประกอบย่อยเอง (Custom)


 เราคลิกเมาส์เลือกแบบมาตรฐานแล้วคลิก Next จากนั้นก็จะเข้าสู่การเริ่มติดตั้งโปรแกรมจนเสร็จ

 รูปที่ 5 รูปแบบการติดตั้ง

 

รูปที่ 6 กำลังดำเนินการติดตั้ง

 

 รูปที่ 7 สิ้นสุดการติดตั้ง

 

     หลังจากที่เราติดตั้งโปรแกรม RS Linx แล้วขั้นตอนต่อไปคือติดตั้งโปรแกรม RS Logix 500 โดยขั้นตอนการติดตั้งนั้นก็เหมือนกันกับการติดตั้ง RS Linx ซึ่งลำดับการติดตั้งก็เรียงตามรูปด้านล่าง


ติดตั้งโปรแกรม RSLogix 500

 รูปที่ 8 RS Logix 500 InstallShield Wizard

 

     จากนั้นก็คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next ก็จะปรากฏหน้าเงื่อนไขการใช้งานโปรแกรมให้เลือกยอมรับดังรูปที่ 8 และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

รูปที่ 9 เงื่อนไขการใช้งานโปรแกรม

 

 รูปที่ 10 ป้อนชื่อ หน่วยงาน และหมายเลขซีเรียล

 

 รูปที่ 11 รูปแบบการติดตั้ง

 

 รูปที่ 12 เริ่มการติดตั้ง

 

 รูปที่ 13 กำลังดำเนินการติดตั้ง

 

 รูปที่ 14 สิ้นสุดการติดตั้ง

     เป็นอันว่าตอนนี้เราก็มีโปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรมพีแอลซี Allen Bradley ตระกูล SLC500 และ MicroLogix 1000, 1100, 1200 และ1500 คราวนี้เราก็มาดูในส่วนของพีแอลซีกันบ้าง


พีแอลซี Allen Bradley MicroLogix 1000, 1100, 1200, 1500
       เมื่อเรามีโครงการที่จะใช้พีแอลซีมาควบคุมการทำงานเราก็จำเป็นที่จะต้องเลือกรุ่นของพีแอลซีที่เหมาะสมกับงานของเราโดยที่จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านตัวอย่างเช่น
- รุ่นของพีแอลซีโดยพิจารณาจากหน่วยความจำ อินพุต/เอาต์พุต หน้าที่ของการควบคุม
- พิจารณาถึงการขยายในอนาคตเช่นต้องการเพิ่มอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต
- พิจารณาถึงการติดต่อสื่อสาร


     ทีนี้เรามาดูตารางคุณสมบัติของพีแอลซี MicroLogix

ทีนี้เราก็ทราบกันแล้วว่าพีแอลซีตระกูล MicroLogix มีคุณสมบัติอย่างไรบ้างเพื่อที่จะเลือกให้เหมาะสมกับงานของเราทั้งในด้านหน้าที่ในการทำงานที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม


เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม RS Logix500
 หลังจากที่เราติดตั้งโปรแกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้วทีนี้เราจะเริ่มใช้งานโปรแกรมกัน การเข้าสู่โปรแกรมนั้นสามารถทำได้โดยการเข้าที่ Start/All Program/Rockwell Software/RSLogix 500 English/RSLogix 500 English

รูปที่ 15 การเข้าสู่โปรแกรม RSLogix 500

 

     เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะปรากฏโปรแกรมดังแสดงในรูปที่ 16 จากนั้นเราก็สามารถสร้างโปรเจกต์ใหม่หรือเปิดโปรเจกต์เก่าที่มีอยู่ได้

 รูปที่ 16 หน้าแรกเมื่อเข้าสู่โปรแกรม RSLogix 500


     
     สำหรับตอนต่อไปนั้นเราจะมาใช้งานโปรแกรม RSLogix 500 สำหรับเขียนโปรแกรมให้กับพีแอลซี

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด