เนื้อหาวันที่ : 2011-06-20 18:21:37 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5117 views

การวิเคราะห์ต้นทุนภาษี (Tax Cost Analysis)

แม้ว่าแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีนั้นยังคงเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่กระบวนการวิเคราะห์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนภาษี ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          แม้ว่าแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีนั้นยังคงเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่กระบวนการวิเคราะห์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนภาษี ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ รูปแบบของภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บนั้นอาจมีหลายลักษณะ แต่สำหรับในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนของภาษีเงินได้ (Income Taxes) ไม่ว่าธุรกิจจะมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรหรือขาดทุนก็ตาม ธุรกิจเหล่านั้นยังคงมีความเกี่ยวพันกับภาษีเงินได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะละเลยถึงผลกระทบของภาษีเงินได้ที่มีต่อการประเมินค่าโครงการได้ เนื้อหาในส่วนต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงผลกระทบของภาษีเงินได้ที่มีผลต่อธุรกิจ

          แม้ว่าแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีนั้นยังคงเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่กระบวนการวิเคราะห์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนภาษี ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ รูปแบบของภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บนั้นอาจมีหลายลักษณะ แต่สำหรับในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนของภาษีเงินได้ (Income Taxes) ไม่ว่าธุรกิจจะมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรหรือขาดทุนก็ตาม ธุรกิจเหล่านั้นยังคงมีความเกี่ยวพันกับภาษีเงินได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะละเลยถึงผลกระทบของภาษีเงินได้ที่มีต่อการประเมินค่าโครงการได้ เนื้อหาในส่วนต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงผลกระทบของภาษีเงินได้ที่มีผลต่อธุรกิจ

กระแสเงินสดเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิ 
          สืบเนื่องมาจากอดีตนั้นแนวคิดทางการบัญชีมุ่งให้ความสนใจไปที่กำไรสุทธิซึ่งหมายความว่าต้องการประเมินค่าถึงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามมักมีข้อโต้แย้งจากบุคคลในกลุ่มสาขาอื่น ๆ ว่าทำไมข้อมูลของกระแสเงินสดที่มีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างแท้จริงจึงไม่ถูกนำมาใช้ในการประเมินมูลค่าโครงการ  กำไรสุทธินั้นเป็นเพียงการประเมินค่าผลตอบแทนในทางบัญชีโดยใช้หลักการพื้นฐานในส่วนของแนวคิดการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย (Matching Concept) ต้นทุนจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการนำต้นทุนของสินทรัพย์นั้นไปจับคู่เพื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา แต่ในความเป็นจริงนั้นมูลค่าของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลาเหล่านั้นได้ถูกละเลยไป

ตัวอย่างที่ 1
          เราสามารถทำประมาณการกระแสเงินสดอย่างง่าย ๆ โดยการตรวจสอบรายการในงบกำไรขาดทุนและพิจารณาว่ารายการใดมีการรับเป็นเงินสด หรือจ่ายเป็นเงินสดจริง กรณีของตัวอย่างนี้แสดงได้ดังตารางที่ 1 ดังนี้

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบกำไรสุทธิและกระแสเงินสดรับสุทธิ

          จากตารางที่ 1 ข้างต้นคอลัมน์ที่ 2 แสดงการคำนวณหากำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในขณะที่คอลัมน์ที่ 3 แสดงการคำนวณหาประมาณการกระแสเงินสดรับสุทธิ รายได้จากการขายจำนวน 1,000,000 บาท เป็นการขายเงินสดทั้งหมด ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (ยกเว้นจากค่าเสื่อมราคา) จำนวน 520,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเป็นเงินสด ดังนั้นสามารถนำไปหักออกจากรายได้ที่เป็นเงินสดทำให้คงเหลือกระแสเงินสดเท่ากับ 480,000 บาท (1,000,000-520,000) ส่วนค่าเสื่อมราคาไม่มีการจ่ายเป็นเงินสดในแต่ละช่วงเวลาจึงไม่สามารถนำค่าเสื่อมราคาจำนวนนี้มาคำนวณหักเพื่อประมาณการกระแสเงินสดได้ และสำหรับค่าภาษีเงินได้จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดจึงสามารถนำมาหักออกจากเงินสดรับคงเหลือที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้จำนวน 480,000 บาท ดังนั้นกระแสเงินสดสุทธิประมาณการจากการดำเนินงานเท่ากับ 420,000 บาท ตรวจสอบความถูกต้องดังกล่าวได้จากภาพที่ 2 ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ากระแสเงินสดสุทธิจะเท่ากับกำไรสุทธิบวกค่าเสื่อมราคา แสดงได้ดังนี้

 

รูปที่ 1 กำไรสุทธิเปรียบเทียบกระแสเงินสดสุทธิ

ผลกระทบทางภาษีเนื่องจากความแตกต่างของวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา 
          นอกจากการคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงแล้ว นโยบายการบัญชีสามารถให้เลือกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีคิดค่าเสื่อมราคาได้อีกหลายลักษณะ เช่น การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีทรัพยากรที่ใช้ไป (ชั่วโมงการทำงานหรือจำนวนผลผลิต) การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปี หรือการคิดค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณ เป็นต้น การคิดค่าเสื่อมราคาแต่ละวิธีนั้นจะมีผลทำให้มูลค่าของค่าใช้จ่ายปันส่วนที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้นมีจำนวนที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะทำให้ผลประโยชน์ทางภาษี (Tax Shield) เนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมีจำนวนที่แตกต่างกันไปด้วย

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคิดมูลค่าของค่าเสื่อมราคาและผลประโยชน์ทางภาษี ตลอดอายุของโครงการนั้นยังคงมีจำนวนที่เท่ากันเมื่อยังไม่ได้นำปัจจัยในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลามาร่วมคำนวณด้วย แต่ถ้ามีการนำมูลค่าของเงินมาพิจารณาร่วมด้วยแล้ว มูลค่าปัจจุบันของประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคานั้นจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาของโครงการ และอัตราคิดลดค่าของเงินด้วย

ตัวอย่างที่ 2
          บริษัท ธาดา จำกัด ซื้อเครื่องจักรในราคา 200,000 บาท ประมาณการว่าจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 10,000 บาท ถ้าบริษัทมีนโยบายในการคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะเท่ากับเท่าไหร่
 จากข้อมูลข้างต้น สามารถนำมาคำนวณหาค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ได้ดังนี้


          จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคาที่คำนวณโดยวิธีเส้นตรงนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคากระจายไปในแต่ละปีนั้นมีจำนวนที่เท่ากันในที่นี้เท่ากับ 38,000 บาท และเมื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาตลอดอายุของโครงการนั้นมีจำนวนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 190,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3
          จากตัวอย่างที่ 2 ถ้าบริษัทธาดามีนโยบายคิดค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปี การคำนวณหาค่าเสื่อมราคาทำได้ดังนี้

ตารางที่ 3 ค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปี

          จากตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคาที่คำนวณโดยวิธีผลรวมจำนวนปีนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคากระจายไปในแต่ละปี แต่ตามหลักการของวิธีนี้จำนวนค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้นมีจำนวนแตกต่างกันไป โดยในช่วงปีแรก ๆ นั้นจำนวนค่าเสื่อมราคานั้นมีจำนวนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในปีหลัง  แม้ว่าค่าเสื่อมราคาที่ปันส่วนเป็นของค่าใช้จ่ายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันแต่เมื่อคำนวณรวมค่าเสื่อมราคาตลอดอายุของโครงการนั้นพบว่าจะเท่ากันกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ซึ่งในที่นี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้นเท่ากันคือ 190,000 บาท

ตัวอย่างที่ 4
          จากตัวอย่าง 2 ถ้าบริษัทมีนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธียอดลดลงทวีคูณ การคิดค่าเสื่อมราคา คำนวณได้ดังนี้
          อัตราค่าเสื่อมราคายอดลดลงทวีคูณ  = (2 X อัตราค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง)
          ค่าเสื่อมราคา =  (ราคาตามบัญชี ณ วันต้นงวด) X อัตราค่าเสื่อมราคายอดลดลงทวีคูณ


ตารางที่ 4 ค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณ

          จากตารางที่ 4 จะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคาที่คำนวณโดยวิธียอดลดลงทวีคูณนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคากระจายไปในแต่ละปี แต่ตามหลักการของวิธีนี้จำนวนค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้นมีจำนวนแตกต่างกันไป โดยในช่วงปีแรก ๆ นั้นจำนวนค่าเสื่อมราคานั้นมีจำนวนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในปีหลัง แม้ว่าค่าเสื่อมราคาที่ปันส่วนเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีจะไม่เท่ากัน แต่เมื่อคำนวณรวมค่าเสื่อมราคาตลอดอายุของโครงการนั้นจะพบว่าเท่ากันกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง และวิธีผลรวมจำนวนปี ซึ่งในที่นี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้นเท่ากันคือ 190,000 บาท

ตัวอย่างที่ 5
          จากตัวอย่างที่ 2 ถ้าบริษัทธาดามีนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีตามจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไปในแต่ละช่วงเวลา (ชั่วโมงการทำงาน หรือจำนวนผลผลิต) การคิดค่าเสื่อมราคา คำนวณได้ดังนี้
 

          สมมติว่าเครื่องจักรนี้มีทรัพยากรที่เป็นชั่วโมงการทำงานเต็มกำลังการผลิตสูงสุดเท่ากับ  40,000  ชั่วโมง และมีการบริโภคทรัพยากรที่เป็นชั่วโมงเครื่องจักรในปีที่ 1-5 ดังนี้

          จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาคำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาและค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีได้ดังตารางที่ 5 ดังนี้

ตารางที่ 5 ค่าเสื่อมราคาวิธีจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไป

          จากตารางที่ 5 จะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคาที่คำนวณโดยวิธีจำนวนผลผลิตนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคากระจายไปในแต่ละปีซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่เป็นชั่วโมงเครื่องจักรที่ใช้ไปในแต่ละปี ถ้าในแต่ละปีมีการใช้ทรัพยากรเท่ากันค่าเสื่อมราคาที่ปันส่วนเป็นค่าใช้จ่ายจะเท่ากันทุกปี แต่ถ้ามีการใช้ทรัพยากรในแต่ละปีไม่เท่ากัน กล่าวคือถ้าปีใดมีการใช้ทรัพยากรไปมาก ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคาปันส่วนจะมาก แต่ถ้ามีการใช้ทรัพยากรน้อย ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคาปันส่วนในปีนั้นจะมีจำนวนที่น้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อคำนวณรวมค่าเสื่อมราคาตลอดอายุของโครงการนั้นจะพบว่าเท่ากันกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง วิธีผลรวมจำนวนปี และวิธียอดลดลงทวีคูณซึ่งในที่นี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้นเท่ากันคือ 190,000 บาท

          จากผลของการคำนวณค่าเสื่อมราคาในแต่ละวิธีข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่ามูลค่าของค่าเสื่อมราคาที่แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีนั้นแตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนที่เป็นผลประโยชน์ในทางภาษีที่เกิดขึ้นเนื่องจากค่าเสื่อมราคาเหล่านั้นด้วย แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นได้ดังตารางที่ 6 ดังนี้

ตารางที่ 6 ผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงละวิธีผลรวมจำนวนปี
 

ตารางที่ 7 ผลประโยชน์ทางภาษีจากค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณและวิธีจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไป

          จากตารางที่ 6 และ 7 จะเห็นได้ว่าแม้ว่ามูลค่าของค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะมีจำนวนที่เท่ากัน (กรณีวิธีเส้นตรง) หรือมีจำนวนที่แตกต่างกันก็ตาม (กรณีวิธีผลรวมจำนวนปี วิธียอดลดลงทวีคูณ และวิธีจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไป) ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณหาผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคา ทำให้กิจการเสียภาษีในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปแต่เมื่อคำนวณผลรวมของผลประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับตลอดอายุของโครงการแล้วพบว่ามีจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งในกรณีของบริษัทธาดานี้มีค่าเท่ากับ 38,000 บาท

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลามาพิจารณาร่วมด้วยแล้วจะเห็นได้ว่า มูลค่าของผลประโยชน์ทางภาษี (สมมติให้อัตราภาษีเงินได้เท่ากับ 20% ) ที่คำนวณจากวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่แตกต่างกันนั้นมีความแตกต่างกันไปด้วย โดยผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากการคิดค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณนั้นจะได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักค่าใช้จ่ายในช่วงปีแรก ๆ นั้นมีจำนวนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ

ดังนั้นจะทำให้มีเงินสดรับที่ประหยัดได้จากการจ่ายภาษีในช่วงปีแรกนั้นมีจำนวนที่สูงกว่า เมื่อคิดมูลค่าเงินปัจจุบันแล้วจึงเป็นมูลค่าที่สูงกว่าด้วย (เงินสดที่ได้รับเข้ามาก่อนย่อมมีมูลค่าปัจจุบันสูงกว่าเงินสดที่รับเข้ามาในช่วงหลัง) สรุปได้ว่าเมื่อพิจารณาผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคาและมูลค่าปัจจุบันของเงินแล้ว ค่าเสื่อมราคาที่คำนวณตามวิธียอดลดลงทวีคูณนั้นจะให้ผลประโยชน์ทางภาษีมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีผลรวมจำนวนปี  วิธีตามจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไป และวิธีเส้นตรง ซึ่งจะให้ผลประโยชน์ทางภาษีในลำดับรองลงมาตามลำดับ

อย่างไรก็ตามเฉพาะวิธีจำนวนทรัพยากรที่ใช้ไปนั้นจะให้ผลประโยชน์ทางภาษีที่อาจจะสูงกว่าวิธีอื่น ๆ หรืออาจจะน้อยกว่าวิธีอื่นๆ หรือเท่ากับวิธีการอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล 
          เนื้อหาในหัวข้อข้างต้นประเด็นหนึ่งได้กล่าวถึงส่วนประกอบที่จะต้องนำมาคำนวณหากำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษี และถ้าต้องการทราบค่าภาษีเงินได้สำหรับงวด ทำได้โดยการนำอัตราภาษีมาคูณกับกำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษี(กำไรก่อนหักภาษี) ซึ่งอัตราภาษีที่จะนำมาใช้เพื่อประมาณการค่าภาษีเงินได้สำหรับงวดนั้น มีทั้งในกรณีของการเสียภาษีเงินได้ในอัตราปกติ และอัตราภาษีเงินได้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาษีเงินได้ตามจำนวนกำไรที่จะต้องเสียภาษี

          อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีผู้ประกอบการนิติบุคคลโดยปกติทั่วไป และ กรณีผู้ประกอบการนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งอัตราภาษีนั้นจะมีความแตกต่างกันไปสรุปได้ดังตารางที่ 8 ดังนี้

ตารางที่ 8 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

          จากตารางที่ 8 แสดงอัตราภาษีเงินได้ที่จะเรียกเก็บนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นกรณีปกติจะเท่ากับ 30% ซึ่งเป็นอัตราคงที่ ในขณะที่กรณีของสิทธิประโยชน์นั้นจะเห็นได้ว่า ถ้ากำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีมีจำนวนน้อย อัตราภาษีที่จะต้องเสียจะต่ำกว่า แต่ถ้ากำไรที่จะต้องเสียมีจำนวนมากกว่า อัตราภาษีที่จะต้องเสียจะมีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกัน อัตราภาษีลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นอัตราภาษีก้าวหน้า (Tax Rate is Progressive)

ตารางที่ 9 สูตรการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีสิทธิประโยชน์

ตัวอย่างที่ 6 
          บริษัท เอบีซี จำกัด เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศแห่งหนึ่งมีค่าเช่าพื้นที่ว่างสำหรับเพื่อตั้งโชว์สินค้าและคลังสินค้าสำหรับปีเท่ากับ 100,000 บาท และมีการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการตรวจเช็คและทดสอบระบบมูลค่า 650,000 บาท อายุการใช้งานของเครื่องดังกล่าวประมาณ 5 ปี ไม่มีมูลค่าซาก กิจการมีนโยบายในการคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง รายได้จากการขายโดยประมาณเท่ากับ 6,250,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ ระหว่างเท่ากับ 4,200,000 บาท

          จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาคำนวณหากำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีได้ดังนี้

          จากการคำนวณข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ารายจ่ายเพื่อการลงทุนซื้ออุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกหักเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน แต่ปันส่วนเป็นค่าเสื่อมราคาสำหรับปี และผลของการคำนวณข้างต้น พบว่ากำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีนั้นอยู่ในช่วงขอบเขตอัตราภาษีที่ 25% ดังนั้นค่าภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียสำหรับปี สามารถคำนวณหาโดยการใช้สูตรในตารางที่ 9 ได้ดังนี้ 

           ค่าภาษีเงินได้ = 150,000 + 0 25 (x -1,000,000)
  = 150,000 + 0.25 (1,820,000 - 1,000,000)
  = 355,000 บาท

          แม้ว่าช่วงระดับกำไรที่คำนวณได้จะอยู่ในช่วงขอบเขตอัตราภาษีที่ 25% แต่ค่าอัตราภาษีเฉลี่ยนั้นมีค่าเท่ากับ

           อัตราภาษีเฉลี่ย =
  =
  = 19.51% โดยประมาณ

          นอกจากการคำนวณค่าภาษีเงินได้จากสูตรการคำนวณภาษีแล้วสามารถคำนวณหาค่าภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีได้ในอีกลักษณะหนึ่งดังนี้

          ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นกรณีของผู้ประกอบการนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการนิติบุคคลในรูปของบริษัทแล้วในกรณีปกติแล้วใช้ฐานภาษีปกติทั่วไปซึ่งสำหรับปี 2548 นี้ยังคงเท่ากับ 30%

ตัวอย่างที่ 7
          จากตัวอย่างที่ 6 ถ้าบริษัท เอบีซี จำกัด เป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจำนวน 12 ล้านบาท ให้คำนวณหากำไรที่จะต้องเสียภาษีและค่าภาษีเงินได้สำหรับปี

          สำหรับมูลค่าของกำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีนั้นจะคำนวณได้ในลักษณะเดียวกันกับในตัวอย่างที่ 6 แต่สำหรับค่าภาษีเงินได้นั้นจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากโจทย์ในตัวอย่างนี้ระบุว่าเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจำนวน 12 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีประเภทผู้ประกอบการขนาดกลางหรือขนาดย่อม จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราปกติเท่ากับ 30% ดังนี้

          ค่าภาษีเงินได้ = กำไรที่จะต้องเสียภาษี X อัตราภาษี 30%
  = 1,820,000 X 30%
  = 546,000 บาท

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
          นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในเรื่องของอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปอันเนื่องมาจากลักษณะของผู้ประกอบการ นโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาตามหลักการบัญชีทั่วไป หรือผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากมูลค่าเงินตามเวลาอันเป็นผลมาจากนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาแล้ว ยังคงมีผลกระทบหรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีในด้านอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการการวางแผนและการตัดสินใจในด้านของการจ่ายลงทุนเพิ่มเติมอีกในหลายกรณี

สำหรับในที่นี้จะได้กล่าวถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ส่งเสริมในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยปัจจัยในประเด็นดังกล่าวนั้นแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ และสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้ของรายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาอัตราพิเศษ
          กรณีของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นนิติบุคคลไทยซึ่งมีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดินไม่เกิน200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน นั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการหักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในอัตราพิเศษ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการลงทุนในทรัพย์สินบางประเภท โดยมีการกำหนดอัตราการคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้เร็วขึ้น ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวใช้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลังวันที่ 31 ม.ค. 2545

ตารางที่ 10  ระยะเวลาและวิธีการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

          จากตารางที่ 10  แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงค่าเสื่อมราคาในปัจจุบันที่เป็นอัตราปกติกับอัตราที่ได้รับสิทธิประโยชน์นั้น จะเห็นได้ว่าการใช้อัตราค่าเสื่อมราคาในอัตราที่ได้รับสิทธิประโยชน์จะช่วยทำให้กิจการสามารถมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคาเป็นจำนวนมากขึ้นในการนำไปหักออกจากรายได้ ทำให้มีกำไรที่จะต้องนำไปเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง และจะมีเงินทุนหมุนเวียนเหลือเป็นจำนวนมากขึ้นในปีแรกที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในลักษณะดังกล่าว ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินงานที่สูงกว่าเดิม

ตัวอย่างที่ 8
          จากตัวอย่างที่ 6 ถ้าเครื่องจักรที่ซื้อมานั้นและเป็นเครื่องจักรที่ซื้อมาเพื่อการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2547 ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อปฏิบัติที่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ ให้คำนวณหากำไรที่จะต้องเสียภาษี และค่าภาษีเงินได้สำหรับปีที่ 1
          ค่าเสื่อมราคาในกรณีของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับนั้นสามารถคำนวณได้ 2 วิธี ดังนี้
          วิธีที่ 1 คำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาใหม่ของสินทรัพย์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยอัตราค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง สามารถคำนวณได้ดังตารางที่ 11 ดังนี้

ตารางที่ 11 อัตราค่าเสื่อมราคาใหม่ที่ได้รับสิทธิประโยชน์

          จากตารางที่ 11 แสดงอัตราค่าเสื่อมใหม่ สามารถนำมาคำนวณหาค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง แต่ละปี ได้ดังนี้

           ปีที่ 1 = 650,000 X 52% = 338,000 บาท
                  2-5 = 650,000 X 12% = 78,000 บาท


          จากผลการคำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษในกรณีดังกล่าวข้างต้นทั้งสองวิธีนั้น จะได้ผลรวมของค่าเสื่อมราคาที่สามารถนำมาแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนได้เท่ากัน ทั้งสองวิธี ในที่นี้เท่ากับ 338,000 บาท  ส่วนค่าเสื่อมราคาที่เหลือในปีที่ 2-5 นั้นจะมีมูลค่าเท่ากับ 78,000 บาท  จากผลของการคำนวณหาค่าเสื่อมราคาข้างต้นนั้นสามารถนำมาคำนวณหากำไรที่จะต้องเสียภาษีในแต่ละปีได้ดังนี้
คำนวณหากำไรที่จะต้องเสียภาษีและค่าภาษีเงินได้สำหรับปีแรก คำนวณหาได้ดังนี้

          ค่าภาษีเงินได้  = 150,000 + 0.25 (x - 1,000,000)
  = 150,000 + 0.25 (1,612,000 - 1,000,000)
  = 303,000   บาท

          ค่าภาษีเงินได้ที่คำนวณได้ข้างต้น สามารถนำมาคำนวณหาค่าอัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้

          อัตราภาษีเฉลี่ย =
  =
  = 18.80% โดยประมาณ

          เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างที่ 6 และ 8 แล้วจะเห็นได้ว่าในกรณีที่มีการซื้อสินทรัพย์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น จะทำให้มีผู้ประกอบการเสียภาษีลดลงในปีแรกที่ได้สินทรัพย์มา ซึ่งจะทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำมาไปใช้ในส่วนงานอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อไปได้มากขึ้น

สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้ของรายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา
          กรณีของรายจ่ายสำหรับค่าจ้างเพื่อการทำการวิจัยและพัฒนานั้นโดยปกติกิจการสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกรณีของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมโดยได้รับการยกเว้นเงินได้จากการดำเนินงานอีกเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อการทำการวิจัยและพัฒนาซึ่งได้จ่ายไปให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามที่รัฐบาลกำหนด ตัวอย่างของการคำนวณผลประโยชน์ที่ ได้รับนั้น เช่น สมมติว่าผู้ประกอบการได้มีการจ่ายค่าจ้างเพื่อการทำวิจัยและการพัฒนาจำนวน 200,000 บาท ให้แก่หน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถจะนำค่าจ้างดังกล่าวแสดงเป็นค่าใช้จ่าย (รายจ่ายในทางภาษี) ได้ตามปกติ 200,000 บาท และส่วนของเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีอีก 200,000 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์ทั้งหมดนี้จะทำให้กิจการมีรายได้ (เงินได้ในทางภาษี) ที่จะต้องนำไปเสียภาษีลดลงจำนวน 400,000 บาท หรือเทียบเท่าประมาณ 200% ของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อการทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น สิทธิประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นนั้นจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมได้ทำการพัฒนาผลผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้มากขึ้น

ตัวอย่างที่ 9
 บริษัท เอบีซี จำกัด อยู่ในข่ายของผู้ประกอบการขนาดกลาง มีข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานในระหว่างปีบัญชีที่ผ่านมาดังนี้

จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาคำนวณหากำไรที่จะต้องเสียภาษี ได้ดังนี้

ผลกำไรที่คำนวณได้ข้างต้นสามารถนำมาคำนวณหาค่าภาษีเงินได้ สำหรับงวดได้ดังนี้

ค่าภาษีเงินได้  = 650,000 + 0.30 (x - 3,000,000)
   = 650,000 + 0.30 (3,120,000 - 3,000,000)
   = 686,000   บาท

 ค่าภาษีเงินได้ที่คำนวณได้ข้างต้น สามารถนำมาหาค่าอัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้

อัตราภาษีเฉลี่ย  =
  =
  = 21.99%

          การคำนวณทั้งหมดข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนั้นทำให้กิจการสามารถนำรายจ่ายสำหรับค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนามาแสดงเป็นรายการหักจากรายได้ได้ตามปกติและยังได้รับยกเว้นเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป หรือเทียบเท่าได้เท่ากับ 200% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ซึ่งในที่นี้เท่ากับ 800,000 บาท (400,000บาทรายจ่าย + 400,000 บาท เงินได้ได้รับยกเว้น)


ภาษีเงินได้ของผลกำไรหรือขาดทุนจากขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คิดค่าเสื่อมราคา
          เมื่อมีการขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่เป็นทุนคงที่ในการดำเนินงานนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีผลกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นกับการขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์เหล่านั้นอยู่เสมอ ในการคำนวณหาผลกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้น  สิ่งสำคัญประการแรกคือ การกำหนดมูลค่าราคาตามบัญชี (Book Value: BV)  ของสินทรัพย์ถาวรที่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ณ วันที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยปกติแล้วราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีการคิดค่าเสื่อมราคานั้นสามารถหาได้โดยการนำมูลค่าราคาทุน ณ วันที่ได้สินทรัพย์มาหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันที่มีการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์นั้น เขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้
          ราคาตามบัญชี = ราคาทุนเริ่มแรก - ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ขาย

          หลังจากทราบมูลค่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันที่ขายแล้ว ถ้าราคาขายของสินทรัพย์นั้น (Market Value: MV) มีความแตกต่างไปจากราคาตามบัญชีแล้วจะทำให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์และผลของกำไรหรือขาดทุนนี้จะส่งผลกระทบสำคัญต่อค่าภาษีเงินได้ กำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์นั้นสามารถคำนวณหาได้ดังนี้
          กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ถาวร = ราคาขาย - ราคาตามบัญชี

          เมื่อมีการขายสินทรัพย์ในราคาที่สูงกว่าราคาตามบัญชี (MV>BV) จะก่อให้เกิดผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ถาวรซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหาภาษีที่จะต้องจ่าย แต่ถ้าขายสินทรัพย์ได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามบัญชี (MV<BV) จะก่อให้เกิดผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหาผลประโยชน์ทางภาษี
  
 

รูปที่ 2 ผลกำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์

ตัวอย่างที่ 10
          บริษัท พีซีเอช จำกัด ซื้อเครื่องจักรมาใช้ในราคาทุนเริ่มแรก 1,150,000 บาท อายุการใช้งานโดยประมาณเท่ากับ 5 ปี (มีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเมื่อเริ่มแรกดำเนินงานเท่ากับ 15,000,000 บาท) กิจการมีนโยบายในการคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ถ้าสมมติว่ากิจการขายเครื่องจักรดังกล่าวสิ้นปีที่ 3 นับแต่ซื้อเครื่องจักรมา ให้คำนวณหาผลกำไร (ขาดทุน) จากการขายเครื่องจักร และผลกระทบทางภาษีที่ได้รับในแต่ละกรณีดังนี้
          1. ราคาขาย 500,000 บาท
          2. ราคาขาย 460,000 บาท
          3. ราคาขาย 400,000 บาท

          ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรต่อปี =
  =
  = 230,000 บาท/ปี
          ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันสิ้นปีที่ 3 = ค่าเสื่อมราคาต่อปี X 3
  = 230,000 X 3
  = 690,000  บาท
          ราคาตามบัญชี = ราคาทุนเริ่มแรก - ค่าเสื่อมราคาสะสมสิ้นปีที่ 3
  = 1,150,000 - 690,000
  = 460,000 บาท

กรณีที่ 1 ถ้าขายเครื่องจักรในราคา 500,000 บาท

          กำไรจากการขายเครื่องจักร  = ราคาขาย - ราคาตามบัญชี
  = 500,000 - 460,000
  = 40,000 บาท


          ผลกำไรจากการขายเครื่องจักรจะต้องนำมาคำนวณเพื่อถูกหักภาษี ค่าภาษีเงินได้จากผลกำไรดังกล่าว สามารถคำนวณได้ดังนี้

          ค่าภาษีเงินได้จากผลกำไร = กำไรจากการขายสินทรัพย์ X อัตราภาษีเงินได้
  = 40,000 X 30%
  = 12,000 บาท
          เงินที่ได้รับสุทธิจากการขายเครื่องจักร = ราคาขายเครื่องจักร - ค่าภาษีเงินได้จากผลกำไร
  = 500,000 - 12,000
  = 488,000 บาท

กรณีที่ 2 ถ้าขายเครื่องจักรได้ในราคา 460,000 บาท
          ในกรณีที่ 2 นี้ จะเห็นได้ว่า ราคาตามบัญชีของเครื่องจักรเท่ากับ 460,000 บาท ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับราคาขายเครื่องจักรจำนวน 460,000 บาท ดังนั้นจึงไม่เกิดผลกำไร (ขาดทุน) จากการขายเครื่องจักร และทำให้ไม่ได้รับผลกระทบทางภาษีด้วย กรณีนี้กิจการจะได้รับเงินสุทธิจากการขายเครื่องจักรเท่ากับ 460,000 บาท ซึ่งเท่ากับมูลค่าตามบัญชี

กรณีที่ 3 ถ้าขายเครื่องจักรในราคา 400,000 บาท 

          ขาดทุนจากการขายเครื่องจักร = ราคาขาย - ราคาตามบัญชี
  = 400,000 - 460,000
  = 60,000 บาท

          ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์นั้นจะมีผลในทางภาษี คือ ช่วยทำให้สามารถประหยัดภาษีได้ ในที่นี้ภาษีที่ประหยัดได้ สามารถคำนวณได้ดังนี้

          ภาษีที่ประหยัดได้จากผลขาดทุน  = ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ X อัตราภาษีเงินได้
  = 60,000 X 30%
  = 18,000 บาท
          เงินที่ได้รับสุทธิจากการขายเครื่องจักร   = ราคาขายเครื่องจักร + ภาษีประหยัดได้จากผลขาดทุน
  = 400,000 + 18,000 บาท
  = 418,000 บาท

อัตราภาษีเงินได้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
          เนื้อหาในส่วนแรกนั้นจะเห็นได้ว่าในกรณีของผู้ประกอบการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นอัตราภาษีที่แท้จริงของธุรกิจนั้นจะผันแปรไปตามระดับของกำไรที่จะต้องเสียภาษีตั้งแต่ 15%-30% ถ้าสมมติว่ากิจการจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้ ณ วันนี้ที่อัตราภาษี 25% ของกำไรจากการดำเนินงานปีปัจจุบันที่จะต้องนำมาเสียภาษี ดังนั้นอัตราภาษีนี้จะเป็นอัตราที่นำมาใช้ในการพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไรของโครงการลงทุนว่าอัตราภาษีใหม่ที่เท่าไหร่ที่ควรนำมาใช้ในการคำนวณค่าภาษีเงินได้ของโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่พิจารณาเลือกลงทุน

อัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น
          การเลือกใช้อัตราภาษีที่เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับผลกระทบอันเนื่องมาจากกำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการยอมรับหรือตัดสินใจเลือกดำเนินงานโครงการลงทุนใดโครงการหนึ่ง กล่าวได้ในอีกลักษณะหนึ่ง คือ อัตราภาษีที่จะนำมาใช้เป็นอัตราที่จะนำมาคำนวณเข้ากับกำไรที่จะต้องเสียภาษีที่เพิ่มขึ้นในการวิเคราะห์โครงการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์

ตัวอย่างที่ 11
          ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมแห่งหนึ่งมีกำไรที่จะต้องเสียภาษีเนื่องจากการดำเนินงานสำหรับปีภาษีปัจจุบันเท่ากับ 2,900,000 บาท ผู้บริหารของกิจการคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการยอมรับโครงการลงทุนใหม่ในระหว่างปีภาษีปัจจุบันนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ค่าใช้จ่ายและกำไรที่จะต้องเสียภาษีก่อนและหลังการยอมรับโครงการลงทุน ได้ถูกประมาณการไว้ดังนี้

          จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าฐานของกำไรที่จะต้องเสียภาษีของกิจการเมื่อยังไม่ทำการลงทุนในโครงการใด ๆ เพิ่มเติมนั้นมีมูลค่าเท่ากับ 2,900,000 บาท แต่เมื่อมีการลงทุนในโครงการต่าง ๆ เพิ่มเติมในระหว่างปีแล้ว ทำให้กำไรที่จะต้องนำมาเสียภาษีนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3,400,000 บาท ถ้าใช้สูตรในตารางที่ 9 เพื่อนำมาคำนวณหาค่าภาษีเงินได้สำหรับงวด สามารถแสดงการคำนวณได้ดังนี้

          ค่าภาษีเงินได้ก่อนการลงทุน = 150,000 + 0.25 (x - 1,000,000)
  = 150,000 + 0.25 (2,900,000 - 1,000,000)
  = 625,000 บาท
          ค่าภาษีเงินได้หลังการลงทุน   = 650,000 + 0.30 (x - 3,000,000)
  = 650,000 + 0.30 (3,400,000 - 3,000,000)
  = 770,000 บาท

          จากผลการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่า ค่าภาษีเงินได้สำหรับปีนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 145,000 บาท (770,000 - 625,000) ส่วนของค่าภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องมาจากมีกำไรที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้น 500,000 บาท คิดเป็นอัตราภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น 29% (145,000/500,000) ซึ่งอัตรานี้เป็นอัตราภาษีที่ควรนำมาใช้ในการประเมินค่าโครงการแยกต่างหาก ค่าอัตราภาษีเฉลี่ยจากส่วนที่เพิ่มขึ้นของกำไรและค่าภาษีเงินได้ สามารถคำนวณเปรียบเทียบกันได้ดังตารางที่ 11 ดังนี้

ตารางที่ 11 เปรียบเทียบอัตราภาษีเฉลี่ยก่อนและหลังการลงทุน

          อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติของการวิเคราะห์โครงการเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น กิจการทั่วไปมักจะใช้อัตราภาษีเฉลี่ยจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นอัตราที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้เพื่อการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

บทสรุป
          จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นชี้ให้เห็นว่าการวิเคราะห์ต้นทุนภาษีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่ง ในการวิเคราะห์นั้นจะต้องทำการกระทบยอดเพื่อคำนวณหากระแสเงินสดโดยประมาณกับกำไรสุทธิที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของโครงการลงทุนเหล่านั้น จะทำให้ทราบถึงผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการลงทุนได้มากกว่า นอกจากนี้ปัจจัยในเรื่องของนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาที่มีทางเลือกให้สามารถปฏิบัติได้นั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่ากระแสเงินสดของกิจการอันเนื่องจากภาษีที่ประหยัดได้หรือผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคา

          สำหรับกรณีของผู้ประกอบการนิติบุคคลขนาดกลางหรือขนาดย่อมนั้นปัจจัยในเรื่องอัตราภาษีตามช่วงของมูลค่าของกำไรที่ทำได้ หรืออัตราภาษีก้าวหน้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการต่าง ๆ เพราะความแตกต่างของรายได้และค่าใช้จ่ายเมื่อดำเนินงานตามโครงการใหม่ จะส่งผลต่อฐานภาษีที่จะเปลี่ยนแปลงไป และอัตราภาษีที่จะมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าอัตราภาษีเฉลี่ยจากส่วนที่เพิ่มขึ้นหลังการตัดสินใจที่ลงทุนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ได้มากกว่า

เอกสารอ้างอิง
          * Don R. Hansen Maryanne M. Mowen (2003). Cost Management: Accounting and Control. 4th Ed. Thomson South. Western. Ohio.
          * Chan S. Park. (2002).Contemporary Engineering Economics. 3rd Ed. Pearson Education. London.
          * http://www.rd.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด