เนื้อหาวันที่ : 2013-04-24 14:04:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3417 views

ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 (ตอนที่ 2)

องค์กรที่มีห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ต้อง เป็นนิติบุคคลที่สามารถรับผิดชอบงานได้ตามกฏหมาย

เนื้อหาข้อกำหนด4.1

เรียนคุณนุ
   ผมขอส่งต้นฉบับบทความ ที่จะลงในเดือน ตุลาคม 2548 มาให้ครับ และขอชี้แจงลักษณะเนื้อหาเพื่อจะได้ไม่งงครับ

   เนื้อความจะมีที่ขีดเส้นไต้ และไม่ขีดปนกันอยู่ เป็นเจตนาของผมเอง หากว่าจะนำเอาเนื้อหาไปวางเลย์เอาท์ กรุณาอย่าลืม การขีดเส้นไต้ด้วยครับ

   ข้อความที่เป็นสีนำเงินที่อยู่ในกรอบนี้ ขอให้วางเอาไว้ก่อนเข้าเนื้อหา และขอความกรุณาระบุในทุกตอนนับจากตอนนี้ไป เพื่อให้ผู้อ่านที่พึ่งจะได้เคยอ่านเป็นครั้งแรกเข้าใจวิธีการอ่านบทความนี้

    นื้อความสีม่วงที่อยู่ในกรอบ และท้ายสุดของบทความ เป็นคำอธิบายความหมายที่จำกัดขอบเขตของคำบางคำที่ปรากฏในข้อกำหนด ซึ่งในเนื้อหาบทความจะระบุว่า (ดู "อธิบายความหมายคำ") หากว่าไม่ลำบากต่อกองบอกอเกินไป ขอความกรุณาให้ยกเฉพาะคำ มาวางด้านล่างของหน้ากระดาษในหน้าที่ที่มีคำนั้นปรากฏอยู่ เพื่อผู้อ่านจะได้ไม่ต้องพลิกไปอ่านที่หน้าท้ายบ่อยๆครับ

เนื้อหาบทความที่ส่งมานี้ สำหรับลงได้ 1 ตอน และผมจะส่งตอนต่อไปมาให้ครับ
ขอขอบพระคุณและขอแสดงความนับถือ
บุรินทร์ ไตรชินธนโชติ

ทำความเข้าใจรูปแบบก่อนอ่าน
1. เนื้อความที่ขีดเส้นไต้ เป็นเนื้อความของข้อกำหนด และหมายเหตุ ที่แปลมา
2. เนื้อความที่ไม่ได้ขีดเส้นไต้ เป็นเนื้อความที่ผู้เขียน อธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อกำหนดมากขึ้น อ่าครั้งเดียวได้ 2 เด้ง
3. หากผู้อ่านประสงค์จะเห็นเฉพาะเนื้อความข้อกำหนด ก็ให้ลากเส้นโยงข้อความที่ขีดเส้นไต้เข้าหากัน ก็จะเห็นเนื้อความข้อกำหนดทันที

4.1 องค์กร 
      4.1.1 ห้องปฏิบัติการ หรือองค์กรที่มีห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ต้อง เป็นนิติบุคคลที่สามารถรับผิดชอบงานได้ตามกฏหมาย ณ ประเทศ ที่ห้องปฏิบัติการตั้งอยู่
         
      ดังนั้น ห้องปฏิบัติการ ที่ขอการรับรอง และมีวัตถุประสงค์จะเปิดให้บริการเชิงการค้า ต้องจดทะเบียนขอทำธุรกิจเกี่ยวกับการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบกรณีที่ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ ที่ทำธุรกิจอย่างอื่นๆ และห้องปฏิบัติการประสงค์จะดำเนินการให้บริการกับ ลูกค้าภายนอกองค์กร
ต้องแน่ใจว่าในหนังสือจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ได้รวมการให้บริการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบไว้ด้วย ไม่เช่นนั้น ก็ขอแนะนำให้ไปขอจดทะเบียนเพิ่มเสียอย่างไรก็ตามกรณีที่กล่าวมา สามารถยกเว้นห้องปฏิบัติการที่ให้บริการลูกค้าภายใน หรือให้บริการบริษัทแม่ของตนเอง

      4.1.2 เป็นรับผิดชอบของห้องปฏิบัติการ ในการดำเนินกิจกรรมทดสอบและสอบเทียบ ให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดตามมาตรฐานนี้
   ในข้อที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการสำหรับข้อกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบ และสอบเทียบ ISO/IEC 17025:2005 นี้ ได้ครอบคลุมห้องปฏิบัติการที่ให้บริการ
i. ทดสอบ ไม่จำกัดสาขาการทดสอบที่ให้บริการ
ii. สอบเทียบ ไม่จำกัดชนิดเครื่องมือที่ให้บริการ

   หมายถึงว่า ห้องปฏิบัติการท่านได้ให้บริการทดสอบ หรือสอบเทียบแก่ลูกค้ากรณีที่ห้องปฏิบัติการท่าน เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ และมีการสอบเทียบเครื่องมือเองด้วยก็ไม่ได้หมายความว่าต้องขอการรับรองทั้งด้านการทดสอบ และสอบเทียบเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือของตัวเอง ทั้งห้องปฏิบัติการทดสอบ และสอบเทียบ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ 5.5 เครื่องมือ และ5.6 การสอบกลับได้ของการวัด

   และเป็นไปได้ว่าห้องปฏิบัติการที่จะนำเอาข้อกำหนดมาตรฐานนี้ ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทาง หรือเพื่อขอการรับรองจะดำเนินการทดสอบ หรือสอบเทียบเพียงอย่างเดียวก็ไม่ต้องงงเมื่ออ่านข้อกำหนด ข้อต่าง ๆ

   หากว่าห้องปฏิบัติการของท่านเป็น ห้องปฏิบัติการทดสอบ ก็ไม่ต้องสนใจคำว่าสอบเทียบ  และในทำนองเดียวกัน หากว่าห้องปฏิบัติการของท่านเป็น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ก็ไม่ต้องสนใจคำว่าทดสอบ

   นอกจากนั้นยังมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับ ห้องปฏิบัติการทดสอบ หรือสอบเทียบที่ไม่ต้องปฏิบัติ เพราะว่าไม่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าที่รับบริการของห้องปฏิบัติการ ทั้งที่เป็น

i. ลูกค้าภายใน หมายถึง หน่วยงานภายในองค์กรใหญ่ ที่ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ด้วย
ii. ลูกค้าภายนอก หมายถึง ลูกค้าที่ไม่ใช่หน่วยงานในองค์กรใหญ่

   องค์กรผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น องค์กรของรัฐบาล ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการทำธุรกิจบริการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบหรือองค์กรที่ให้การยอมรับ(recognition) เช่น องค์กรผู้ให้การรับรองห้องปฏิบัติการท่านนั่นเอง

     4.1.3 ระบบการบริหารของห้องปฏิบัติการ ต้อง ครอบคลุมงานที่ดำเนินการในห้องปฏิบัติการที่จัดตั้งแบบถาวร ณ. สถานปฏิบัติการนอกห้องปฏิบัติการถาวร เช่น

i. ออกไปสอบเทียบ ณ ที่เครื่องมือตั้งอยู่
ii. ออกไปสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบ
iii. ทดสอบ ณ สถานที่ที่สุ่มตัวอย่าง

หรือห้องปฏิบัติการชั่วคราว หมายถึง การไปตั้งห้องปฏิบัติการ ปฏิบัติงานชั่วเวลาหนึ่ง จนจบงานตามสัญญา แล้วจึงถอนห้องปฏิบัติการนั้นออกจากพื้นที่
หรือห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ หมายถึง การจัดห้องปฏิบัติการไว้บนยานพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ไปที่ต่างๆได้

      4.1.4 ถ้าห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่ดำเนินกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ จะ ต้องมีการกำหนดความรับผิดชอบต่าง ๆ ของบุคคลสำคัญ(key personnel) เช่น ผู้บริหารระบบห้องปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ในองค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อกิจกรรมทดสอบ และ/หรือสอบเทียบของห้องปฏิบัติการเพื่อชี้บ่งความเป็นไปได้ในการมีส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดแย้งกันกับกิจกรรมของห้องปฏิบัติการ

ข้อกำหนดนี้ จะเสริมกับข้อกำหนดที่ 4.1.5 b ในเรื่องความเป็นอิสระของห้องปฏิบัติการด้วย

หมายเหตุ
1.ในกรณีที่ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่ การจัดองค์กรควรเป็นลักษณะที่มิให้ แผนกที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด หรือการเงิน มามีอิทธิพล ต่อความเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ของห้องปฏิบัติการ

2.ถ้าห้องปฏิบัติการประสงค์จะได้รับการยอมรับในฐานะห้องปฏิบัติบุคคลที่ 3 ห้องปฏิบัติ การต้องสามารถแสดงให้เห็นความเป็นกลาง และห้องปฏิบัติการรวมทั้งบุคลากรของห้อง  ปฏิบัติการ ต้องมีความเป็นอิสระ ปราศจากความกดดัน ด้านการค้า การเงิน และความกดดันอื่นใด ที่อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางด้านวิชาการ ห้องปฏิบัติการทดสอบหรือสอบเทียบ บุคคลที่ 3 ไม่ควรเข้าร่วมในกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเกิดการเสื่อมต่อความเชื่อถือในความเป็น อิสระของห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับการตัดสินใจ และความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการทดสอบหรือสอบเทียบของตน

       4.1.5 ห้องปฏิบัติการจะ ต้อง

   a) มีบุคลากรด้านการบริหาร การทำงานต่างๆในห้องปฏิบัติการและด้านวิชาการ ที่ดูแลด้านวิธีการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบซึ่งไม่คำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นๆพร้อมอำนาจหน้าที่(authority)(ดู "อธิบายความหมายคำ")และทรัพยากร อาทิ เครื่องมือ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการสื่อสารที่จำเป็นต่อการดำเนินงานตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแต่ละงานรวมถึงการ นำระบบจัดการตามมาตรฐานห้องปฎิบัติการนี้ไปปฎิบัติในช่วงเริ่มแรกการคงรักษาใว้ซึ่งระบบจัดการอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงระบบจัดการให้มีประสิทธิผลสูงขึ้นและในการชี้บ่งการเกิดการเบี่ยงเบนไปจากระบบจัดการจากที่กำหนดใว้เดิม ที่อาจเขียนในรูปเอกสารต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการทำงาน คุณภาพของผลการทดสอบ/สอบเทียบหรือจากขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนดขึ้น สำหรับดำเนินการในการทำทดสอบ และ/หรือสอบเทียบและริเริ่มการปฏิบัติต่างๆที่จำเป็น ซึ่งอาจดำเนินการด้วยตนเอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อป้องกันหรือลดการเบี่ยงเบนนั้นให้น้อยลง (ดูข้อ 5.2)

   b) มีการบริหารเพื่อให้มั่นใจว่า การบริหารจัดการภายในห้องปฏิบัติการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆในห้องปฏิบัติการเป็นอิสระจากความกดดันทางการค้า การเงิน และความกดดันอื่นใดทั้งจากภายนอกและภายใน และอิทธิพลต่าง ๆโดยแนวคิดก็คือ ต้องการให้แยกผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการ จากหน่วยงานที่อาจจะแทรกแซงกรณีที่ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ที่อาจมีผลต่อคุณภาพของงาน

   c) มีนโยบาย(ดู "อธิบายความหมายคำ") เกี่ยวกับการปกป้องความลับ และสิทธิต่างๆของลูกค้าและขั้นตอนดำเนินงาน(ดู "อธิบายความหมายคำ")ภายในห้องปฏิบัติการเพื่อทำให้มั่นใจในการป้องกัน ข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้าและสิทธิ์ต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการรวมทั้งมีขั้นตอนดำเนินงานในการป้องกันข้อมูลที่จัดเก็บทั้งในรูปสื่อกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์และกรณีที่มีการถ่ายโอนผลการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

   d) มีนโยบาย(ดูบทที่3 "อธิบายความหมายคำ")และขั้นตอนดำเนินงาน(ดูบทที่3 "อธิบายความหมายคำ") ภายในห้องปฏิบัติการที่จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่จะลดความเชื่อถือด้านความสามารถในการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบความเป็นกลางในการรายงานผลการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบตามที่เกิดขึ้นจริง และการรักษาความลับของลูกค้าการตัดสินใจเกี่ยวกับผลการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบที่ออกมาว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตัวอย่างหรือการดำเนินการด้วยความซื่อตรงต่อวิชาชีพว่าตัวห้องปฏิบัติการเอง ไม่ได้เบี่ยงเบนผลการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบเอง เพื่อผลประโยชน์ต่างๆที่ห้องปฏิบัติการดำเนินการเองอยู่

   e) กำหนดโครงสร้างองค์กร ภายในห้องปฏิบัติการและการบริหารของห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปมักแสดงเป็น ผังโครงสร้างองค์กรเป็นเอกสารสถานะของห้องปฏิบัติการในองค์กรใหญ่กรณีที่ห้องปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ ซึ่งจะไม่ใช่องค์กรสมบูรณ์หนึ่งองค์กรแต่จะเป็นองค์กรเล็กในองค์กรใหญ่ หรือเป็นร่มเล็กในร่มใหญ่อีกชั้นหนึ่งเป็นองค์กรที่ต้องได้รับการสนับสนุน เรื่องต่างๆจากองค์กรใหญ่ผังโครงสร้างองค์กรที่กำหนดมา ควรแสดงให้เห็นว่า โครงสร้างองค์กรของห้องปฏิบัติการ อยู่ในส่วนฟังก์ชั่นใดขององค์กรใหญ่ และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานคุณภาพ หรือหมายถึงการบริหารภายในห้องปฏิบัติการการดำเนินการทางวิชาการและการบริการสนับสนุนต่างๆ

   f) ระบุความรับผิดชอบ(responsibility) หมายถึง หน้าที่การปฏิบัติงานอำนาจหน้าที่(authority)(ดู "อธิบายความหมายคำ") ของเจ้าหน้าที่แต่ละตำแหน่ง และระดับการกำหนดความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง และระดับต่างๆเป็น เอกสารบรรยายลักษณะงานวัตถุประสงค์ของการกำหนด เพื่อเป็นการจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบ งานทั้งหมดในห้องปฏิบัติการ กระจายไปยังกลุ่มผู้ปฏิบัติซึ่งขนาดของกลุ่มผู้ปฏิบัติ จะมากหรือน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นกับ

i. ปริมาณกิจกรรมที่ต้องทำ
ii. ขนาดของห้องปฏิบัติการ
iii. การออกแบบวิธีการปฏิบัติแต่ละกิจกรรม

และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคลากรทั้งหมดผู้ทำหน้าที่ในการบริหารงานภายในห้องปฏิบัติการระดับต่างๆปฏิบัติการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ ตามขอบเขตที่จะขอการรับรองหรือทวนสอบงานที่มีผลต่อคุณภาพของการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ ซึ่งโดยทั่วไปการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคลากรที่ทำหน้าที่ และระดับต่างๆ มักจะแสดงในรูปผังโครงสร้างองค์กรนั่นเอง

   g) จัดให้มีการควบคุมดูแลที่เพียงพอต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำการทดสอบและสอบเทียบระดับต่างๆที่ปฏิบัติงานประจำรวมถึงเจ้าหน้าที่ฝึกหัดงานที่รับเข้ามาปฏิบัติงานใหม่โดยบุคลากรที่คุ้นเคยกับวิธีและขั้นตอนดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของแต่ละการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ และกับการประเมินผลทดสอบหรือสอบเทียบโดยวัตถุประสงค์ในข้อนี้ บุคลากรที่คุ้นเคยกับวิธีและขั้นตอนดำเนินงานอาจเป็นเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการในองค์กรใหญ่หากว่าห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ ที่เห็นว่ามีความเชี่ยวชาญ และสามารถให้คำแนะนำได้

   h) มีผู้บริหารด้านวิชาการ(technical management) ที่มีความรู้อย่างเชี่ยวชาญในงานทดสอบ และ/หรือสอบเทียบของห้องปฏิบัติการซึ่งรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับการดำเนินการทางด้านวิชาการ อาทิ การเลือก ดัดแปลง พัฒนาวิธีการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบ การหาแหล่งเอกสารอ้างอิงในวิธีการทดสอบ และ/หรือสอบเทียบและการจัดหาทรัพยากรเช่นเดียวกับข้อ 4.1.5aที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพตามที่ต้องการสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ ของห้องปฏิบัติการ

   i) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่ตำแหน่งงานปัจจุบัน อยู่ในระดับบริหาร หรือระดับที่มีอำนาจเพียงพอ เพื่อเป็นผู้จัดการด้านคุณภาพ (หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น)ซึ่งนอกเหนือจากหน้าที่ และความรับผิดชอบอื่น ๆ แล้ว จะ ต้องกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจว่า มีการนำระบบคุณภาพไปใช้ และปฏิบัติตามตลอดเวลา ซึ่งนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องเลือกเจ้าหน้าที่ที่มีตำแหน่งงานปัจจุบันอยู่ในระดับบริหารเพราะหากไม่เช่นนั้น ผู้บริหารระดับสูง ก็จะยังไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่นั้นและการดำเนินการต่างๆ จะพบกับการตรวจสอบซ้ำจากผู้บริหารระดับสูง จนงานที่น่าจะดำเนินการไปได้เร็ว กลายเป็นช้ากว่าปกติไป

   ผู้จัดการด้านคุณภาพ ต้องสามารถติดต่อได้โดยตรงกับผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรใหญ่ที่ห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งหรือของห้องปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ตัดสินใจต่างๆ อาทิ กำหนดเกี่ยวกับนโยบาย(ดูบทที่3 อธิบายความหมายคำ)หรือทรัพยากรของห้องปฏิบัติการใหม่ หรือปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรม ของห้องปฏิบัติการโดยวัตถุประสงค์ของข้อกำหนด ที่ต้องการให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการวิชาการ และผู้จัดการคุณภาพนั้น ก็เพื่อให้ดูแลคนละด้านแต่ก็ไม่ได้ห้ามว่าต้องเป็นคนละคนกันทั้งนี้ ต้องพิจารณาแต่ละห้องปฏิบัติการว่า ผู้ที่จะรับหน้าที่ดังกล่าว สามารถแบกรับภาระดังกล่าวไหว โดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาระงานเดิม และมีความสามารถดำเนินงานได้ห้องปฏิบัติการที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 4-5 คน ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งนี้ มักเป็นบุคคลคนเดียวกัน

   j) แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานแทนกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำแหน่งนั้น ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ในเวลาที่ห้องปฏิบัติการดำเนินกิจกรรมการให้บริการได้ สำหรับบุคลากรที่สำคัญๆ ทางด้านการบริหาร(ดูหมายเหตุ) เช่น ผู้จัดการวิชาการ ผู้จัดการคุณภาพ เป็นต้น หรือตำแหน่งอื่นๆในห้องปฏิบัติการที่รับผิดชอบในการบริหาร

   k) มั่นใจว่าบุคลากรมีสำนึกถึงความสำคัญของงานของเขา ที่เขาเหล่านั้นรับผิดชอบอยู่และงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่เขารับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยู่ในสายกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น งานของหน่วยงานที่ส่งงานมาถึงเขา และหน่วยงานที่เขาส่งงานที่ตัวเองทำเสร็จแล้วไปและการมีส่วนร่วมในการบรรลุถึงเป้าหมาย(objective)ของระบบการจัดการซึ่งตั้งโดยผู้บริหารห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทั้งหลายดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น ในช่วงเวลาที่กำหนด

หมายเหตุ
บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจมีหน้าที่มากกว่าหนึ่งหน้าที่ และอาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่จะแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานแทนสำหรับทุกหน้าที่

       4.1.6 ห้องปฏิบัติการจะ ต้อง มั่นใจว่ามีการสร้างกระบวนการสื่อสารที่เหมาะสม ที่อาจอยู่ในรูปสื่อสารด้วย
- เอกสารประกาศโดยผู้บริหาร
- เอกสารประกาศแสดงผลหารปฏิบัติงาน
- การประชุมก่อนการทำงานแต่ละวัน
- การประชุมทางการ
แล้วแต่แต่ละองค์กรขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ
และการสื่อสารนั้นเกี่ยวกับประสิทธิผลของระบบการจัดการ

ในตอนต่อไปจะนำเอาข้อกำหนด 4.2 และ4.3 มาเสนอท่านผู้อ่านต่อไปครับ

อธิบายความหมายคำ
อำนาจหน้าที่(authority)
- ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และสิทธิ(ที่กระทำบางสิ่งบางอย่าง)[ISO/IEC Guide 2:1996, 4.5]
- หากแบ่งตามตำแหน่งงานในองค์กรหนึ่งๆ
- อำนาจ อาจไม่ได้มีในทุกตำแหน่งงาน
- และอำนาจอาจมีมากน้อย ไม่เท่ากันในแต่ละตำแหน่ง
- กำหนดในรูปของ อำนาจตัดสินใจ สั่งการ

นโยบาย(policy)
- เป้าหมาย และทิศทางทั้งหมดขององค์กร
- ที่แถลงโดยผู้บริหารระดับสูง[ISO 8402:1994, 3.1]
- นโยบายอาจเฉพาะเจาะจงในเรื่องต่างๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ขั้นตอนการดำเนินงาน (procedure)
- ทางเลือกที่กำหนดเฉพาะเจาะจงในการดำเนินกิจกรรม[ISO 8402:1994, 1.3][ISO 9000:2000, 3.4.5][ISO/IEC 17000:2004]
- แม้ว่าจะมีทางเลือกมากมาย แต่เป็นทางเลือกที่พิจารณาว่าเหมาะสมที่สุด ณ เวลาที่กำหนด

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด