เนื้อหาวันที่ : 2013-04-23 11:51:17 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 6255 views

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโซ่อุปทานของสินค้าด้วยระบบควบคุมสินค้าคงคลัง

เมื่อการจัดการซัพพลายเชนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของ คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโซ่อุปทานของสินค้า
ด้วยระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง
(Inventory Control System)
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย 
Buranasak_madmaiy@yahoo.com

 

     เมื่อการจัดการซัพพลายเชนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของ คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม จากที่เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้า คลังสินค้าเป็นห่วงเชื่อมที่สำคัญในสายโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของการกระจายสินค้าจากผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค

ในการเป็นห่วงเชื่อมนี้ คลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่าง การบริโภค ซึ่งมีอัตราความต้องการไม่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากเมื่อเปรียบเทียบกับ การผลิตสินค้า ซึ่งมีอัตราของการผลิตเป็นปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แม้ว่าการวางแผนการผลิตสินค้าต้องอาศัยอัตราการความต้องการที่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าก็ตาม

แต่การเกิดขึ้นของความแน่นอนของความต้องการทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เนื่องจากระบบการผลิตต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามที่วางแผนไว้ ถ้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่ผลิตออกมาเกินความต้องการในตลาดบริโภค คลังสินค้าก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมปริมาณส่วนที่เกินความต้องการนั้นไว้

เมื่ออัตราความต้องการบริโภคสูงขึ้นเกินกว่าปริมาณการผลิตในห้วงเวลาใด คลังสินค้าก็จะทำหน้าที่ระบายสินค้าที่สะสมไว้นั้นออกสู่ตลาดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสินค้า ทำให้เกิดความสมดุลโดยเฉลี่ยในระยะยาว

แต่ในขณะที่การผลิตเกิดอุปสรรคขัดข้องต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม เช่น เกิดการเสียหายของเครื่องจักร ต้องทำการซ่อมแซม หรือเกิดการขาดแคลนของวัสดุการผลิต หรืออาจจะเกิดกรณีพิพาททางด้านแรงงาน มีการหยุดงาน สินค้าที่เก็บสะสมอยู่ในคลังสินค้าก็จะถูกนำออกสู่ตลาดเป็นการชดเชย

แม้ว่าอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการตามปกติที่กิจการผลิตยังดำเนินงานอยู่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภคลงได้บ้างในระดับหนึ่ง จนกว่าจะแก้ไขข้อขัดข้องของการผลิตลงได้ ฉะนั้น การจัดการคลังสินค้านั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของโรงงานหลาย ๆ ด้าน ในโซ่อุปทานของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลัง                               
    

     ในกระบวนการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรม (Manufacturing Production System) โดยทั่วไปมักเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง  

      ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous  Production  System) เป็นระบบที่มีการไหลของวัตถุดิบต่อเนื่องตามสายการผลิต (Line Production) เช่น โรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือ โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง การผลิตแก้วของโรงงานผลิตแก้ว บุหรี่ ไม้อัด น้ำตาล เป็นต้น 

     ลักษณะที่ดีของระบบการผลิตต่อเนื่องก็คือ ใช้พื้นที่ในโรงงานได้ประโยชน์คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่ในกระบวนการผลิตของสายการผลิตเหลือพื้นที่ในการเก็บวัตถุดิบเล็กน้อย และการขนย้ายวัตถุดิบในสายการผลิต ก็จะใช้การขนย้ายแบบตายตัว เช่น ใช้สายพาน (Conveyers) ขนย้ายวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง ผู้ผลิตจะต้องวางผังโรงงานให้สอดคล้องกับระบบการผลิต ผังของโรงงานอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับระบบการผลิตแบบต่อเนื่องที่ใช้กันมากก็คือ การวางผังโรงงานแบบชนิดของผลิตภัณฑ์ (Product Layout)


     ตัวอย่างกระบวนการผลิตกระดาษเพื่อใช้ผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ความต้องการกระดาษเพื่อใช้ผลิตสินค้าหนังสือมีเป็นจำนวนมากในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหนังสือพิมพ์จะต้องออกจำหน่ายทุกวัน ทุกสัปดาห์ ในกระบวนการผลิตกระดาษในต้นน้ำจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือที่ใช้ในการตัดต้นไม้สำหรับนำมาเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระดาษ เมื่อตัดมาจะต้องผ่านการขนย้ายเพื่อนำเข้าไปในโรงงานอุตสาหกรรมที่แปรรูปต้นไม้ ผ่านกระบวนการผลิต เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต สายพานการผลิต จนออกมาเป็นสินค้าวัตถุดิบคือ กระดาษ เพื่อนำไปใช้ในการโรงงานอุตสาหกรรมผลิตหนังสือพิมพ์ต่อไป

 

ลักษณะการผลิตแบบต่อเนื่อง มีลักษณะการผลิตดังนี้

1.  มีอุปกรณ์และกระบวนการผลิตมาตรฐาน

2.  ลักษณะของปัจจัยการผลิต จะมีมาตรฐานแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงชนิดหรือส่วนประกอบ

3.  ลำดับการผลิตแน่นอน

4.  การไหลหรือการเคลื่อนย้ายของงานมักจะใช้สายพาน (Conveyor Belts)

5.  การป้อนงานเข้าหน่วยผลิตแต่ละหน่วย จะใช้กฎเกณฑ์ตามลำดับมาก่อนเข้าก่อน

6.  ผลิตสินค้ามาตรฐานได้ทีละมาก ๆ (Mass Production)

 

      ฉะนั้น ในระบบการผลิตสินค้าในระบบต่อเนื่องที่ส่วนใหญ่ในภาคการผลิตใช้เป็นระบบการผลิต ซึ่งต้องมีการใช้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีวัสดุการผลิตอย่างเพียงพอ ที่จะป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างไม่ขาดตอน คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในการจัดให้มีการสะสมวัสดุการผลิตไว้อย่างเพียงพอ เพื่อให้กระบวนการผลิตดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

     การเก็บรักษาวัสดุการผลิตสะสมไว้เพื่อการนี้ ผู้ผลิตสินค้าอาจลงทุนจัดตั้งและดำเนินการคลังสินค้าของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต ที่จัดอยู่ในจำพวกคลังสินค้าประเภทคลังเก็บพัสดุของกิจการผลิตสินค้า หรือผู้ผลิตสินค้าอาจเลือกใช้บริการ ของคลังสินค้าสาธารณะเพื่อการนี้ก็ได้


     เพื่อให้โซ่อุปทานของระบบ Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตจำเป็นต้องสร้างระบบควบคุมสินค้าคงคลังโดยเฉพาะผู้ผลิตที่ใช้ระบบการผลิตแบบต่อเนื่องซึ่งมีหลายวิธีการแต่ในที่นี้ ขอนำเสนอไว้ 3 ระบบ ดังนี้

ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System)
     เมื่อเกิดความจำเป็นที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องมีคลังสินค้า (Inventory) ในการเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตของการผลิต จึงเป็นภารกิจหนึ่งของระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) คือ การลงบัญชีและตรวจนับสินค้าคงคลัง เพราะแต่ละธุรกิจจะมีสินค้าคงคลังหลายชนิด แต่ละชนิดอาจมีความหลากหลาย เช่น ขนาดรูปถ่าย สีผ้า ซึ่งทำให้การตรวจนับสินค้าคงคลังต้องใช้พนักงานจำนวนมาก

เพื่อให้ได้จำนวนที่ถูกต้องภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อที่จะได้ทราบว่าชนิดสินค้าคงคลังที่เริ่มขาดมือ ต้องซื้อมาเพิ่ม และปริมาณการซื้อที่เหมาะสม ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่ 3 วิธี

1. การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory Control)
     การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมอย่างถ้วนถี่ในเรื่องการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทำให้บัญชีแสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมสินค้าคงคลังรายการที่สำคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้

     อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทราบข้อมูลที่แท้จริงว่าสินค้าคงคลังมีหรือขาดอยู่จำนวนเท่าไหร่ สามารถบริหารสินค้าคงคลังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริงอยู่ตลอดเวลา

     แต่ก็มีข้อเสียในเรื่อง ต้นทุนการดำเนินการค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องมีเจ้าหน้าที่ พนักงานที่ต้องมาดูแลเรื่องนี้โดยตรง การตรวจสอบจะต้องรอบคอบ ค่าใช้จ่ายด้านเอกสาร การจัดการเกิดขึ้นในระยะยาว จึงได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เข้ามาใช้ในสำนักงาน คลังสินค้าซึ่งเราสามารถพบเห็นการใช้ได้โดยทั่วไป อาทิ ร้านสะดวกซื้อ คลังสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น โดยการใช้รหัสแห่ง (Bar Code) หรือรหัสสากลสำหรับผลิตภัณฑ์ (EAN13) ติดบนสินค้าแล้วใช้เครื่องอ่านรหัสแห่ง (Laser Scan)


      Barcode เป็นรหัสแท่งที่สามารถช่วยจำแนกประเภทและชนิดของสินค้าได้ จาก ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด สี ที่แตกต่างกัน ด้วยการสื่อความหมายระหว่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้ ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ระบบ Barcode เป็นระบบรหัสชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปสัญลักษณ์แท่งสีขาวสลับสีดำมีขนาดยาว สั้น หนา บาง ต่างกัน เพื่อที่เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จะสามารถอ่านและแปลความหมายออกมาในรูปตัวเลขและเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้ด้วยการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)

     โดย รหัสบาร์โค้ด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนลายเส้นซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด ส่วนข้อมูลตัวอักษรเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่าง (Quiet Zone) เป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสงในสีของพื้นผิวแต่ละชนิดที่ใช้แทนสีขาว) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ในการอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้

      การกำหนดมาตรฐานบาร์โค้ด เป็นวิทยาการการออกแบบสัญลักษณ์ (Symbol Technology) ที่เข้ารหัสแทนข้อมูล เพื่อให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ โดยที่รูปแบบของบาร์โค้ด (Bar Code Format ) มีหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติของรูปแบบเฉพาะที่จัดทำเป็นมาตรฐานบาร์โค้ด ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปีทศวรรษ พ.ศ.2510 และมาตรฐานบาร์โค้ดที่มีใช้กันมาก คือ EAN (European Article Number) ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย EAN International (International Article Numbering Association และ UPC (Universal Product Code) ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc

       การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้รหัสแห่ง (Bar Code) จึงทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถตรวจสอบได้ด้วยระบบสารสนเทศซึ่งมีความแม่นยำกว่าการตรวจนับด้วยพนักงานอย่างแน่นอน ทำให้สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการรายงานที่ออกมาเป็นเอกสาร ไม่ต้องใช้พนักงานดูแลมากนัก สามารถควบคุมการรับจ่ายได้ทั่วถึง

     ในปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ไขปัญหานอกจากจะมีความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลของการบริหารสินค้าคงคลังในซัพพลายเชนของสินค้าได้อีกด้วย ทำให้กระบวนการควบคุมภาพรวมของผู้ผลิตสามารถจัดการและควบคุมได้อย่างเป็นระบบ

 2. การควบคุมสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Control) 
     การควบคุมสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีโดยกำหนดไว้เป็นจำนวนมาตรฐานที่แน่นอนช่วงเวลาไว้ อาจเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนแล้วแต่กรณี จึงเป็นระบบการควบคุมขององค์กรธุรกิจที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้อย่างแน่นอน เช่น ร้านจำหน่ายหนังสือซึ่งจะมีการสำรวจยอดหนังสือในแต่ละวัน และสรุปยอดตอนสิ้นเดือน เพื่อดูปริมาณสินค้าคงค้างในร้านและคลังสินค้า ยอดหนังสือที่ต้องเตรียมจัดส่งให้แก่ร้านตามที่ต้องการสั่งซื้อ

     ถ้าพิจารณาระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด ร่วมกับ ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง มักจะมีระดับสินค้าคงคลังเหลือสูงกว่า เพราะจะมีการเผื่อสำรองการขาดมือโดยไม่คาดคิดไว้ก่อนล่วงหน้าบ้าง และระบบนี้จะทำให้มีการปรับปริมาณการสั่งซื้อใหม่ เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไปด้วย การเลือกใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่องและระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวดมีข้อดีของแต่ละแบบดังนี้

การควบคุมสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่อง

1. มีสินค้าคงคลังเผื่อขาดมือน้อยกว่า โดยจะเผื่อสินค้าไว้เฉพาะช่วงเวลารอคอยเท่านั้นแต่ละระบบเมื่อสิ้นงวดต้องเผื่อสินค้าไว้ทั้งช่วงเวลารอคอย และเวลาระหว่างการสั่งซื้อแต่ละครั้ง.

2. ใช้จำนวนการสั่งซื้อคงที่ซึ่งจะทำให้ได้ส่วนลดปริมาณได้ง่าย

3. สามารถตรวจสินค้าคงคลังแต่ละตัวอย่างอิสระ และเจาะจงเข้มงวดเฉพาะรายการที่มีราคาแพงได้

การควบคุมสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด

1. ใช้เวลาน้อยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้อยกว่าระบบต่อเนื่อง

2. เหมาะกับการสั่งซื้อของจากผู้ขายรายเดียวกันหลาย ๆชนิด เพราะจะได้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเอกสาร ลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และสะดวกต่อการตรวจนับยิ่งขึ้น

3. ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังต่ำกว่า

3. การควบคุมจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดเอบีซี (ABC) ระบบควบคุม ABC เป็นวิธีการจำแนกสินค้าคงคลังออกเป็นแต่ละประเภทโดยพิจารณาปริมาณและมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์ เพื่อลดภาระในการดูแล ตรวจนับ และควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่มากมาย ซึ่งถ้าควบคุมทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกัน จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น เพราะในบรรดาสินค้าคงคลังทั้งหลายของแต่ละธุรกิจจะมักเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้

A เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณน้อย (% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง (80% ของมูลค่าทั้งหมด)

B เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณปานกลาง (30% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) และมีมูลค่ารวมปานกลาง (15% ของมูลค่าทั้งหมด)

C เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณมาก (50-60% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ (5-10% ของมูลค่าทั้งหมด)


      ตัวอย่างที่ 1 ฝ่ายซ่อมบำรุงในโรงงาน A รับผิดชอบในการสำรองอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรซึ่งได้เก็บประวัติการใช้งานที่ผ่านมา มีหมายเลขชิ้นส่วน ราคาต่อหน่วย และการใช้งาน

ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ชิ้นส่วนที่

ต้นทุนต่อหน่วย

อุปสงค์ต่อปี

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

60

360

30

80

30

20

10

320

510

20

90

40

130

60

10

180

170

50

6

120

 ซึ่งสามารถหาชั้นของอะไหล่โดยคูณระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับอุปสงค์ต่อปี และจัดชั้นได้ดังนี้

ชิ้นส่วนที่

มูลค่ารวม

% ของมูลค่ารวม

% ของปริมาณรวม

            

%สะสม

9

8

2

30,600

16,000

14,000

35.90

18.70

16.40

6.00

5.00

4.00

A

6.00

11.0

15.0

1

4

3

5,400

4,800

3,900

6.30

5.60

4.60

9.00

6.00

10.00

B

24.0

30.0

40.0

6

5

10

1

3,600

3,000

2,400

1,700

4.20

3.50

2.80

2.00

18.00

13.00

12.00

17.00

C

58.0

71.0

83.0

100.0

 

     ชั้น      

    รายการ     

% ของมูลค่ารวม

% ของปริมาณรวม

A

9,8,2

71.0

15.0

B

1,4,3

16.5

25.0

C

6,5,10,7

12.5

60.0

 การจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดABC จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังแตกต่างกันดังต่อไปนี้


      A ควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อย ๆ (เช่น ทุกสัปดาห์) การควบคุมจึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บของไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้าและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้


      B ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอเช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า (เช่น ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A


     C ไม่มีการจดบันทึกหรือมีก็เพียงเล็กน้อย สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมาก ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ป้องกันไม่ให้สูญหาย การตรวจนับ C จะใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดคือเว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้วก็ซื้อมาเติม หรืออาจใช้ระบบสองกล่อง ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้ของในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อของเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น

     เมื่อสินค้าคงคลังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิต การบริหารโซ่อุปทานของสินค้าโดยการใช้ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ทำให้การดำเนินการของกิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนกำหนดปริมาณสินค้าคงวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาและผลิต และสินค้าสำเร็จรูปถ้าหากไม่มีสินค้าคงคลัง การผลิตก็อาจจะไม่ประสิทธิภาพ

หน้าที่ของสินค้าคงคลังคือ รักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกิดการประหยัด ต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะการสั่งซื้อจำนวนมาก ๆ เป็นการลดต้นทุน และคลังสินค้าช่วยเก็บสินค้าปริมาณมากนั้น แต่สินค้าคงคลังก็ถือเป็น Cost โดยตรง

การพยากรณ์อุปสงค์เพื่อทราบจำนวนผลิตจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าคงคลังและป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ในกรณีที่โรงงานมีวัตถุดิบมาเป็นจำนวนมาก หากสินค้าคงคลังมีมากเกินไปก็เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูงผิดปกติ หากมีน้อยเกินไปก็อาจรบกวนสมดุลตลาด หรือทำให้การผลิตติดขัด ฉะนั้น การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management ) จึงเป็นเรื่องที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานสินค้าได้

 
ข้อมูลอ้างอิงประกอบการเขียน
www.qc.lru.ac.th
www.rightsoftcorp.com
www.ismed.or.th
www.nsru.ac.th/
www.tpif.or.th
www.kmitl.ac.th
www.npc-se.co.th
www.princessfoods.co.th
www.clt.or.th
www.barcode-wiseness.com
www.technologystudent.com

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด