เนื้อหาวันที่ : 2007-04-03 11:04:04 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 6163 views

การเพิ่มประสิทธิภาพงานตัดด้วยเลเซอร์แบบ Micro Water-jet

การใช้แสงเลเซอร์ในงานตัดถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเพราะมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนานแล้ว โดยเทคนิคดั้งเดิมมีการใช้แก๊สปกคลุมรอยตัดขณะตัดด้วยแสงเลเซอร์ แต่วิธีการดังกล่าวมีข้อจำกัดคือ แสงไม่สามารถตัดวัสดุหนา ๆ ได้เนื่องจากลำแสงที่บานออกเรื่อย ๆ ทำให้การควบคุมขนาดรอยตัดลึกลงไปทำได้ลำบาก

การใช้แสงเลเซอร์ในงานตัดถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเพราะมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนานแล้ว โดยเทคนิคดั้งเดิมมีการใช้แก๊สปกคลุมรอยตัดขณะตัดด้วยแสงเลเซอร์ แต่วิธีการดังกล่าวมีข้อจำกัดคือ แสงไม่สามารถตัดวัสดุหนา ๆ ได้เนื่องจากลำแสงที่บานออกเรื่อย ๆ ทำให้การควบคุมขนาดรอยตัดลึกลงไปทำได้ลำบากโดยเฉพาะวัสดุที่มีความหนามากกว่า 1 mm รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ตัดจะเกิดความร้อนสูง และมีเศษจากการตัดกลับเข้าไปติดอยู่บริเวณรอยตัดทำให้รอยตัดสกปรกและไม่เรียบคม ดังนั้นหลังการตัดจึงต้องการกระบวนการทำความสะอาดรอยตัดอีกที เรียกว่าการทำ "Post-treatment"

.

.

แต่ด้วยข้อดีหลาย ๆ อย่างของการตัดด้วยแสงเลเซอร์เช่น มีความยืดหยุ่นสูงมากในการแปรค่าความเร็วตัด และสามารถเจาะรูขนาดเล็กมากได้ จึงทำให้นักวิจัยและพัฒนาพยายามลดข้อจำกัดและ ข้อเสียของการตัดด้วยแสงเลเซอร์ลง โดยในปี ค.ศ.1993 ทีมงานนักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาทางด้านออปติกในสวิตเซอร์แลนด์ ( Institute of Applied Optics of the Swiss Federal Institute of Technology) ประสบความสำเร็จในการนำลำน้ำเล็ก ๆ (Micro Water-jet) เข้ามาใช้ร่วมกับแสงเลเซอร์ทำให้ขีดความสามารถในการตัดเพิ่มขึ้นมาก โดยสามารถตัดวัสดุที่หนาขึ้นได้และมีการกำจัดเศษตัดที่ดีมากทำให้รอยตัดมีความเรียบคมและสะอาด

.

หลักการดังกล่าวเป็นการนำเทคนิคของแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ชนิด Pulsed Fiber Laser ที่มีไฟเบอร์ออปติกชนิดพิเศษนำแสงพลังงานสูงที่มีลักษณะลำแสงตรงมากผ่านเข้าไปในลำน้ำบาง ๆ (มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำน้ำ 30-60 mm)  ดังรูปที่ 1 ทำให้แสงเลเซอร์ไปตัดชิ้นงาน ณ ตำแหน่งที่ลำน้ำพุ่งไป โดยไฟเบอร์เลเซอร์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความกะทัดรัดและให้คุณภาพแสงเลเซอร์ที่ดีเยี่ยม รวมทั้งแสงที่ได้ยังมีความเสถียรสูงมาก ส่วนลำน้ำเล็ก ๆ ดังกล่าว หรือ Micro Water-jet สร้างได้โดยการปั๊มน้ำเข้าไปไว้ในห้องเก็บแรงดัน (Pressurized Chamber) ที่รับแรงดันได้ถึง 50-500 barsแล้วอัดน้ำให้ผ่านหัวฉีด (Nozzle) ที่ทำจากเพชร (Diamond) หรือหัวฉีดที่ทำจาก Sapphire คุณภาพดี จะเกิดไมโครเจ็ทดังรูป โดยเจ็ทที่ได้มีค่าความดันคงที่ ขณะที่แสงวิ่งผ่านเจ็ทแสงจะเกิดการหักเหภายในเจ็ทเนื่องจากค่า Refractive Index ที่ต่างกันระหว่างเจ็ทและอากาศ  ดังนั้นเจ็ทจะทำหน้าที่เสมือนไฟเบอร์ออปติกชนิด Multimode Fiber ที่มีค่า NA สูงมาก ๆ ทำให้ลำแสงไม่บานออกไปเรื่อย ๆ จึงทำให้แสงสามารถตัดวัสดุได้หนาขึ้น

.

ผู้ผลิตรายแรก ๆ ที่ได้คิดค้นและผลิตเครื่องมือตัดที่ใช้นำลำน้ำเข้ามาช่วยควบคุมทิศทางของลำแสงเลเซอร์ในขณะตัด อย่างบริษัท Synova ได้จัดตั้งทีมงานนักออกแบบของบริษัทขึ้นเอง โดยมีความร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้าน fiber laser จากบริษัท IPG Photonics ร่วมกันออกแบบในครั้งนี้ โดยจุด-ประสงค์หลักที่ตั้งไว้คือเครื่องมือตัดที่จะสร้างต้องเป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษา ส่วนชนิดของ fiber laser ที่ทางบริษัท Synova ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์คือ Nd: YAG เลเซอร์ ซึ่งให้แสงที่ความยาวคลื่น 1060 nm กินกำลังเฉลี่ย 100 W และปล่อยสัญญาณพัลส์ (Pulse) ในช่วงคาบ 100 ns และ 1 micros ที่อัตราความถี่ระหว่าง 20 และ 50 Hz

.

ทั้งนี้เครื่องมือตัดที่ใช้เทคนิคดังกล่าวยังให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งอีกหลายอย่างคือคุณภาพงานตัดที่ได้จัดอยู่ในขั้นดีเยี่ยม  “Exceptional Quality” เพราะน้ำเป็นตัวสำคัญที่ช่วยลดอุณหภูมิของชิ้นงาน ณ บริเวณรอยตัดลง ทำให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิสูงที่เรียกว่า “Heat-affected Zone” (HAZ) เล็กลง และโมเมนตัมของเจ็ทยังช่วยนำเศษตัดออกไปด้วย ทำให้ขอบตัดมีความเรียบคมและสะอาด “Clean Cut” รวมทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ต้องการการบำรุงรักษาเลย “Maintenance-free”

.

.

การประยุกต์ใช้งานตัดหลัก ๆ คือ งานตัดแท่งโลหะ งานตัดแผ่นโลหะและวัสดุแผ่น (สามารถตัดวัสดุได้หลายชนิด) รวมทั้งวัสดุที่ทั้งแข็งและเปราะอย่างซิลิกอนเวเฟอร์ (Silicon Wafer) โดยเครื่องมือที่บริษัท Synova ออกแบบสามารถที่จะตัดซิลิกอน เวเฟอร์หนา 50 ไมครอน (mm) ที่ความเร็วตัด 200 mm/s ดังเช่นรูปที่ 2 และสามารถเจาะรูชิ้นงาน สแตนเลส (Stainless Steel) ที่หนา 50 ไมครอน (mm) ได้ 25,000 รู ใน 1 ชั่วโมง

.

.

เทคนิคการตัดแบบนี้มีใช้ทั้งในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมด้านพลังงานแสงอาทิตย์

.

ข้อมูลอ้างอิง

1. Bernold Richerzhagen John Manley Roy Housh Frank Wagne, “Water-guided lasers create clean cuts”, Laser Focus World May, 2004

2. http://www.synova.ch/

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด