เนื้อหาวันที่ : 2013-04-23 11:13:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7938 views

ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินที่เหมาะสมนั้น เป็นฉันใด ? (ตอนจบ)

ทำไมฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน (Emergency Shower) และที่ล้างตาฉุกเฉิน (Emergency Eyewash) จึงมีความสำคัญ

ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่เหมาะสมนั้น....เป็นฉันใด ? (ตอนจบ)
(A Guide to the Proper Emergency Showers and Eye wash)
ศิริพร วันฟั่น

คำถาม–คำตอบที่ควรรู้
1    ถาม ทำไมฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน (Emergency Shower) และที่ล้างตาฉุกเฉิน (Emergency Eyewash) จึงมีความสำคัญ 

ตอบ ช่วงระยะเวลา 10-15 วินาทีแรกหลังจากที่สัมผัสกับสารอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสารกัดกร่อน (Corrosive Substance) ถือว่าเป็นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ความล่าช้าในการรักษาแม้เพียงแค่ 2–3 วินาที อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอย่างสาหัสได้ ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินจะทำการขจัดสารปนเปื้อน ณ บริเวณจุดที่มีการสัมผัสแบบเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยผู้ปฏิบัติงานในการชะล้างสารอันตรายที่สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้

 อุบัติเหตุจากการสัมผัสสารเคมียังคงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีการควบคุมทางวิศวกรรมและการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยที่ดีแล้วก็ตาม ฉะนั้นแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องมองให้เกินไปกว่าแค่เพียงการใช้แว่นครอบตา กระบังหน้า และกรรมวิธีต่าง ๆ ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเท่านั้น  ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสำรองไว้ใช้ เพื่อลดผลกระทบของอุบัติเหตุจากการสัมผัสสารเคมี นอกจากนี้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินยังสามารถใช้ดับไฟที่ติดบนเสื้อผ้า หรือใช้ชะล้างสารปนเปื้อนให้ออกจากเสื้อผ้าได้อีกด้วย


2   ถาม ANSI Z358.1–2009 (Standard for Emergency Eyewash and Shower Equipment) คือ มาตรฐานอะไร 

ตอบ มาตรฐานฉบับปรับปรุงล่าสุดสำหรับที่ล้างตาฉุกเฉินและฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน โดยวัตถุประสงค์หลักจะเป็นการให้แนวทางที่ถูกต้องสำหรับการพิจารณาถึง การออกแบบ ประสิทธิภาพ การติดตั้ง การใช้งาน วิธีการทดสอบ การบำรุงรักษา และการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั่วไปของ OSHA

ANSI Z358.1–2009 (Standard for Emergency Eyewash and Shower Equipment) คือ มาตรฐานอะไร  มาตรฐานฉบับปรับปรุงล่าสุดสำหรับที่ล้างตาฉุกเฉินและฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน โดยวัตถุประสงค์หลักจะเป็นการให้แนวทางที่ถูกต้องสำหรับการพิจารณาถึง การออกแบบ ประสิทธิภาพ การติดตั้ง การใช้งาน วิธีการทดสอบ การบำรุงรักษา และการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั่วไปของ OSHA


3   ถาม ของไหลที่ใช้ในการชะล้าง (Flushing Fluid) คืออะไร
 

ตอบ น้ำจำพวกที่ดื่มกินได้ทั่วไป (Potable Water) หรือเป็นน้ำที่เติมสารคงคุณภาพไว้ (Preserved water) หรือ Preserved Buffered Saline Solution หรือ 100% Sterile Saline Eyewash Solution และ สารละลายอื่น ๆ ที่ทางการแพทย์ยอมรับ


4   ถาม อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับของไหลที่ใช้ในการชะล้าง (Flushing Fluid) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ANSI เป็นเท่าใด

ตอบ ของไหลที่ใช้ในการชะล้างควรมีอุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย (Tepid Flushing Fluid) โดยมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ กล่าวคือ 15.5–37.7 oC (60-100 oF) คงที่ตลอดช่วงระยะเวลาที่ชะล้าง หรือรินล้างต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 37.7 oC (100 oF) อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับผิวหนังและยังผลให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมตามมาได้อีก

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับของไหลที่ใช้ในการชะล้าง (Flushing Fluid) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ANSI เป็นเท่าใด ของไหลที่ใช้ในการชะล้างควรมีอุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย (Tepid Flushing Fluid) โดยมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ กล่าวคือ 15.5–37.7 oC (60-100 oF) คงที่ตลอดช่วงระยะเวลาที่ชะล้าง หรือรินล้างต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 37.7 oC (100 oF) อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับผิวหนังและยังผลให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมตามมาได้อีก

 ส่วนอุณหภูมิที่ 15.5 oC (60 oF) และที่ต่ำกว่าสภาวะความร้อนในร่างกายต่ำผิดปกติ (Hypothermia) ก็อาจเป็นอันตรายต่อได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในที่ที่มีความเป็นไปได้ที่ปฏิกิริยาเคมีอาจจะถูกเร่งโดยของไหลฯ ที่อุ่น ก็ควรปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อพิจารณาว่าอุณหภูมิสูงสุดของของไหลฯ ที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่เท่าใด


5   ถาม ระยะเวลานานเท่าใดที่บริเวณสัมผัสสารอันตรายควรที่จะถูกรินล้างหรือชะล้าง

ตอบ สำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพนั้น ตามมาตรฐานของ ANSI ได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า ส่วนใดของร่างกายที่ได้รับผลกระทบนั้นต้องได้รับการชะล้างโดยทันทีและอย่างทั่วถึงเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้ของไหลที่สะอาดจำนวนมากจากแหล่งจ่ายที่มีแรงดันน้ำต่ำ น้ำไม่ใช่ตัวทำให้สารปนเปื้อนนั้นแปรสภาพเป็นกลาง แต่ทำหน้าที่เพียงแค่เจือจางและล้างสารปนเปื้อนนั้นออก นั่นจึงมีที่มาว่าทำไมจึงจำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก

 อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ได้ให้ข้อแนะนำว่า ให้ชะล้างเป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาทีถ้าไม่ทราบคุณสมบัติของสารปนเปื้อน ช่วงระยะเวลาในการรินล้างหรือชะล้างสามารถที่จะปรับให้เหมาะสมได้ถ้าเราทราบเอกลักษณ์และคุณสมบัติทางเคมีของสารปนเปื้อนนั้น ตัวอย่างเช่น

- ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 5 นาทีสำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองอ่อน ๆ 
- ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 20 นาทีสำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองปานกลางถึงรุนแรง
- ใช้ระยะเวลาชะล้าง 20 นาทีสำหรับสารเคมีกัดกร่อนที่ไม่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัส และ 
- ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 60 นาทีสำหรับสารเคมีกัดกร่อนที่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้

     สารเคมีกัดกร่อนที่ไม่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัส (Non–penetrating Corrosive Chemicals) คือ สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อมนุษย์ในการก่อรูปขึ้นเป็นชั้นปกป้อง (Protective Layer) ที่จะจำกัดขอบเขตความเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณที่สัมผัสสารปนเปื้อน ซึ่งพบว่ากรด (Acids) โดยมากแล้วจะอยู่ในประเภทนี้ ส่วนตัวอย่างสารเคมีกัดกร่อนประเภทที่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ (Penetrating Corrosive Chemicals) เช่น สารอัลคาไลน์โดยส่วนใหญ่ (Alkaline) กรดไฮโดรฟลูโอริก (Hydrofluoric) และฟีนอล (Phenol) สามารถที่จะซึมผ่านผิวหนังหรือดวงตาได้ลึก

ระยะเวลานานเท่าใดที่บริเวณสัมผัสสารอันตรายควรที่จะถูกรินล้างหรือชะล้าง สำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพนั้น ตามมาตรฐานของ ANSI ได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า ส่วนใดของร่างกายที่ได้รับผลกระทบนั้นต้องได้รับการชะล้างโดยทันทีและอย่างทั่วถึงเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้ของไหลที่สะอาดจำนวนมากจากแหล่งจ่ายที่มีแรงดันน้ำต่ำ น้ำไม่ใช่ตัวทำให้สารปนเปื้อนนั้นแปรสภาพเป็นกลาง แต่ทำหน้าที่เพียงแค่เจือจางและล้างสารปนเปื้อนนั้นออก นั่นจึงมีที่มาว่าทำไมจึงจำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก  

ระยะเวลานานเท่าใดที่บริเวณสัมผัสสารอันตรายควรที่จะถูกรินล้างหรือชะล้าง สำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพนั้น ตามมาตรฐานของ ANSI ได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า ส่วนใดของร่างกายที่ได้รับผลกระทบนั้นต้องได้รับการชะล้างโดยทันทีและอย่างทั่วถึงเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้ของไหลที่สะอาดจำนวนมากจากแหล่งจ่ายที่มีแรงดันน้ำต่ำ น้ำไม่ใช่ตัวทำให้สารปนเปื้อนนั้นแปรสภาพเป็นกลาง แต่ทำหน้าที่เพียงแค่เจือจางและล้างสารปนเปื้อนนั้นออก นั่นจึงมีที่มาว่าทำไมจึงจำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก  

อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ได้ให้ข้อแนะนำว่า ให้ชะล้างเป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาทีถ้าไม่ทราบคุณสมบัติของสารปนเปื้อน ช่วงระยะเวลาในการรินล้างหรือชะล้างสามารถที่จะปรับให้เหมาะสมได้ถ้าเราทราบเอกลักษณ์และคุณสมบัติทางเคมีของสารปนเปื้อนนั้น ตัวอย่างเช่น

- ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 5 นาทีสำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองอ่อน ๆ 

- ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 20 นาทีสำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์ระคายเคืองปานกลางถึงรุนแรง

- ใช้ระยะเวลาชะล้าง 20 นาทีสำหรับสารเคมีกัดกร่อนที่ไม่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัส

 - ใช้ระยะเวลาชะล้างอย่างน้อย 60 นาทีสำหรับสารเคมีกัดกร่อนที่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้    

สารเคมีกัดกร่อนที่ไม่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัส (Non–penetrating Corrosive Chemicals) คือ สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อมนุษย์ในการก่อรูปขึ้นเป็นชั้นปกป้อง (Protective Layer) ที่จะจำกัดขอบเขตความเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณที่สัมผัสสารปนเปื้อน ซึ่งพบว่ากรด (Acids) โดยมากแล้วจะอยู่ในประเภทนี้ ส่วนตัวอย่างสารเคมีกัดกร่อนประเภทที่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ (Penetrating Corrosive Chemicals) เช่น สารอัลคาไลน์โดยส่วนใหญ่ (Alkaline) กรดไฮโดรฟลูโอริก (Hydrofluoric) และฟีนอล (Phenol) สามารถที่จะซึมผ่านผิวหนังหรือดวงตาได้ลึก

ฉะนั้นแล้ว สารเคมีกัดกร่อนประเภทที่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาชะล้างเป็นเวลานาน (อย่างน้อย 60 นาที) มากกว่าสารเคมีกัดกร่อนประเภทที่ไม่ซึมผ่านเนื้อเยื่อที่สัมผัส (ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 20 นาที)

     ในทุก ๆ กรณี ถ้ายังคงมีอาการระคายเคืองอยู่ ก็ควรชะล้างซ้ำอีกครั้ง และสิ่งที่สำคัญก็คือ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดภายหลังจากได้รับการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ ปริมาณน้ำทั้งหมดที่อยู่ในระบบบรรจุน้ำในตัว (Self–contained Systems) ควรที่จะมีเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้สำหรับการจ่ายน้ำให้ได้ตามอัตราการไหลและระยะเวลาในการชะล้างที่ถูกแนะนำไว้

6   ถาม กรรมวิธีที่ถูกต้องในการล้างตาที่สัมผัสสารอันตราย เป็นเช่นไร

 ตอบ เมื่อดวงตาสัมผัสสารอันตราย ให้รีบไปยังที่ล้างตาฉุกเฉินให้เร็วที่สุด ดันคันชักเปิดวาล์ว (Valve Activator) เพื่อให้อุปกรณ์เริ่มส่งกระแสน้ำ โดยคันชักเปิดวาล์วนี้อาจอยู่ข้าง ๆ อ่างหรืออยู่ที่พื้นใกล้ ๆ กับที่ยืนอยู่เพื่อที่ว่าจะสามารถใช้เท้าเหยียบได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดฝาครอบหัวฉีดเพราะจะดีดตัวออกได้เองทันทีด้วยแรงดันของน้ำที่ฉีดพุ่งออกมา ก้มศีรษะลงสู่อ่างล้างตาจนกระทั่งได้ระดับที่กระแสน้ำพุ่งตรงเข้าสัมผัสดวงตาทั้งคู่ เปิดตาให้กว้างไว้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ช่วยถ่าง พยายามควบคุมศีรษะให้นิ่งไว้ กรอกกลิ้งดวงตาให้รอบ ๆ จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งและจากบนลงล่างสลับกันไปมา

กรรมวิธีที่ถูกต้องในการล้างตาที่สัมผัสสารอันตราย เป็นเช่นไร เมื่อดวงตาสัมผัสสารอันตราย ให้รีบไปยังที่ล้างตาฉุกเฉินให้เร็วที่สุด ดันคันชักเปิดวาล์ว (Valve Activator) เพื่อให้อุปกรณ์เริ่มส่งกระแสน้ำ โดยคันชักเปิดวาล์วนี้อาจอยู่ข้าง ๆ อ่างหรืออยู่ที่พื้นใกล้ ๆ กับที่ยืนอยู่เพื่อที่ว่าจะสามารถใช้เท้าเหยียบได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดฝาครอบหัวฉีดเพราะจะดีดตัวออกได้เองทันทีด้วยแรงดันของน้ำที่ฉีดพุ่งออกมา ก้มศีรษะลงสู่อ่างล้างตาจนกระทั่งได้ระดับที่กระแสน้ำพุ่งตรงเข้าสัมผัสดวงตาทั้งคู่ เปิดตาให้กว้างไว้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ช่วยถ่าง พยายามควบคุมศีรษะให้นิ่งไว้ กรอกกลิ้งดวงตาให้รอบ ๆ จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งและจากบนลงล่างสลับกันไปมา

ซึ่งจะช่วยให้สามารถชะล้างดวงตาได้ทั่วถึงมากขึ้น ทำการชะล้างดวงตาให้ต่อเนื่องไปอย่างน้อย 15 นาทีหรือจนกระทั่งบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินมาถึงและสามารถที่จะให้การรักษาต่อได้ และแม้แต่ในกรณีที่เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อปรึกษาว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมหรือตรวจอย่างละเอียดหรือไม่


7    ถาม ข้อดีและข้อด้อยของอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบใช้ท่อส่งน้ำ (Plumbed Units) และแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) คืออะไร

ตอบ (A) อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบใช้ท่อส่งน้ำ (Plumbed Units)
     ข้อดี มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการชะล้างเนื่องจากท่อส่งต่อตรงเข้ากับท่อน้ำของสถานที่ปฏิบัติงาน


     ข้อด้อย อุณหภูมิของน้ำที่ออกมาจากท่อส่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุม ซึ่งมักจะร้อนหรือเย็นจนเกินไปต่อการชะล้างที่ต้องการความต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที ดังนั้นเพื่อความมั่นใจว่าน้ำที่จ่ายออกมาจะเป็นน้ำอุ่นเล็กน้อย อยู่ในช่วง15.5–37.7 oC (60-100 oF) ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องติดตั้งวาล์วผสม (Blending Valves) นอกจากนี้ น้ำที่ออกมาจากท่อส่งจะไม่เข้ากันกับค่า pH Balance ของดวงตา

 ดังนั้น การชะล้างด้วยน้ำจากท่อส่งของฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ น้ำที่ใช้ชะล้างนี้อาจมีการปนเปื้อนหลายอย่าง (เช่น สนิม ตะกอน สารเคมี หรือบักเตรี) และสามารถซ้ำเติมการบาดเจ็บให้หนักขึ้นได้ รวมถึงสารคลอรีนที่อยู่ในน้ำยังสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองกับเยื่อบุตาได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการฉีดชะล้างท่อส่งให้สะอาดอยู่เสมอเป็นรายสัปดาห์โดยเฉพาะน้ำค้างท่อหรือน้ำนิ่ง และควรมีการเก็บทดสอบตัวอย่างน้ำอย่างสม่ำเสมอด้วย 

ตอบ (B) อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units)
     ข้อดี ของไหลที่ใช้ในการชะล้างถูกเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องเพื่อช่วยให้มั่นใจได้ว่า ของไหลฯ ที่จะถูกจ่ายออกไปนั้นจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายเพิ่มเติม โดยของไหลฯ นี้จะถูกบรรจุอยู่ในวัสดุจัดเก็บที่ปิดผนึกแน่นหนาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นจึงต้องการการบำรุงรักษาที่ไม่บ่อยครั้งนัก

 นอกจากนี้ อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัวที่มีการบรรจุสารละลายบัฟเฟอร์เซลายน์ (Buffered Saline Solution) นั้น ถือได้ว่ามีความใกล้เคียงมากที่สุดในการเข้ากันได้กับค่า pH Balance ของดวงตา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือการระคายเคืองซ้ำเมื่อใช้ชะล้างสารปนเปื้อนในดวงตา และในปัจจุบันอุปกรณ์ฉุกเฉินชนิดนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยี RFID เพิ่มเติมเข้าไปอีกด้วย เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาและบริหารจัดการวัสดุคงคลัง การตามติดวันหมดอายุ ตลอดจนยังสามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ร่วมได้ด้วย


     ข้อด้อย มีปริมาณของไหลที่ใช้ในการชะล้างอยู่จำนวนจำกัด ตามขนาดของภาชนะบรรจุ ซึ่งจำเป็นต้องเติมหรือเปลี่ยนของไหลฯ ภายหลังจากใช้งาน


 8   ถาม ข้อได้เปรียบในการใช้น้ำยาล้างตา (Eyesaline Flushing Solution) แทนการใช้น้ำเปล่าสำหรับอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) หรืออุปกรณ์ล้างตาส่วนบุคคล (Personal Wash Units) คือ อะไร

ตอบ น้ำยาล้างตา (Eyesaline) เป็นสารละลายบัปเฟอร์เซลายน์ (Buffered Saline Solution) หรือ สารละลายไอโซโทนิคเซลายน์ (Isotonic saline solution) ซึ่งสารละลายบัปเฟอร์นี้มีค่า pH Balance เหมือนกันกับของดวงตาคนเรา รวมถึงมีสารคงคุณภาพ (Preservative) เพื่อช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

 ในขณะที่น้ำที่มาจากท่อน้ำทั่วไป (เช่น น้ำประปา) ก็มักจะมีการเติมสารคลอรีนและอาจเจือปนด้วยสารเคมีอื่น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตาเพิ่มเติมได้ รวมถึงมีโอกาสที่แบคทีเรียจะเจริญเติบโต เมื่อมีการใช้งานน้ำจากท่อส่งก็ควรมีการเปลี่ยนน้ำในทุก ๆ สัปดาห์เหตุเพราะว่าแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในน้ำนิ่ง ส่วนน้ำยาล้างตานั้นโดยทั่วไปจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทุก ๆ 6 เดือน


9   ถาม อุปกรณ์ฉุกเฉิน (Emergency Equipments) ชนิดใดที่ควรติดตั้งให้เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของพื้นที่งาน 

ตอบ ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน (Emergency Shower) หรือที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นฝักบัวที่ฉีดพ่นน้ำให้เปียกชุ่มโชก ถูกออกแบบมาเพื่อชะล้างศีรษะและตัวของผู้ใช้ ไม่ควรถูกใช้ในการชะล้างดวงตา เพราะว่ามีอัตราการไหลหรือแรงดันของน้ำสูงซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ดวงตาได้ในบางกรณี ส่วนที่ล้างตาฉุกเฉิน (Emergency Eyewash) หรือที่ล้างตา/ใบหน้าฉุกเฉิน (Emergency Eye/Face Wash) ถูกออกแบบมาเพื่อชะล้างดวงตาและบริเวณใบหน้าเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังมีแบบใช้ควบคู่กันกล่าวคือมีทั้งฝักบัวและที่ล้างตาในอุปกรณ์ชุดเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบผสม (Combination Units)

 ความจำเป็นสำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินจะขึ้นอยู่กับสมบัติ (Properties) ของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานใช้งานและกิจกรรมการทำงานที่ต้องทำในพื้นที่งาน การวิเคราะห์อันตรายในงาน (Job Hazard Analysis: JHA) สามารถช่วยในการประเมินความเป็นไปได้ของอันตรายต่าง ๆ ในงานและพื้นที่งาน การเลือกวิธีป้องกันอันตรายไม่ว่าจะเป็นฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน หรือทั้งคู่ ก็ควรที่จะเหมาะสมกับกับอันตรายเหล่านั้น

 ในบางพื้นที่งาน ผลกระทบที่มีจากอันตรายอาจจะจำกัดอยู่แค่เพียงใบหน้าและดวงตาของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น ที่ล้างตาฉุกเฉินหรือที่ล้างตา/ใบหน้าฉุกเฉิน อาจจะเป็นอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับการปกป้องผู้ปฏิบัติงาน ส่วนในพื้นที่ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจจะมีความเสี่ยงที่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทุกส่วนของร่างกายมีโอกาสสัมผัสกับสารอันตราย ในกรณีเช่นนี้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่า

 ในขณะที่ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบผสม (Combination Units) จะมีความสามารถในการชะล้างส่วนใด ๆ ของร่างกายหรือทั้งหมดของร่างกาย จึงเป็นอุปกรณ์ที่สามารถปกป้องได้มากที่สุดและควรที่จะถูกใช้งานในทุก ๆ ที่ที่เป็นไปได้ ชุดอุปกรณ์ที่ว่านี้ ยังมีความเหมาะสมในพื้นที่งานที่ยังขาดรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย หรือมีความซับซ้อนของอันตราย

ข้อได้เปรียบในการใช้น้ำยาล้างตา (Eyesaline Flushing Solution) แทนการใช้น้ำเปล่าสำหรับอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) หรืออุปกรณ์ล้างตาส่วนบุคคล (Personal Wash Units) คือ อะไร น้ำยาล้างตา (Eyesaline) เป็นสารละลายบัปเฟอร์เซลายน์ (Buffered Saline Solution) หรือ สารละลายไอโซโทนิคเซลายน์ (Isotonic saline solution) ซึ่งสารละลายบัปเฟอร์นี้มีค่า pH Balance เหมือนกันกับของดวงตาคนเรา รวมถึงมีสารคงคุณภาพ (Preservative) เพื่อช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

ข้อได้เปรียบในการใช้น้ำยาล้างตา (Eyesaline Flushing Solution) แทนการใช้น้ำเปล่าสำหรับอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) หรืออุปกรณ์ล้างตาส่วนบุคคล (Personal Wash Units) คือ อะไร น้ำยาล้างตา (Eyesaline) เป็นสารละลายบัปเฟอร์เซลายน์ (Buffered Saline Solution) หรือ สารละลายไอโซโทนิคเซลายน์ (Isotonic saline solution) ซึ่งสารละลายบัปเฟอร์นี้มีค่า pH Balance เหมือนกันกับของดวงตาคนเรา รวมถึงมีสารคงคุณภาพ (Preservative) เพื่อช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

ในขณะที่น้ำที่มาจากท่อน้ำทั่วไป (เช่น น้ำประปา) ก็มักจะมีการเติมสารคลอรีนและอาจเจือปนด้วยสารเคมีอื่น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตาเพิ่มเติมได้ รวมถึงมีโอกาสที่แบคทีเรียจะเจริญเติบโต เมื่อมีการใช้งานน้ำจากท่อส่งก็ควรมีการเปลี่ยนน้ำในทุก ๆ สัปดาห์เหตุเพราะว่าแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในน้ำนิ่ง ส่วนน้ำยาล้างตานั้นโดยทั่วไปจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทุก ๆ 6 เดือน

อุปกรณ์ฉุกเฉิน (Emergency Equipments) ชนิดใดที่ควรติดตั้งให้เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของพื้นที่งาน  ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน (Emergency Shower) หรือที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นฝักบัวที่ฉีดพ่นน้ำให้เปียกชุ่มโชก ถูกออกแบบมาเพื่อชะล้างศีรษะและตัวของผู้ใช้ ไม่ควรถูกใช้ในการชะล้างดวงตา เพราะว่ามีอัตราการไหลหรือแรงดันของน้ำสูงซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ดวงตาได้ในบางกรณี ส่วนที่ล้างตาฉุกเฉิน (Emergency Eyewash) หรือที่ล้างตา/ใบหน้าฉุกเฉิน (Emergency Eye/Face Wash) ถูกออกแบบมาเพื่อชะล้างดวงตาและบริเวณใบหน้าเท่านั้น

นอกจากนี้ก็ยังมีแบบใช้ควบคู่กันกล่าวคือมีทั้งฝักบัวและที่ล้างตาในอุปกรณ์ชุดเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบผสม (Combination Units) ความจำเป็นสำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินจะขึ้นอยู่กับสมบัติ (Properties) ของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานใช้งานและกิจกรรมการทำงานที่ต้องทำในพื้นที่งาน การวิเคราะห์อันตรายในงาน (Job Hazard Analysis: JHA) สามารถช่วยในการประเมินความเป็นไปได้ของอันตรายต่าง ๆ ในงานและพื้นที่งาน การเลือกวิธีป้องกันอันตรายไม่ว่าจะเป็นฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน หรือทั้งคู่ ก็ควรที่จะเหมาะสมกับกับอันตรายเหล่านั้น ในบางพื้นที่งาน ผลกระทบที่มีจากอันตรายอาจจะจำกัดอยู่แค่เพียงใบหน้าและดวงตาของผู้ปฏิบัติงาน

ดังนั้น ที่ล้างตาฉุกเฉินหรือที่ล้างตา/ใบหน้าฉุกเฉิน อาจจะเป็นอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับการปกป้องผู้ปฏิบัติงาน ส่วนในพื้นที่ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจจะมีความเสี่ยงที่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทุกส่วนของร่างกายมีโอกาสสัมผัสกับสารอันตราย ในกรณีเช่นนี้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่า ในขณะที่ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบผสม (Combination Units) จะมีความสามารถในการชะล้างส่วนใด ๆ ของร่างกายหรือทั้งหมดของร่างกาย จึงเป็นอุปกรณ์ที่สามารถปกป้องได้มากที่สุดและควรที่จะถูกใช้งานในทุก ๆ ที่ที่เป็นไปได้ ชุดอุปกรณ์ที่ว่านี้ ยังมีความเหมาะสมในพื้นที่งานที่ยังขาดรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย หรือมีความซับซ้อนของอันตราย

 รวมถึงปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดอันตรายนั้นเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลากหลายชนิดที่มีสมบัติแตกต่างกัน นอกจากนี้ ชุดอุปกรณ์นี้ จะมีคุณประโยชน์ในที่ที่มีความยุ่งยากในการช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่ประสบเหตุ ซึ่งอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้เพราะมีอาการปวดอย่างสาหัสหรือช็อคจากการบาดเจ็บ

 ส่วนสายฉีดชะล้างฉุกเฉิน (Emergency Drench Hoses) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เสริม (Supplemental Equipment) สำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์ที่มีสายยางที่ยืดหยุ่นเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งจ่ายน้ำ เพื่อทดน้ำและฉีดชะล้างสารปนเปื้อนที่ดวงตา ใบหน้าและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งนี้ สายฉีดชะล้างฉุกเฉินแบบใช้มือจับ (Hand–held Emergency Drench Hoses) สามารถใช้ช่วยสนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์ฉุกเฉินหลักได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกัน

สายฉีดชะล้างฉุกเฉินจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ผู้ประสบเหตุอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉินหลัก หรือส่วนสัมผัสไม่ว่าจะเป็นใบหน้าหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่สามารถที่จะเข้าถึงกระแสน้ำของฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินได้อย่างเต็มที่ สายฉีดชะล้างฉุกเฉินยังอาจใช้ในการชะล้างเฉพาะจุด (Spot) ในส่วนบริเวณที่ไม่จำเป็นสำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน และใช้กับผู้ประสบเหตุในกรณีที่ไม่สามารถยืนได้หรือหมดสติ หรือใช้ชะล้างภายใต้เสื้อผ้าก่อนที่จะถอดออก นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับห้องทดลองเพราะสามารถติดตั้งให้อยู่ใกล้เคียงกับจุดเสี่ยงได้มาก

 ในขณะที่อุปกรณ์ล้างตาส่วนบุคคล (Personal Wash Units) ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์เสริม (Supplemental Equipment) เช่นเดียวกัน สามารถใช้ช่วยสนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์ฉุกเฉินหลักได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกัน ยกตัวอย่างเช่น ขวดล้างตาฉุกเฉิน (Eyewash Bottles) โดยทั่วไปมักเป็นขวดขนาดเล็กที่บรรจุน้ำยาล้างตา (Eye Saline Solution) สะดวกต่อการพกพา สามารถใช้ชะล้างเบื้องต้นอย่างเร่งด่วนสำหรับสารปนเปื้อนและอนุภาคขนาดเล็ก (เช่น ฝุ่น) แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะประสบกับความยุ่งยากในการถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ตามลำพังและดวงตาทั้งคู่สัมผัสกับสารอันตราย จุดมุ่งหมายสำคัญของอุปกรณ์ชนิดนี้ ให้การชะล้างเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน หลังจากนั้นก็ต้องชะล้างด้วยอุปกรณ์ฉุกเฉินหลักต่อไป

    
10   ถาม มีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมเมื่อจะเลือกสรรและใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉิน (Emergency Equipments) เหล่านี้หรือไม่

 ตอบ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรจะถูกหยิบยกมาประกอบการพิจารณาโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์อันตราย (Hazard Analysis) มีดังนี้ คือ
      - สารอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดการสัมผัสขึ้นได้อย่างฉับพลันของพื้นที่งาน สารอันตรายทั้งหมดจำเป็นต้องได้รับการชี้บ่งอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยการทบทวนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS) และฉลากสามารถช่วยในการประเมินอันตรายได้ ดังนั้นในการเลือกสรรฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินก็ต้องรับรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้และความเสี่ยงของสารเหล่านี้


      - จำนวนผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่งานที่มีสารอันตราย อาจจำเป็นต้องทำการติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินมากกว่าหนึ่งจุด ในพื้นที่งานที่มีผู้ปฏิบัติงานหลาย ๆ คนที่ใช้สารอันตราย ดังนั้นจึงต้องทำการประเมินว่ามีผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากน้อยเท่าใดที่ใช้สารเคมีอันตราย และจัดสรรอุปกรณ์ฉุกเฉินนี้ให้เพียงพอ ในกรณีที่อาจมีผู้ประสบเหตุพร้อม ๆ กันหลายคน


      - ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานแยกส่วนออกไป การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยทั้งแบบเสียงและภาพสามารถช่วยเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ รับรู้เมื่อฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินกำลังถูกใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์เตือนภัยเหล่านี้จะมีประโยชน์มาก เมื่อผู้ปฏิบัติงานประสบเหตุตามลำพัง และอาจต้องการความช่วยเหลือที่จะนำพาไปยังที่ล้างตาฉุกเฉิน หากตามองไม่เห็นชั่วคราว บางบริษัทอาจเชื่อมต่อวาล์วระบบไฟฟ้าเพื่อเตือนด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่มีเสียงดังให้รับรู้ไปถึงพื้นที่งานส่วนกลางด้วย

      - ผ้าม่านส่วนตัว อาจมีความจำเป็นในกรณีที่ต้องถอดเอาเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายออกจากผู้บาดเจ็บ 


      - คุณภาพของของไหลที่ใช้ในการชะล้าง (Flushing Fluid) การเปลี่ยนของไหลฯ ของอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) อยู่บ่อย ๆ และทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ สามารถป้องกันการใช้งานของไหลฯ ที่ปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจ ควรศึกษาคู่มือและขอข้อแนะนำจากผู้ผลิตถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม และแม้แต่ที่ล้างตาฉุกเฉินแบบใช้ท่อส่งน้ำ (Plumbed Eyewash Equipments) ที่ใช้น้ำจากสถานที่ปฏิบัติงานก็ยังอาจมีการปนเปื้อนได้ เช่น สนิมและสารเจือปนอื่น ๆ จึงควรมีการฉีดชะล้างทำความสะอาดระบบท่อส่งน้ำอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน


     - สารละลายที่ทำให้มีสภาพเป็นกลาง (Neutralized Solutions) ขวดน้ำล้างตาฉุกเฉินและอุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัวบางชนิด ไม่สามารถที่จะจ่ายของไหลในการชะล้างได้อย่างเพียงพอ ต่อการเจือจางและชะล้างให้สารอันตรายออกไป การใช้สารละลายบัปเฟอร์ (Buffered Solutions) สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของที่ล้างตาฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว เนื่องจากสารละลายเหล่านี้ สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับของไหลฯ จำนวนน้อย ๆ ได้ และยังสามารถทำให้สารปนเปื้อนนี้มีสภาพเป็นกลางได้อีกด้วย

11  ถาม ลองยกตัวอย่างลักษณะพื้นที่งานที่ควรพิจารณาถึงความจำเป็นสำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน

ตอบ โดยทั่วไป อุปกรณ์ฉุกเฉินประเภทนี้มักจะมีความจำเป็นสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อนหรือสารอันตราย

ลองยกตัวอย่างลักษณะพื้นที่งานที่ควรพิจารณาถึงความจำเป็นสำหรับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน โดยทั่วไป อุปกรณ์ฉุกเฉินประเภทนี้มักจะมีความจำเป็นสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อนหรือสารอันตราย

ตัวอย่าง เช่น 
- การทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสารอันตรายสัมผัสดวงตาหรือเปรอะเปื้อนร่างกายในปริมาณมาก


- มีการใช้หรือดำเนินการใด ๆ กับสารอันตรายจำนวนมาก (ตั้งแต่ 1 ลิตรขึ้นไป) 


- การเคลื่อนย้ายสารในปริมาณมาก หรือการทำงานใกล้ถังหรือภาชนะบรรจุที่มีโอกาสถูกสารอันตรายเปรอะเปื้อน


- ในที่ที่มีฝุ่น ไอ ละอองของสารอันตรายที่มีปริมาณสูง หรือความเข้มข้นสูง หรืออาจมีการกระเซ็น กระฉอก ระเหย หรือหกรดใส่ ของสารอันตรายในขณะปฏิบัติงาน


- การเก็บ การเคลื่อนย้าย การถ่ายเทสารอันตรายที่อยู่สูงเกินระดับไหล่


- สารกัดกร่อนหรือสารอันตราย ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อการสัมผัสได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง
     เป็นต้น

12   ถาม ลองยกตัวอย่างพื้นที่และการปฏิบัติงานที่ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน

ตอบ การพ่นสีหรือการขัดสี การรับหรือการจ่ายน้ำมันเครื่องบิน การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงยานยนต์ การทำความสะอาดหรือการล้างไขมัน การทำความสะอาดโลหะ การแยกทอง การผสมสารกำจัดศัตรูพืช โรงงานบำบัดน้ำเสีย บริเวณประจุไฟแบตเตอรี่ หรือโรงซ่อมบำรุงแบตเตอรี่ การเก็บ ขนย้าย ถ่ายเทสารอันตราย ห้องทดลอง การใช้ด่างในการทำความสะอาด การทำงานเกี่ยวกับแอมโมเนียและสารอันตรายอื่น การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า รวมถึงการผลิต ผสม การแบ่งบรรจุสารเคมี เป็นต้น

ลองยกตัวอย่างพื้นที่และการปฏิบัติงานที่ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน การพ่นสีหรือการขัดสี การรับหรือการจ่ายน้ำมันเครื่องบิน การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงยานยนต์ การทำความสะอาดหรือการล้างไขมัน การทำความสะอาดโลหะ การแยกทอง การผสมสารกำจัดศัตรูพืช โรงงานบำบัดน้ำเสีย บริเวณประจุไฟแบตเตอรี่ หรือโรงซ่อมบำรุงแบตเตอรี่ การเก็บ ขนย้าย ถ่ายเทสารอันตราย ห้องทดลอง การใช้ด่างในการทำความสะอาด การทำงานเกี่ยวกับแอมโมเนียและสารอันตรายอื่น การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า รวมถึงการผลิต ผสม การแบ่งบรรจุสารเคมี เป็นต้น


13   ถาม บริเวณใดที่ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน

ตอบ ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะที่ดวงตา ส่วนมากแล้ว จะมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่จำกัดในช่วงระหว่างเดินทางไปสู่ที่ล้างตาฉุกเฉิน ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการพิจารณาเลือกบริเวณที่จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่ง ANSI ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินเหล่านี้ต้องได้รับการติดตั้งภายใต้เงื่อนไขตามนี้ คือ
 
           ใช้เวลาเดินเท้าไม่เกิน 10 วินาทีจากที่เกิดเหตุไปยังอุปกรณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผู้ที่จะใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้เป็นผู้บาดเจ็บและอาจไม่สามารถมองเห็นทางได้ชัดเจนเหมือนปกติ และ ANSI ระบุไว้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วบุคคลหนึ่ง ๆ สามารถเดินได้ 16–17 เมตร (55 ฟุต) ในระยะเวลา 10 วินาที ทั้งนี้ยังไม่นับรวมสรีระและสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม คำว่า “10 วินาที” ที่ระบุไว้ในข้อกำหนด อาจจะสามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของสารเคมีชนิดนั้น ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบได้มากน้อยแค่ไหน

            ในที่ที่มีการใช้สารเคมีประเภทกัดกร่อนสูงมาก (Highly Corrosive Chemical) ก็อาจมีความจำเป็นสำหรับการติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินให้อยู่ภายในระยะห่าง 3–6 เมตร (10–20 ฟุต) จากจุดเสี่ยง และอุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ควรที่จะติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่มีการปนเปื้อนจากสารกัดกร่อนที่ถูกใช้งานอยู่ใกล้ ๆ และปลอดภัยจากเหตุไฟฟ้าช็อตจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อันเนื่องมาจากสัมผัสกับของไหลฯ จากการชะล้าง
 
            นอกจากนี้แล้ว ทางเดินระหว่างที่เกิดเหตุและอุปกรณ์ฉุกเฉินต้องปราศจากสิ่งกีดขวาง ไม่เว้นแม้แต่ผนังห้องหรือฉากกั้นและประตูห้องที่ใช้ลูกบิด อยู่ในระนาบเดียวกันกับอันตรายโดยไม่มีพื้นผิวต่างระดับหรือมีบันไดอยู่ท่ามกลางระหว่างที่เกิดเหตุและอุปกรณ์ฉุกเฉิน อยู่ใกล้กับจุดอันตรายโดยสามารถเข้าถึงได้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีกรดกัดไหม้แก่และกรดแก่ และอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอและระบุอย่างชัดเจนด้วยป้ายสัญญาณที่สามารถมองเห็นและรับรู้ได้โดยง่ายต่อทุก ๆ คนที่ต้องใช้งาน

            ทั้งยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในการทำงานในบริเวณที่ติดตั้งร่วมด้วย ถ้ามีการใช้งานภายนอกก็ต้องระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้ สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรือสภาพอากาศที่เย็นเกินไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายจากอุณหภูมิของน้ำที่อาจจะร้อนหรือเย็น จนก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมกับเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารอันตรายนั้น ๆ โดยเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทำด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันแสงแดดได้หรืออาศัยการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ให้หลบแสงแดดเพื่อหลีกเลี่ยงของเหลวที่จะใช้ชะล้างที่อาจจะมีอุณหภูมิร้อนจนเกินไป
 
           ส่วนในกรณีที่อากาศเย็นมาก ๆ ก็ต้องมองหาฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่มีอุปกรณ์ทำความร้อนเพื่อช่วยให้ของเหลวที่จะใช้ชะล้างไม่ให้มีอุณหภูมิที่เย็นจนเกินไป พึงระลึกไว้ว่า ทาง ANSI ได้ให้แนวทางว่าควรชะล้างด้วยน้ำอุ่นเล็กน้อย (Tepid Water) ซึ่งจำกัดความว่ามีอุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 15.5–37.7 oC (60-100 oF) ยกเว้นในกรณีที่มีการระบุอุณหภูมิที่เหมาะสมไว้แล้วสำหรับสารเคมีชนิดนั้น ๆ

บริเวณใดที่ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะที่ดวงตา ส่วนมากแล้ว จะมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่จำกัดในช่วงระหว่างเดินทางไปสู่ที่ล้างตาฉุกเฉิน ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการพิจารณาเลือกบริเวณที่จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่ง ANSI ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินเหล่านี้ต้องได้รับการติดตั้งภายใต้เงื่อนไขตามนี้ คือ             ใช้เวลาเดินเท้าไม่เกิน 10 วินาทีจากที่เกิดเหตุไปยังอุปกรณ์ฉุกเฉิน

บริเวณใดที่ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะที่ดวงตา ส่วนมากแล้ว จะมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่จำกัดในช่วงระหว่างเดินทางไปสู่ที่ล้างตาฉุกเฉิน ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการพิจารณาเลือกบริเวณที่จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่ง ANSI ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินเหล่านี้ต้องได้รับการติดตั้งภายใต้เงื่อนไขตามนี้ คือ             ใช้เวลาเดินเท้าไม่เกิน 10 วินาทีจากที่เกิดเหตุไปยังอุปกรณ์ฉุกเฉิน

ซึ่งเป็นการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผู้ที่จะใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้เป็นผู้บาดเจ็บและอาจไม่สามารถมองเห็นทางได้ชัดเจนเหมือนปกติ และ ANSI ระบุไว้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วบุคคลหนึ่ง ๆ สามารถเดินได้ 16–17 เมตร (55 ฟุต) ในระยะเวลา 10 วินาที ทั้งนี้ยังไม่นับรวมสรีระและสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม คำว่า “10 วินาที” ที่ระบุไว้ในข้อกำหนด อาจจะสามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของสารเคมีชนิดนั้น ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบได้มากน้อยแค่ไหน             ในที่ที่มีการใช้สารเคมีประเภทกัดกร่อนสูงมาก (Highly Corrosive Chemical) ก็อาจมีความจำเป็นสำหรับการติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินให้อยู่ภายในระยะห่าง 3–6 เมตร (10–20 ฟุต) จากจุดเสี่ยง และอุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ควรที่จะติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่มีการปนเปื้อนจากสารกัดกร่อนที่ถูกใช้งานอยู่ใกล้ ๆ และปลอดภัยจากเหตุไฟฟ้าช็อตจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อันเนื่องมาจากสัมผัสกับของไหลฯ จากการชะล้าง        

     นอกจากนี้แล้ว ทางเดินระหว่างที่เกิดเหตุและอุปกรณ์ฉุกเฉินต้องปราศจากสิ่งกีดขวาง ไม่เว้นแม้แต่ผนังห้องหรือฉากกั้นและประตูห้องที่ใช้ลูกบิด อยู่ในระนาบเดียวกันกับอันตรายโดยไม่มีพื้นผิวต่างระดับหรือมีบันไดอยู่ท่ามกลางระหว่างที่เกิดเหตุและอุปกรณ์ฉุกเฉิน อยู่ใกล้กับจุดอันตรายโดยสามารถเข้าถึงได้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีกรดกัดไหม้แก่และกรดแก่ และอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอและระบุอย่างชัดเจนด้วยป้ายสัญญาณที่สามารถมองเห็นและรับรู้ได้โดยง่ายต่อทุก ๆ คนที่ต้องใช้งาน        

     ทั้งยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในการทำงานในบริเวณที่ติดตั้งร่วมด้วย ถ้ามีการใช้งานภายนอกก็ต้องระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้ สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรือสภาพอากาศที่เย็นเกินไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายจากอุณหภูมิของน้ำที่อาจจะร้อนหรือเย็น จนก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมกับเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารอันตรายนั้น ๆ โดยเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทำด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันแสงแดดได้หรืออาศัยการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ให้หลบแสงแดดเพื่อหลีกเลี่ยงของเหลวที่จะใช้ชะล้างที่อาจจะมีอุณหภูมิร้อนจนเกินไป           

  ส่วนในกรณีที่อากาศเย็นมาก ๆ ก็ต้องมองหาฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินที่มีอุปกรณ์ทำความร้อนเพื่อช่วยให้ของเหลวที่จะใช้ชะล้างไม่ให้มีอุณหภูมิที่เย็นจนเกินไป พึงระลึกไว้ว่า ทาง ANSI ได้ให้แนวทางว่าควรชะล้างด้วยน้ำอุ่นเล็กน้อย (Tepid Water) ซึ่งจำกัดความว่ามีอุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 15.5–37.7 oC (60-100 oF) ยกเว้นในกรณีที่มีการระบุอุณหภูมิที่เหมาะสมไว้แล้วสำหรับสารเคมีชนิดนั้น ๆ


14  ถาม อุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ควรจะได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเมื่อใด

ตอบ
     - อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบใช้ท่อส่งน้ำ (Plumbed Units) ต้องมีการทดลองใช้งาน (Activation) แบบรายสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยังสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชะล้างและระบายสิ่งเจือปนในท่อน้ำที่หมักหมม ซึ่งอาจเป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นตะกอน (Sediments) หรือเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial) ซึ่งเติบโตได้ดีในน้ำนิ่ง รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่าแรงดันน้ำที่มาตามท่อและพุ่งออกมาจากหัวฉีดนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม 

อุปกรณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ควรจะได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเมื่อใด     - อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบใช้ท่อส่งน้ำ (Plumbed Units) ต้องมีการทดลองใช้งาน (Activation) แบบรายสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ยังสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชะล้างและระบายสิ่งเจือปนในท่อน้ำที่หมักหมม ซึ่งอาจเป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นตะกอน (Sediments) หรือเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial) ซึ่งเติบโตได้ดีในน้ำนิ่ง รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่าแรงดันน้ำที่มาตามท่อและพุ่งออกมาจากหัวฉีดนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม 


     - อุปกรณ์ฉุกเฉินแบบบรรจุน้ำในตัว (Self–Contained Units) ต้องมีการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อและเปลี่ยนของไหลฯ ทุก ๆ 3–6 เดือนตามที่ผู้ผลิตระบุไว้ ส่วนภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก (Sealed Cartridge Devices) ที่ใช้บรรจุ Sterile Saline Solution หรือ Purified Saline Solution และ Buffered Saline Solution ควรที่จะยังคงคุณสมบัติของการปราศจากเชื้อแบคทีเรียและการปนเปื้อนไว้ได้นาน 24 เดือน


     - ควรมีการตรวจและทดสอบอย่างละเอียดและสมบูรณ์เมื่อครบรอบปี (Annual Inspections) ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบอัตราการไหล รูปแบบการทำงาน และโครงสร้างทางกายภาพ เพื่อให้คุณลักษณะและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฉุกเฉินเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ควรนำข้อแนะนำจากผู้ผลิตมาพิจารณาประกอบการตรวจทุกครั้ง

     - ผู้ตรวจสอบควรจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการตรวจ ลงลายมือชื่อ และวัน–เวลา ลงบนป้ายแบบฟอร์มการตรวจ (Inspection Tag) ที่ติดไว้ที่ตัวเครื่องหรือบริเวณใกล้เคียง และเก็บสำเนาไว้ที่ส่วนกลาง


     - จัดเตรียมเอกสารคู่มือวิธีใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉินให้อยู่ใกล้เคียงกับตัวเครื่อง เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งาน หรือในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์


     - ควรทำการตรวจบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance Inspections) ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ เช่น การรั่วของวาล์ว การอุดตันของหัวฉีดและท่อส่งของไหลฯ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เสียหาย ปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ ฯลฯ และอาจต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนถ้าจำเป็น หรือติดต่อผู้จำหน่ายถ้าไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ รวมถึงถ้าระบบการทำงานของอุปกรณ์ฉุกเฉินไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ต้องมีการแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ โดยการติดป้ายให้เห็นอย่างชัดเจนที่ตัวเครื่อง


15   ถาม ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรมประเภทใดบ้าง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฉุกเฉินนี้

ตอบ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องเข้ารับการอบรม เพื่อเรียนรู้การใช้งานอย่างถูกวิธีและทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน ก่อนที่เหตุฉุกเฉินใด ๆ จะเกิดขึ้น ไม่ควรทึกทักเอาเองว่าผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้รับรู้และเข้าใจวิธีใช้งานที่ถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว คู่มือขั้นตอนการใช้งานอย่างถูกวิธีควรถูกติดไว้ข้าง ๆ ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินและถูกทบทวนอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ก็ต้องมีการฝึกปฏิบัติที่ต้องลงมือกระทำด้วยตนเอง (Hands–on Drill) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการฝึกอบรมด้วย

 นอกจากนี้ ควรฝึกอบรมให้รู้ถึงวิธีการที่ถูกต้อง ในการเอาคอนแทกต์เลนส์ออกจากดวงตาที่สัมผัสสารอันตรายด้วย เพราะสารอันตรายสามารถติดอยู่ภายใต้คอนแทกต์เลนส์ และความล่าช้าในการเอาออก ก่อนรินล้างดวงตาอาจนำไปสู่การบาดเจ็บได้ รวมถึง การฝึกอบรมควรให้ความสำคัญกับประเด็นของผู้บาดเจ็บ ที่อาจจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือในการเข้าถึงฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินหรือที่ล้างตาฉุกเฉิน และจำเป็นต้องต้องได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

ดังนั้น เพื่อนร่วมงานควรที่จะรับทราบถึงวิธีให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง และสามารถติดต่อการแพทย์ฉุกเฉินได้ ไม่ว่าการทำงานนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสารเคมีหรือไม่ และถ้าเพื่อนร่วมงานต้องปนเปื้อนสารอันตรายในระหว่างช่วงให้ความช่วยเหลือ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินชะล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยเช่นเดียวกัน

     อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินถูกออกแบบมาเพื่อส่งน้ำหรือของไหลที่ใช้ในการชะล้างสารปนเปื้อนให้ออกจากดวงตา ใบหน้า หรือร่างกาย ดังนั้นจึงถือเป็นอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid Devices) ที่จะถูกใช้ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้แทนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันดวงตา หรือชุดป้องกันสารเคมี หรือวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในการดำเนินการกับสารอันตราย

     และลำพังเพียงแค่การติดตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉิน ไม่อาจเพียงพอต่อการมั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานจะมีความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องได้รับการฝึกอบรมให้รับทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉินนั้น ๆ และเรียนรู้วิธีใช้งานอย่างถูกต้อง



     นอกจากนี้อุปกรณ์ฉุกเฉินต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตระบุไว้ รวมถึงต้องมีการทดสอบการทำงานของเครื่องเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงใช้งานได้ดี และควรทำการตรวจสอบโดยละเอียดอย่างน้อยปีละครั้ง ว่ายังเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ที่สำคัญที่สุด นายจ้างต้องมีแผนงานรับเหตุฉุกเฉินที่จะใช้รับมือกับแต่ละเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น จุดมุ่งหมายสำคัญของแผนงานฯ คือ การให้ความช่วยเหลือกับผู้ปฏิบัติงานที่บาดเจ็บให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังต้องมีระบบเตือนภัยต่าง ๆ ที่อาจถูกติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้เตือนผู้ปฏิบัติงานและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลืออีกด้วย…ถ้าร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมืออย่างนี้ รับรองว่าไม่มีใครได้รับอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตอย่างแน่นอน


    
เอกสารอ้างอิง
- How to Select the Proper Emergency Eyewash for Your Workplace, Kelly Piotti., Mar 2011.
- Choosing and Maintaining Emergency Eye washes/Showers, Michael Bolden., Jan 2010.
- A Guide to the ANSI Z358.1–2009 Standard for Emergency Eye washes and Shower Equipment

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด