เนื้อหาวันที่ : 2013-04-24 09:17:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1986 views

ลอยตัวดีเซล ผลดีหรือผลเสีย

นานพอสมควรสำหรับการรอคอยการขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ที่รัฐบาลอุ้มไว้จนบานไปไม่รู้เท่าไหร่

ชื่อเรื่อง  ลอยตัวดีเซลผลดีหรือผลเสีย(เศรษฐศาสตร์ฉบับเถ้าแก่น้อย)
ผู้เขียน   สถาพร อยู่สุข
 
   นานพอสมควรสำหรับการรอคอยการขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ที่รัฐบาลอุ้มไว้จนบานไปไม่รู้เท่าไหร่ บางส่วนก็พยายามให้ตรึงราคาไว้ เพราะมีราคาสินค้าเป็นเครื่องต่อรอง หรือบางกลุ่มก็บอกว่าจะกระทบกับค่าใช้จ่ายของชาวบ้าน ที่มีภาระมากอยู่แล้วในปัจจุบัน คนบางส่วนก็เลยใช้ดีเซลอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพราะรัฐช่วย

   เรามามองอีกมุมหนึ่ง ถ้ามีการลอยตัวดีเซลตามราคาตลาด มีผลกระทบอย่างไรบ้างกับมวลรวม สมมุติว่าราคาขายดีเซลปัจจุบันที่ราคา 18 บาท รัฐอุ้มไว้ 2 บาท ราคาที่แท้จริง 20 บาท เราก็ใช้ดีเซลกันอย่างเพลิดเพลินเพราะราคาถูกกว่าเป็นจริงตามหลัก ดีมานด์ ซัพพลาย ถ้าเราต้องจ่ายเป็นเงิน US ดอลล่าร์ ทั้งหมด เราจะต้องจ่ายให้ต่างชาติ ในราคาลิตรละ 20 บาท หรือ 50 เซนต์ คือ เงินที่เราต้องจ่ายออกจากคลัง

   ถ้ารัฐลอยตัวดีเซลโดยให้ราคาจริงตามตลาด รัฐก็ยังจ่ายที่ 50 เซนต์ เหมือนเดิม แต่เรามาดูเถ้าแก่ต้องจ่ายเท่าไหร่ เมื่อราคาน้ำมันดีเซลขึ้นราคาจาก 18 บาท เป็น 20 บาท เกิดการคิดมาตรการประหยัดกันมากมาย ยกตัวอย่าง  การขับรถกะบะ 1 ตัน ขนส่ง


   กรณีแรก ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลราคาถูกไม่มีใครคิดที่จะประหยัดก็ขับกันตามอัธยาศัย คือ รัฐช่วยเหยียบคันแร่งอีกบางส่วนก็อาจจะวิ่งที่ 10 กิโลเมตรต่อลิตร ในราคา 18 บาท ใช้น้ำมัน 0.1 ลิตรต่อกิโลเมตร
กรณีที่สอง เมื่อราคาน้ำมันขึ้นราคาเถ้าแก่ก็ต้องประหยัดต้นทุน เพราะไม่มีใครมาช่วยเหยียบคันเร่งก็ให้ลูกน้องขับไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดการประหยัดที่สุดทำให้สมมุติว่าวิ่งได้ 20 กิโลเมตรต่อลิตร ที่ราคาน้ำมันลิตรละ 20 บาท ก็จะใช้น้ำมัน 0.05 ลิตรต่อกิโลเมตร ซึ่งถ้าคิดแบบตามหลักดีมานด์ ซัพพลาย ของราคาสูงขึ้นการใช้ก็จะน้อยลง


   ในแต่ละวันถ้าต้องส่งของในระยะทาง 100 กิโลเมตร กรณีแรกใช้น้ำมัน 10 ลิตร กรณีที่สอง ใช้น้ำมัน 5 ลิตร เมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายเงินไหลออกที่ 50 เซนต์ต่อลิตร กรณีแรกเรามีเงินไหลออก 5 เหรียญสหรัฐ กรณีที่สอง เงินไหลออก 2.5 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าถ้ากรณีสมมุติเป็นจริงรถคันหนึ่ง สามารถลดเงินไหลออกได้ 2.5 เหรียญต่อคันต่อวัน ในระยะทาง 100 กิโลเมตร ถ้ามีรถที่ทำแบบนี้ 10,000 คัน สามารถประหยัดเงินได้วันละ25,000 เหรียญ ถ้ามีรถแบบเดียวกัน 100,000 คัน ก็สามารถประหยัดได้ 250,000 เหรียญ ถ้าเป็น 1 ล้านคัน สามารถประหยัดได้ 2.5 ล้านเหรียญต่อวัน ปีละ 912.5 ล้านเหรียญ หรือ 36,500 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

ถึงเวลาแล้วที่คนไทยควรหันมามองการใช้พลังงานที่เราไม่สามารถผลิตใช้ได้เองว่า จะสามารถช่วยชาติได้อย่างไร และผลดีผลเสียเป็นอย่างไร ก็มองในฐานะเถ้าแก่น้อยที่สามารถจะช่วยชาติได้เท่านี้ แต่สำคัญที่นโยบายของรัฐต้องจริงจัง มีการทำเป็นตัวอย่างให้ประชาชนเห็น และรณรงค์กันอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่ช่วงน้ำมันแพง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด