เนื้อหาวันที่ : 2011-09-23 18:06:28 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8346 views

การป้องกันการล้นในถังเก็บ

หลายครั้งที่มักเห็นข่าวภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันระดับของเหลวไฮโดรคาร์บอนในถังเก็บ แตะละครั้งก็รุนแรงก่อความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

การป้องกันการล้นในถังเก็บ (Tank Overfill Protection)

ทวิช ชูเมือง

          ในปี 2005 ที่ผ่านมาสามารถจะนับได้ว่าเป็นปีสำหรับภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันระดับ (Level Protection System) ของเหลวไฮโดรคาร์บอนในถังเก็บเพราะมีเหตุการณ์อันตรายจากถังเก็บเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ดังเช่น เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2005 เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นที่โรงกลั่นน้ำมัน BP Deer Park ใกล้กับรัฐ Texas City ในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2005 เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นอีกครั้งที่คลังเก็บเชื้อเพลิง Buncefield ใกล้กับ Hemel Hempstead UK

          จากรายงานผลการตรวจสอบในแต่ละเหตุการณ์อันตรายดังกล่าวข้างต้น จะมีหลายรายการในผลการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวและความไม่เพียงพอของการบริหารจัดการระดับสูง อย่างไรก็ตามเมื่อดูในรายละเอียดของระยะเวลาที่นำไปถึงภัยพิบัติเหล่านี้ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความล้มเหลวของระบบป้องกันระดับในเวลาที่ต้องการ ซึ่งการเกิดความล้มเหลวขึ้นในระบบการป้องกันนี้เป็นผลทำให้เกิดการเสียชีวิต 15 คน บาดเจ็บไปกว่า 200 คน และมีค่าใช้จ่ายมากกว่าพันล้านดอลลาร์

          หน่วยงานด้านสุขภาพและบริหารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของ UK (UK’s Health and Safety Executive and Environment Agency) ได้ดำเนินการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ Buncefield และได้จัดพิมพ์ชุดรายงานรายละเอียดผลการตรวจสอบในช่วงระยะเวลามากกว่าสามปี ซึ่งรวมอยู่ใน Volume 2A ของผลการรายงานขั้นสุดท้าย จะเป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับการปกป้องความสูญเสียการจัดเก็บ (Containment) หลักโดยใช้ระบบที่มีความสมบูรณ์สูง (High Integrity System)

          ในรายงานแสดงรายละเอียดว่า "ผู้ปฏิบัติการ (Operators) ของ Buncefield ควรจะต้องมีการป้องกันการสูญเสียการจัดเก็บเชื้อเพลิงหรือของเหลวที่ติดไฟได้สูงอื่น ๆ ตามความเหมาะสมด้วยระบบป้องกันการล้นอัตโนมัติที่มีความสมบูรณ์สูง (หรือจำนวนของระบบดังกล่าวตามความเหมาะสม) ซึ่งเป็นระบบทางอุปกรณ์ (Physical) และระบบทางไฟฟ้าที่เป็นอิสระแยกออกจากระบบวัดระดับของถัง (Tank Gauging System)

          ในรายงานยังแสดงรายละเอียดต่อไปอีกว่า "ระบบการป้องกันดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามความต้องการตามมาตรฐานส่วนที่ 1 ของ BS EN 61511 สำหรับความสมบูรณ์ของระดับความปลอดภัย หรือค่า SIL (Safety Integrity Level) ที่ต้องพิจารณาตามวิธีที่ตกลงกัน

          เมื่อระบบป้องกันการล้นอัตโนมัติที่เป็นอิสระ (Independent Automatic Overfill Protection System) ได้ถูกจัดเตรียมไว้แล้ว ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ควรมีการพิจารณาใหม่ให้มีความสอดคล้องกับหลักการมาตรฐานส่วนที่ 1 ของ BS EN 61511 และความสมบูรณ์ของระดับความปลอดภัย หรือค่า SIL (Safety Integrity Level) ที่ต้องพิจารณาตามวิธีที่ตกลงกัน "National British Standard BS EN 61511 เป็นมาตรฐานเหมือนกับ IEC 61511

          สำหรับเหตุการณ์ของ BP Texas City การสำรวจผลจากรายงานจำนวน 4 ฉบับ โดยรายงานของ Baker เป็นอีกหนึ่งรายงานที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดในรายงานทั้ง 4 ฉบับ แม้ว่ารายงานของ Baker ไม่ได้พุ่งประเด็นโดยเฉพาะไปอยู่ที่ระบบการป้องกันอัตโนมัติที่มีความสมบูรณ์สูง แต่ได้มีการอ้างอิงถึงความสำคัญของการออกแบบระบบหยุดทำงาน (Shut Down System) และการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและได้อ้างอิงถึงมาตรฐาน IEC 61511 ว่าเป็นตัวแทนของหลักปฏิบัติทางวิศวกรรมที่ดี

          สำหรับรายงานเหตุการณ์ทั้ง 2 ฉบับที่ได้ถูกจัดทำขึ้น ได้สร้างความคาดหวังที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบการป้องกันการล้น (Overfill System) การใช้งานของหลักปฏิบัติทางวิศวกรรมที่ดี (Good Engineering Practice) และหลักการที่อธิบายไว้ในมาตรฐาน IEC 61511 ไม่ใช่แสดงไว้ให้เป็นทางเลือกในการออกแบบ

หากยังมีความไม่น่าเชื่อมั่นเพียงพอสามารถพิจารณาความต้องการของ The National Technology Transfer and Advancement (NTTA) Act of 1995 ซึ่งเป็นผู้นำในการนำเสนอมาตรฐานที่ตรงกับความต้องการของวงการอุตสาหกรรมในสหรัฐ ซึ่งมีความต้องการให้หน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐ (เช่น EPA, FDA, OSHA ฯลฯ) ยอมรับมาตรฐานที่เป็นความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ที่มีอยู่ เช่น IEC 61511 และ IEC 61508

          นั่นหมายความว่าทุกหน่วยงานราชการสหรัฐต้องยอมรับมาตรฐานที่เป็นความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ เช่น IEC 61511 และปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ซึ่งยังหมายความว่าถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สนใจใช้มาตรฐานเหล่านี้อย่างครบถ้วนและถ้าโรงงานมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้น ผู้ใช้งานจะต้องมีภาระในการพิสูจน์ว่าวิธีการทางวิศวกรรมที่ใช้ออกแบบอย่างน้อยต้องเทียบเท่ากับมาตรฐานดังกล่าว    

ลักษณะระบบการป้องกัน (Protection System Trails)
          แนวคิดพื้นฐานที่จำเป็นของระบบป้องกันการล้นอัตโนมัติดูเหมือนว่าเป็นระบบที่มีการทำงานอย่างง่าย ๆ ดังเช่นหากระดับของเหลวในถังถึงจุดสูงสุดแล้ว จึงพิจารณาให้หยุดการไหลของเหลวเข้าในถัง ตัวอย่างเช่นความพึงพอใจในความต้องการง่าย ๆ ในระบบการจ่ายน้ำในห้องสุขา, การซักเสื้อผ้าและการล้างจานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ต้องจัดการ

          ปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการจะเป็นที่ของเหลวในห้องสุขา, การซักเสื้อผ้าและการล้างจานที่เป็นน้ำ ซึ่งจะมีคุณสมบัติเป็นดังนี้
          * ไม่ลุกเป็นไฟ
          * ไม่เป็นพิษ
          * ไม่เป็นเชื้อเพลิง
          * ไม่เป็นสารเคมี 

          นอกจากนี้อย่าลืมว่าถ้าระบบป้องกันการล้นเกิดความล้มเหลวและแม้กระทั่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็จะถูกหน่วยงานรัฐบาลเข้าไปตรวจสอบและต้องการขอดูหลักฐานที่ใช้ในการออกแบบและควบคุมกระบวนการ

          มาตรฐาน IEC 61511 เป็นการนำข้อกำหนดของมาตรฐานไปปฏิบัติงานใช้จริงในอุตสาหกรรม กระบวนการของมาตรฐานสากล IEC 61508 หลักการสำคัญของมาตรฐานทั้งสองจะเป็นดังนี้
          * วงรอบความปลอดภัย (Safety Lifecycle)
          * ระดับความปลอดภัย (SIL หรือ Safety Integrity Level)

          วงรอบความปลอดภัยเป็นกรอบรูปแบบกลางที่เชื่อมโยงกับแนวความคิดของมาตรฐานและสร้างวิธีการทางวิศวกรรมที่ดี ซึ่งมีความจำเป็นในการออกแบบเครื่องมือวัดในระบบความปลอดภัยที่มีความสมบูรณ์และแข็งแกร่ง การใช้วงรอบความปลอดภัยในการออกแบบมีความต้องการดังนี้
          * การประเมินความเสี่ยงกระบวนการ 
          * การสร้างข้อกำหนดความปลอดภัยที่ต้องการของระบบ SIS (Safety Instrumented System)
          * การวิเคราะห์การออกแบบชั้นการป้องกัน
          * ดูแลว่าระบบ SIS (ถ้าจำเป็น) ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ถูกระบุไว้ในขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

          SILs เป็นลำดับของระดับความสำคัญของการลดความเสี่ยงที่แสดงอยู่ในมาตรฐาน ซึ่งมีการแบ่งแยกออกเป็นสี่ระดับ SIL สำหรับใช้ลดระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน IEC โดย SIL 1 แสดงระดับต่ำสุด และ SIL 4 แสดงระดับสูงสุด ส่วนเกี่ยวข้องหลักของมาตรฐาน IEC 61511 จะเป็นระบบ SIS ซึ่งประกอบด้วย
          * ส่วนเครื่องมือวัด (Sensors)
          * ส่วนประมวลผล (Logic Solvers)
          * ส่วนองค์ประกอบสุดท้าย (Final Element)
          * โปรแกรมการทำงาน (Software)
          * เครือข่าย (Network)

          นอกจากนั้นยังแสดงการเชื่อมต่อระหว่างระบบ SISs และระบบความปลอดภัยอื่น ๆ และระบบควบคุมและต้องการกำหนดชนิดความอันตรายกระบวนการและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น      การใช้งานวงจรรอบความปลอดภัยและหลักการ SIL บนระบบป้องกันการล้นมีความต้องการดังนี้

          * การใช้วิธีการที่ยอมรับและมีการรับรองซึ่งจะพิจารณาดังนี้ 
                    1. การดำรงอยู่ของประชากรที่รับความรู้สึกได้ง่ายบริเวณใกล้เคียงและ/หรือทรัพยากร 
                    2. ความรุนแรงและลักษณะของการบรรจุและ/หรือคลังจัดเก็บ 
                    3. จัดเตรียมถังและระบบการวัดที่เป็นจริงได้ 
                    4. จัดตั้งข้อกำหนดการตรวจสอบที่เข้มงวด 
          * การใช้วิธีการกำหนด SIL ที่เหมาะสม 
          * การใช้ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติที่สมบูรณ์สูงเป็นวิธีปกป้องการสูญเสียหลัก
          * มีการแยกกันทั้งทางอุปกรณ์และทางไฟฟ้าของระบบความปลอดภัยอัตโนมัติออกจากระบบการวัดของถัง
          *  ดำเนินการทดสอบตามระยะให้เสร็จสิ้นให้เป็นไปตามขั้นตอนที่จัดทำขึ้นในระหว่างการออกแบบระบบป้องกันการล้น
          * ทำหลักฐานเอกสารที่ใช้ยืนยันว่ามีการกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบระบบป้องกันที่ถูกดำเนินการตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

อิทธิพลของมาตรฐาน API 2350 (API 2350’s Influence)
          American Petroleum Institute (API) ได้ออกมาตรฐานครั้งแรกเป็น API 2350 "Overfill Protection for Storage Tanks in Petroleum Facilities" ในปี 1987 การปรับปรุงครั้งที่สองได้ใช้เรียนรู้และมีการขยายตัวครอบคลุมโปรแกรมป้องกันฉุกเฉินสำหรับการล้น ครั้งที่สามที่มีการจัดเตรียมขึ้นตามครั้งที่สองโดยการแสดงเทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ดังเช่นการแบ่งของเหลวไฮโดรคาร์บอนเป็น Class I และ Class II สำหรับในครั้งที่สี่ก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากประสบการณ์และการเรียนรู้โดยเน้นพิเศษในหลักการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการใช้สัญญาณเตือนรวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฎิบัติการและสัญญาณเตือน

          มาตรฐาน IEC 61511 ได้ถูกปรากฏเป็นข้อมูลอ้างอิงในที่ต่าง ๆ ของ API ในการปรับปรุงครั้งที่สี่เช่น มาตรา 7.1, "ข้อการพิจารณา AOPS" ของระบบที่มีอยู่แล้วและระบบ AOPS (Automatic Overfill Protection Systems) ที่สร้างขึ้นใหม่ มาตรฐาน API ครั้งที่สี่ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาอย่างไรก็ตามในฉบับร่าง (Draft Version) อาจมีการกำหนดอย่างชัดเจนในการติดตั้งระบบ AOPS ใหม่ดังนี้

          "When installing a new AOPS then the requirements of IEC 61511 shall be mandatory”

          จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีการระบุว่า "ควรจะ (Should be)" หรือ "เป็นตัว เลือก (Optional)" แต่ระบุชัดเจนว่า "จะถูกบังคับ (Shall be mandatory)" เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของมาตรฐาน IEC 61511

          ไม่ว่าข้อความสรุปสุดท้ายที่แน่นอน เมื่อ API 2350 ครั้งสี่ที่จะนำเสนอออกมาจะเป็นอย่างไร แต่ไม่ต้องมีข้อสงสัยในการอ้างอิงถึงมาตรฐาน IEC 61511 ดังนั้นทาง API 2350 จะเข้าร่วมกับ IEC 61508 และ IEC 61511 ตามข้อกำหนด NTTA Act of 1995 เพิ่มเติมข้อเรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลในการใช้ IEC 61511 สำหรับระบบป้องกันการล้นที่มีความสมบูรณ์สูง 

ระบบสัญญาณเตือนการล้น (TANK OVER FILL ALARM System)
          1. ข้อกำหนดของวิธีการวัดระดับ
          วิธีการวัดระดับของเหลว, อุณหภูมิ, ปริมาณ และ/หรือมวลและตรวจจับระดับของเหลวผิดปกติและอุณหภูมิในดินสำหรับถังเก็บที่มีปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเหลว (Liquid Hydrocarbon) หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จะเป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้

          *  ควรใช้วิธีการวัดที่ถูกพิสูจน์ในการใช้งาน (Field-proven Methods) ของระดับถังและสัญญาณเตือน ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีไมโครโปรเซสเซอร์

          *  องค์ประกอบทั้งหมดในการวัดระดับและอุปกรณ์ป้องกัน (สัญญาณ เตือน, Shutdowns และ Interlocks) จะต้องตรงกับความต้องการของวัสดุ, การก่อสร้าง, การติดตั้งและแหล่งจ่ายพลังงาน

          *  อุปกรณ์ตรวจสอบระดับ, การป้องกันและระบบจะต้องเลือกและผลิตเพื่อที่ไม่จำเป็นต้องทดสอบมากกว่าปีละครั้ง เพื่อพิสูจน์การทำงานที่ถูกต้อง

          *  ระบบการวัดระดับอัตโนมัติสำหรับวัดระดับของเหลว, ปริมาณและ/หรือมวล ซึ่งที่มีความแม่นยำสูงจำเป็นจะต้องมีการปรับเทียบ (Calibrated) เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานที่ถูกต้อง

          1.1 การตรวจระดับสูงและสูงมาก (Level Detection-High and High/High)
          แต่ละถังที่บรรจุของเหลวที่เป็น LPG และคอนเดนเสท (Condensate) จะต้องติดตั้งสัญญาณเตือนระดับสูงเฉพาะและระดับสัญญาณเตือนเฉพาะจุดระดับสูงมากในห้องการควบคุม ระบบจะต้องให้ทั้งสัญญาณที่มองเห็นได้ (Visual) และสัญญาณเสียงทั้งสองจุดที่ระดับสูงและระดับสูงมาก สัญญาณเสียงเตือนต้องดังพอที่จะแจ้งเตือนให้ผู้ปฎิบัติการรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไข นอกจากนี้ สัญญาณเตือนที่มองเห็นได้และสัญญาณเสียงเตือนจะเริ่มเมื่อใดก็ตามที่มีสิ่งเกิดขึ้นต่อไปนี้

          * วงจรไฟฟ้าเปิดออกหรือการลัดวงจรดินในวงจรเริ่มต้นสัญญาณเตือนระดับหรือวงจรอุปกรณ์ส่งสัญญาณ

          * ความล้มเหลวของอุปกรณ์ควบคุมระบบสัญญาณเตือนระดับ (รวมถึงอุปกรณ์ควบคุมภายใน)

          1.2 ของเหลวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ LPG และคอนเดนเสท
          สำหรับถังที่มีของเหลวอื่นนอกเหนือจาก LPG และคอนเดนเสท ถ้ามีสัญญาณเตือนระดับสูงหรือระดับสูงมากโดยเฉพาะ หน้าสัมผัสสัญญาณเตือน (Alarm Contact) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบวัดระดับของถังที่ถูกจัดเตรียมไว้ ถ้าไม่ได้ทำงานประสานกันกับฟังก์ชันความปลอดภัย (Safety Function) หรือการหยุดทำงาน (Shutdown Function)

          ถ้าหากไม่มีสัญญาณเตือนระดับสูงและสูงมาก จะต้องใช้ระบบสัญญาณเตือนระดับสูงที่เป็นหน้าสัมผัสโดยเฉพาะ

          2. ประเภทการตรวจวัดระดับ (Level Detector Types)
          ทางเลือกอุปกรณ์สวิตช์ระดับสูง (High Level Switch) ขึ้นอยู่กับประเภทของถังเก็บ, ข้อมูลการจำแนกและประเภทของของเหลวที่ถูกเก็บที่สภาพการทำงาน ผู้ออกแบบจะต้องเลือกตัวตรวจจับที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งาน

          2.1 ตัวตรวจจับชนิดลูกลอย (Float Type Detectors)
          ตัวตรวจจับชนิดสวิตช์ลูกลอยติดด้านข้าง ดังแสดงในรูปที่ 1 จะต้องใช้สำหรับถังที่มีหลังคายึดคงที่ (Fixed Roof Tanks) สำหรับสัญญาณเตือนระดับสูงและการเชื่อมโยงกัน (Interlocks) สำหรับถังผนังเดี่ยวและรูปทรงกลม (Spheres) มีของเหลวที่สะอาดและทำงานที่อุณหภูมิแวดล้อมปานกลาง

รูปที่ 1 ตัวตรวจจับชนิดสวิตช์ลูกลอยติดด้านข้าง

          สวิตช์ลูกลอยจะติดที่หลังคาดังแสดงในรูปที่ 2 อาจถูกใช้ในถังหลังคายึดคงที่และมีของเหลวสะอาด

รูปที่ 2 ตัวตรวจจับชนิดสวิตช์ลูกลอยติดบนหลังคาคงที่

          2.2 ตัวตรวจจับชนิดสายหย่อนสำหรับถังหลังคาเคลื่อนที่ (Slack Cable Type Detectors for Floating-Roof Tanks)
          สวิตช์ระดับที่แสดงในรูปที่ 3 จะต้องติดตั้งสายตรวจสอบที่ดำเนินการจากระดับพื้นดินเพื่อให้สามารถดำเนินการทดสอบกลไกของอุปกรณ์ ถ้าอุปกรณ์ในการตรวจสอบถูกขนาดถังหรือปัจจัยอื่น ๆ ไปขัดขวางการทดสอบที่ระดับพื้นดินโดยสาย จะต้องพิจารณาวิธีการอื่น ๆ เพื่อจัดเตรียมระบบเหล่านี้ ในการทดสอบการทำงานจะมีความต้องการที่ระยะเวลาโดยเฉพาะตามประสิทธิภาพของการทำงานที่ผ่านมาแต่ไม่ต่ำกว่าปีละครั้ง

รูปที่ 3 ตัวตรวจจับชนิดสวิตช์ลูกลอยติดบนหลังคาเคลื่อนที่ได้

          2.3 ตัวตรวจจับชนิด Thermocouple/Thermistor (Thermocouple/Thermistor Type Detectors)
          ถังที่มีความดัน (Pressurized) และ/หรือถังที่มีความเย็น (Refrigerated) และถังรูปทรงกลมที่เก็บ LPG จะติดตั้งตัวตรวจจับอุณหภูมิชนิด Thermocouple พร้อมตัวทำความร้อน จุดต่อของ Thermocouple สำหรับเซนเซอร์ประเภทนี้จะเป็นแบบไม่ลงดิน (Ungrounded Type) ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 Heated Thermocouple Assembly-High Level Probes

          2.4 การทดสอบตัวตรวจวัดระดับ
          ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน ระดับสัญญาณเตือนระดับสูงจะต้องทดสอบการทำงานและมีประสิทธิภาพ ตามข้อกำหนด

วิธีการวัดสินค้าคงคลัง (Inventory Gauging Methods)
          1. ประเภทการจัดเก็บ
          การเลือกอุปกรณ์และระบบสำหรับการวัดสินค้าคงคลังของถังเก็บจะขึ้นอยู่กับประเภทของถัง, ประเภทของเหลวที่เก็บ, สภาวะการทำงาน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสองประเภทดังนี้

          * ประเภท A 
          การเคลื่อนย้ายของเหลวเพื่อการซื้อขาย (Fiscal Transfer) หรือการเคลื่อนย้ายของเหลวที่ถูกควบคุม (Custody Transfer) การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Inventory) หรือ การควบคุมทางบัญชี (Accounting)

          * ประเภท B 
          การวัดและการควบคุมถังทั่วไป

          สำหรับการวัดสำหรับการเคลื่อนย้ายเพื่อการซื้อขายหรือของเหลวที่ถูกควบคุม ควรจะใช้เครื่องมือวัดที่เป็นแบบ Servo หรือระบบเรดาร์

          ถังประเภท A เป็นถังบรรจุ LPG และคอนเดนเสท (Condensate) เพื่อการซื้อขาย จะต้องมีระบบการวัดระดับของเหลวในถังที่มีความถูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการซื้อขาย ได้รับอนุมัติและรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ถังประเภท B เป็นถังอื่น ๆ ทั้งหมดที่ใช้สำหรับเก็บของเหลวระหว่างกลาง (Intermediate Tanks) หรือสกปรก (Slop Tanks) จะมีระบบวัดระดับที่เป็นแบบลูกลอยภายใน (Internal Float Type)

          2. การจัดการสินค้าคงคลังและวัสดุคงเหลือ (Inventory Management and Material Balance)
          ทุก ๆ ถังจำเป็นต้องจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นของถัง, ข้อมูลในการวัดระดับของถัง, การเดินสายไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเชื่อมโยงกับระบบการวัดระดับถังโดยรวม เพื่อให้ข้อมูลสินค้าต่อไปนี้
          *  ข้อมูลการผลิตต้องตรงกับความต้องการภาษีท้องถิ่นและภาษีรัฐบาล
          *  ข้อมูลสินค้าคงคลังในบัญชีสำหรับความสมดุลของวัสดุ
          *  ข้อมูลสินค้าคงคลังเพื่อตรวจสอบความสูญเสีย

          ระบบการวัดระดับของถังจะต้องมีคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมที่เหมาะสมแยกเป็นอิสระหรือจะรวมกับระบบควบคุมหลัก คอนโซลที่เหมาะสมพร้อมกับจอแสดงผล 2 ชุดหน้าจอจะถูกจัดสรรสำหรับการควบคุมสินค้าคงคลังและการตรวจสอบ คอนโซลจะถูกติดตั้งในห้องควบคุม คอนโซลเดียวกันนี้จะถูกใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานขนถ่ายสินค้าใน ข้อกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

          3. ระบบการวัดชนิด Servo Driven Displacer Gauges
          สำหรับการวัดประเภท A, ระบบการวัดระดับชนิด Servo Driven Displacer จะติดตั้งอยู่ในท่อ Stilling Well ดังแสดงในรูปที่ 5 ถึงรูปที่ 10

 

รูปที่ 5 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนหลังคาคงที่พร้อมกับท่อ Stilling Well

รูปที่ 6 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนหลังคาเคลื่อนที่พร้อมฝาปิด

 

รูปที่ 7 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนหลังคาเคลื่อนที่พร้อมกับท่อ Stilling Well

รูปที่ 8 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนหลังคาเคลื่อนที่แบบไม่มีฝาปิด

รูปที่ 9 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนถังผนังสองชั้นที่มีอุณหภูมิต่ำ (Cryogenic)

รูปที่ 10 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนถังความดันพร้อมท่อ Stilling Well

รูปที่ 11 เครื่องมือวัดระดับแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ติดตั้งอยู่บนหลังคาคงที่

          ท่อ Stilling Well จะได้รับการจับยึดโดยตรงจากแผ่นด้านล่างของถัง เพื่อให้แน่ใจว่าแผ่นด้านล่างจะไม่เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น เช่นในกรณีของถังบนฐานที่แข็งแรง เพื่อเตรียมการป้องกันล่วงหน้าเมื่อมีการติดตั้งแผ่นด้านล่าง ท่อ Stilling Well จะได้รับการยึดเปลือกถังและจากด้านล่าง (ดูรูปที่ 5 และ 10) ท่อ Stilling Well จะต้องมีตำแหน่งใกล้ (0.5 m) ผนังด้านข้าง

          3.1 การติดตั้งตัวเครื่องมือวัด (Transmitter Mounting)
          สำหรับการวัดในถังประเภท B และประเภทอื่น ๆ, เครื่องมือวัดชนิดขับเคลื่อนด้วย Servo อาจจะติดโดยตรงบนหลังคาถังโดยไม่ต้องใช้สายนำทางหรือท่อ Stilling Well

          ถังแบบหลังคาคงที่, แบบไม่มีการกวน (Non-Agitated) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของถังขนาด 7.62 เมตร หรือ น้อยกว่า

          ถังแบบไม่มีการกวนที่ไม่ต้องมีการเสริมความแข็งแรงของหลังคาเพิ่มเติมและที่มีตำแหน่งตัวเครื่องมือวัดห่างมากกว่า 3.05 m จากจุดต่อของไหลด้านเข้า

          ถังเก็บที่มีความดันภายในจะต้องการเครื่องมือวัดระดับชนิดขับเคลื่อนด้วย Servo ที่ถูกติดตั้งอยู่บนบอลวาล์วชนิด Full Bore วางอยู่บนห้องปรับเทียบ (Calibration Chamber) ติดกับหน้าแปลนบนหลังคาถัง สายวัดโลหะจะเป็นวัสดุประเภท สแตนเลส 316 ในการใช้งานกับ LPG ที่อุณหภูมิต่ำ ๆ สายวัดโลหะจะเป็น Invar (โลหะผสมของนิกเกิลและเหล็กที่มีการขยายตัวทางความร้อนต่ำมาก) ภายในตัวเครื่องมือวัดระดับชนิดขับเคลื่อนด้วย Servo จะต้องมีการชดเชยด้วยอุณหภูมิแบบเต็มรูปแบบ

          3.2 เครื่องมือวัดและเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (Gauges and Temperature Sensors)
          ห้องขับเคลื่อน Servo จะต้องเป็นการเชื่อมโยงทางแม่เหล็ก (Magnetically Coupled) ไปยังชุดขับเคลื่อน Servo ตัวเปลี่ยนแปลงความเร็วเพื่อให้ส่วนเครื่องมือวัดถูกแยกทางกายภาพจากการสัมผัสกับบรรยากาศภายในถัง ตัวเครื่องมือวัดจะต้องเป็นแบบป้องกันไอ (Gastight) เพื่อป้องกันไม่ให้ไอที่สามารถลุกเป็นไฟสามารถเข้าไปในตัวเครื่องมือวัดจากบรรยากาศภายในถังหรือรั่วไหลออกไปยังบรรยากาศภายนอก ตัวเครื่องมือวัดระดับชนิดขับเคลื่อนด้วย Servo จะต้องถูกรับรองการติดตั้งในพื้นที่อันตราย Class I, ก๊าซ Group I, IIA และ IIB, Zone 0 และ Zone 1

          เครื่องมือวัดที่นำไปใช้ในการวัดสินค้าคงคลังจะต้องมีการติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิเฉลี่ย โดยการวัดอุณหภูมิเฉลี่ย นี้จะต้องรวมเข้ากับการวัดระดับเพื่อเลือกองค์ประกอบอุณหภูมิที่เหมาะสมกับระดับของเหลว อุณหภูมิเฉลี่ยของเหลวในถังจะมีการแสดงในระบบการวัดระดับถังและจะสามารถใช้ได้สำหรับโปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลังเพื่อชดเชยอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ในการคำนวณปริมาณถัง

          ถังประเภทอื่น ๆ จะมีเครื่องมือวัดอุณหภูมิเป็นจุด ๆ ความยาวของเซนเซอร์อุณหภูมิควรมีความยาวต่ำสุดประมาณ 1 เมตร วงจรไฟฟ้าที่ใช้วัดอุณหภูมิที่เป็นส่วนร่วมกับเครื่องมือวัดแบบขับเคลื่อนด้วย Servo จะต้องถูกรับรองและอนุมัติตามข้อกำหนดในแบบ Intrinsically

           3.3 สัญญาณเตือนระดับแบบ Displacer (Displacer Gauge Level Alarms)
          เครื่องมือวัดแบบขับเคลื่อนด้วย Servo ชนิด Displacer จะต้องติดตั้งสวิตช์ สัญญาณเตือนที่ปรับระดับได้ 4 จุดที่เป็นอิสระต่อกัน หน้าสัมผัสสัญญาณเตือนระดับสูงและ/หรือระดับสูงมากที่รวมอยู่กับตัวเครื่องมือวัดจะต้องถูกใช้เพียงเฉพาะเป็นฟังก์ชันเตือนที่สองและจะต้องไม่ดำเนินการเป็นฟังก์ชัน Interlock หรือ Emergency Shutdown (ESD) อาจมีการพิจารณาในกรณีพิเศษ

          3.4 จุดอ้างอิงสูงสุดและต่ำสุดของเครื่องมือวัดระดับแบบ Displacer (Displacer Gauge Upper and Lower Reference Point)
          เกจวัดระดับขับเคลื่อนด้วย Servo ชนิด Displacer จะต้องติดตั้งจุดอ้างอิงต่ำสุด ซึ่งจะถูกยึดด้วยแผ่นแนวนอน แผ่นอ้างอิงอาจจะถูกเชื่อมโดยตรงเข้ากับแผ่นพื้นถัง, ติดอยู่กับเปลือกถังหรือติดอยู่กับจุดต่ำสุดของท่อ Stilling Well ถ้าแผ่นนั้นแนบไปท่อ Stilling Well ความสูงของแผ่นจะต้องไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เหนือบนแผ่นพื้นถัง ระดับที่แผ่นอ้างอิงจะต้องเป็นจุดศูนย์ของถังเพื่อการปรับเทียบ

          แต่ละเครื่องมือวัดระดับประเภท Displacer จะต้องติดตั้งจุดอ้างอิงบนหรือที่เรียกว่าจุดอ้างอิงหยุดที่จุดสูงสุด การวัดและการปรับเทียบจะต้องใช้จุดอ้างอิงบนนี้ (Upper Reference)

          3.5 Hand Dip Hatch
          ถังทั้งหมดจะต้องติดตั้ง Dip Hatch แผ่นอ้างอิงจะถูกติดตั้งที่ด้านล่างถัง

          3.6 ขนาดท่อ Stilling Well (Stilling Well Pipe Size)
          ขนาดท่อ Stilling Well ที่ดีจะต้องพิจารณาบนพื้นฐานของคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับวัดโดยเฉพาะในการติดตั้ง

          4. เครื่องมือวัดระดับชนิด Radar (Radar Gauge Level)
          4.1 ข้อจำกัดของเครื่องมือวัดระดับชนิด Radar
          ความต้องการต่ำสุดต่อไปนี้เป็นความต้องการสำหรับเครื่องมือวัดระดับด้วยเทคโนโลยีเรดาร์

          * ส่วนบรรจุเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นแบบป้องกันไอจากภายในถังไม่สามารถเข้าไปยังส่วนดังกล่าวหรือรั่วไหลไปบรรยากาศภายนอก

          * องค์ประกอบของการส่งสัญญาณจะถูกปิดผนึกจากการสัมผัสกับบรรยากาศภายในถังโดยใช้แผ่น Teflon

          * เครื่องมือวัดระดับที่ติดตั้งบนถังจะต้องได้รับการอนุมัติสำหรับการติดตั้งในพื้นที่อันตรายจัดเป็น Class I, Group I, IIA และ IIB ก๊าซ Zone 0 และ Zone 1

          * วงจรสื่อสารระหว่างหน่วยเชื่อมต่อ (Field Interface Unit) และเครื่องมือวัดที่ติดตั้งบนถังจะต้องถูกรับรองปลอดภัยในแบบ Intrinsically

          4.2 เครื่องมือวัดระดับชนิด Radar บนถังหลังคาคงที่ (Radar Level Gauge on Fixed Roof Tanks)
          เครื่องมือวัดระดับชนิด Radar นี้สามารถใช้งานกับถังหลังคาคงที่ โดยให้มุมการส่งเคลื่อนรูปกรวยอย่างน้อย 12 องศาจะต้องไม่มีอะไรไปขัดขวางจากตัวส่งไปยังแผ่นอ้างอิง

          4.3 การใช้อุปกรณ์ความโน้มเอียง (Using an Inclination Device)
          อุปกรณ์โน้มเอียงดังแสดงในรูปที่ 12 ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งตัวเครื่องมือวัด อุปกรณ์โน้มเอียงจะอนุญาตให้ชดเชยมุมของรูปกรวยแนวตั้งห่างจากผนังถังโดยสูงสุด 5 องศา

รูปที่ 12 แสดงตัวโน้มเอียงสำหรับการติดตั้งบนหลังคาคงที่

          4.4 การเสริมแรงหลังคา (Roof Reinforcement)
          เครื่องมือวัดชนิดเรดาร์ที่ติดตั้งบนถังหลังคาคงที่ อาจต้องมีการเสริมกำลังของหลังคาเพื่อรองรับน้ำหนักของตัวส่งและเพื่อลดการโก่งของหลังคา การเสริมแรงของหลังคาเพื่อรองรับเครื่องมือวัดใหม่จะต้องป้องกันไม่ให้หน้าแปลนมีความโน้มเอียงของจานจากแนวนอนเกิน 5.5 องศา การออกแบบหลังคายังจะต้องอนุญาตให้มีคน 2 คนน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัมขึ้นไปเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดเหล่านี้

          4.5 การป้องกันสภาพอากาศ (Weather Shielding)
          เครื่องมือวัดชนิดเรดาร์ที่ติดตั้งบนถังหลังคาคงที่ จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสภาพอากาศแบบถอดได้

          4.6 ตำแหน่งของเครื่องมือวัดชนิดเรดาร์บนหลังคา (Radar Gauge Positioning on Tank Roof)
          เครื่องมือวัดไม่ว่าจะติดตั้งบนหลังคาคงที่หรือเคลื่อนที่ได้ จะต้องถูกติดตั้งในตำแหน่งเพื่อให้ลำคลื่นเรดาร์สามารถไปถึงด้านล่างของถังโดยไม่มีอะไรขัดขวาง ท่อหรือการขัดขวางอื่น ๆ จะทำให้เกิดการสะท้อนเรดาร์ ควรจะหลีกเลี่ยงในการออกแบบ

          คำแนะนำจากผู้ผลิตจะถูกปฏิบัติตามเพื่อความถูกต้องของการถ่ายทอดลำแสงไมโครเวฟ การติดตั้งจะต้องปฏิบัติตามที่แสดงในรูปที่ 13 สำหรับตัวอย่างการติดตั้งเครื่องมือวัดในถังหลังคาคงที่หรือรูปกรวย และรูปที่ 14 สำหรับการติดตั้งเครื่องมือวัดในถังหลังคาเคลื่อนที่ได้        
     
    

รูปที่ 13 เครื่องมือวัดระดับชนิดเรดาร์ติดตั้งบนหลังคาคงที่      

รูปที่ 14 เครื่องมือวัดระดับชนิดเรดาร์ติดตั้งบนหลังคาเคลื่อนที่

          5. เครื่องมือวัดระดับแบบลูกลอย (Float Operated Level Gauges)
          ถังประเภท B สามารถใช้เครื่องมือวัดระดับแบบลูกลอย
          เครื่องมือวัดระดับแบบลูกลอยจะมีการเชื่อมโยงทางกลกับตัวแสดงผลที่ถูกติดตั้งเพื่อจะอ่านค่าจากพื้นดินจะต้องติดตั้งกลไกการหมุนที่สมดุล (Counterbalancing) เพื่อที่จะรักษาแรงดึงของเทปให้คงที่ตลอดช่วงการวัด

          สายวัดบนลูกลอยอาจเกิดการแช่แข็งและ/หรือสัมผัสบรรยากาศที่กัดกร่อนจะต้องมีส่วนหุ้มด้วยวิธีอิสระเพื่อกรอกน้ำมันสำหรับเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแช่แข็งหรือกัดกร่อน

          เครื่องมือวัดระดับแบบลูกลอยจะต้องติดตั้งตามข้อกำหนดสำหรับการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงไปยังตัวอ่านค่าที่พื้นดิน การติดตั้งระบบจะต้องเป็นไปตามรูปที่ 15, 16 และ 17


รูปที่ 15 Ground Reading Float-Operated Automatic Tank Level Gauge Mounted on a Cone

รูปที่ 16 Ground Reading Float-Operated Automatic Tank Level Gauge Mounted on a Floating-Roof Tank

รูปที่ 17 Float and Tape Gauging System (Schematic)

พิสูจน์ตัวเองเทียบกับการรับรอง (Self-proven VS. Certified) 
          ผู้ออกแบบระบบอัตโนมัติมักจะกล่าวถึงความน่าเชื่อถือของระบบป้องกันการล้นที่มีอยู่แล้ว (Existing Overfill Protection System) ตามเหตุผลที่จะใช้ในการออกแบบในลักษณะเดียวกันและผลิตอุปกรณ์สำหรับการใช้งานใหม่ ในความคิดเห็นของการทำงานของระบบป้องกันการล้นที่มีอยู่แล้วแสดงเหตุผลในการนำไปใช้งานด้วยวิธีการ "พิสูจน์ด้วยตนเอง (Self Proven)" หรือ "พิสูจน์ในการใช้ (Proven-in-use)"

          ดังที่ระบุไว้ว่ามาตรฐาน IEC 61511 เป็นมาตรฐานที่นำไปใช้กับส่วนกระบวนการผลิตตามมาตรฐานระดับสากล IEC 61508 นั่นมักจะหมายถึง IEC 61511 มักจะอ้างกลับไปที่ IEC 61508 การประชุมเรื่องความต้องการของ "พิสูจน์ด้วยตนเอง" เป็นหนึ่งในการอ้างอิง

          ถ้าเจ้าของหรือผู้ปฎิบัติการตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกใช้อุปกรณ์ในรูปแบบ "พิสูจน์ด้วยตนเอง" สำหรับระบบป้องกันการล้นที่มีความสมบูรณ์สูงแล้ว ในการใช้งานยังต้องรวมไปถึงขั้นตอนการ "รับรองด้วยตนเอง (Self-certification)" ที่มีการบันทึกเป็นเอกสารได้ดีและทำให้สอดคล้องกับความต้องการของทั้งมาตรฐาน IEC 61511 และ IEC 61508 แต่ไม่มีมาตรฐาน IEC เฉพาะแสดงความต้องการเหล่านี้ องค์ประกอบสำคัญของตัวโปรแกรม "รับรองด้วยตนเอง" รวมถึงการมีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

          * คำอธิบายที่ชัดเจนของข้อมูลการออกแบบของแต่ละอุปกรณ์

          * ข้อมูลความเชื่อถือได้สำหรับการใช้งานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก รวมถึงเงื่อนไขบังคับและ/หรือข้อจำกัดสำหรับการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์

          * ผลของโปรแกรม (Software) การทำงานปฏิบัติการตามข้อกำหนดใน IEC 61508-3

          * รับทราบการตรวจสอบด้านการออกแบบของทั้งอุปกรณ์เครื่องกล และ/หรือทางไฟฟ้ารวมถึงโหมดความล้มเหลว (Failure Mode), ความล้มเหลวปลอดภัย (Fail Safe) เทียบกับความล้มเหลวอันตราย (Fail Danger), การวินิจฉัยอัตโนมัติใด ๆ (Automatic Diagnostic) และความสำรองภายใน (Internal Redundancy) เพื่อผลิตปริมาณอัตราการล้มเหลว (Quantitative Failure) (ค่าจำนวนความล้มเหลวนี้ในที่สุดจะถูกใส่ลงในการคำนวณที่ระบุว่าการออกแบบเฉพาะตามข้อที่กำหนดในความต้องการแต่ละ SIL)

          * รับทราบความสามารถรวมสำหรับการวิเคราะห์การออกแบบที่ทันสมัย, เครื่องมือและวิธีการทดสอบด้วยการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ทั้งการออกแบบดั้งเดิมและการเพิ่มเติมตามมาภายหลังของส่วนทางด้านไฟฟ้า, เครื่องกลและด้านซอฟต์แวร์ของแต่ละอุปกรณ์ ด้วยเจตนาของการเปิดเผยข้อผิดพลาดของการออกแบบ

          * ดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับแต่ละอุปกรณ์ที่ใช้หรือมีการพิจารณาการใช้งานในระบบป้องกันการล้น

          * รายละเอียดไฟล์เอกสารด้านเทคนิคหรือ "กรณีความปลอดภัย" อธิบายวิธีการผลิตของแต่ละอุปกรณ์ตามความต้องการของแต่ละความต้องการของ IEC 61508

          * วิธีที่จะตรวจสอบแต่ละอุปกรณ์ว่าตรงตามความต้องการใช้งานได้คือเหมาะสมสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่คาดหวังและวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการที่คาดหวัง รวมทั้งผลการทดสอบจริงจากการใช้ในโปรแกรมที่คล้ายกันแต่เป็นการใช้งานที่ไม่ปลอดภัย

          เนื่องจากตัวโปรแกรมการรับรองจะอยู่บนพื้นฐานในการปฏิบัติการจริง มาตรฐาน IEC 61508 จัดทำข้อมูลชั่วโมงการทำงานต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับแต่ละระดับ SIL เป็นดังนี้
          * 100,000 ชั่วโมง SIL 1 
          * 1 ล้าน ชั่วโมง SIL 2 
          * 10 ล้าน ชั่วโมง SIL 3

          แน่นอนว่าการประชุมเพื่อข้อกำหนดเหล่านี้จะเป็นเรื่องเข้มข้น แต่สามารถแสดงการตรวจสอบและบันทึกในแต่ละและทุกความล้มเหลวอันตรายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

          ทางเลือกในการสร้างโปรแกรมการรับรองด้วยตนเองคือการใช้บุคคลที่สาม (Third Party) รับรองอุปกรณ์ร่วมกับการประเมินผลที่ช่วยให้แน่ใจว่าในแต่ละระบบการป้องกันการล้นที่มีความสมบูรณ์สูงมีความเหมาะสมดีสำหรับการใช้งาน

          มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ผลิตที่นำเสนออุปกรณ์ที่ถูกการรับรองสำหรับการใช้งานด้านความปลอดภัยรวมถึงระบบป้องกันการล้น บางผู้ผลิตเหล่านี้ได้ลงทุนทรัพยากรที่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามองค์กรบุคคลที่สามกำหนด เพื่อดำเนินการตรวจสอบการแก้ไขเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ เมื่อจบการตรวจสอบนี้แล้วอุปกรณ์ที่ได้จะถูกรับรองว่าเป็นไปตามความต้องทั้งหมดของมาตรฐาน IEC 61508

พร้อมกันนี้การซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้งานจะได้รับการรับรองเป็นใบรับรองจากบุคคลที่สามและรายละเอียดการใช้งานในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วยตนเอง ที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดในการใช้งานอุปกรณ์ บริษัทที่ผ่านการรับรองในการเป็นบุคคลที่สามดังเช่น exida Certification (เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์) และบริษัท T?V (โคโลญน์, มิวนิค และ Essen, Germany) 

          ผู้ผลิตอุปกรณ์อื่น ๆ ได้จ่ายเงินให้บุคคลที่สามดำเนินการประเมินความล้มเหลวด้านอุปกรณ์เฉพาะของรายการด้วย ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการดำเนินการให้ตรงกับความต้องการ "พิสูจน์ด้วยตนเอง" ผู้ผลิตอุปกรณ์บางส่วนเลือกที่จะรับรองอุปกรณ์ของตนเองด้วยตนเอง

บันทึกการเรียนรู้ (Lessons Learned)
          ข้อความเพื่อการออกแบบระบบป้องกันการล้นแสดงอยู่อย่างชัดเจน สิ่งที่ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์อันตรายจะเป็นดังนี้

          * เข้าใจและใช้มาตรฐานวิศวกรรมที่ดี เช่น API 2350, IEC 61508 และ IEC 61511 ในการออกแบบ
          * ใช้หลักการของวงรอบความปลอดภัยและ SIL ที่ถูกกำหนดอยู่ ใน IEC 61508 และ IEC 61511
          * ตรวจ สอบการใช้งานเอกสารที่ดีสำหรับอุปกรณ์ "Proven-in-use" และ/หรือใช้อุปกรณ์ที่มีบุคคลที่สามรับรองตามมาตรฐาน IEC 61508

          สุดท้ายทุกคนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จากผู้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการโรงงาน, ผู้ปฎิบัติการและผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมและผู้ซ่อมบำรุงรวมไปถึงผู้รับเหมาจะต้องรับรู้ถึงความละเลยบางส่วนหรือทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิต, บาดเจ็บ, เกิดความเสียหายและอาจเป็นความผิดทางอาญา

เอกสารอ้างอิง
          [1] API 2530,” Overfill Protection for Storage Tanks in Petroleum Facilities”, Third Edition, January 2005.

          [2] IEC 61511,” Function safety-Safety instrumented system for the process industry sector”, 2003.

          [3] Chris O’Brien, ”High-integrity overfill protection”, intech, June 2009

          [4] ทวิช ชูเมือง, ระบบวัดคุมนิรภัยในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิต, ISBN 974-212-172-9, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2548.

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด