เนื้อหาวันที่ : 2013-04-23 16:43:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2875 views

การควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) (ตอนจบ)

กิจการแห่งหนึ่งมีปริมาณการใช้วัสดุ ก ด้วยปริมาณต่ำสุดและสูงสุดรายสัปดาห์เท่ากับ 25 หน่วย และ 75 หน่วย

การควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) (ตอนจบ)
ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ตัวอย่างที่ 3
     กิจการแห่งหนึ่งมีปริมาณการใช้วัสดุ ก ด้วยปริมาณต่ำสุดและสูงสุดรายสัปดาห์เท่ากับ 25 หน่วย และ 75 หน่วย ตามลำดับ ปริมาณการสั่งซื้อใหม่มีจำนวนคงที่ที่ระดับ 300 หน่วย วัตถุดิบ ก จะได้รับการส่งมอบเพื่อทำการตรวจรับภายในระยะเวลา 4–6 สัปดาห์เริ่มจากวันที่ทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ

     จากข้อมูลข้างต้นสามารถคำนวณหาปริมาณวัสดุ ก คงคลังที่จุดสูงสุดและต่ำสุดได้ดังนี้

ปริมาณวัสดุ ก คงคลัง ต่ำสุด =  จุดการสั่งซื้อ หรือจุดการสั่งซื้อใหม่ – (อัตราการใช้วัสดุโดยเฉลี่ย x ระยะเวลาของการสั่งซื้อใหม่)
                                              = 450 หน่วย – (50 หน่วย x 5 สัปดาห์)
                                              = 200 หน่วย

ปริมาณวัสดุคงคลังสูงสุด       = จุดการสั่งซื้อใหม่ + ปริมาณวัสดุที่ก่อให้เกิดการประหยัดที่สุด – (ปริมาณการใช้วัสดุคงคลังต่ำสุด x ระยะเวลาสั่งซื้อใหม่ที่ต่ำกว่า)

ปริมาณวัสดุ ก คงคลังสูงสุด   = จุดการสั่งซื้อใหม่ + ปริมาณวัสดุที่ก่อให้เกิดการประหยัดที่สุด – (ปริมาณการใช้วัสดุคงคลังต่ำสุด x ระยะเวลาสั่งซื้อใหม่ที่ต่ำกว่า)
                                                     =  450 หน่วย +300 หน่วย – (25 หน่วย x 4 สัปดาห์)
                                                     =  650 หน่วย
     คำนวณประกอบ
         ปริมาณการสั่งซื้อใหม่       = ปริมาณการใช้วัสดุสูงสุดสำหรับงวด x ระยะเวลาการสั่งซื้อที่สูงสุด
       = 75 หน่วย x 6 สัปดาห์
       = 450 หน่วย


ตัวอย่างที่ 4
     กิจการมีความต้องการวัตถุดิบเลขที่ 112 เพื่อเบิกใช้ใน Line ผลิตที่ 2 เพื่อป้อนให้เครื่องจักร A เดินเครื่อง ทุกวัน ปริมาณความต้องการวัตถุดิบดังกล่าวเท่ากับ 50 หน่วย ต้นทุนการสั่งซื้อคงที่ต่อครั้งเท่ากับ 50 บาท ต้นทุนในการเก็บรักษาวัตถุดิบคงคลังต่อหน่วยเท่ากับ 0.02ของจำนวนวันในรอบปีซึ่งเท่ากับ 365 วัน ระยะเวลาการรอคอยวัตถุดิบในแต่ละครั้งที่ทำการสั่งซื้อเท่ากับ 32 วัน จากข้อมูลข้างต้น คำนวณหา

     1. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
     ปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบรายปี = จำนวนความต้องการใช้วัตถุดิบต่อวัน x จำนวนวันในรอบปี
          = 50 หน่วย x 365 วัน
          = 18,250 หน่วย
    
    ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้งเท่ากับ 50 บาท
     ต้นทุนการเก็บรักษาต่อหน่วยต่อปี       = 0.02 x 365
          = 7.30 บาท
    
     ดังนั้น
     ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
       
       
          = 500 หน่วย


ตัวอย่างที่ 5
     ปริมาณความต้องการใช้วัสดุต่อไตรมาสเท่ากับ 2,000 กิโลกรัม ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้ง 50 บาท ต้นทุนวัสดุต่อหน่วย 40 บาท ต้นทุนการเก็บรักษาเท่ากับ 8 เปอร์เซ็นต์ของวัสดุคงคลังเฉลี่ย
    
   
ปริมาณความต้องการใช้วัสดุรายปี
     = ปริมาณความต้องการใช้วัสดุต่อไตรมาส x จำนวนไตรมาสในรอบปี
     = 2,000 กิโลกรัม x 4 ไตรมาส
     = 8,000 กิโลกรัม

     ต้นทุนการเก็บรักษาวัสดุต่อหน่วย
     = 8 % x 40 บาท
     = 3.20 บาท
     ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
       
       = 331.04 กิโลกรัม


ตัวอย่างที่ 6
     บริษัท กขค จำกัด เป็นกิจการที่ทำการผลิตสินค้า A ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานบางส่วนในช่วงปี 2552-2553 มีดังนี้
     ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้ง  100 บาท
     ต้นทุนการเก็บรักษา  20   เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
     ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย  500 บาท
     ปริมาณการใช้โดยปกติ  100 หน่วยต่อสัปดาห์
     ปริมาณการใช้ขั้นต่ำ  50   หน่วยต่อสัปดาห์
     ปริมาณการใช้สูงสุด  200 หน่วยต่อสัปดาห์
     ระยะเวลาการรอคอยวัสดุจากซัพพลายเออร์ 6 – 8 สัปดาห์

     จะทำการสั่งซื้อปริมาณเท่าใดจึงจะก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนได้ โดยเงื่อนไขการจัดส่งวัสดุในการผลิตเท่ากับ 1,500 หน่วยต่อไตรมาส จะได้รับส่วนลดเงินสดเท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์

     ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
       


       
   = 102 หน่วย โดยประมาณ

     ต้นทุนรวมต่อไตรมาสที่ 102 หน่วย
     = ต้นทุนการซื้อที่ 5,200 หน่วย + ต้นทุนการสั่งซื้อ + ต้นทุนการเก็บรักษา


        
     = 2,600,000 บาท + 5,098 บาท + 5,100 บาท
     = 2,610,198 บาท

     ต้นทุนรวมตามเงื่อนไขที่จะสามารถได้รับส่วนลดเงินสดที่ 5% เมื่อขนาดการสั่งซื้อต่อไตรมาสจะต้องเท่ากับ 1,500 หน่วย

     = ต้นทุนการซื้อที่ 5,200 หน่วย + ต้นทุนการสั่งซื้อ + ต้นทุนการเก็บรักษา

     = 2,470,000 บาท + 346.66 บาท + 71,250 บาท
     = 2,541,596.66 บาท โดยประมาณ

     จากผลการคำนวณข้างต้น ควรทำการตัดสินใจที่จะทำการสั่งซื้อตามเงื่อนไขที่ซัพพลายเออร์เสนอ จะช่วยประหยัดต้นทุนรวมได้ทั้งสิ้น 68,601.34 บาทโดยประมาณ

     ระดับการสั่งซื้อใหม่
     = ปริมาณการใช้สูงสุด x ระยะเวลาการรอคอยสูงสุด
     = 200 หน่วยต่อสัปดาห์ x 8 สัปดาห์
     = 1,600 หน่วย

     ระดับสินค้าคงคลังสูงสุด
     = ระดับการสั่งซื้อใหม่ + ปริมาณการสั่งซื้อใหม่ – (ปริมาณการใช้ต่ำสุด x ระยะเวลารอคอยต่ำสุด)
     = 1,600 หน่วย + 102 หน่วย – (50 หน่วย x 6 สัปดาห์)
     = 1,402 หน่วย

     ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุด
     = ระดับการสั่งซื้อใหม่ – (ปริมาณการใช้ปกติ x ระยะเวลารอคอยเฉลี่ย)
     = 1,600 หน่วย – (100 หน่วย x 7 สัปดาห์)
     = 900 หน่วย


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด