ในภาวะที่ราคาพลังงานยังทรงตัวระดับสูงและมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทางออกที่ดีที่สุดของภาคอุตสหากรรมคือการประหยัดการใช้ไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด
จากสภาวการณ์ที่ราคาพลังงานยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน และอาจยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้านั้น หนทางที่ดีที่สุดของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจในเวลานี้ ก็คงจะเป็นการประหยัดการใช้ไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกช่วงเวลาในการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงค่าไฟฟ้าแพงในช่วงที่ มีความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak) หรือการเปลี่ยน อุปกรณ์ไฟฟ้าในหน่วยงานเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าแล้ว แต่จะยังสามารถช่วยลดภาระของประเทศในการที่จะต้องจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่ม เติมมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย
GENESIS32 จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าให้มากที่สุด เพราะGENESIS32 เป็น SCADA ที่มีความยืดหยุ่นอีกทั้งใช้งานง่าย เราจึงสามารถนำไปใช้ในงานควบคุมต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ
1.ใช้ SCADA ควบคุม Demand ไฟฟ้า
เราสามารถใช้ SCADA ควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อควบคุมค่าไฟฟ้าได้ โดยใช้ SCADA ตรวจสอบระดับ Demand หากเพิ่มสูงจนถึงระดับที่กำหนดก็สั่งตัดการจ่ายไฟให้แก่พื้นที่หรือเครื่อง จักรที่มีความจำเป็นน้อยกว่า เมื่อระดับ Demand ลดลงจนเข้าสู่ภาะวะปกติจึงค่อยสั่งจ่ายไฟอีกครั้ง โดยมีการป้องกันผลกระทบกรณีสัญญาณ Demand เพิ่ม/ลดกลับไปมา(กระเพื่อม)ผ่านระดับ Limit ได้ด้วย Deadband และ Delay ซึ่งพิเศษกว่า Software และ Controller ทั่วไป
Introduction
ค่า Demand ทางไฟฟ้าหากไม่ควบคุมให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงเกินความจำเป็น การคอยควบคุมโดยใช้คนบางครั้งไม่เท่าทันเหตุการณ์ และไม่สะดวก เราสามารถใช้ SCADA ในการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการการตัดไฟฟ้าส่วนที่ไม่จำเป็น เมื่อค่า Demand เกินระดับที่กำหนด การใช้ GENESIS32 จะสามารถดำเนินการควบคุม Demand ให่้โรงงานหรือหน่วยงานโดยอัตโนมัติได้
หลักการ
- ใช้ AlarmWorX ตรวจสอบระดับ Demand จาก Power Meter ว่าสูงกว่า Limit ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยกำหนด Delay time และค่า Deadband ด้วยเพื่อป้องกันกรณีสัญญาณ ที่ได้รับมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงอย่างรวดเร็วผ่นจุด Limit เพื่อให้มั่นใจว่า Demand สูงเกินกำหนดจริงไม่กระเพื่อมกลับไปกลับมาระหว่าง Limit (Setpoint)
- เมื่อ Alarm เปลี่ยนสถานะเป็น Active เราจะเอาสัญญาณนี้ไปสั่งตัดไฟฟ้า จุดเดียวหรือหลายจุดแล้วแต่การวางแผน โดยสั่งงานไปที่ DO ของ PLC หรือ Remote IO ที่กระจายอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ ของโรงงาน และที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนต่าง ๆ ให้เปิดวงจรหรือหยุดทำงานของอุปกรณ์
โครงสร้างของ SCADA System เป็นดังนี้
จากรูป GENESIS32 รับสัญญาณ Demand จาก Power Meter หลัก จากนั้นจะควบคุม PLC, Remote IO หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบเครือข่าย
Deadband เพื่ออะไร ใช้อย่างไร
ในระบบ Alarm เมื่อสัญญาณถึงระดับลิมิตที่กำหนดเช่น Hi และกรณีที่สัญญาณมีการกระเพื่อมเพิ่ม ๆ ลดๆ กลับไปกลับมาผ่านจุด Limit (Setpoint) ก็จะเกิด Alarm ถี่ ซึ่งอาจรบกวนการทำงานได้ และในกรณีนำไปใช้ตัดไฟฟ้าก็อาจจะทำให้อายุการใช้งานอุปกรณ์ลดลง ในกรณีเช่นนี้เราสามารถใช้ Deadband กำจัดผลของการกระเพื่อมของสัญญาณได้
หลักการของ Deadband
ยกตัวอย่างดังนี้ หากสัญญาณ Alarm Hi ถูกกำหนดไว้ที่ 10 และสัญญาณในระดับ Alarm มีการกระเพื่อมตั้งแต่ 9.95 ถึง 10.05 แบบนี้จะทำให้เกิด Alarm ดับ ๆ ติด ๆ หรือกระเพื่อมขึ้น แต่เมื่อเรากำหนด Deadband ของ Alarm เป็น 0.1เข้าไป เมื่อสัญญาณ > 10 Alarm ก็จะเกิดและเมื่อสัญาณลดเป็น 9.95 Alarm ก็ยังคงอยู่เพราะความแตกต่างระหว่าง Limit กับสัญญาณยังไม่เกิน 0.1
ดังนั้นจึงสามารถป้องกันผลของการกระเพื่อมของสัญญาณได้ เมื่อสัญญาณลดลงไปถึง 9.9 Alarm จึงจะหายไป และเมื่อสัญญาณ > 10 อีกครั้งก็จะเกิด Alarm ขึ้น ทั้งนี้ Deadband จะเป็นประโยชน์มากในงานควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่า Alarm นั้นได้หายไปแล้วจริง ๆ ไม่มีการกลับไปกลับมา ใน GENESIS32จะมีฟีเจอร์แบบ Deadband นี้อยู่ใน AlarmWorX32
การเปลี่ยนแปลง Demand Limit ตามช่วงเวลา
เช่นกรณีการคิดค่าไฟฟ้าแบบ TOU/TOD เราจำเป็นต้องกำหนด Demand Limit ตามช่วงเวลานั้น ๆ ตามที่วางแผนไว้เนื่องจาก บางช่วงไม่คิดค่า Demand บางช่วงคิดถูก บางช่วงคิดแพง เช่น TOD ช่วง Off-Peak ไม่มีการคิดค่า Demand สูงสุด เป็นต้น เช่นนี้แล้ว เราก็สามารถใช้ Genesis32 เปลี่ยน Demand Limit โดยอัตโนมัติตามช่วงเวลาได้
ข้อดีของการใช้ SCADA ควบคุมค่า Demand
1. ควบคุม Demand ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมการตัดการทำงานของอุปกรณ์หรือไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึงผ่าน โดยอัตโนมัติ ระบบเครือข่ายไปยัง PLC, Remote IO, Device ณ จุดต่าง ๆ ของโรงงาน ต่างจาก Demand Controller เดี่ยว ๆ ที่ไม่สามารถทำงานแบบ Network และต้องต่อพ่วงหรือรับ Pulse จาก Power Meter โดยตรง
2. ขยาย IO เพิ่มได้ตามต้องการแล้วต่อเข้ากับ SCADA ผ่าน Network (RS485, Ehernet, WiFi, ฯลฯ)
3. แก้ไขและจัดการง่าย ที่เดียวที่ Control Room เช่นแก้ไข Demand Limit, Delay Time
4. สามารถดูการรายงานแจ้งเตือนย้อนหลังว่ามีการตัดไฟ ณ เวลาใด ๆ บ้าง
5. สามารถดูปริมาณการใช้ไฟฟ้าแบบ Real time และย้อนหลังได้
6. ลดต้นทุนในการพัฒนาในกรณีที่มีการใช้หรือต้องการใช้ SCADA เพื่องานส่วนอื่นอยู่แล้ว
7. สามารถเปลี่ยน Schedule การกำหนดค่า Limit Setpoint ได้
8. ตั้ง Step การตัดไฟฟ้าได้ตามต้องการ ทั้งจำนวน Step และ Delay ระหว่าง Step (ดูตัวอย่าง VDO ด้านล่าง)
การตั้งค่า Limit และ Delay time ใน AlarmWorX32
ใน AlarmWorX32 ของ GENESIS32 นี้ก็เพื่อตรวจสอบ Demand อย่างมีประสิทธิภาพและจะนำไปใช้ตัดไฟฟ้าในส่วนที่มีความสำคัญน้อยกว่าเพื่อ ลดค่า Demand ในบิลค่าไฟฟ้าได้
รูปที่ 1 สร้าง Alarm Tag สำหรับตรวจสอบ Demand
จากรูปที่ 1 เป็นตัวอย่างการสร้าง Alarm Tag สำหรับตรวจสอบค่า Demand ที่ได้จาก Power Meter เช่น 500 kW และมี Deadband อยู่ที่ 10 kW
รูปที่ 2 การตั้งค่า Delay Time
จากรูปที่ 2 Delay Time ในตัวอย่างนี้ใช้ 30 วินาที
เมื่อ Demand สูงกว่า 500 kW เป็นระยะเวลา 30 วินาทีขึ้นไปจะทำให้ Alarm ตัวนี้ Active และสามารถนำไปสั่งตัดไฟบางส่วนได้
เมื่อ Demand ลดลงเป็น 495 kW Alarm ตัวนี้จะยัง Active อยู่ เพราะเรากำหนด Deadband ไว้ที่ 10 จนกว่าเมื่อลดลงถึง 490 Alarm ก็จะหายไป จนกว่าเมื่อ Demand สูงถึง 500 ในรอบต่อไปอีกครั้ง การกำหนด Deadband และ Delay นี้เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการกระเพื่อมของสัญญาณเพราะมันจะทำให้มีการตัดต่อ Load กลับไปกลับมาในเวลาอันสั้น ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการเพราะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหายได้
การตั้งค่าใน DataWorX ให้ตัดไฟ
สร้าง Register ขึ้นมาใน DataWorX ให้ Input เป็นแบบ Expression
รูปที่ 3 การสร้าง Register ขึ้นมาใน DataWorX
จากรูปที่ 3 คลิ้กปุ่ม Edit เข้าไปสร้าง Expression แล้วคลิ้กปุ่ม Tag เพื่อไปเอา Alarm Tag มาเป็นเงื่อนไข คลิ้ก OK
รูปที่ 4
ใน Expression เราใส่เครื่องหมาย Not (!) เพื่อกลับสถานะ Active หรือ 1 ให้กลายเป็น 0 เพื่อเอาไปสั่ง DO ซึ่งจะทำการเปิดวงจร หรือหยุดการทำงานอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าอยู่
! {{ICONICS.AlarmServer_.1\Demand.Active}}
คลิ้ก OK ออกจาก Expression Editor
นำเข้า OPC Outputs ที่ต้องการสั่ง On/Off ดังรูปที่ 5
โดยสามารถนำเข้าหลาย Output ได้ เช่นถ้าต้องการตัดต่อไฟ 10 จัดก็ใช้ 10 Output เป็นต้น ซึ่ง Output แต่ละตัวก็คือ IO ของ PLC, Remote IO หรืออุปกรณ์ที่กระจายอยู่ ณ จุดต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งจ่ายไฟให้ระบบแสงสว่าง และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสำคัญน้อยกว่า
รูปที่ 5 การนำเข้า OPC Outputs ที่ต้องการสั่ง On/Off
เลือก Apply แล้วสั่ง Start DataWorX32 หรือให้เริ่มทำงานพร้อม Windows เท่านี้เมื่อเกิด Alarm ที่ Demand tag ที่เราสร้างขึ้นก็จะมีการตัดไฟจุดนั้น ๆ ที่เอาได้เพิ่มเข้ามาในรายการ OPC Output
การตั้งค่าให้ปรับ Limit Setpoint ของ Demand ตามช่วงเวลา
ScheduleWorX32 โมดูลย่อยใน GENESIS32 ที่สามารถทำงานได้อิสระเช่นเดียวกับโมดูลย่อยอื่น ๆ ของ GENESIS32 ใช้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมแบบตารางเวลา เช่นประจำวัน หรือตามช่วงเวลาที่กำหนด มีเครื่องมือที่ใช้งานง่ายแบบ Calendar สามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องการเพื่อใส่การควบคุมไปยัง OPC Server ที่ควบคุม PLC, DCS, Controller หรือ RTU ต่าง ๆ สามารถควบคุม SNMP Device ต่าง ๆ รวมทั้ง Database สามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการกำหนด Flow การควบคุมอัตโนมัติ งานเพื่อการควบคุมโหลดและจัดการพลังงาน งานที่ต้องการวางแผนการควบคุมแบบตารางเวลา การควบคุุมแบบ Batch และอื่น ๆ อีกมากมาย
เราจะใช้ ScheduleWorX Configurator เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงค่า Limit ของ Demand โดยสามารถกำหนดในรูปแบบวันจันทร์ – อาทิตย์ วันหยุด และกำหนดวันที่โดยตรงก็ได้
รูปที่ 6
ยกตัวอย่างเช่น กรณี TOU เรากำหนดให้ช่วง 9:00 – 22:00 มีการกำหนด Limit ของ Alarm ที่ชื่อ Demand ที่เราสร้างขึ้นในรูปที่ 1 (HiHi) ให้เป็น 500 ส่วนในช่วงเวลาหลัง 22:00 เป็นต้นไปถึง 9:00 ของอีกวันก็ให้เป็น 1000 เป็นต้น
รูปที่ 7 ตัวอย่างการสร้าง ValueSet ใน ScheduleWorX
รูปที่ 8 ตัวอย่างนำเข้า Alarm Limit ที่ต้องการควบคุมจาก AlarmWorX
จากรูปที่ 8 จะเห็นว่าเราพบกิ่ง Demand ขณะที่จะนำเข้า ValueSet Tag ใน ICONICS.AlarmServer_.1 เมื่อเราเลือก Demand ก็จะพบ tag ชื่อ LIM_HIHI_Limit ซึ่งเป็น Limit HIHIในรูปที่ 1 ของ AlarmWorXนั้นเอง
จากขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาในข้างต้น เราสามารถใช้ GENESIS32 กำหนดและตรวจสอบระดับ Demand ตามระดับที่กำหนดได้อย่างง่ายดาย และยังเป็นการป้องกันผลกระทบกรณีสัญญาณ Demand เพิ่ม/ลดกลับไปมา(กระเพื่อม)ผ่านระดับ Limit ได้ด้วย เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าแล้ว และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าให้มากขึ้นอีกด้วย
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด