เนื้อหาวันที่ : 2007-04-03 11:26:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7526 views

แนวคิดการบริหารผลิตภาพโดยรวม

ปัจจุบันสภาวะการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องดำเนินการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก แนวทางบริหารผลิตภาพโดยรวมได้มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการสร้างสรรค์

ปัจจุบันสภาวะการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องดำเนินการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งปัจจัยสนับสนุนเหล่านี้จะประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ดังเช่น

 .

-  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) อย่างมีประสิทธิผล เพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ

-  ความสามารถในการวางแผนจำแนกคุณลักษณะทางคุณภาพของผลิตภัณฑ์/บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
-  การลดช่วงเวลานำการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้แข่งขันได้ตลาดภายในและระหว่างประเทศ

-  การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้มีความเป็นระเบียบ

.

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สร้างความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ นั่นคือ การบริหารผลิตภาพโดยรวม (Total Productivity Management) หรือ TPM ซึ่งสามารถนิยามความหมายได้จากองค์ประกอบ ดังนี้

. 
Total: ทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในทิศทางเดียวกัน

Productivity: ประสิทธิผลจากการเพิ่มความสามารถในการสร้างผลิตผลให้กับองค์กร

Management: ความเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจ

. 
องค์ประกอบการบริหารผลิตภาพโดยรวม  
. 
ความชัดเจน (Clearity): ประเด็นทุกอย่างที่เกี่ยวข้องต้องมีความชัดเจน     

ความแน่นอน (Certainty): ผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรมสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ

ความเชื่อมั่น (Confidence): ทุกคนมีความไว้ใจกันและถูกกระตุ้นให้ทำงานเป็นทีม

. 

สำหรับแต่ละองค์ประกอบของ TPM (3C) สามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้

.

- ความชัดเจน (Clearity) 

1. การจัดทำวัตถุประสงค์โดยรวม (Overall Objective) เพื่อแสดงถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กรที่มีความชัดเจน

2. แสดงวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรมที่สามารถวัดผลในเชิงปริมาณและระดับความสำคัญที่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์โดยรวมของธุรกิจ

3. สามารถแสดงความคืบหน้าของผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน

. 

-  ความแน่นอน (Certainty)

1. สร้างความเชื่อมั่นว่าผลการดำเนินในแต่ละกิจกรรม (Individual Activity) ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนำมาสู่การบรรลุวัตถุประสงค์โดยรวม

2. สามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานแต่ละคนได้มีความรับผิดชอบและสนับสนุนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์โดยรวมของธุรกิจ

. 

- ความเชื่อมั่น (Confidence)

1. สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการทำงานเป็นทีมโดยให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวางแผน

2. กระตุ้นให้แต่ละฝ่ายงานและพนักงานแต่ละคนมีความร่วมมือระหว่างกันภายในองค์กรโดยมุ่งผลลัพธ์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ

. 

TPM กับบทบาทการปรับปรุงผลิตภาพ

โดยทั่วไปแนวทางหลักในประเด็นของผลิตภาพจะประกอบด้วย การวัดผลิตภาพ (Productivity Measurement) และการปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity Improvement) สำหรับ TPM จะมีบทบาทหลักในส่วนหลัง ซึ่งแนวทางหลักของผลิตภาพจะมีรายละเอียด ดังนี้

. 

-  การวัดผลิตภาพ

. 

โดยทั่วไปการวัดผลิตภาพจะแสดงในรูปของผลิตผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเทียบต่อหน่วยของปัจจัยนำเข้า ดังนั้นการวัดผลิตภาพจึงมีบทบาทไม่เพียงแค่ถูกใช้สำหรับเปรียบวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเทียบกับเป้าหมาย แต่ยังถูกใช้ในการเปรียบเทียบผลิตภาพในแต่ละรอบเวลา ซึ่งการวัดผลิตภาพจะขึ้นกับประเภทธุรกิจ ดังเช่น ธุรกิจการผลิตมักแสดงผลิตภาพที่เกิดขึ้นด้วยปริมาณของหน่วยชิ้นงาน จากกระบวนการแปรรูปเทียบกับทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้าที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการ สำหรับธุรกิจห้างสรรพสินค้าก็อาจวัดผลิตภาพด้วยมูลค่าของยอดขาย เทียบกับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานและการขาย

. 

.

รูปที่ 1 แผนภาพแนวทางวัดผลิตภาพ

.

ตัวอย่าง การวัดผลิตภาพจากปัจจัยนำเข้าและผลิตผลในธุรกิจต่าง ๆ

.

.

จากที่กล่าวนิยามผลิตภาพในข้างต้นว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลิตผลและปัจจัยนำเข้าที่ถูกใช้ในการแปรรูปสินค้าหรือการให้บริการ ดังนั้นการวัดผลิตภาพในขั้นแรกจะทำการวัดผลิตผล แล้วจึงทำการระบุปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ ในรูปของทรัพยากรต่าง ๆ และปัจจัยที่จำเป็นต่อกิจกรรมการผลิต เช่น ชั่วโมงการทำงาน เครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น แล้วจึงทำการวัดผลิตภาพ ซึ่งโดยทั่วไปการวัดผลิตภาพ สามารถจำแนกได้ ดังนี้

.

1.Individual Productivity: เป็นการวัดผลิตภาพในเชิงกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้าการผลิต ดังเช่น ผลิตภาพแรงงาน, ผลิตภาพเครื่องจักร, ผลิตภาพการใช้วัสดุ เนื่องจากหน่วยวัดผลิตภาพจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของปัจจัย ซึ่งต้องมีการพิจารณาแยกส่วนจากกัน จึงมักมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Partial Productivity" ซึ่งการวัดแบบแยกส่วนนี้จะช่วยให้ตรวจสอบได้ว่าทรัพยากรแต่ละส่วนได้ถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร โดยสามารถนิยามและแสดงด้วยความสัมพันธ์ได้ดังนี้

.

-  ผลิตภาพแรงงาน เป็นการแสดงปริมาณด้วยผลิตผลที่เกิดขึ้นต่อหน่วยของปัจจัยนำเข้า (แรงงาน) เช่น ชั่วโมงแรงงาน ปริมาณแรงงานที่ใช้  ค่าแรงงาน

.

- ผลิตภาพเครื่องจักร แสดงด้วยปริมาณของผลิตผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเทียบกับปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร เช่น ชั่วโมงเดินเครื่อง (Machine-hour) ค่าใช้จ่ายการเดินเครื่องจักร

.

- ผลิตภาพการใช้วัสดุ แสดงด้วยปริมาณผลิตผลจากการผลิตต่อหน่วยวัสดุที่นำเข้ากระบวนการ เช่น ต่อตัน

.

2.Total Productivity: เป็นการวัดผลิตผลที่เกิดจากการนำปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรมากกว่าหนึ่ง เช่น มูลค่าของผลิตผล ต่อ มูลค่ารวมของทรัพยากร เช่น แรงงาน วัตถุดิบ พลังงาน เป็นต้น เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือปัจจัยนำเข้าในกระบวนการแปรรูป ซึ่งปัจจัยนำเข้ามักแสดงด้วยหน่วยที่แตกต่างกัน  ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงในรูปของมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value) ดังเช่น

.

.

- การปรับปรุงผลิตภาพ

.

กิจกรรมปรับปรุงผลิตภาพตามแนวคิดของการบริหารผลิตภาพโดยรวมจะมุ่งสร้างผลิตผลสูงสุดในรูปของผลกำไร หรือการให้บริการที่เป็นเลิศต่อลูกค้า ซึ่งผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นสำคัญ นั่นคือ

 

 

1. วัตถุประสงค์โดยรวม (Overall Objective) เป็นประเด็นที่มุ่งประสิทธิผลจากการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในรูปเชิงปริมาณและเกี่ยวข้องกับประเด็น/หัวข้อ (Theme) สำหรับการปรับปรุง ดังเช่น การลดต้นทุน การเพิ่มปริมาณการผลิต การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การเพิ่มคุณภาพชีวิตการทำงาน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมปรับปรุงผลิตภาพจะมีประสิทธิผลเมื่อวัตถุประสงค์โดยรวมได้ถูกแจกแจงเป็นวัตถุประสงค์ย่อยและสามารถบรรลุผลได้ในแต่ละกิจกรรมปรับปรุง (Individual Activity)

.

.

รูปที่ 2 แผนภาพแนวทางปรับปรุงผลิตภาพ

.
2. แนวทางคัดเลือกกลยุทธ์ (Strategy Selection Guidelines) โดยทั่วไปผลิตภาพจะประเมินจากมุมมอง ดังนี้
-  ด้านปัจจัยนำเข้า (Output Side) โดยมุ่งบรรลุวัตถุประสงค์โดยรวม
-  ด้านกระบวนการ (Process Side) เกี่ยวข้องกับเกณฑ์คัดเลือกกลยุทธ์ นั่นคือ การใช้ปัจจัยนำเข้าเทียบกับผลิตผลที่เกิดขึ้น
.

สำหรับการคัดเลือกกลยุทธ์จะประเมินทางเลือกที่ส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์โดยรวมขององค์กร (Organization‘s Overall Objectives) และสามารถสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงสุด ดังเช่น การลดความสูญเสียจากปัญหาคุณภาพ การลดรอบเวลาการปฏิบัติงาน ป็นต้น   

.

แนวทางดำเนินการปรับปรุงผลิตภาพ

.

สำหรับการนำแนวคิดการบริหารผลิตภาพโดยรวม ไปดำเนินการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิผลจะประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ดังนี้

1.แนวทางจากบนลงล่าง (Top-down Approach) โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการปรับปรุงผลิตภาพ และกระจายวัตถุประสงค์ (Objective Deployment) ไปในแต่ละพื้นที่ตามลำดับความสำคัญ (Priority Area) รวมทั้งการเลือกกลยุทธ์และแนวทางเพื่อการเพิ่มผลิตภาพโดยรวม

.

.

รูปที่ 3 แผนภาพเปรียบเทียบแนวทางระหว่าง Top-down กับ Bottom-up

.

2. แนวทางจากล่างไปบน (Bottom-up Approach) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสนับสนุนเพื่อมุ่งสร้างผลิตภาพด้วยการปรับปรุงสถานที่ทำงาน ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้

- การสำรวจพื้นที่ทำงานอย่างใกล้ชิด

- การระบุ/จำแนกพื้นที่ซึ่งเกิดความสูญเปล่าเกิดขึ้นและต้องดำเนินการปรับปรุง
- กำหนดแนวทางแก้ไขและดำเนินการปรับปรุงพื้นที่เหล่านั้น

- ติดตามความคืบหน้าและผลลัพธ์ของการปรับปรุงในแต่ละพื้นที่

.
บทสรุป

เนื่องจากแนวทางบริหารผลิตภาพโดยรวมได้มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการสร้างสรรค์ (Creativity) จากทีมงาน ดังนั้นพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้สึกถึงความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความองค์กรสู่ความเป็นเลิศและสามารถแข่งขันได้ในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง

.

เอกสารอ้างอิง

1.โกศล ดีศีลธรรม, กลยุทธ์และกลวิธีการเพิ่มผลิตภาพ, บริษัท เอกซเปอร์เน็ท จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546.

2.โกศล ดีศีลธรรม, การสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ, บริษัท เอกซเปอร์เน็ท จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546.

3.โกศล ดีศีลธรรม, การเพิ่มผลิตภาพในงานอุตสาหกรรม, สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, 2546.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด