เนื้อหาวันที่ : 2011-11-09 14:18:39 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3157 views

ต้นทุนและรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (ตอนจบ)

หลักการของต้นทุนที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจว่าจะดำเนินงานต่อหรือยกเลิกหรือไม่อย่างไร

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

 

ดำเนินงานต่อหรือยกเลิก
          ส่วนใหญ่แล้วภายในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ องค์กรจะทำการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรสำหรับหน่วยต้นทุนหนึ่ง หรือมากว่านั้น ตัวอย่างหน่วยต้นทุน เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ ลูกค้า สาขา การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งนั้นมีวัตถุประสงค์หลักที่จะมุ่งเน้นไปยังกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไร ซึ่งต้องการที่จะทำการพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีความถูกต้องว่าควรจะดำเนินงานในส่วนงานนั้นต่อไปหรือไม่ ในส่วนนี้จะได้อธิบายว่าหลักการของต้นทุนที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจว่าจะดำเนินงานต่อหรือยกเลิกหรือไม่อย่างไร

การประเมินค่าต้นทุนที่เกี่ยวข้องในส่วนของรายการวัตถุดิบทางตรง
          การพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากหลาย ๆ ทางเลือกที่มีอยู่ ถ้าวัตถุดิบ หรือสินค้าสำเร็จรูปใด ๆ ที่ไม่เคยมีอยู่ในคลังสินค้า ถ้ามีความต้องการใช้จะต้องทำการจัดหาหลังจากวันที่ทำการตัดสินใจไปแล้วนั้น ต้นทุนของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

มูลค่าต้นทุนที่มีผลต่อการตัดสินใจประมาณการจากราคาซื้อวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือเหล่านั้น ในขณะที่วัตถุดิบและสินค้าคงเหลือใด ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วในคลังสินค้า การตัดสินใจว่าจะยกเลิกการดำเนินงาน หรือจะดำเนินงานต่อไปก็ตาม ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือที่มีอยู่เดิมเป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เนื่องจากเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต หรือมีลักษณะเป็นต้นทุนจมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

แต่ถ้าวัตถุดิบหรือสินค้าคงเหลือเหล่านั้นสามารถนำไปเปลี่ยนหรือทดแทนด้วยวัตถุดิบหรือสินค้าใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับกิจกรรมในลักษณะเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งได้นอกเหนือไปจากเดิมอีก ต้นทุนการเปลี่ยนทดแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นต้นทุนที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

การประเมินค่าต้นทุนที่เกี่ยวข้องในส่วนของรายการแรงงานทางตรง
          การประเมินค่าค่าแรงงานทางตรงว่ามีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระยะสั้นนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขของการจ้างงานแต่ละกรณี ในกรณีที่กิจการทำการจัดจ้างแรงงานเป็นการชั่วคราวเพื่อเสริมกำลังการผลิตในบางช่วงและมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีชั่วโมงแรงงานสำรองไว้เสมอในช่วงระยะเวลาสั้นช่วงหนึ่ง ค่าแรงงานทางตรงในลักษณะดังกล่าวจะยังคงเหมือนเดิม ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกดำเนินการอย่างไรในทุก ๆ ทางเลือกที่มีอยู่

ดังนั้นค่าแรงงานทางตรงจึงเป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ในอีกสถานการณ์หนึ่งถ้ากิจการที่มีความต้องการใช้แรงงานทางตรง และทำการจัดจ้างแรงงานดังกล่าวโดยใช้ฐานการจ้างงานรายวัน กิจการอาจมีความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลา ก็สามารถทำการจัดจ้างเพิ่มเติมได้ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ชั่วโมงแรงงานในการผลิตหรือการดำเนินงาน ค่าแรงงานทางตรงจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นถ้ากิจการมีการรับงานเพิ่มเติมขึ้นมาอีก หรือมีค่าแรงงานทางตรงลดลงถ้ากิจการลดแผนการผลิตลง สถานการณ์ในกรณีหลังนี้ค่าแรงงานทางตรงเป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

ตัวอย่าง
          บริษัท กาโม่ จำกัด มีผู้ค้าส่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ค้าส่งอยู่ทั่วประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี กิจการได้ทำการปรับโครงสร้างการกระจายศูนย์การจัดจำหน่ายออกเป็น 3 ศูนย์ แต่ละศูนย์จะประกอบด้วยสาขาย่อย 3 สาขา แต่ละสาขาจะมีสำนักงานขายและคลังสินค้าเพื่อการกระจายสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้า ศูนย์การจัดจำหน่ายลพบุรีซึ่งมี 3 สาขา ได้แก่ สาขาในเมือง สาขาโคกสำโรง และสาขาพัฒนานิคม สำหรับข้อมูลการดำเนินงานของแต่ละสาขาในรอบปีที่ผ่านมาแสดงได้ดังนี้

          จากผลการดำเนินงานข้างต้น จะเห็นได้ว่ากิจการกำลังประสบปัญหาสาขาพัฒนานิคมเกิดผลขาดทุน สมมติว่าผลการดำเนินงานของสาขาที่เป็นปัญหาดังกล่าวนั้นจะยังคงมีความเป็นไปได้ว่ายอดขายจะยังไม่เปลี่ยนแปลงในไตรมาสถัดไป หลังจากนั้นคาดการณ์ว่ายอดขายของสาขาพัฒนานิคมจะลดลงไปจากเดิมอีก ควรตัดสินใจยกเลิกเขตการขายสาขาพัฒนานิคมหรือไม่

          ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ มีดังนี้
          1. การยกเลิกเขตการขายสาขาพัฒนานิคม ต้นทุนสินค้าที่ขาย เงินเดือนพนักงานขาย ค่าเช่าสำนักงานขายของสาขาใด ๆ จะหลีกเลี่ยงได้ทั้งจำนวน สำหรับค่าใช้จ่ายปันส่วนจากศูนย์จัดจำหน่ายซึ่งใช้ฐานงบประมาณการส่งเสริมการขายในแต่ละเขตจะลดลงไปด้วยประมาณ 60%

          2. การยกเลิกเขตการขายสาขาพัฒนานิคม จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงานขาย ค่าเช่าคลังสินค้า ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์คลังสินค้า และค่าใช้จ่ายปันส่วนจากสำนักงานใหญ่ ค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาข้างต้นจะยังคงเกิดขึ้นเท่าเดิมแม้ว่าจะยกเลิกเขตการขายสาขาพัฒนานิคม

          จากข้อมูลข้างต้นจะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลรายได้ที่เกี่ยวข้อง และต้นทุนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะยกเลิกสาขาพัฒนานิคมหรือไม่ แสดงผลการดำเนินงานเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในแต่ละทางเลือกได้ดังนี้


ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจพิจารณายกเลิกสาขาพัฒนานิคม

          จากตารางการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้าตัดสินใจยกเลิกสาขาพัฒนานิคมจะทำให้ผลการดำเนินงานในภาพรวมของกิจการลดลงไปจากเดิมอีก 30,500 บาท ดังนั้นจึงควรดำเนินงานสาขาพัฒนานิคมต่อไป เพราะจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 340,000 บาท ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 309,440 บาท ผลกำไรจึงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 30,500 บาท แต่ถ้ายกเลิกจะให้ผลในทางตรงกันข้ามคือ ผลกำไรจะลดลงไปด้วยเท่ากับ 30,500 บาท

กระบวนการผลิตต่อหรือขาย ณ จุดแยกออก
          ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดของกิจการอุตสาหกรรมหลาย ๆ แห่งสามารถจะขายได้ที่ลำดับขั้นตอนของกระบวนการที่แตกต่าง ในกรณีนี้ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องเผชิญหน้าเพื่อทำการตัดสินใจคือ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นควรจะขายหรือควรจะนำไปผ่านกระบวนการผลิตต่อแล้วจึงขาย

หลักการพื้นฐานของการตัดสินใจคือวิเคราะห์หารายได้ส่วนเพิ่มซึ่งเป็นผลมาจากการนำผลิตภัณฑ์ไปทำการผลิตต่อแล้วจึงนำไปขายจะต้องมีจำนวนมากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มจากการนำผลิตภัณฑ์ไปผลิตต่อ หลักการดังกล่าวคือการวิเคราะห์ส่วนต่าง

ตัวอย่าง
          เอ็มซีอุตสาหกรรมทำการผลิตผลิตภัณฑ์ A B และ C ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอาจจะขายทันทีหลังจากผ่านกระบวนผลิตของแผนกงานที่ 3 หรือจะเลือกนำไปขายทันทีเมื่อผ่านกระบวนการผลิตของแผนกงานที่ 2 ข้อมูลต้นทุนและราคาขายของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีดังนี้

          จากข้อมูลข้างต้นผลิตภัณฑ์ใดควรจะนำไปขายทันที่เมื่อผ่านแผนกงานที่ 2 และผลิตภัณฑ์ใดควรนำไปผลิตต่อในแผนกงานที่ 3

          ขั้นแรกจะทำการคำนวณหารายได้ส่วนที่แตกต่างระหว่างทางเลือกของแต่ละผลิตภัณฑ์

          ขั้นที่ 2 คำนวณต้นทุนส่วนต่างระหว่างทางเลือกของแต่ละผลิตภัณฑ์ ในกรณีปัญหาลักษณะนี้ต้นทุนส่วนต่างคือต้นทุนการผลิตต่อของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

          ขั้นสุดท้ายเป็นการคำนวณหาผลกระทบที่มีต่อผลกำไรของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำได้โดยการนำต้นทุนส่วนต่างที่คำนวณได้ในขั้นที่ 2 ไปหักออกจากรายได้ส่วนต่างที่คำนวณได้ในขั้นแรก ดังนี้

          จากผลการคำนวณเปรียบเทียบรายได้ส่วนต่างและต้นทุนส่วนต่างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าควรจะนำไปผลิตภัณฑ์ ก ไปทำการผลิตต่อในแผนกงานที่ 3 ก่อนแล้วจึงขาย ซึ่งจะทำให้กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 20,000 บาท ส่วนผลิตภัณฑ์ ข และ ค ควรจะขายในทันทีเมื่อผ่านกระบวนการผลิตของแผนกงานที่ 2 เนื่องจากการนำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ไปทำการผลิตต่อในแผนกงานที่ 3 จะทำให้ส่งผลกระทบทำให้กิจการมีกำไรลดลงเท่ากับ 12,000 บาท และ 3,000 บาทตามลำดับ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด