เนื้อหาวันที่ : 2011-09-23 16:20:13 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3672 views

การปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน การบริหารโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงการผลิตที่มีค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง การใช้พลังงานทุกประเภทอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนผลิต

บริษัท ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำกัด 

          ในปัจจุบัน การบริหารโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงการผลิตที่มีค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต คือการใช้พลังงานทุกประเภทอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

          การประหยัดพลังงานของโรงงาน คือ การลดการใช้พลังงานลงโดยการจัดการใช้พลังงานให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยไม่ทำให้กระบวนการผลิตลดลงและไม่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลง

          การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
          * การปรับปรุงต้นทุนพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยการผลิต 
          * การปรับปรุง Load Factor ให้สูงขึ้น 
          * การปรับปรุงค่า Power Factor 
          * การควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของโรงงาน 

          ซึ่งแต่ละวิธีสามารถทำได้โดยการบริหารจัดการ การปรับปรุงการทำงาน การใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการลดการสูญเสีย การบำรุงรักษา ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

การปรับปรุงต้นทุนพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยการผลิต
          สามารถทำได้โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ ให้เครื่องจักรอยู่ในสถาพพร้อมทำงาน การทำ Preventive Maintenance ไม่ว่าจะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อตรวจสอบจุดที่มีปัญหา หรือใช้เครื่องทดสอบคุณภาพฉนวน (Insulation HiTESTER) เพื่อตรวจสอบสภาพการทำงานของมอเตอร์

การปรับปรุง Load Factor ให้สูงขึ้น
          จะสามารถช่วยลดค่า Demand Charge ได้ เช่น เมื่อโรงงานของท่านมี Load Factor อยู่ประมาณ 70% เมื่อสามารถเพิ่มเป็น 80% แล้วสามารถช่วยลดค่า Demand Charge ได้ประมาณ 12% ซึ่งอาจคิดเป็นเงินหลายหมื่นบาท (ตารางเปรียบเทียบ Load Factor สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำกัด)

รูปที่ 1 แสดงการคำนวณค่า Load Factor โดยใช้ Software HIOKI รุ่น 9625

          จากรูปที่ 1 โปรแกรม HIOKI รุ่น 9625 สามารถช่วยคำนวณค่า Load Factor ได้ตามเวลาใช้จริง สามารถเลือกเวลาได้ไม่ว่าโรงงานท่านจะใช้ อัตราค่าไฟแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นแบบ อัตราปกติแบบก้าวหน้า อัตราปกติแบบสองส่วน อัตรา TOU และ อัตรา TOD

การปรับปรุงค่า Power Factor (PF)
          นอกจากค่า Demand Charge แล้ว หากระบบไฟฟ้าของท่านมี ค่า Power Factor ที่ต่ำกว่า 0.85 แล้วทางการไฟฟ้าฯ จะคิดเงินท่านเพิ่มในสัดส่วน 14.05 บาท ต่อ 1 KVAR ท่านอาจมีตัว Panel Meter เพื่อตรวจวัดค่า Power Factor ของแต่ละเครื่อง แต่คงเป็นการยากที่จะนำมาคำนวณเพื่อหา Power Factor รวมของทั้งระบบ ท่านจึงต้องใช้เครื่องมือวัดที่สามารถวัดได้ในระบบไฟฟ้าส่วน Main Power Line ของโรงงานท่านได้

รูปที่ 2 แสดงการวัดค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ (PF) โดยใช้ Software

          จากรูปที่ 2 ใน Software สามารถหาค่า Power Factor ของระบบได้ด้วยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ทุก ๆ 1 วินาที รวมถึง หาค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และต่ำสุด เพื่อเปรียบเทียบอุปกรณ์ใด ๆ ที่มีปัญหาเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ตรงจุด โดยไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองในการแก้ไขทั้งระบบ

การควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของโรงงาน 
          ก่อนทำการควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุด ท่านต้องทราบก่อนว่าโรงงานของท่านใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบใด เช่น อัตราปกติแบบก้าวหน้า อัตราปกติแบบสองส่วน อัตรา TOU หรือ อัตรา TOD จากนั้นจึงนำมาปรับกิจกรรมต่าง ๆ ให้ใช้ในช่วงที่เป็น Off Peak แต่ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าช่วงไหนท่านใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าไร และเครื่องจักรแต่ละตัวใช้ไฟฟ้าไปเท่าไรใน 1 ชั่วโมง

รูปที่ 3 แสดงการดูค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) ผ่าน Software

          จากรูปที่ 3 ใน Software นี้สามารถดูกราฟของ kWh ในทุก 15 นาที ตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าฯ เพื่อวิเคราะห์ว่าช่วงใดที่โรงงานท่านใช้ไฟมากที่สุด โดยท่านสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อดูการใช้ไฟทั้งหมดในโรงงาน หรือ สามารถดูแยกแต่ละเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าของเครื่องจักรแต่ละเครื่องได้ 

          นอกจากการลดพลังงานไฟฟ้าตามที่กล่าวมา ท่านยังสามารถทำเพิ่มเติมได้โดยการตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในสาย N (Natural Line) ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน แต่โรงงานของท่านยังต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลนี้ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นจาก Harmonic ซึ่งตัว Harmonic นี้อาจเกิดจากเครื่องจักรของท่าน หรืออาจมาจากโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงโรงงานของท่าน จึงต้องมีเครื่องมือวัดที่สามารถระบุถึงแหล่งที่มาของ Harmonic ได้ นอกจากนี้หากโรงงานท่านสร้าง Harmonic ที่เกินกว่าระดับมาตรฐาน โรงงานของท่านอาจเสียค่าปรับในส่วนนี้

          จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำการประหยัดพลังงานในโรงงานคือการตรวจวัดการใช้ไฟฟ้าในโรงงานของท่าน ซึ่งในการตรวจวัดท่านจึงต้องมีเครื่องมือที่มีมาตรฐาน พร้อมทั้ง Function ที่สามารถช่วยให้ท่านวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าในโรงงานของท่านได้ อีกทั้งสามารถเก็บค่าการวัดได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาว

          บริษัท ฮิโอกิ อีอี คอปอเรชั่น จำกัด คือ ผู้นำด้านเครื่องมือวัดและทดสอบทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ จากญี่ปุ่น ซึ่งเครื่องมือวัดของ HIOKI มีความหลากหลาย และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 70 ปี ทำให้ปัจจุบัน HIOKI มีเทคโนโลยีด้านเครื่องมือวัดและทดสอบที่ก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในระดับสากลทั่วโลก และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้เองทำให้เครื่องมือวัดของ HIOKI เป็นที่ยอมรับในมาตรฐาน ความคงทน ความแม่นยำ ความปลอดภัย ความสะดวกสบายในการใช้งาน และคุณภาพที่เป็นเลิศ

          ซึ่งในฉบับนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องมือวัดพลังงานและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า (Power Quality Analyzer) ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย จำนวน 3 รุ่น ได้แก่
    
1. CLAMP ON POWER HiTESTER รุ่น 3169-20


                
จุดเด่น 
          * เหมาะกับงานอนุรักษ์พลังงาน ทำโครงการประหยัดพลังงานในสถานประกอบการ
          * ตรวจวัดฮาร์โมนิกส์ได้ถึง 50 อันดับ
          * บอกได้ว่าฮาร์โมนิกส์ที่เกิดขึ้นเกิดจากโรงงานของท่าน หรือจากภายนอก
          * มีไดอะแกรมบอกวิธีการต่อสายวัด และตรวจเช็คความถูกต้องก่อนเริ่มวัด ทำให้ไม่สับสน
          * มี Software ช่วยทำรายงานด้านพลังงาน ง่าย และสะดวก
          * เก็บข้อมูลลง PC CARD สูงสุดถึง 512 MB
          * วัดกระแสได้สูงสุดถึง 5000 แอมป์
          * ใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส
    
2. POWER QUALITY ANALYZER รุ่น 3197

จุดเด่น
          * ตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า เช่น Inrush Current, แรงดันตก/เกิน (Dips/Swells), Transient และ Interruptions
          * ตรวจวัดและบันทึกค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า
          * เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่าน USB 
          * ควบคุมการทำงานและ Monitor ค่าการวัดผ่านคอมพิวเตอร์ได้
          * หน้าจอแสดงผลสีแบบ TFT ขนาดใหญ่ อ่านค่าได้ง่าย
          * มีแบตเตอรี่ในตัว ใช้งานได้ต่อเนื่อง เหมาะมากสำหรับงาน Onsite

3. POWER QUALITY ANALYZER รุ่น 3196

จุดเด่น
          * สำหรับตรวจวัดวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า (PQA) เช่น Flicker, Inrush Current, แรงดันตก/เกิน (Dips/Swells), Transient และ Interruptions
          * วัด Transient ได้ถึง 2,000,000 ครั้ง/วินาที (2MS/s)
          * เลือกการตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้าโดยใช้มาตรฐาน EN50160 (มาตรฐานการตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้า)
          * สามารถดู Waveform ได้ที่หน้าจอ หรือ Event ต่าง ๆ
          * เก็บข้อมูลลง PC CARD สูงสุดถึง 512 MB
          * Monitor ค่าการวัดผ่านเครือข่าย LAN
    
          เครื่องมือวัดทั้ง 3 รุ่นที่กล่าวมานี้ เป็นรุ่นยอดนิยมที่ได้รับความไว้วางใจและยอมรับจากบริษัทชั้นนำในประเทศไทยและทั่วโลก หากท่านสนใจ โครงการด้านประหยัดพลังงานเพื่อการลดต้นทุน และช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงานที่มีจำกัด เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เครื่องมือวัดของ HIOKI ทั้ง 3 รุ่นนี้ เหมาะกับงานของท่านอย่างแน่นอน

     
     
          นอกจากเครื่องมือวัดทั้ง 3 รุ่น ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ทางบริษัทฯ ยังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่มากประสบการณ์ คอยให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาในด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ ที่ใช้ภายในโรงงาน ดังต่อไปนี้

          1. Demand Monitoring การเฝ้าดูค่า Demand ที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในโรงงาน โดยทำการติดตั้ง Power Meter ตามจุดต่าง ๆ (ตาม MDB และ DB ย่อย ๆ) และทำการ Link มิเตอร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ด้วยระบบสื่อสารแบบต่าง ๆ เช่น Modbus, CC-Link หรือ Ethernet โดยมีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง

หมายเหตุ: ค่า Demand มีหน่วยเป็น kW เป็นค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าภายในทุก ๆ 15 นาทีที่สูงที่สุดของเดือนนั้น ๆ

          2. Demand Management การควบคุมค่า Demand ไม่ให้เกินค้าที่ตั้งไว้ โดยสามารถต่ออุปกรณ์ตัดต่อภายนอก (เช่น PLC, Remote I/O) เพื่อใช้ในการเตือนถึงเหตุการณ์ที่จะเกินขึ้น หรือใช้ในการตัดต่อ Load ที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน และถ้าหากค่า Demand เข้าสู่ภาวะปกติ ก็สามารถที่จะต่อ Load ให้กลับมาทำงานตามปกติได้ โดยมีรายละเอียดตามรูปด้านล่าง

          3. Facility Monitoring การเฝ้าดูค่าการใช้น้ำ, ลม, น้ำมัน หรือแก๊สต่าง ๆ โดยการประยุกต์ใช้ PLC หรือ Remote I/O ควบคู่กับ HMI หรือ SCADA Software

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่
บริษัท ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำกัด 
โทรศัพท์ 02-642-6700 โทรสาร 02-642-4250
E-mail: sales@ie.co.th หรือ http://www.ie.co.th
       

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด