เนื้อหาวันที่ : 2013-04-23 09:53:23 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4726 views

ISO 26000 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม(ตอนที่ 11)

ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ

ISO 26000 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม(ตอนที่ 11)
กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์ 
kitjirawas@gmail.com

แนวปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร
     ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
- การสร้างความตระหนัก และพัฒนาความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การกำหนดทิศทางขององค์กรที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การนำความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ระบบธรรมาภิบาล ระบบงานและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร

ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

- การสร้างความตระหนัก และพัฒนาความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

 - การกำหนดทิศทางขององค์กรที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม 

- การนำความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ระบบธรรมาภิบาล ระบบงานและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร

 ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

- การสร้างความตระหนัก และพัฒนาความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

- การกำหนดทิศทางขององค์กรที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม

- การนำความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ระบบธรรมาภิบาล ระบบงานและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร

1. การสร้างความตระหนักและพัฒนาความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
     ในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร จะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น และความเข้าใจของบุคลากรในระดับต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งในขั้นตอนแรกของการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในองค์กร จึงเริ่มต้นจากการสร้างให้เกิดความตระหนัก และความเข้าใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงหลักการ หัวข้อหลัก และประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    ความมุ่งมั่นและความเข้าใจในประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ควรจะเริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรก่อน ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความมุ่งมั่นโดยรวมขององค์กร และการสร้างให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีประสิทธิผล

     ในขณะที่บางองค์กร พนักงานบางคน หรือบางหน่วยงานขององค์กร อาจจะมีความสนใจ และต้องการที่จะดำเนินการในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่น ๆ ดังนั้น องค์กรควรจะให้การสนับสนุนกับหน่วยงานที่มีความต้องการดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการนำความรับผิดชอบต่อสังคมไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง 

    ทั้งนี้ การสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นภายในองค์กร อาจใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่หากมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และเริ่มต้นจากค่านิยมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ก็จะพบว่าองค์กรหลาย ๆ แห่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล

    ส่วนการสร้างความสามารถในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง หรือการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในบางกิจกรรม เช่น การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย และการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หัวข้อหลักต่าง ๆ ดังนั้นองค์กรควรจะใช้ประโยชน์ที่ได้จากความรู้ และทักษะที่มีอยู่ของบุคลากรภายในองค์กรเอง รวมถึงการสร้างความรู้ความสามารถ และฝึกอบรมให้กับผู้จัดการและพนักงานต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานตามความเหมาะสม

   นอกจากนั้น การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการเพิ่มความตระหนัก และการสร้างความสามารถสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นการกำหนดแนวทางใหม่ในการให้อำนาจกับบุคลากรในการดำเนินการกับประเด็นต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านั้น ได้คำนึงถึงคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยในการดูแลการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล และมุ่งเน้นในการป้องกันเป็นหลัก 
     
2. การกำหนดทิศทางขององค์กรต่อความรับผิดชอบต่อสังคม
     ในการทำให้ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นภารกิจที่สำคัญขององค์กร และมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล ผู้นำขององค์กร ควรจะมีการกำหนดทิศทางขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการ และมีการดำเนินการผ่านรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดมุ่งหมายขององค์กร การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ ค่านิยมขององค์กร จริยธรรม และการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร 

  ทั้งนี้ องค์กรควรจะบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เข้ากันกับนโยบาย วัฒนธรรม กลยุทธ์ โครงสร้าง และการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร โดยแนวทางจะประกอบด้วย  
- การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจขึ้นในองค์กร รวมถึงการประกาศวิสัยทัศน์ที่มีการระบุถึงแนวทางการที่องค์กรตั้งใจให้ความรับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร 
- การรวมไว้ในจุดมุ่งหมายขององค์กร หรือในการประกาศพันธกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจน และกระชับ โดยมีการอ้างอิงถึงความสำคัญในด้านต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงหลักการและประเด็นต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วย

กำหนดวิธีการในการดำเนินการขององค์กร 
- การจัดทำวิธีการปฏิบัติงานที่ดี และมีจริยธรรม ไว้เป็นเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรต่อความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการแปลงหลักการ และค่านิยมต่าง ๆ ไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม 
- การรวมความรับผิดชอบต่อสังคมไว้เป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ขององค์กร โดยการนำไปบูรณาการไว้ในระบบ นโยบาย กระบวนการต่าง ๆ และพฤติกรรมในการตัดสินใจขององค์กร  
- การจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการต่อหัวข้อหลัก และประเด็นต่าง ๆ ไว้ในวัตถุประสงค์ของการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กร รวมทั้งกลยุทธ์ กระบวนการ และกรอบเวลา โดยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ควรมีความเจาะจง และสามารถวัดได้ หรือสามารถทวนสอบได้ รวมถึงมีการกำหนดความรับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ และผลจากการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร

 ในการดำเนินการเพื่อบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

- การสร้างความตระหนัก และพัฒนาความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

- การกำหนดทิศทางขององค์กรที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม

- การนำความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ระบบธรรมาภิบาล ระบบงานและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร          

ในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร จะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น และความเข้าใจของบุคลากรในระดับต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งในขั้นตอนแรกของการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในองค์กร จึงเริ่มต้นจากการสร้างให้เกิดความตระหนัก และความเข้าใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงหลักการ หัวข้อหลัก และประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  

    ความมุ่งมั่นและความเข้าใจในประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ควรจะเริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรก่อน ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความมุ่งมั่นโดยรวมขององค์กร และการสร้างให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีประสิทธิผล    

 ในขณะที่บางองค์กร พนักงานบางคน หรือบางหน่วยงานขององค์กร อาจจะมีความสนใจ และต้องการที่จะดำเนินการในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่น ๆ

ดังนั้น องค์กรควรจะให้การสนับสนุนกับหน่วยงานที่มีความต้องการดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการนำความรับผิดชอบต่อสังคมไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง   

   ทั้งนี้ การสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นภายในองค์กร อาจใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่หากมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และเริ่มต้นจากค่านิยมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ก็จะพบว่าองค์กรหลาย ๆ แห่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล    

  ส่วนการสร้างความสามารถในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง หรือการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในบางกิจกรรม เช่น การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย และการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หัวข้อหลักต่าง ๆ ดังนั้นองค์กรควรจะใช้ประโยชน์ที่ได้จากความรู้ และทักษะที่มีอยู่ของบุคลากรภายในองค์กรเอง รวมถึงการสร้างความรู้ความสามารถ และฝึกอบรมให้กับผู้จัดการและพนักงานต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานตามความเหมาะสม 

   นอกจากนั้น การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการเพิ่มความตระหนัก และการสร้างความสามารถสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นการกำหนดแนวทางใหม่ในการให้อำนาจกับบุคลากรในการดำเนินการกับประเด็นต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านั้น ได้คำนึงถึงคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยในการดูแลการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล และมุ่งเน้นในการป้องกันเป็นหลัก     

   ในการทำให้ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นภารกิจที่สำคัญขององค์กร และมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล ผู้นำขององค์กร ควรจะมีการกำหนดทิศทางขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการ และมีการดำเนินการผ่านรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดมุ่งหมายขององค์กร การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ ค่านิยมขององค์กร จริยธรรม และการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร     

  ทั้งนี้ องค์กรควรจะบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เข้ากันกับนโยบาย วัฒนธรรม กลยุทธ์ โครงสร้าง และการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร โดยแนวทางจะประกอบด้วย 

- การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจขึ้นในองค์กร รวมถึงการประกาศวิสัยทัศน์ที่มีการระบุถึงแนวทางการที่องค์กรตั้งใจให้ความรับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร

- การรวมไว้ในจุดมุ่งหมายขององค์กร หรือในการประกาศพันธกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจน และกระชับ โดยมีการอ้างอิงถึงความสำคัญในด้านต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงหลักการและประเด็นต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วย

กำหนดวิธีการในการดำเนินการขององค์กร

- การจัดทำวิธีการปฏิบัติงานที่ดี และมีจริยธรรม ไว้เป็นเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรต่อความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการแปลงหลักการ และค่านิยมต่าง ๆ ไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม

- การรวมความรับผิดชอบต่อสังคมไว้เป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ขององค์กร โดยการนำไปบูรณาการไว้ในระบบ นโยบาย กระบวนการต่าง ๆ และพฤติกรรมในการตัดสินใจขององค์กร 

- การจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการต่อหัวข้อหลัก และประเด็นต่าง ๆ ไว้ในวัตถุประสงค์ของการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กร รวมทั้งกลยุทธ์ กระบวนการ และกรอบเวลา โดยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ควรมีความเจาะจง และสามารถวัดได้ หรือสามารถทวนสอบได้ รวมถึงมีการกำหนดความรับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ และผลจากการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร

3. การนำความรับผิดชอบต่อสังคมไปสู่ระบบธรรมาภิบาล ระบบงานและขั้นตอนการดำเนินงาน
     วิธีการที่สำคัญ และมีประสิทธิผลในการทำให้ความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งองค์กร คือการดำเนินการผ่านระบบธรรมาภิบาลขององค์กร  ซึ่งจะเป็นระบบที่ใช้ในการตัดสินใจ และการดำเนินการ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์กร 

   องค์กรควรมีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ และมีระเบียบแบบแผนต่อผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักในแต่ละหัวข้อ รวมถึงมีการเฝ้าติดตามผลกระทบต่าง ๆ ขององค์กรภายในขอบเขตอิทธิพลของตนเอง เพื่อให้สามารถลดความเสี่ยงที่จะทำความเสียหายต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ในขณะที่ทำการเพิ่มโอกาสและผลกระทบที่ดีต่าง ๆ ให้มากที่สุด โดยในการตัดสินใจ รวมถึงการดำเนินการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น องค์กรควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนี้ต่อผู้มีส่วนได้เสียด้วย รวมถึงควรพิจารณาถึงวิธีการที่ดีที่สุดที่จะลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินการต่างๆ ขององค์กร และการเพิ่มขึ้นของผลกระทบที่เป็นประโยชน์ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ทั้งนี้ ขั้นตอนของการดำเนินงานต่าง ๆ จะประกอบด้วย
- การดูแลให้แนวทางการบริหารงานที่กำหนดขึ้น สามารถสะท้อน และระบุถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 
- การระบุถึงแนวทางต่าง ๆ ที่มีการนำหลักการต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงหัวข้อหลักและประเด็นต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กร 
- การจัดตั้งหน่วยงาน หรือกลุ่มงานต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อทำการทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักการ และหัวข้อหลักต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การพิจารณาถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อมีการดำเนินการเกิดขึ้นในองค์กร 
- การรวบรวมแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ไว้ในขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อ และการลงทุนต่าง ๆ ทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และหน่วยงานอื่น ๆ ขององค์กร 

     นอกจากนั้น ค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความยากง่าย หรือความล่าช้าในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร ในองค์กรที่มีค่านิยม และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับแนวทางของความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้ว การบูรณาการจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม หากมีบางส่วนในองค์กรที่ยังไม่ให้การยอมรับถึงประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคม และอาจมีการต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จในการบูรณาการได้ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และต่อเนื่อง จึงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ 

     ทั้งนี้ กระบวนการในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร จะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กันในคราวเดียวกันสำหรับทุกหัวข้อหลัก และประเด็นต่าง ๆ ดังนั้น องค์กรควรจะมีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินงานกับประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว โดยแผนงานที่กำหนดขึ้น ควรทำได้จริง และมีการพิจารณาถึงขีดความสามารถขององค์กร ความเพียงพอของทรัพยากร รวมถึงลำดับก่อนหลังของประเด็นต่าง ๆ และการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

การสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
     ในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงานด้านต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึง 
- การยกระดับของความตระหนักให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร สำหรับกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ แผนงาน ผลการดำเนินงาน และความท้าทายต่าง ๆ สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 
- การแสดงถึงความเคารพต่อหลักการต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การช่วยในการสานสัมพันธ์ และการสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสีย 
- การระบุถึงข้อกฎหมาย และกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเปิดเผยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การแสดงให้เห็นว่าองค์กรได้มีการปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตามความมุ่งมั่นที่ได้ประกาศไว้โดยมีการตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียและความคาดหวังของสังคมโดยทั่วไป 
- การให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์กร รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ว่าผลกระทบมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงของเวลาอย่างไร 
- การช่วยในการสานสัมพันธ์และการสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 
- การช่วยในการเปรียบเทียบระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีการดำเนินกิจการคล้าย ๆ กัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เกี่ยวกับการดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการเปิดเผย ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบเพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กรได้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม ควรจะ 
- ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยควรระบุถึงการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญทั้งหมด และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม
- เข้าใจได้ง่าย โดยการจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศ ควรคำนึงถึงความรู้ และพื้นฐานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจของผู้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร รวมถึงการเลือกใช้ภาษา ลักษณะของเนื้อหาที่นำมาเสนอ และวิธีการ ควรจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะเป็นผู้รับข้อมูลสารสนเทศสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย 
- ตอบสนองได้ โดยสามารถตอบสนองต่อความสนใจต่าง ๆ ของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างทั่วถึง
- เที่ยงตรง โดยสารสนเทศควรมีความถูกต้อง มีความเป็นจริง และให้รายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ 
- สมดุล โดยสารสนเทศควรมีความสมดุล และเป็นกลาง รวมถึงไม่ควรละเลยต่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในทางที่ไม่ดีอันเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่าง ๆ จากการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร 
- ทันสมัย โดยสารสนเทศที่ล้าสมัย สามารถนำไปสู่การเข้าใจผิดได้ เมื่อสารสนเทศมีการอธิบายถึงการดำเนินการต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการชี้บ่งช่วงเวลาที่ชัดเจนดังกล่าว จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ สามารถนำผลการดำเนินงานขององค์กรไปเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และผลการดำเนินงานขององค์กรอื่น ๆ 
- สามารถเข้าถึงได้ โดยสารสนเทศที่เกี่ยวกับประเด็นเฉพาะต่าง ๆ ควรมีการจัดเตรียมไว้สำหรับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม จะมีอยู่หลากหลายประเภท เช่น 
- การประชุม หรือการสนทนากันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ 
- การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย ในประเด็นเฉพาะต่าง ๆ หรือโครงการต่าง ๆ ของความรับผิดชอบต่อสังคม การสื่อสารนี้ควรเกี่ยวกับการสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ด้วย
- การสื่อสารระหว่างผู้บริหารขององค์กรกับลูกจ้าง หรือสมาชิกต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารในลักษณะนี้จะมีประสิทธิผลมากที่สุด เมื่อมีการใช้การสานเสวนา 
- การทำงานเป็นทีมที่มุ่งเน้นให้มีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร 
- การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนต่าง ๆ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจากการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร การร้องเรียนนี้สามารถทำการทวนสอบโดยการทบทวนโดยหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือภายใน และเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ข้อร้องเรียนนี้อาจได้รับการทวนสอบจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือภายนอกก็ได้ 
- การสื่อสารกับผู้ส่งมอบต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อกำหนด ของการจัดซื้อที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม 
- การสื่อสารต่อสาธารณชนเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่อาจจะส่งผลกระทบถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยก่อนการเกิดภาวะฉุกเฉิน การสื่อสารจะมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนัก และเตรียมความพร้อม ส่วนในระหว่างเกิดภาวะฉุกเฉิน การสื่อสารควรจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ และให้ได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเหมาะสม
- การสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ฉลากผลิตภัณฑ์  สารสนเทศของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสารสนเทศสำหรับผู้บริโภค การเปิดโอกาสให้มีการส่งข้อมูลป้อนกลับ เพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบของการสื่อสารต่อไป 
- บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมในนิตยสาร หรือจดหมายข่าวต่าง ๆ ที่มีเป้าหมาย สำหรับกลุ่มองค์กรที่มีการดำเนินกิจการคล้ายกัน 
- การโฆษณา หรือคำแถลงต่อสาธารณะ เพื่อการส่งเสริมในบางด้านของความรับผิดชอบต่อสังคม
- การให้ข้อมูลต่อหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือการให้ข้อมูลเพื่อตอบข้อซักถามของสาธารณะ 
- การนำเสนอรายงานต่อสาธารณะตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียให้ข้อมูลป้อนกลับได้

     ทั้งนี้ การสื่อสารประเภทต่าง ๆ อาจดำเนินการด้วยวิธีการ และสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย เช่น การจัดประชุม กิจกรรมสาธารณะ ชมรม รายงาน จดหมายข่าว นิตยสาร โปสเตอร์ การโฆษณา จดหมาย จดหมายที่เป็นเสียง การแสดงสด วีดิทัศน์ เว็บไซต์ เว็บไซต์ที่มีการออกอากาศโดยใช้เสียง บล็อก ใบแทรกในผลิตภัณฑ์ และฉลากต่าง ๆ การสื่อสารสามารถทำผ่านสื่อต่าง ๆ โดยใช้การแถลงข่าว การสัมภาษณ์ บทบรรณาธิการ และบทความอื่น ๆ

การสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสีย
     การสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จะช่วยองค์กรให้ได้ประโยชน์จากการได้รับ และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศเกี่ยวกับมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียได้โดยตรง ดังนั้น องค์กรควรทำการสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร เพื่อ 
- ประเมินถึงความเหมาะสม และความมีประสิทธิผลของเนื้อหา สื่อที่ใช้ ความถี่ และขอบเขตในการสื่อสาร เพื่อนำมาปรับปรุงต่อไป  
- กำหนดลำดับความสำคัญของเนื้อหาสาระที่จะสื่อสารในอนาคต 
- ยืนยันถึงการทวนสอบรายงานของสารสนเทศที่จัดทำขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย หากมีการใช้แนวทางนี้สำหรับการทวนสอบความถูกต้อง 
- ระบุถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี

(อ่านต่อตอนฉบับถัดไป)

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด