เนื้อหาวันที่ : 2007-04-04 15:09:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8879 views

การควบคุมการกัดกร่อนของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

ปัญหาการกัดกร่อนโครงสร้างสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานไฟฟ้ากระแสตรงเช่น การเดินรถไฟฟ้าทั้งใต้ดิน บนดิน ใต้น้ำ หรือลอยฟ้า และจากการเชื่อมไฟฟ้าแบบ DC การใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้า และสายส่งไฟฟ้าแบบ DC System เป็นต้น การศึกษา Stray Current จึงมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟ DC

เริ่มต้นสำรวจกระแสจรจัด (Stray Current)

ปัญหาการกัดกร่อนโครงสร้างสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานไฟฟ้ากระแสตรงเช่น การเดินรถไฟฟ้าทั้งใต้ดิน บนดิน ใต้น้ำ หรือลอยฟ้า และจากการเชื่อมไฟฟ้าแบบ DC การใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้า และสายส่งไฟฟ้าแบบ DC System เป็นต้น การศึกษา Stray Current จึงมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟ DC

จากการสำรวจและศึกษาการควบคุมการกัดกร่อนของระบบรถไฟฟ้าในต่างประเทศอย่างแพร่หลาย พบว่าหัวข้อที่ควรดำเนินการประกอบไปด้วย

1. คุณลักษณะของสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อน

2. การประเมินอายุความทนทานของวัสดุ

3. การวางแผนป้องกันการกัดกร่อน

4. การเคลือบแบบป้องกันและการป้องกันแบบ Cathodic

5. การประมาณการขอบเขตของปัญหา Stray Current

การดำเนินการมีการวัดทางเคมี, แบคทีเรีย, ความต้านทานไฟฟ้าของดินตัวอย่างพื้นที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางการเดินรถ ศึกษาการกัดกร่อนของเหล็ก เหล็กหล่อ คอนกรีต ว่าจะเคลือบอย่างไร และประเมินการป้องกัน Cathodic ทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินขนาดของกระแสรั่วไหลโดยสำรวจไปยังท่อแก๊ส ท่อน้ำ โทรศัพท์และการไฟฟ้า จัดทำแบบสอบถามข้อมูลการกัดกร่อนที่จำเป็นไปยังบริษัทที่เกี่ยวข้อง

.

สภาวะแวดล้อมใต้ดิน

การกัดกร่อนมีความสัมพันธ์กับดินโดยรอบอุโมงค์แต่หากเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทะเลสาบหรือทะเลจะมีไอเกลือเข้ามามากโดยทางระบบระบายอากาศในอุโมงค์ และการกัดกร่อนยังมีผลมาจากน้ำที่รั่วซึมในอุโมงค์เป็นผลจากการวางตัวไม่ดีหรือบิดเบี้ยวไปในการก่อสร้าง

การรวมตัวสะสมของฝุ่นแลน้ำมันจากการเดินรถ และโอโซนที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าก็เป็นแฟกเตอร์ที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างช้า ๆ ในอุโมงค์

ผนังแบบ Grout ด้านนอกที่กั้นระหว่างดินกับผนังที่บุด้านในเป็นผนังที่มีความต้านทานการกัดกร่อนดี และคุณลักษณะการกัดกร่อนจะขึ้นกับ

1. น้ำด่างที่มีลักษณะเป็นฟิล์มที่สัมผัสกับโลหะโครงสร้าง

2. อัตราการแพร่กระจายอย่างช้า ๆ ของ Dissolved Oxygen ผ่านผนัง Grout

3. สภาวะแวดล้อมที่ปราศจากสารประกอบคลอรีนและโลหะ

.
การศึกษาป้องกันการกัดกร่อน

มีวิธีการป้องกันที่ได้ศึกษามามากมายเนื่องจากโลหะที่ใช้ไม่ได้เคลือบฟิล์มป้องกันและคอนกรีตถูกทำให้เสื่อมลงจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด

ทางที่ง่ายที่สุดคือการใช้โลหะหนาขึ้นเพื่อยอมให้กัดกร่อน หรือใช้โลหะที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูงเช่น สแตนเลส แต่ราคาจะสูงมาก วิธีต่อมาคือการเคลือบเพื่อให้ความต้านทานไฟฟ้ามากขึ้น มีความทนทานทางเคมี และมีความซึมซับน้ำต่ำ แต่ในบางครั้งการเคลือบแบบนี้อาจไม่เพียงพอเนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน อุปกรณ์ไม่สมบูรณ์ และการเคลือบผิวที่ไม่ดีจะมีผลต่อการกัดกร่อน

การป้องกัน Cathodic ควรจัดให้มีขึ้นเพื่อลดการนำกระแสของผนังด้านในให้เหลือน้อยกว่า 200 ไมโครแอมแปร์/ตารางฟุต ของพื้นที่ด้านในประมาณ 300,000 ตารางฟุต/ไมล์

การใช้ขั้วอาโนดสำหรับลดการกัดกร่อนสามารถใช้ได้ประมาณ 30 ปีตามอายุขั้วอาโนด โดยติดตั้งอันเล็กทีละเซกเมนต์หรืออันใหญ่น้อยอันก็ได้

สำหรับผนังภายในที่เป็นคอนกรีตควรพิจารณาทำการเคลือบและ/หรือทำการป้องกัน Cathodic และทำการวิเคราะห์ความแน่นคอนกรีตและเลือกวัสดุในการก่อสร้างอย่างระมัดระวัง

.

ปัญหาของ Stray Current

Stray Current คือกระแสรั่วไหลที่ไหลผ่านโลหะอื่น ๆ ที่อยู่รอบข้างที่ฝังอยู่ในดิน กระแสจะไหลผ่านรางวิ่งโดยใช้ดินเป็นตัวนำ ในพื้นที่ Cathodic เป็นพื้นที่ที่กระแสไหลเข้าโลหะ ควรทำการเคลือบเพื่อป้องกันการแพร่กระจายไฮโดรเจน และในพื้นที่ Anodic ที่ซึ่งกระแสไหลออกจะเกิดการเสียอิเล็กตรอนทำให้สึกกร่อนขึ้น

ในระบบ AC จะไม่มีปัญหานี้ยกเว้นขณะเกิด Fault แต่ผลกระทบน้อยมากไม่นำมาพิจารณา Factor ที่เกี่ยวข้องที่เกิดปัญหาจาก DC Current มี 2 อย่างคือ

1. Voltage Gradient และแรงดันแตกต่างสูงสุดระหว่างราง

2. ความต้านทานของวัสดุ โครงสร้าง และรูปร่างของท่อที่ฝัง

สำนักมาตรฐานของอเมริกากำหนดให้ Voltage Gradient สูงสุด 0.4 V/1000ft ที่แรงดันสูงสุด 4 V ส่วนการลด Voltage Drop ทำได้โดยการเชื่อมต่อรางเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะ (ลดความต้านทาน)

.

ตัวอย่างการสำรวจดินอุโมงค์ใต้อ่าว San Francisco

จากผลการสำรวจดินอุโมงค์ใต้อ่าวพบว่ามีค่า PH ที่แตกต่างกัน มีค่าสารประกอบคลอรีนและโลหะสูง, ซัลเฟตสูงปานกลาง, ความเข้มข้นของไอออน Bicarbonate เล็กน้อย, ค่าความต้านทานไฟฟ้าของดินมีค่าต่ำ ทำให้ทราบว่าจุดนี้จะเกิดการสึกกร่อนรุนแรงมากกว่าจุดอื่น ๆ ในระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด สามารถทำการแก้ไขโดยการเคลือบผิวด้วยวัสดุที่มีความต้านทานไฟฟ้าสูงและมีความทนทาน 25-100 ปีโดยพ่นรองพื้น 3 มม. และพ่นสารเคลือบ Coal tar fiberglass reinforced.

.

.

.

.

สรุป

ในการป้องกันการสึกกร่อนจะต้องมีการศึกษาเรื่อง การเคลือบผิว, การออกแบบเบื้องต้น, การประมาณการป้องกัน Cathodic, ข้อมูลของการทดสอบในรางทดสอบ, และหาค่า Stray Current เพื่อลดการซ่อมบำรุง เพิ่มอายุการใช้งานและความปลอดภัยในการเดินรถ

.

เอกสารอ้างอิง

- Corrosion Control Studies for Rapid Transit System, Louis J. Kormendy, Bechtel Corporation, Los Angeles, California .

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด