เนื้อหาวันที่ : 2011-08-25 10:46:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4031 views

แนวทางวินิจฉัยการบริหารต้นทุน

บทความนี้จะนำเสนอการประเมินและจุดตรวจสอบในแนวคำถาม - ตอบ เกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารต้นทุนที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมการผลิต

โกศล  ดีศีลธรรม
koishi2001@yahoo.com

          สำหรับเนื้อหาในคอลัมน์ Industrial Management คราวนี้จะกล่าวถึงหัวข้อการประเมินและจุดตรวจสอบในแนวคำถาม - ตอบ เกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารต้นทุนที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมการผลิต เพื่อใช้เป็น Check List สำหรับวินิจฉัยและปรับปรุงองค์กรของท่าน ซึ่งเนื้อหาสาระจะเป็นอย่างไรก็โปรดติดตามดังต่อไปนี้ ครับ

ระบบเอกสารและการบันทึกทางบัญชี
1. ระบบบัญชีเหมาะสมสำหรับโครงสร้างและขนาดขององค์กรหรือไม่
2. ระบบเอกสารและการบันทึกทางบัญชีสอดคล้องกับสถานะขององค์กรหรือไม่
3. ได้มีการทำงบทดลองรายเดือนหรือไม่ 

รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างระบบบัญชีกับงบการเงิน

โครงสร้างทางการเงิน
1. โครงสร้างเงินทุนขององค์กรในปัจจุบันพอเพียงหรือไม่ (อัตราส่วนระหว่างส่วนของเจ้าของและเงินทุนที่กู้ยืมมาเทียบกับสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินการทั้งหมด มีอัตราส่วนเท่าไร)

2. ระดับหนี้สินที่กู้ยืมมาลงทุนอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของทุน

3. ระดับหนี้สินหมุนเวียนสูงเกินไปหรือไม่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์หมุนเวียน

4. ลูกหนี้การค้าปัจจุบัน, สินค้าคงคลัง (วัตถุดิบ, งานในระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป) และการลงทุนในทรัพย์สินถาวรจะมีผลกระทบอย่างไรต่อความสามารถทำกำไร และกระแสเงินสด

การบริหารเงินลงทุน
1. ได้ตั้งวงเงินจำกัดสำหรับลูกหนี้การค้า และปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ซึ่งมีผลให้การบริหารเงินลงทุนมีประสิทธิภาพหรือไม่

2. ได้มีการบริหารลูกหนี้การค้าได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

3. ระดับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่

4. การดำเนินงานภายในจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์โดยรวมต่ำลงหรือไม่ (อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์, วัตถุดิบ, สินค้าอยู่ระหว่างการผลิต,สินค้าสำเร็จรูปและลูกหนี้การค้า )

5. องค์ประกอบของการบริหารสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่น่าพอใจหรือไม่

6. ระยะการหมุนเวียนของวัตถุดิบ, สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป มีความสมดุลกันหรือไม่


รูปที่  2 แผนภาพการบริหารวงจรกระแสเงินสด

การบริหารผลกำไร
1. อัตราการทำกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
2. ต้นทุนการขายและต้นทุนการดำเนินงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือไม่
3. ได้มีการจัดทำระบบบัญชีต้นทุนหรือไม่
4. องค์กรได้มีระบบติดตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับต้นทุนประมาณการหรือไม่
5. ผู้บริหารได้มีการนำข้อมูลทางการเงินขององค์กร เพื่อใช้สำหรับปรับกลยุทธ์และวางแผนทางการเงิน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือไม่

รูปที่ 3 แผนภาพการเชื่อมโยงการไหลสารสนเทศทางการเงิน

การใช้ประโยชน์ข้อมูลทางบัญชี
1. ผู้บริหารระดับสูงมีความรู้ด้านการเงินเพียงพอหรือไม่
2. องค์กรได้มีการจัดทำงบกระแสเงินสดหรือไม่
3. ได้มีการจำแนกประเภทต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนผันแปรหรือไม่
4. ได้มีการนำข้อมูลทางบัญชีมาทำการวิเคราะห์งบการเงินหรือไม่
5. ได้มีการนำข้อมูลทางต้นทุนผันแปรที่ถูกบันทึก มาใช้ในการวิเคราะห์อย่างไร  ?
6. การวางแผนต้นทุนผันแปรได้มีการจัดทำต้นทุนมาตรฐานหรือต้นทุนเป้าหมายล่วงหน้าหรือยัง  ?
7. ได้มีการนำข้อมูลต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าโสหุ้ยการผลิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหาร มาทำการวิเคราะห์เพื่อจัดทำต้นทุนมาตรฐานหรือไม่
8. ได้มีการนำข้อมูลการวิเคราะห์การเงินมาใช้สำหรับประเมินผลิตภาพ (Productivity) หรือไม่

รูปที่ 4 แผนภาพกระบวนการวางแผนทางการเงิน

การลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์
1. การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ สอดคล้องกับแผนการขยายกำลังการผลิตและแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือไม่
2. ได้มีการประเมินเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการจัดซื้อกับการเช่าเครื่องจักรหรือไม่

การวางแผนการผลิต
1. มีการจัดทำแผนการผลิตเป็นลำดับขั้นจากแผนระยะยาวจนถึงแผนระยะสั้นหรือไม่

2. มีการจัดทำแผนรายเดือนหรือไม่และแผนนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันงานผลิตที่เร่งด่วน ในช่วงปลายเดือนหรือไม่

3. แผนกำหนดการผลิต (Production Schedule) มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งหรือไม่

4. มีเอกสารและข้อมูลเบื้องต้น (ชั่วโมงทำงาน, อัตราการผลิต, ตารางการผลิต มาตรฐาน ฯลฯ) ที่จำเป็นสำหรับการร่างแผนการผลิตหรือไม่

5. พนักงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละฝ่ายงานมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการผลิตหรือไม่ (มีการร่วมประชุมของฝ่ายผลิตและผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมหรือไม่)

6. มีการปรับแผนการผลิตและแผนการขายให้สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม อย่างไร

7. แผนการผลิตและแผนการจัดซื้อสอดคล้องหรือไม่ ได้มีการอ้างอิงกับงบประมาณหรือไม่ (แผนการลงทุน)

8. มีการปรับแผนการผลิตกับแผนการจ้างผู้ผลิตภายนอกหรือไม่ (โรงงานสามารถผลิตภายในโรงงานแต่มีการจ้างผู้ผลิตภายนอกดังนั้นองค์กรแน่ใจหรือไม่ว่าการส่งมอบสินค้าที่ล่าช้าของ Subcontractor จะไม่ส่งผลต่อกำหนดการผลิตโดยรวม)

9. แผนการผลิตที่จัดทำขึ้นจากการคำนวณชั่วโมงแรงงานได้มีการแยกตามสายการผลิตและกระบวนการหรือไม่ และมีเครื่องมือในกรณี ที่ขาดข้อมูลเวลาการทำงาน (คนงาน, เครื่องจักร ฯลฯ) หรือไม่

10. ตารางการผลิตได้แจกแจงรายละเอียดอย่างครบถ้วนหรือไม่ (แยกตามสายการผลิต ตามผลิตผลิตภัณฑ์, ชิ้นส่วน, กระบวนการ ฯลฯ)

11. ในการสั่งวัสดุหรือจ้างผลิตได้มีการระบุปริมาณความต้องการหรือกำหนดการรับวัสดุไว้หรือไม่

การบริหารจัดซื้อวัตถุดิบ
1. แผนการจัดซื้อวัตถุดิบสอดคล้องกับแผนการผลิตหรือไม่
2. มีนโยบายหรือแผนบริหารผู้ส่งมอบวัสดุอย่างเหมาะสมหรือไม่
3. องค์กรได้มีนโยบายหรือวิธีการที่ยืดหยุ่นในการจัดซื้อที่เหมาะสมหรือไม่ (สมดุลระหว่างการจัดซื้อจากส่วนกลางและการจัดซื้อแบบการกระจายอำนาจ)
4. องค์กรได้มีแนวทางประเมินผู้ส่งมอบเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อย่างไร
5. มีระบบบริหารและจัดเก็บสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
6. องค์กรได้มีการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสมหรือไม่
7. ได้มีการจัดการกับสต็อกค้าง (Dead Stock) ของวัตถุดิบ วัสดุที่เหลือใช้ และเศษของเสีย (Scraps) อย่างเหมาะสมหรือไม่

รูปที่ 5 แผนภาพการจำแนกประเภทต้นทุน

นโยบายการบริหารผู้รับเหมาช่วง
1. องค์กรมีนโยบายด้านการจ้างผลิตจากภายนอกอย่างชัดเจนหรือไม่
2. การกำหนดราคาต่อหน่วยในการจ้างผลิต ได้ถูกพิจารณาอย่างมีเหตุผลหรือไม่
3. ได้มีมาตรการควบคุมและตรวจติดตามคุณภาพงานของผู้รับเหมาช่วงหรือไม่
4. ได้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคให้กับผู้รับเหมาช่วงอย่างเพียงพอหรือไม่
5. มีการทำสัญญาโดยกำหนดเงื่อนไขการสั่งซื้ออย่างชัดเจนหรือไม่

นโยบายการตั้งราคาและการวางแผนผลิตภัณฑ์
1. สำหรับตั้งราคาผลิตภัณฑ์ (Products Pricing) ได้มีการนำข้อมูลทางต้นทุนเพื่อวิเคราะห์กำหนดระดับราคาที่เหมาะสม หรือไม่

2. สำหรับการประเมินความสามารถทำกำไรของผลิตภัณฑ์ ได้มีการวิเคราะห์ความสามารถทำกำไรของสินค้าแต่ละประเภทว่าสินค้าตัวใดที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญต่อผู้บริหารในการตัดสินใจ หรือไม่

3. นโยบายส่วนประสมผลิตภัณฑ์ขององค์กร มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ?

4. องค์กรได้มีการติดตามราคาสินค้าคู่แข่ง เพื่อนำไปพิจารณากำหนดราคาสินค้าหรือไม่

การควบคุมต้นทุนการผลิต
          โดยทั่วไปการลดต้นทุนเป็นเป้าหมายหลักของการควบคุมต้นทุน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกิจกรรมควบคุมการผลิต ดังนั้นประสิทธิผลของการลดต้นทุนจึงขึ้นกับการควบคุมต้นทุนการผลิต โดยมีหัวข้อตรวจสอบ ดังนี้   
1. ได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายหรือจัดสรรต้นทุนในผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นหรือไม่
2. วิธีการคำนวณต้นทุนเหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจหรือลักษณะการผลิต หรือไม่
3. ได้มีการมอบหมายหน่วยงานหรือผู้ที่รับผิดชอบการควบคุมต้นทุนหรือไม่

รูปที่ 6 แผนภาพการจัดสรรต้นทุนให้แต่ละงาน

4. ข้อมูลด้านต้นทุนได้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการจัดทำแผนงานควบคุมสำหรับลดต้นทุน (เช่น การจัดซื้อ เวลาการทำงาน) หรือไม่

5. องค์ประกอบหลักของแผนการลดต้นทุนผันแปร หรือการลดต้นทุนวัตถุดิบ ได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้สำหรับการออกแบบเพื่อเลือกวัสดุอย่างไร ?

รูปที่ 7 กระบวนการใช้งบประมาณเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน

6. มาตรฐานและข้อกำหนดของวัสดุชิ้นส่วน มักมีผลกระทบต่อระดับต้นทุนผันแปร ดังนั้นการวางแผนลดต้นทุนจึงได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาพิจารณาอย่างไร ?

7. ได้มีการจัดทำระบบต้นทุนที่มีความชัดเจนภายในองค์กรหรือไม่ ?

8. ได้มีการกำหนดเป้าหมายสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการลดต้นทุนหรือไม่

 เอกสารอ้างอิง
          1. โกศล  ดีศีลธรรม, Industrial Management Techniques for Executive, บ. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2546.

          2. โกศล  ดีศีลธรรม, การบริหารต้นทุนสำหรับนักบริหารยุคใหม่, บ. อินฟอร์มีเดีย อินเตอร์เนชันแนล จำกัด, 2547.


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด