เนื้อหาวันที่ : 2013-04-24 15:45:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3735 views

บัญญัติศัพท์ด้านมาตรวิทยานานาชาติ (VIM 1993) ตอนที่ 4

สำหรับบทความบัญญัติศัพท์ VIM1993 ตอนที่ 4 นี้จะเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ในหมวดที่ 5 ต่อจากฉบับที่แล้ว

บัญญัติศัพท์ด้านมาตรวิทยานานาชาติ (VIM 1993) ตอนที่ 4
บุรินทร์ ไตรชินธนโชติ
ที่ปรึกษาระบบคุณภาพและสอบเทียบ,
burinkub@yahoo.com

     สำหรับบทความบัญญัติศัพท์ VIM1993 ตอนที่ 4 นี้จะเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ในหมวดที่ 5 ต่อจากฉบับที่แล้ว เกี่ยวกับคุณลักษณะของเครื่องมือวัดต่าง ๆ มาติดตามกันครับ

 

5. CHARACTERISTICS OF MEASURING INSTRUMENTS


5.1 Nominal Range
     Range of indications obtainable with a particular setting of the controls of a measuring instrument

     Range of indications obtainable with a particular setting of the controls of a measuring instrument


     NOTES

     1. Nominal range is normally stated in terms of its lower and upper limits, for example, “100 ๐C to 200 ๐C”. Where the lower limit is zero, the nominal range is commonly stated solely in terms of its upper limit: for example a nominal range of 0 V to 100 V is expressed as “ 100 V”.

     2. See 5.2 Note.


     ย่านที่ระบุ
     ย่านการแสดงค่าที่ได้ด้วยการปรับตั้งเฉพาะในการควบคุมเครื่องมือวัด


     หมายเหตุ
     1. ย่านที่ระบุโดยทั่วไปแสดงในรูปของขีดจำกัดล่างและบน ตัวอย่างเช่น “100 ๐C to 200 ๐C” กรณีที่ขีดจำกัดล่างเป็นศูนย์ ย่านที่ระบุ โดยทั่วไปแสดงในรูปของขีดจำกัดบน สำหรับตัวอย่างของย่านที่ระบุของ 0 V to 100 V แสดงเป็น” 100 V”

     2. ดูหมายเหตุข้อ 5.2

5.2 Span
     Modulus of the difference between the two limits of a nominal range


     EXAMPLE for a nominal range of -10 V to +10 V, the span is 20 V.


     NOTE

     In some fields of knowledge, the difference between the greatest and smallest values is called range.


     ช่วงวัด
     ปริมาณความแตกต่างระหว่างขีดจำกัดของย่านที่ระบุ


     ตัวอย่าง สำหรับย่านที่ระบุของ -10 V to +10 V ช่วงวัดคือ 20 V


     หมายเหตุ ในความรู้บางสาขา ความแตกต่างระหว่างค่าที่สูงสุด และน้อยสุดเรียกว่า ย่าน


5.3 Nominal Value
     Rounded or approximate value of a characteristic of a measuring instrument that provides a guide to its use


     EXAMPLES
     a) 100 W as the value marked on a standard resistor;

     b) 1 L as the value marked on a single-mark volumetric flask;

     c) 0, 1 mol/L as the amount-of-substance concentration of a solution of hydrogen chloride, HCl;

     d) 25 ๐C as the set point of a thermostatically controlled bath.


     ค่าที่ระบุ
     ค่าที่อยู่รอบ หรือประมาณของสมบัติของเครื่องมือวัดที่เป็นแนวทางในการใช้


     ตัวอย่าง
     a) 100 W เป็นค่าที่ระบุบนตัวต้านทานมาตรฐาน

     b) 1L เป็นค่าที่ระบุบนเครื่องแก้วฟลาซก์ แบบขีดเดียว

     c) 0, 1 mol/L เป็นปริมาณของสารที่เจืออยู่ในสารละลายไฮโดรเจน คลอไรด์, HCl

     d) 25 ๐C เป็นค่าตั้งของอ่างที่ควบคุมอุณหภูมิ


5.4 Measuring Range
     Working range set of values of measurands for which the error of a measuring instrument is intended to lie within specified limits


     NOTES
     1. “error” is determined in relation to a conventional true value.

     2. See 5.2 Note.


     ย่านการวัด
     ชุดค่าของสิ่งถูกวัดที่ความผิดพลาดของเครื่องมือวัดที่ตั้งใจจะให้อยู่ภายในขีดจำกัด


     หมายเหตุ
     1. “ความผิดพลาด” เป็นการหาค่าที่มีความสัมพันธ์กับค่าจริงที่ตกลง

     2. ดูหมายเหตุข้อ 5.2


5.5 Rated Operating Conditions
     Conditions of use for which specified metrological characteristics of a measuring instrument are intended to lie within given limits


     NOTE The rated operating conditions generally specify ranges or rated values of the measurand and of the influence quantities.


     สภาวะการทำงานที่กำหนด
     สภาวะที่ใช้สำหรับกำหนดสมบัติทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัดที่มุ่งหวังจะให้อยู่ภายในขีดจำกัด


     หมายเหตุ
     สภาวะการทำงานที่กำหนด โดยทั่วไปกำหนดย่าน หรือกำหนดค่าของสิ่งถูกวัด และปริมาณที่มีอิทธิพล

5.6 Limiting Conditions
     Extreme conditions that a measuring instrument is required to withstand without damage, and without degradation of specified metrological characteristics when it is subsequently operated under its rated operating conditions


     NOTES
     1. The limiting conditions for storage, transport and operation may be different.

     2. The limiting conditions may include limiting values of the measurand and of the influence quantities.


     สภาวะขีดจำกัด
     สภาวะสูงสุดที่ที่เครื่องมือวัด สามารถทนได้โดยไม่เสียหาย หริเสื่อมสภาพสมบัติทางมาตรวิทยา เมื่อทำงานภายใต้สภาวะที่กำหนด


     หมายเหตุ
     1. สภาวะขีดจำกัดสำหรับการเก็บรักษา ขนส่ง และการทำงานอาจจะแตกต่างกัน

     2. สภาวะขีดจำกัดอาจจะรวมถึงค่าขีดจำกัดของสิ่งถูกวัดและปริมาณที่มีอิทธิพล


5.7 Reference Conditions
     Conditions of use prescribed for testing the performance of a measuring instrument or for intercomparison of results of measurements


     NOTE The reference conditions generally include reference values or reference ranges for the influence quantities affecting the measuring instrument.


     สภาวะอ้างอิง
     สภาวะการใช้ที่กำหนดสำหรับการทดสอบความสามารถของเครื่องมือวัดหรือสำหรับการเปรียบเทียบผลของการวัด


     หมายเหตุ สภาวะอ้างอิง โดยทั่วไปรวมถึงค่าอ้างอิง หรือย่านอ้างอิงสำหรับปริมาณที่มีอิทธิพลจะส่งผลกระทบต่อเครื่องมือวัด


5.8 Instrument Constant
     Coefficient by which, the direct indication of a measuring instrument must be multiplied to give the indicated value of the measurand or of a quantity to be used to calculate the value of the measurand


     NOTES
     1. Multirange measuring instruments with a single display have several instrument constants that correspond, for example, to different positions of a selector mechanism.

     2. Where the instrument constant is the number one, it is generally not shown on the instrument.


     ค่าคงที่ของเครื่องวัด
     สัมประสิทธิ์ที่คูณกับการแสดงค่าโดยตรงของเครื่องมือวัด ที่จะให้ได้ค่าทางอ้อมของสิ่งถูกวัด หรือปริมาณที่ใช้ในการคำนวณค่าของสิ่งถูกวัด


     หมายเหตุ
     1. เครื่องมือวัดที่มีหลายย่าน โดยมีส่วนแสดงผลเดียว จะมีค่าคงที่ของเครื่องวัดหลายค่าที่ตอบสนอง ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งต่าง ๆ ของกลไกในการเลือก

     2. กรณีค่าคงที่เครื่องวัดเป็นหนึ่ง โดยทั่วไปจะไม่แสดงในเครื่องวัด


5.9 Response Characteristic
     Relationship between a stimulus and the corresponding response, for defined conditions

  
     EXAMPLE the e.m.f. (electromotive force) of a thermocouple as a function of temperature.


     NOTES
     1. The relationship may be expressed in the form of a mathematical equation, a numerical table, or a graph.

     2. When the stimulus varies as a function of time, one form of the response characteristic is the transfer function (the Laplace transform of the response divided by that of the stimulus).


     สมบัติการตอบสนอง
     ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งกระตุ้น และการตอบสนองประสานกัน ในสภาวะที่กำหนด


     ตัวอย่าง ค่า e.m.f. (แรงเคลื่อนไฟฟ้า) ของเทอร์โมคัปเปิลที่เป็นสัดส่วนกับอุณหภูมิ


     หมายเหตุ
     1. ความสัมพันธ์อาจจะแสดงในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ ตารางค่า หรือกราฟ

     2. เมื่อสิ่งกระตุ้นแปรเป็นสัดส่วนกับเวลา รูปแบบหนึ่งของสมบัติการตอบสนองคือ สัดส่วนการส่งถ่าย(การส่งถ่ายลาปลาซของการตอบสนองหารด้วยสิ่งกระตุ้น)

5.10 Sensitivity
     Change in the response of a measuring instrument divided by the corresponding change in the stimulus


     NOTE The sensitivity may depend on the value of the stimulus.


     ความไว
     การเปลี่ยนแปลงในการตอบสนองของเครื่องมือวัดหารด้วยการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในสิ่งกระตุ้น


     หมายเหตุ ความไวอาจจะขึ้นกับค่าของสิ่งกระตุ้น


5.11 Discrimination (threshold)
     Largest change in a stimulus that produces no detectable change in the response of a measuring instrument, the change in the stimulus taking place slowly and monotonically


     NOTE The discrimination threshold may depend on, for example, noise (internal or external) or friction. It may also depend on the value of the stimulus.


     ระดับเริ่มแบ่งแยก
     การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการไม่สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด การเปลี่ยนแปลงของสิ่งกระตุ้นเกิดขึ้นอย่างช้า และอย่างเป็นทำนองเดียวกัน


     หมายเหตุ ระดับเริ่มแบ่งแยกอาจจะขึ้นกับ ตัวอย่างเช่น คลื่นรบกวน(ภายใน และภายนอก)หรือการเสียดสี ยังอาจขึ้นอยู่กับค่าของสิ่งกระตุ้นด้วย


5.12 Resolution (of a displaying device)
     Smallest difference between indications of a displaying device that can be meaningfully distinguished


     NOTES
     1. For a digital displaying device, this is the change in the indication when the least significant digit changes by one step.

     2. This concept applies also to a recording device.


     ความละเอียด (ของอุปกรณ์แสดงผล)
     ความแตกต่างที่น้อยที่สุดระหว่างการแสดงค่าของอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน


     หมายเหตุ
     1. สำหรับอุปกรณ์แสดงผลแบบดิจิตอล คือการเปลี่ยนแปลงในการแสดงค่าเมื่อหลักแสดงผลค่านัยสำคัญน้อยสุดเปลี่ยนไปทีละค่า

     2. หลักการนี้ยังประยุกต์ไปถึงอุปกรณ์บันทึก


5.13 Dead Band
     Maximum interval through which a stimulus may be changed in both directions without producing a change in response of a measuring instrument


     NOTES
     1. The dead band may depend on the rate of change.

     2. The dead band is sometimes deliberately made large to prevent change in the response for small changes in the stimulus.


     ย่านตาย
     ช่วงที่กว้างที่สุดซึ่งสิ่งกระตุ้นอาจจะเปลี่ยนแปลงทั้งสองทิศทางโดยไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการตอบสนองของเครื่องมือวัด


     หมายเหตุ
     1. ย่านตายอาจจะขึ้นกับอัตราการเปลี่ยนแปลง

     2. ย่านตาย บางครั้งมีเจตนาที่ทำให้ใหญ่ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของสิ่งกระตุ้น

5.14 Stability
     Ability of a measuring instrument to maintain constant its metrological characteristics with time


     NOTES
     1. Where stability with respect to a quantity other than time is considered, this should be stated explicitly.

     2. Stability may be quantified in several ways, for example:

     - in terms of the time over which a metrological characteristic changes by a stated amount, or

     - in terms of the change in a characteristic over a stated time.


     ความคงที่
     ความสามารถของเครื่องมือวัด ที่จะรักษาค่าคงที่สมบัติทางมาตรวิทยาเทียบกับเวลา


     หมายเหตุ
     1. หากความคงที่พิจารณาเทียบกับปริมาณแทนที่จะเป็นเวลา กรณีนี้ต้องระบุให้แน่ชัด

     2. ความคงที่อาจจะหาปริมาณได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น

     - ในรูปของเวลาตลอดช่วงที่สมบัติทางมาตรวิทยาเปลี่ยนแปลงในปริมาณที่ระบุ หรือ

     - ในรูปของการเปลี่ยนแปลงสมบัติในเวลาที่ระบุ


5.15 Transparency
     Ability of a measuring instrument not to alter the measurand


     EXAMPLES
     a) a mass balance is transparent;

     b) a resistance thermometer that heats the medium whose temperature it is intended to measure is not transparent.


     ความโปร่งใส
     ความสามารถของเครื่องมือวัดที่ไม่มีเปลี่ยนแปลงตัวถูกวัด


     ตัวอย่างเช่น
     a) เครื่องชั่งน้ำหนักนั้นโปร่งใส

     b) เทอร์โมมิเตอร์แบบความต้านทานที่ทำให้ตัวกลางที่วัดอุณหภูมิร้อนนี้ไม่โปร่งใส


5.16 Drift
     Characteristic slow change of a metrological of a measuring instrument


     เลื่อน
     สมบัติทางมาตรวิทยาที่ค่อย ๆ เปลี่ยนของเครื่องมือวัด


5.17 Response Time
     Time interval between the instant when a stimulus is subjected to a specified abrupt change and the instant when the response reaches and remains within specified limits around its final steady value


     เวลาตอบสนอง
     ช่วงเวลาระหว่างขณะที่สิ่งเร้าถูกป้อนให้เปลี่ยนแปลงอย่างทันทีตามที่ระบุไว้ กับขณะที่ผลตอบสนองมีค่าถึง และคงอยู่ในขีดจำกัดรอบค่าสุดท้าย


5.18 Accuracy of a measuring instrument
     Ability of a measuring instrument to give responses close to a true value


     NOTE “Accuracy” is a qualitative concept.
     ความถูกต้องของเครื่องมือวัด
     ความสามารถของเครื่องมือวัดที่ให้การตอบสนองใกล้เคียงกับค่าจริง


     หมายเหตุ “ความถูกต้อง” เป็นแนวคิดทางคุณสมบัติ


5.19 Accuracy Class
     Class of measuring instruments that meet certain metrological requirements that are intended to keep errors within specified limits


     NOTE An accuracy class is usually denoted by a number or symbol adopted by convention and called the class index.

     ระดับชั้นความถูกต้อง
     ระดับชั้นของเครื่องมือวัดที่ตรงกับข้อกำหนดด้านมาตรวิทยาที่กำหนดที่มุ่งหวังจะรักษาความผิดพลาดภายในขีดจำกัดที่กำหนด


     หมายเหตุ โดยมาก ระดับชั้นความถูกต้องมักแสดงด้วยเลข หรือสัญลักษณ์ตามที่ตกลงกัน และเรียกว่า ดัชนีระดับชั้น


5.20 Error (of indication) of a measuring instrument
     indication of a measuring instrument minus a true value of the corresponding input quantity


     NOTES
     1. Since a true value cannot be determined, in practice a conventional true value is used (see 1. 19 and 1.20).

     2. This concept applies mainly where the instrument is compared to a reference standard. 3 For a material measure, the indication is the value assigned to it.


     ความผิดพลาด (ของการแสดงค่า) ของเครื่องมือวัด
     การแสดงค่าของเครื่องมือวัด ลบออกจากค่าจริงของการตอบสนองปริมาณป้อนเข้า


     หมายเหตุ
     1. เมื่อค่าจริงไม่สามารถวัดได้ ในทางปฏิบัติใช้ค่าจริงที่ตกลงกัน (ดู 1.19 และ1.20)

     2. โดยหลัก แนวความคิดนี้ประยุกต์กับการวัดเปรียบเทียบกับมาตรฐานอ้างอิง

     3. สำหรับการวัดวัสดุ การแสดงค่าคือการกำหนดค่าให้


5.21 Maximum Permissible Errors (of a measuring instrument)
     Limits of permissible error (of a measuring instrument) extreme values of an error permitted by specifications, regulations, etc. for a given measuring instrument


     ความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมได้ (ของเครื่องมือวัด)
     ขีดจำกัดของความผิดพลาดที่ยอมได้ (ของเครื่องมือวัด) ค่าสูงสุดของความผิดพลาดที่ยอมโดย ข้อมูลจำเพาะ ข้อบังคับ ฯลฯ สำหรับเครื่องมือวัด

5.22 Datum Error (of a measuring instrument)
     Error of a measuring instrument at a specified indication or a specified value of the measurand, chosen for checking the instrument
     ข้อมูลความผิดพลาด (ของเครื่องมือวัด)
     ความผิดพลาดของเครื่องมือวัดที่ตำแหน่งที่กำหนด หรือค่าที่กำหนดของตัวถูกวัดที่เลือก สำหรับตรวจสอบเครื่องมือ


5.23 Zero Error (of a measuring instrument)
     Datum error for zero value of the measurand


     ค่าผิดพลาดศูนย์ (ของเครื่องมือวัด)
     ข้อมูลความผิดพลาดของค่าศูนย์ของตัวถูกวัด


5.24 Intrinsic Error (of a measuring instrument)
     Error of a measuring instrument, determined under reference conditions

     ความผิดพลาดภายใน (ของเครื่องมือวัด)
     ความผิดพลาดของเครื่องมือวัด วัดภายใต้สภาวะอ้างอิง


5.25 Bias (of a measuring instrument)
     Systematic error of the indication of a measuring instrument


     NOTE The bias of a measuring instrument is normally estimated by averaging the error of indication over an appropriate number of repeated measurements.


     ความโน้มเอียง (ของเครื่องมือวัด)
     ความผิดพลาดระบบของการแสดงค่าของเครื่องมือวัด


     หมายเหตุ  ความโน้มเอียงของเครื่องมือวัด โดยทั่วไปประมาณด้วยการเฉลี่ยความผิดพลาดของการแสดงค่าด้วยจำนวนการวัดซ้ำที่เหมาะสม


5.26 Freedom from bias (of a measuring instrument)
     Ability of a measuring instrument to give indications free from systematic error


     ความปราศจากความโน้มเอียง (ของเครื่องมือวัด)
     ความสามารถของเครื่องมือวัดที่จะบอกค่าโดยปราศจากความผิดพลาดระบบ

5.27 Repeatability (of a measuring instrument)
     Ability of a measuring instrument to provide closely similar indications for repeated applications of the same measurand under the same conditions of measurement


     NOTES
     1. These conditions include:
     - reduction to a minimum of the variations due to the observer
     - the same measurement procedure
     - the same observer
     - the same measuring equipment, used under the same conditions
     - the same location
     - repetition over a short period of time.


     2. Repeatability may be expressed quantitatively in terms of the dispersion characteristics of the indications.
     ความสามารถซ้ำค่าเดิม (ของเครื่องมือวัด)
     ความสามารถของเครื่องมือวัดที่จะให้การแสดงค่าที่ใกล้เคียงกันใกล้กัน สำหรับการดำเนินการกับตัวถูกวัดเดียวกันภายใต้สภาวะการวัดเดียวกัน


     หมายเหตุ
     1. สภาวะเหล่านี้ประกอบด้วย
     -ลดความแปรผันจากผู้ปฏิบัติให้น้อยที่สุด
     -ขั้นตอนการวัดเดียวกัน
     -ผู้ปฏิบัติคนเดียวกัน
     -เครื่องมือวัดเครื่องเดียวกัน ใช้งานภายใต้สภาวะเดียวกัน
     -พื้นที่เดียวกัน
     -ทำซ้ำด้วยเวลาอันสั้น


     2. ความสามารถซ้ำค่าเดิมอาจจะแสดงเป็นปริมาณในรูปของลักษณะการกระจายของการแสดงค่า


5.28 Fiducial Error (of a measuring instrument)
     Error of a measuring instrument divided by a value specified for the instrument


     NOTE The specified value is generally called the fiducial value, and may be, for example, the span or the upper limit of the nominal range of the measuring instrument


     ความผิดพลาดที่เชื่อถือได้ (ของเครื่องมือวัด)
     ความผิดพลาดของเครื่องมือวัด หารด้วยค่าที่กำหนดสำหรับเครื่องวัด


     หมายเหตุ ค่าที่กำหนด โดยทั่วไปเรียกว่าค่าที่เชื่อถือได้ และอาจจะ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงวัด หรือขีดจำกัดบนของย่านที่ระบุของเครื่องมือวัด

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด