เนื้อหาวันที่ : 2007-03-20 17:59:56 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 9750 views

แนวทางการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน

ผลของการประเมินโครงการประหยัดพลังงานหลาย ๆ โครงการของภาครัฐในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านมายังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนัก การประเมินเทคโนโลยีของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเบื้องต้นว่า ศักยภาพของพลังงานของโรงงานอยู่ในระดับใด

จากผลของการประเมินโครงการประหยัดพลังงานหลายๆ โครงการของภาครัฐในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านมายังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนัก การประเมินเทคโนโลยีของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเบื้องต้นว่า ปัจจุบันศักยภาพของพลังงานของโรงงานอยู่ในระดับใด โดยใช้ผลของการใช้พลังงานในอดีตมาทำการศึกษาวิเคราะห์ การวิเคราะห์ถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ต่อไปได้หรือไม่ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่อยู่ในโครงการอยู่ในระดับดี อุปกรณ์เหล่านี้ความเหมาะสมสามารถประหยัดพลังงานได้จริง แต่ประสิทธิผลไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากยังไม่มีผลรายงานจากการติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และในการประเมินก็ไม่สามารถระบุได้ว่าอุปกรณ์ประหยัดพลังงานชนิดใดเหมาะสมที่จะสนับสนุนให้มีการผลิตได้ เนื่องจากความไม่ชัดเจนของตลาด ตลอดจนการบริหารจัดการเข้าร่วมกับการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นประสบความสำเร็จ นั้นคือ การฝึกอบรมด้านพลังงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม

.

ความสำคัญของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน

การฝึกอบรมด้านพลังงาน ถือว่าเป็นด่านแรกของการทำงานด้านการประหยัดพลังงาน เป็นที่เชื่อกันโดยสันนิษฐานว่า การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในการทำงานให้เกิดผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจในการทำงานให้เป็นเป้าหมายเดียวกันก่อน และเมื่อรับรู้และเข้าใจร่วมกันแล้ว ก็จะสามารถทราบถึงความชัดเจนของการทำงาน นำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน ความสำเร็จเกิดผลขึ้นแน่นอน

.

การฝึกอบรมด้านพลังงานไม่เพียงแต่สร้างความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกันที่ชัดเจนแล้ว ยังถือเป็นการปลูกฝังจิตสำนึก ให้ความรู้ ให้บริการในการตรวจวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในการประหยัดพลังงาน ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนดำเนินการด้านอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร โดยตั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ในการประหยัดพลังงาน คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้จึงไม่เป็นที่น่าพอใจนัก เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้เล็งเห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้รับเนื่องจากการประหยัดพลังงาน จึงทำให้การดำเนินนโยบายที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก ตัวอย่างเช่น การลงทุนเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แม้จะมีการคำนวณถึงความคุ้มค่าทางการลงทุน แต่ไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพทางการแข่งขันของบริษัทที่เพิ่มขึ้น อันสามารถส่งผลให้เกิดโอกาส (Opportunity) ทางการแข่งขันที่สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้หลายกิจการให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์พลังงานน้อยกว่าที่ควร

.

การจัดฝึกอบรมด้านพลังงานสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทด้วยกัน

1. การจัดฝึกอบรมสำหรับผู้บริหาร 

การฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารองค์กรก็เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อการทำโครงการด้านการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากกิจกรรมใด ๆ ที่เข้ามาในองค์กร เมื่อผู้บริหารองค์กรไม่เห็นด้วยหรือไม่ให้ความสำคัญแล้วนั้น ทำนายได้เลยว่าโครงการประหยัดพลังงานที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดผลอย่างแน่นอนที่สุด ฉะนั้นการฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารจะเกิดผลดีคือ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีของผู้บริหารในโครงการ โดยการฝึกอบรมและกิจกรรมอันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการประหยัดพลังงานผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ รับทราบถึงลักษณะและขั้นตอนการดำเนินโครงการ นำไปสู่ความเข้าใจและเชื่อมั่นในการร่วมโครงการประหยัดพลังงานเกิดจิตสำนึกและทัศนคติเรื่องการประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้น และผู้บริหารนำไปกำหนดเป็นนโยบายการดำเนินงานขององค์กร ภายใต้โครงการประหยัดพลังงาน สร้างความเข้าใจและร่วมมืออันดีกับการดำเนินนโยบายของภาครัฐ ของผู้บริหารขององค์กร ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ฯ ได้เป็นอย่างดี

.
2. การจัดฝึกอบรมสำหรับพนักงาน

พนักงานทุกคนทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับโครงสร้างเพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การวางแผนการดำเนินงานเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจและการกำหนดนโยบายในการดำเนินการที่ชัดเจน พนักงานในองค์กรทุกคนจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งไม่น้อยไปกว่าผู้บริหาร เนื่องจากจะเป็นผู้ที่จะปฏิบัติงานจริง และได้มีการกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย แผนก และบุคคลไว้แล้วว่าจะทำอะไรกันบ้าง การฝึกอบรมจึงเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องของการประหยัดพลังงานว่าไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของพลังงานเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเรื่องของการลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ซึ่งทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ

.

การฝึกอบรมถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแนวทางหนึ่งของการประหยัดพลังงาน เป็นการรับผิดชอบของการบริหารพลังงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะเกิดผลอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมจะไม่สำเร็จได้เพียงหลักสูตรเดียว ณ ครั้งหนึ่งของการฝึกอบรมอาจจะสามารถลืมได้ง่าย การฝึกอบรมจะต้องสร้างให้เกิดความต่อเนื่องซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้

.

ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรจะต้องให้การสนับสนุนผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในการเข้าร่วมการฝึกอบรมด้านพลังงาน การให้ผู้รับผิดชอบทางด้านพลังงานเป็นการเปิดแนวความคิดใหม่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความรับผิดชอบที่จะต้องทำให้เกิดผลสำเร็จ  ในขณะเดียวกัน การอบรมด้านเทคนิคก็เป็นสิ่งหนึ่งจะสนับสนุนการทำงานและการเพิ่มเสริมความรู้ของเจ้าหน้าที่ที่ยังขาดทักษะอยู่ได้

.

ฉะนั้น การฝึกอบรมพนักงาน จึงเป็นเครื่องมือที่จะสร้างความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงทัศคติ ซึ่งการฝึกอบรมที่เรียกว่า Total Energy Management นั้นได้เน้นถึงการฝึกอบรมให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานจริง โดยมีการให้ความสำคัญ 2 ประเด็นด้วยกัน

1. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ในด้านอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ได้แก่ การฝึกอบรมในพื้นที่การทำงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรมในต่างประเทศเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

2. การฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เพื่อลดการสูญเสียและการลดต้นทุนการผลิตให้เกิดขึ้นในโรงงาน

.

การแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขั้นตอนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการ และขั้นตอนการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรมด้านการจัดการพลังงานในทุกระดับที่มีอยู่ มีความจำเป็นที่ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์จากองค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินด้านการจัดการพลังงาน ในความจำเป็นของการฝึกอบรมจำเป็นที่ต้องมีการทบทวนอย่างชัดเจน เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่า ฝึกอบรมนั้นเกี่ยวข้องและเป็นบุคคลที่ยังขาดทักษะจริง ๆ ฉะนั้นการฝึกอบรมพนักงานจึงเกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ผู้บริหารระดับสูง เช่น เจ้าของธุรกิจ ประธานกรรมการบริษัท ผู้จัดการ ฯลฯ

2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ วิศวกร ช่างเทคนิค และหัวหน้างาน

3. พนักงานระดับปฏิบัติงาน ที่ทำงานประจำส่วนประจำฝ่ายต่าง ๆ

.

หัวข้อที่จำเป็นสำหรับการจัดฝึกอบรมพนักงาน ได้แก่

-  การตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงาน

-  แนวคิด Total Preventive Management และ Total Quality Management

-  ระบบไฟฟ้า (Electric System)

-  ระบบความร้อน (Thermal System)

-  กระบวนการผลิต

-  การลดการสูญเสีย
-  การบำรุงรักษา

-  การบันทึกข้อมูลและการรายงานสรุปผล

-  การรายงาน

-  การประเมินผล
.

3. การจัดฝึกอบรมด้านการจัดการ (Management Training)

การเห็นถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องทำควบคู่ไปกับการจัดการ เนื่องด้วยการเล็งเห็นถึงเฉพาะการทำธุรกิจให้เกิดผลกำไรเพียงอย่างเดียวก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดผลด้านการลดต้นทุน แต่มุ่งเพียงเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อให้สามารถสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด การฝึกอบรมด้านการจัดการและข้อมูลข่าวสาร ไม่เพียงแต่เข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของการประหยัดพลังงานที่สามารถลดต้นทุนเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมแนวทาง การสร้างแรงจูงใจ การสนับสนุนสำหรับพนักงานในองค์กรได้ด้วย ในหลักการนี้ถือเป็นแนวทางเพื่อสร้างการเรียนรู้ ของกลยุทธ์การจัดการพลังงาน (Energy Management Strategic) ที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน หลักสูตรการฝึกอบรมด้านการจัดการ (Management Training) ได้มีการดำเนินการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อฝึกอบรมให้กับพนักงานในองค์กรด้วย

.

1. การจัดฝึกอบรมหัวหน้างานและวิศวกร (Engineering and Supervisors Training)ทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันในส่วนของการผลิต วิศวกร หรือหัวหน้างาน นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สามารถทำการตัดสินใจได้ในขั้นตอนของการผลิตสินค้า เปรียบได้กับเป็นตัวแทนผู้บริการระดับอาวุโสเลยทีเดียว ซึ่งมักจะมีความสนใจและความปรารถนาในการทำงาน ดีเท่ากับศักยภาพในการความสามารถเข้าใจด้านเทคนิค หรืออย่างเดียวกับการจัดการ ในการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม

.

ฉะนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะให้บุคลากรเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรม อย่างเช่น วิศวกรเครื่องกลสามารถเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง พลังงานไฟฟ้าได้ เนื่องจากอุปกรณ์ของเครื่องกลเหล่านี้ มีการใช้ระบบไฟฟ้ากันทั้งสิ้น จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเข้าฝึกอบรม 

.

ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งในนโยบายการพัฒนาบุคคลากร การฝึกอบรมถือเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเด่น องค์กรทั้งหมดรู้ดีว่า ผู้จัดการ ผู้บริหารที่ดีในอนาคต จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หลากหลายและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  ณ เวลาเดียวกัน ช่างเทคนิค วิศวกร พวกเขาเองรู้ว่า การฝึกอบรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาปรารถนาที่จะเรียนรู้ให้มาก และยังเสาะหาการฝึกอบรมที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของพวกเขา

.

การจัดฝึกอบรมช่างเทคนิค (Operator Training)

ช่างเทคนิคโดยทั่วไปจะตัดสินใจว่าเขาจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งต่อการลดต้นทุนการผลิตขององค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับทักษะที่มีอยู่ การลงทุนทางการศึกษาซึ่งจะได้รับผลประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวมในเรื่องของการประหยัดพลังงานและการลดต้นทุนการผลิตได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการฝึกอบรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

.

ช่างเทคนิคจะเรียนรู้จากการทำงานในหน้าที่ของเขามานานหลายปีตลอดจนระยะเวลาการทำงานในโรงงานนั้น ๆ การสัมมนาและการฝึกปฏิบัติในการปฏิบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องได้รับการแนะนำและสอนงานจากหัวหน้างาน เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าการฝึกอบรมระยะสั้นและการฝึกปฏิบัติจะทำให้พวกเขานั้นสามารถซึมซับความรู้อย่างเต็มที่

.

ช่างเทคนิคจะต้องรู้จักหลักของเหตุและผลในลักษณะอุปกรณ์เฉพาะแต่ละอุปกรณ์ พวกเขาจะต้องรู้ถึงความสำคัญและการใช้ข้อมูลจากการรวบรวม หลักสูตรการประหยัดพลังงานจะไม่สำเร็จได้ถ้าพวกเขาไม่ทำการศึกษา เรียนรู้ การเก็บข้อมูล แรงจูงใจและการฝึกอบรมมาก่อนหน้า ที่สามารถตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้

.

การจัดฝึกอบรมภายในองค์กร (Internal Training)

หรือที่เรียกว่า On the job training เป็นการฝึกอบรมโดยใช้พื้นที่การทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมของตน เป็นการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล และการเรียนรู้จากเรื่องจริงที่ทำอยู่เป็นประจำ ในหลักสูตรการฝึกอบรมนี้ องค์กรจะต้องเพิ่มการควบคุมกิจกรรมที่ทำ ผู้แนะนำมักจะมาจากบุคลากรในองค์กร และจะต้องรอบคอบในการคัดเลือกบุคคลเหล่านี้ เนื่องจากไม่มีใครที่สามารถฝึกอบรมและสอนงานได้ดี ในเรื่องนี้การประเมินผลการฝึกอบรม หรือการประเมินผลแบบไม่เป็นทางการก็ตามเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่บางคนอาจจะเรียนรู้ได้ดีในห้องเรียน และบางคนอาจจะเรียนรู้ได้ดีในการฝึกปฏิบัติจริง การจัดการจะต้องตระหนักถึงศักยภาพที่แตกต่างของพนักงานแต่ละคน และสามารถกำหนดลักษณะงานให้เหมาะสม การฝึกอบรมอาจจะมีการบันทึกของแต่ละคนได้ เพื่อให้การฝึกอบรมเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

.

ขั้นตอนของการพัฒนาการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน

.
1. การวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน

ในขั้นตอนนี้นับได้ว่าเป็นเริ่มแรกของการจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานด้านพลังงาน โดยจะประกอบไปด้วย

1.1 แนวคิดของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน บ่อเกิดของการฝึกอบรมไม่ว่าเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ก็ตามจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดหลักการของความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อที่ทำให้เราทราบหลักการและเหตุผลของการเกิดขึ้นว่าทำไมถึงต้องมีการฝึกอบรมนี้ขึ้น

1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรม

1.3 กลุ่มเป้าหมายของการฝึกอบรม เช่น ผู้บริหารระดับสูง  ผู้บริหารระดับกลาง และพนักงานระดับปฏิบัติการ

1.4 หัวข้อที่จำเป็นสำหรับการจัดฝึกอบรมในโรงงานอุตสาหกรรม หัวข้อการฝึกอบรมนับได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการฝึกอบรม การตั้งหัวข้อที่น่าสนใจนั้นจะทำให้เกิดการดึงดูดความสนใจ น่าติดตาม หรือยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมแล้ ว การสร้างหัวข้อที่ชัดเจน ก็นับได้ว่าเป็นการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้แน่นอน

1.5 วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้มีประสบการณ์การด้านพลังงานโดยตรงก็จะสร้างความสนใจและมั่นใจให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ว่าจะได้รับความรู้ที่ถูกต้องและหลากหลายจากประสบการณ์ของวิทยากรที่ได้รับมา

1.6 แผนการฝึกอบรม ระยะเวลาของการฝึกอบรม อาจจะเป็นการฝึกอบรมในระยะสั้น 2-5 วัน โดยมากจะเป็นการฝึกอบรมทางวิชาการ และการฝึกอบรมระยะยาว 1-3 เดือน โดยมากจะเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีการนำความรู้ทางวิชาการเข้ามาปฏิบัติ

1.7 สถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม
.

2. การพัฒนาวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน

2.1 วัตถุประสงค์ที่รัดกุมและถูกต้องของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะแสดงถึงสิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับโดยมิได้เบี่ยงเบนหลังจากที่รับการฝึกอบรมไปแล้ว

2.2 วัตถุประสงค์ที่ดีย่อมเป็นแนวทางที่ดีสำหรับผู้ฝึกอบรมในการพัฒนาวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสม เนื่องจากการจัดฝึกอบรม ผู้จัดเองหลายครั้งที่ได้มีการศึกษามาอย่างดีแล้วว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยรวม แต่การประเมินผลมาแล้วก็ยังมีประเด็นความต้องการของการฝึกอบรมปลีกย่อยบางอย่างที่ไม่สามารถสนองความต้องของผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ฝึกอบรมที่จะนำมาพัฒนาให้เกิดเป็นแนวทางที่ดีในอนาคตได้

2.3 วัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรมจะเป็นแนวทางสำหรับเข้าผู้รับการฝึกอบรม ว่าอะไรที่พวกเขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ หลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

.
3. การระบุถึงขอบเขตของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน
3.1 ขอบเขตของการจัดฝึกอบรมด้านพลังงานจะต้องครอบคลุมทุก ๆ สิ่งที่ผู้รับการฝึกอบรมจำเป็นที่จะต้องรู้
3.2 ขอบเขตที่ชัดเจนจะทำให้สามารถให้ความสนใจได้หมดในระหว่างการฝึกอบรม
.

4. การเลือกวิธีการจัดฝึกอบรมที่เหมาะสม

4.1 การนำเสนอ หรือ Presentationมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นโอกาสอันดีของการนำเสนอความรู้เรื่องการประหยัดพลังงาน การนำเสนอมิใช่แต่การที่จะพูดหรือพูดเสียงดังเท่านั้น แต่ควรจะต้องให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความสนใจ เนื่องจากการฝึกอบรมด้านพลังงาน โดยมากจะเป็นเรื่องของเทคนิคอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การนำเสนอจะต้องให้มีความกระชับเข้าใจง่าย และทั้งผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงาน

4.2 กรณีศึกษาของการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม จากการดำเนินโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย (Invigorating Thai Business: ITB) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการจัดทำเป็นกรณีศึกษาของการดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานไว้เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของแต่ละกิจการไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

.
ชื่อกิจการ ประเภทอนุรักษ์พลังงาน 

ลักษณะธุรกิจ ผลิตถาดบรรจุภัณฑ์พลาสติก

.

1. สภาพปัญหา  

1.1 โรงงานต้องการลดต้นทุนการผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า 

1.2 บุคลากรขาดความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ พ..2540 

1.3 โรงงานไม่มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานโดยตรง
1.4 บุคลากรไม่ทราบนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานจากผู้บริหาร
1.5 ไม่มีคู่มือบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เป็นรูปเล่มอย่างสมบูรณ์  
.

2. แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา

2.1 แนวทางการแก้ไขปัญหา

2.2.1 ศึกษาข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากบิลค่าไฟฟ้าเดือนตุลาคม พ.. 2544 ถึงเดือนกันยายน พ.. 2545 และรวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อทำดัชนีการใช้พลังงานของโรงงาน พร้อมตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงาน2.1.2 ให้ความรู้แก่บุคลากรด้านพลังงานและโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ พ.. 2540 

2.1.3 ให้ผู้บริหารแต่งตั้งผู้รับผิดชอบหรือผู้ดูแลด้านพลังงาน 
2.1.4 ให้ผู้บริหารออกประกาศและนโยบายด้านอนุรักษ์พลังงาน  
2.1.5 รวบรวมเอกสารเพื่อจัดทำคู่มือบำรุงรักษาเครื่องจักร 
.
2.2 วิธีการแก้ไขปัญหา 

2.2.1 วิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าเดือนตุลาคม พ.. 2544 ถึงกันยายน พ.. 2545 คำนวณหา Load Factor  และค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) จัดทำดัชนีการใช้พลังงานของโรงงาน ตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อแยกสัดส่วนการใช้พลังงานในระบบผลิต (เครื่อง VACUUM 1, 2, 3 เครื่อง TRIM 1, 2, 3 เครื่อง CNC ฯลฯ) ระบบปรับอากาศ ระบบทำน้ำเย็น ระบบแสงสว่าง ระบบอัดอากาศ และระบบอื่น ๆ วิเคราะห์ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในระบบดังกล่าว พร้อมจัดทำแผนการปรับปรุงทั้งโครงการ 

2.2.2 ให้เอกสารพร้อมอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ พ.. 2540  
2.2.3 ผู้บริหารมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบหรือผู้ดูแลทางด้านพลังงาน 
2.2.4 ผู้บริหารยินดีประกาศนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงาน
2.2.5 จัดทำคู่มือบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยแสดงตำแหน่งที่ตรวจวัด วิธีการ และความถี่ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
.

3. ผลลัพธ์ของการดำเนินการ-ตัวชี้วัด

3.1 โรงงานมีศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานดังนี้    
3.1.1 การลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของระบบ 
3.1.2 การลดความดันอากาศอัดที่สูงมากเกินความต้องการ 
3.1.3 การลดการรั่วไหลของอากาศอัด โดยทดสอบแบบเครื่องอัดทำงานแบบเดิน/หยุด

3.1.4 การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วน 

3.1.5 การลดความดันสูญเสียในท่อส่งจ่ายอากาศอัด 
3.1.6 การปรับปรุงโคมไฟฟ้าเดิมโดยใช้โคมสะท้อนแสงประสิทธิภาพสูง
3.1.7 การใช้บัลลาสต์แกนเหล็กชนิดสูญเสียต่ำหลังจากติดตั้งโคมสะท้อนแสง 
3.1.8  การลดภาระของเครื่องทำน้ำเย็นโดยนำความร้อนที่ระบายออกจากคอนเดนเซอร์ทิ้งนอกอาคาร  
3.1.9 การลดเวลาการหล่อเย็นแม่พิมพ์โดยใช้น้ำเย็น 
3.2 บุคลากรสามารถวิเคราะห์ค่าไฟฟ้าของโรงงานได้เอง
3.3 โรงงานมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้ดูแลทางด้านพลังงาน   
3.4 ผู้บริหารประกาศและออกนโยบายที่จะประหยัดพลังงานในโรงงานปีละ 5 %   
3.5 มีคู่มือบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ 1 เล่ม  
.

4. สรุปและข้อเสนอแนะ

4.1 สรุปการดำเนินงานเมื่อโรงงานดำเนินการตามแผนการปรับปรุงทั้งโครงการดังรายละเอียดหัวข้อ 3.1 จะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 35,292.44 kWh คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้รวมปีละ 144,162.57 บาท โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 44,740 บาท โดยมีร้อยละของการประหยัดพลังงานด้านไฟฟ้า 26%  

4.2  ข้อเสนอแนะ

1. โรงงานควรจัดการประชุมด้านพลังงานเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้พนักงานทราบค่าใช้จ่ายของโรงงาน และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน   

2. โรงงานควรส่งพนักงานเข้าอบรมเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน

4.3 กรณีปฏิบัติ Practice Case เป็นการฝึกอบรมโดยมีกรณีเพื่อทำการปฏิบัติ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ปฏิบัติกับของจริงที่เกิดขึ้น การฝึกอบรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาแนะนำแนวทางการฝึกปฏิบัติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะทำการฝึกปฏิบัติอยู่

4.4 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop

4.5 การระดมความคิดเห็น Discussion การฝึกอบรมโดยการระดมความคิดเห็นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านพลังงาน หรือลักษณะงานที่ทำอยู่อย่างแท้จริง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเสนอแนะ และระดมความคิดเห็นได้เลย ฉะนั้นการฝึกอบรมนี้คงจะต้องเป็นพนักงานระดับกลาง วิศวกรหรือหัวหน้างาน ที่จะก้าวไปสู้ระดับสูงต่อไป

4.6 การฝึกอบรมด้วยการสาธิต Demonstration เป็นการดีอย่างยิ่งของการฝึกอบรมที่ได้มีการแสดงสาธิต โดยเฉพาะการสาธิตการใช้เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย หรือที่มีความซับซ้อน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแสดงให้เห็นกลไกการทำงานของระบบเครื่องจักร จึงจะสามารถทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจได้รวดเร็ว

4.7 การฝึกอบรมด้วยการเป็นพี่เลี้ยงให้ Coaching เพื่อคอยเป็นผู้สอนงานขณะที่ทำการฝึกปฏิบัติ

4.8 การฝึกอบรมในโรงงานอุตสาหกรรม On the job training เป็นการฝึกอบรมโดยใช้สถานที่ทำงานของตนเป็นโรงเรียนฝึกหัดและให้คนในองค์กรนั้นสอนงาน แนะนำงานกัน เพื่อให้เกิดผลขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นเรื่องจริง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสถานที่ทำงาน คนในองค์กรย่อมรู้ และเข้าใจดี

.

5. การดำเนินการจัดฝึกอบรม ดำเนินการดังต่อไปนี้

5.1 การเตรียมสถานที่สำหรับการฝึกอบรม เช่น ห้องฝึกอบรมแบบ Classroom Theater

5.2  การเตรียมเอกสารสำหรับการฝึกอบรม
5.3  การเตรียมเครื่องดื่มและอาหาร
5.4  ยืนยันการเข้าร่วมสำหรับการฝึกอบรม เช่น ผู้บริหาร ผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิทยากร ฯลฯ
5.5  จัดเตรียมแบบประเมินผลสำหรับการฝึกอบรม
5.6  เตรียมอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ LCD Whiteboard Flipchart  ฯลฯ

5.7  การเตรียมใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม

.

6. การประเมินผลการจัดฝึกอบรม

6.1 การประเมินผลวิธีการฝึกอบรม

6.2 การประเมินผลถึงวัตถุประสงค์ว่าสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่

6.3 การประเมินผลวิทยากร

6.4 การประเมินผลความรู้และผลที่ได้รับ

6.5 การประเมินผลสถานที่และความสะดวกสบายในการฝึกอบรม
6.6 การประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม
.

ตัวอย่างการจัดฝึกอบรมสำหรับผู้บริหาร

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม

.

หลักการและเหตุผล

จากแนวความคิดในโครงการ การจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์ สำหรับ SMEs เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Total Energy Management) โดยขยายขอบเขตการทำงานซึ่งมุ่งเน้นงานด้านพลังงานโดยตรง เป็นการพัฒนาองค์กรซึ่งมีหลายวัตถุประสงค์และหลายผลลัพธ์ และเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในระดับสูง เช่น วิศวกร นักเทคโนโลยี และผู้จัดการทางเทคนิค มากกว่าเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องพลังงาน เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนในอุตสาหกรรม ทั้งพนักงานฝ่ายสำนักงาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบกระบวนการผลิต ซึ่งทุกส่วนงานจะต้องมีจิตสำนึกร่วมกันในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะในภาวะที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดโลกทำให้บริษัททุกแห่งต้องลดต้นทุนการผลิตทุกทาง เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดและเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้าให้มากที่สุดความร่วมมือจากทุกฝ่ายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

.

โดยแนวความคิดที่ได้นำเสนอนี้เกิดจากการศึกษาและวิจัยกิจการที่ได้มีการดำเนินการทางด้านพลังงานซึ่งประสบความสำเร็จในอดีต เพื่อหาแนวทางซึ่งสามารถพัฒนาให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยการผสมผสานแนวความคิดทางการบริหารจัดการซึ่งมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น Total Quality Control, Concurrent Engineering และ Value Engineer และสรุปเป็นแนวทางที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงงานได้โดยง่าย โดย

.
การดำเนินกิจกรรมนี้สามารถแบ่งย่อยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่

1. การปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการประหยัดพลังงานว่าไม่ใช่เรื่องของพลังงานเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของการลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ซึ่ง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยกระบวนการนี้จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของทุกส่วน นับแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานระดับล่าง หากการปรับเปลี่ยนทัศนคตินี้ไม่เป็นผล การดำเนินงานในขั้นตอนอื่น ๆ ย่อมไม่สามารถทำได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์ และฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

.

2. ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและทิศทางขององค์กรที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางและล่างสามารถนำไปประยุกต์เป็น Action Plan ได้อย่างสอดคล้องกัน

.

3. การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimization of Resource Usage) โดยขั้นตอนนี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุนสูญเสียที่เกิดจากการออกแบบและการผลิต (Process) โดยอาจมีการพิจารณาการลงทุนในเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ หรือการดัดแปลงปรับปรุงกระบวนการผลิต วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา (ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพียงคนเดียว) เช่น วิศวกรโรงงาน วิศวกรพลังงาน ผู้บริหาร

.

4. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับโครงสร้างเพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การวางแผนการดำเนินงานเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจและการกำหนดนโยบายในการดำเนินการที่ชัดเจน

.

ฉะนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีในกลุ่มผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้โครงการนั้น เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้ต่อเนื่องในองค์กร จึงได้มีการจัด การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร (Achieve Motivate Training: AMT) ภายใต้โครงการ ฯ ขึ้นมา

.

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มผู้บริหารในโครงการ ฯ โดยการฝึกอบรมและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม

2. เพื่อให้ผู้บริหารรับทราบถึงลักษณะและขั้นตอนการดำเนินโครงการ นำไปสู่ความเข้าใจและเชื่อมั่นในการเข้าร่วมโครงการ ฯ

3. เพื่อสร้างจิตสำนึกและทัศนคติเรื่องการประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นและผู้บริหารนำไปกำหนดเป็นนโยบายการดำเนินงานขององค์กร ภายใต้โครงการ

4. เพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมมืออันดีระหว่าง คณะทำงานของ กสอ. ที่ปรึกษาภายใต้โครงการ ฯ และกลุ่มผู้บริหารขององค์กร ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการฯได้เป็นอย่างดี

.
กลุ่มเป้าหมาย
-  ผู้บริหารวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการ

-  ที่ปรึกษาและหน่วยงานดำเนินโครงการ ฯ

ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโครงการ ฯ
.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มผู้บริหารในโครงการ ฯ โดยการฝึกอบรมและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม

2. ผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ ฯ รับทราบถึงลักษณะและขั้นตอนการดำเนินโครงการ นำไปสู่ความเข้าใจและเชื่อมั่นในการเข้าร่วมโครงการ ฯ

3. เกิดจิตสำนึกและทัศนคติเรื่องการประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นและผู้บริหารนำไปกำหนดเป็นนโยบายการดำเนินงานขององค์กร ภายใต้โครงการ

4. สร้างความเข้าใจและร่วมมืออันดีระหว่าง คณะทำงานของ กสอ. ที่ปรึกษาภายใต้โครงการ ฯ และกลุ่มผู้บริหารขององค์กร ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ฯ ได้เป็นอย่างดี

.

แผนการการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ภายใต้โครงการ ฯ

.

.

ตัวอย่างการจัดฝึกอบรมด้านพลังงาน

.

การจัดฝึกอบรมเทคนิควิศวกรรมคุณค่า (VE)

เพื่อให้พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีความเข้าใจและปลูกฝังแนวคิดของ VE และขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์ประยุกต์ใช้เทคนิคด้านการจัดการพลังงานต่าง ๆ เข้ามาผสมผสาน ให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และตลอดจนให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้มีโอกาสทดลองและประยุกต์ใช้ความรู้ด้าน VA/VE ในการทำกรณีศึกษา พร้อมทั้งการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เกิดการเรียนรู้ด้านการระดมสมอง เพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ขั้นตอนการฝึกอบรม ในที่นี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การฝึกอบรมในห้องเรียนกับการฝึกภาคปฏิบัติรายละเอียดมีดังต่อไปนี้

.
1. การฝึกอบรมในห้องเรียน

เป็นการถ่ายทอดความรู้และหลักการของเทคนิค VA/VE และการประยุกต์ใช้ในการประหยัดพลังงานโดยมีระยะเวลาประมาณ 3 วันทั้งนี้อาจประยุกต์ให้น้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม รายละเอียดของเนื้อหาการอบรมมีดังนี้

.

แนวคิดของการประหยัดพลังงานโดยใช้เทคนิคการจัดการ

-  ความสำคัญของการประหยัดพลังงานโดยใช้เทคนิคการจัดการ

-  การประหยัดพลังงานโดยใช้แนวคิดของวิศวกรรมคุณค่า

.
ความรู้พื้นฐานของวิศวกรรมคุณค่า
-  วิศวกรรมคุณค่า/การวิเคราะห์คุณค่า กำเนิด VA/VE และหลักการ

-  จิตสำนึกเรื่องประโยชน์การใช้งาน ต้นทุน และคุณค่า

.

ขั้นตอนการดำเนินการประหยัดพลังงานโดยใช้แนวคิดของ VE

-  การคัดเลือกหัวข้อเรื่องเป้าหมายเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ

-  ขั้นตอนเชิงปฏิบัติของ VE เทคนิค

-  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำกิจกรรม VE ให้ประสบความสำเร็จ

-  ตัวอย่างการประหยัดพลังงานในโรงงานต่าง ๆ

.

ปฏิบัติการกลุ่มย่อย มีการสร้างทีมงาน VE ทำปฏิบัติการกลุ่มย่อยโดยเนื้อหาที่อบรม ประกอบด้วย

-  ตั้งกรณีศึกษาขึ้นมาเป็นหัวข้อเป้าหมาย เพื่อทำการฝึกปฏิบัติ

-  การกำหนดคำจำกัดความของประโยชน์การใช้งานของหัวข้อเป้าหมาย

-  การสร้างผังของอนุกรมประโยชน์การใช้งานของหัวข้อเป้าหมาย

-  การประเมินประโยชน์การใช้งาน ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์และด้านเทคนิค

-  การจัดทำข้อเสนอสิ่งที่จะใช้ทดแทน

-  การออกความคิดและขัดเกลาความคิด

-  การจัดทำความคิดให้เป็นรูปธรรม

.

แผนการจัดฝึกอบรมในห้องเรียน

.

.

หมายเหตุ  เอกสารที่ใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมการระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหา ได้แก่  แผ่นชีตการกำหนดคำจำกัดความของประโยชน์การใช้งาน ผังอนุกรมของประโยชน์การใช้งานและแผ่นชีตการประเมินประโยชน์การใช้งาน แผ่นชีตการออกความคิด แผ่นชีตการผนวกและการขัดเกลาความคิด  แบบฟอร์มข้อเสนอ VE

.

2. การฝึกภาคปฏิบัติ

เป็นการดำเนินการนำหลักการที่เรียนรู้ไปใช้งานจริงโดยการสำรวจการใช้พลังงานในโรงงานอย่างละเอียด ณ สถานที่ทำงานจริง โดยมีการสำรวจประมาณ 3 ครั้ง พร้อมกับมีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ ในช่วงเวลาที่ทำการสำรวจในแต่ละครั้ง จำเป็นต้องทำการประชุมระดมสมอง เพื่อค้นหาปัญหา จนกระทั่งได้ข้อยุติข้อเสนอเปลี่ยนแปลง และมีการนำเสนอให้ผู้บริหารทราบและดำเนินการอนุมัติ จำนวนครั้งของการสำรวจการใช้พลังงานหรือการประชุมขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหาแต่พึงระลึกเสมอว่าการทำกิจกรรมนี้เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งด้วย

.

จากการปฏิบัติจริงจะทำให้ได้ข้อเสนอปรับปรุงจริงและมีการนำเสนอให้ผู้บริหารทราบความก้าวหน้าเป็นระยะในระหว่างการสำรวจการใช้พลังงานอย่างละเอียด ทั้งนี้แผนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

.

หมายเหตุ ในที่นี้เป็นแนวทางของกิจกรรมและระยะเวลาในการดำเนินการ แต่ถ้าปัญหาและวิธีการแก้ไขซับซ้อนขึ้น อาจต้องใช้เวลามากกว่านี้ถึงจะสรุปผลได้ เมื่อทำการฝึกอบรมในห้องเรียนแล้ว ทีมงาน VE จะต้องไปลงปฏิบัติในภาคสนาม ขั้นตอนที่เหลือต่อจากนี้ไปที่ทีมงาน VE จะต้องเรียนรู้ ได้แก่ การสำรวจการใช้พลังงาน การวิเคราะห์ประโยชน์การใช้งาน การระดมสมอง การประเมินผล การวางแผน การนำเสนอผลงานให้ระดับผู้บริหาร และการประยุกต์ใช้

.

ทั้งหมดเป็นแนวทางการจัดฝึกอบรมด้านพลังงานที่สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาบุคคลากรของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี นำไปประยุกต์ใช้กับการจัดฝึกอบรมในองค์กรได้

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด