เนื้อหาวันที่ : 2011-04-18 14:21:48 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3753 views

การป้อนรหัส และวิชั่น กุญแจสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับได้

Leigh Jordan แห่งบริษัท Cognex UK Ltd ระบุว่าแมชชีนวิชั่น และการป้อนรหัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลยุทธ์การตรวจสอบย้อนกลับได้ที่มีประสิทธิภาพสูง

การป้อนรหัส และวิชั่น
กุญแจสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability)

บริษัท ค็อกเน็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

Leigh Jordan แห่งบริษัท Cognex UK Ltd ระบุว่าแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) และการป้อนรหัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลยุทธ์การตรวจสอบย้อนกลับได้ที่มีประสิทธิภาพสูง

เพื่อให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีความสมบูรณ์แบบ กระบวนการพิมพ์บาร์โค้ดแบบถาวร Direct Part Marking (DPM) และแมชชีนวิชั่น ยังคงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และข้อกำหนดทางอุตสาหกรรม ในที่นี้กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของการป้อนรหัส, การพิมพ์บาร์โค้ด และวิชั่น ซึ่งเมื่อรวมสามตัวแปรนี้เข้าด้วยกัน จะมีส่วนช่วยให้การตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) มีความสมบูรณ์ได้อย่างไร ? ทั้งในส่วนของการผลิต และระบบโลจิสติกส์ 

ต้นกำเนิดของการตรวจสอบย้อนกลับได้
เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และมาตรการที่เข้มงวดครอบคลุมทุกภาคส่วนของการผลิต ทำให้ความต้องการในการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงปลายทางมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองตามกฎข้อบังคับเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ที่จะได้รับสินค้านั้นๆ อีกด้วย 

ในอีกไม่ช้าการป้อนรหัส Coding และการตรวจสอบย้อนกลับได้จะเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย และการเพิ่มขึ้นของการใช้ระบบแมชชีนวิชั่นจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ด้วยความสามารถ ของระบบและประสิทธิผลในการลดต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้ระบบวิชั่นได้เริ่มถูกใช้ในทุกภาคการผลิต และการใช้รหัส 1D และ 2D ในไม่ช้าจะกลายเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งในปัจจุบันประโยชน์ของการอ่านค่ารหัส และการตรวจสอบย้อนกลับได้ ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคโลจิสติกส์แล้ว

ความสำคัญของรหัส
เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ “รหัส” โดยทั่วไป บาร์โค้ด 1D มีการเข้ารหัสแบบตัวเลขเท่านั้น ในขณะที่บาร์โค้ด 2D สามารถใส่รหัส Alpha-numerics สำหรับฉลากพิมพ์ได้ (มากถึง 150 Alpha-numerics ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับ 48 X 48 Cell, 10 X 10 มม.) โดยปกติ บาร์โค้ด 1D ทำงานร่วมกับตาราง “สืบค้น” หรือฐานข้อมูลที่มี Serial Number เฉพาะที่ได้รับการเข้ารหัสภายในโค้ดและอ้างอิงไปยังฐานข้อมูล อย่างไรก็ตามถ้าปราศจากการเข้าถึงยังฐานข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในภาคโลจิสติกส์ รหัสภายในเหล่านั้นจะไม่สัมพันธ์กัน

ข้อได้เปรียบของข้อมูลรหัส 2D คือ สามารถใส่รหัสภายในตัวมันเองด้วย (ซีเรียลนัมเบอร์เฉพาะ/ข้อมูล/ข้อมูลปลายทาง และอื่น ๆ) โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลภายในใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบย้อนกลับได้สามารถถูกดำเนินการได้ทุกสถานที่ ด้วยความยืดหยุ่นดังกล่าวช่วยให้บริษัท โลจิสติกส์สามารถอ่านรหัสและตรวจสอบข้อมูลสินค้า และการจัดส่งจำนวนมากได้อย่างสะดวก แม้ในระหว่างการขนส่งสินค้าก็ตาม

การพิมพ์รหัสถาวร คือหัวใจสำคัญ
ข้อมูลที่จำเป็นที่ถูกใส่รหัสลงไปบนสินค้าและพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การตรวจสอบย้อนกลับได้สามารถถูกจัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น 2D Data MatrixTM Code ECC200 ได้ถูกกำหนดเพื่อใช้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (ดูรูปภาพที่ 1) ซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่าบาร์โค้ดมาตรฐานมาก ด้วยคุณสมบัติพิเศษของรหัส Data Matrix ช่วยยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับได้ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ดูรูปภาพที่ 2)  
     

รูปที่ 1 รหัส Data MatrixTM ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม
     
    
    
รูปที่ 2 บาร์โค้ดที่ใช้ในทางการค้าและรหัส Data Matrix

รหัส Data Matrix สามารถจำแนกชนิดของสินค้า หรือชิ้นส่วนที่ถูกผลิต และรอยพิมพ์ดิจิตอลที่ถูกพิมพ์บนพื้นผิวของชิ้นส่วน ช่วยให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งภายในสายการผลิตและภายนอกตลอดอายุการใช้งานของสินค้า โดยหน้าที่หลักของรหัส Data Matrix คือ ตรวจสอบ
* ข้อผิดพลาด
* การตรวจสอบย้อนกลับได้ของชิ้นส่วน
* ชิ้นส่วนแท้
* การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

โดยมาตรฐาน ECC200 จะมีรูปแบบให้เลือกใช้ ได้แก่ 24 สี่เหลี่ยมจัตุรัส และ 6 สี่เหลี่ยมผืนผ้า (ดูตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งให้ความยืดหยุ่นแก่ผู้ใช้ในการใส่รหัสระหว่าง 6 และ 3,116 ตัวเลข หรือ ตัวอักษร 2,000 Alpha-numerics ในรหัสชุดเดียว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมีตัวอักษรอยู่ที่ประมาณ 30–40 Alpha-numeric ในรหัสชุดเดียว

ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบนรหัส Data Matrix ได้แก่
* วันที่ และล็อตที่ผลิต
* เลขกลุ่ม Batch numbers
* ข้อมูลผู้ผลิต
* ซีเรียลนัมเบอร์
* ข้อมูลเฉพาะของสินค้า เช่น ปลายทาง เป็นต้น

รหัส Data Matrix ได้ถูกใช้ในวงกว้างในหลากหลายชนิดสินค้า ตั้งแต่ชิ้นส่วนรถยนต์ และแผงวงจรไฟฟ้า จนถึงใบเสร็จบริการน้ำมัน และขวดยา (ดูรูปภาพที่ 3)

รูปที่ 3 รหัส Data Matrix ซึ่งถูกใช้กันอย่างกว้างขวางบนขวดยา

เทคนิคของการพิมพ์รหัส
เทคนิคหลักที่ใช้ในการสร้างรหัส Data Matrix สำหรับการพิมพ์รหัสแบบถาวร ได้แก่ Dot Peening, Laser Marking, Electro-chemical Etching และ Inkjet Printing ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้เทคนิคใด จะขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานของชิ้นส่วน ส่วนประกอบของชิ้นส่วน สภาพแวดล้อมที่ถูกใช้งาน และจำนวนในการผลิต ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ เนื้อของพื้นผิวชิ้นส่วน จำนวนข้อมูลที่ถูกใส่รหัสในแต่ละชิ้นส่วนและพื้นที่ และตำแหน่งที่จะถูกพิมพ์บนชิ้นส่วน

Dot Peening: เทคนิคนี้จะใช้เข็มอัดอากาศ หรือกลไกอิเล็กโตรแมคานิก แบบหัวเหล็กคาร์ไบด์ หรือเพชรกดลงบนพื้นผิววัสดุ เทคนิคนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมยานยนต์และอากาศยาน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีวงรอบการใช้งานที่ยาวนาน (ดูรูปที่ 4) 

     รูปที่ 4 การใช้วิธีการของ Dot Peening กดลงบนผิววัสดุ

Laser Marking: เทคนิคนี้จะให้ความร้อนแก่พื้นผิวชิ้นส่วน เพื่อทำให้พื้นผิวเกิดการหลอมละลาย ระเหย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่พื้นผิวชิ้นส่วน จนเกิดเป็นรอยพิมพ์ขึ้น (ดูรูปที่ 5) เทคนิคนี้สามารถสร้างเมตริกซ์แบบกลม หรือสี่เหลี่ยม โดยหากมีข้อมูลมาก ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้แบบสี่เหลี่ยม เทคนิคนี้จะสมบูรณ์ได้ ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างเลเซอร์และพื้นผิววัสดุของชิ้นงาน โดยเทคนิค Laser Marking มีความรวดเร็ว เสถียร และแม่นยำสูง ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์  
    

     รูปที่ 5 รหัส Data Matrix ซึ่งถูกประยุกต์ใช้กับเทคนิค Laser Marking

Electro-Chemical Etching (ECE): เป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดรอยโดยการทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์บนพื้นผิวของเหล็กผ่านกระดาษลอกลาย ตัวพิมพ์จะประกบกระดาษลอกลายระหว่างผิวของชิ้นงาน และแผ่นรองที่ชุบอิเล็กโทรไลต์ หลังจากนั้นกระแสไฟกำลังต่ำจะถูกส่งผ่านเพื่อทำให้เกิดรอยลงบนชิ้นงาน เทคนิค ECE จะให้ผลลัพธ์ที่ดีบนพื้นผิวกลมมน และชิ้นส่วนที่ไวต่อการกดทับ รวมไปถึงเครื่องยนต์เจ็ต ยานยนต์ และส่วนประกอบของอุปกรณ์ทางการแพทย์

Inkjet Printers: เทคนิคนี้สามารถพ่นหยดหมึกลงบนพื้นผิวของชิ้นส่วนได้อย่างแม่นยำ โดยหลังจากของเหลวที่ทำให้เกิดจุดหมึกระเหย จะทำให้เกิดรอยสีบนพื้นผิวของชิ้นส่วนที่เป็นโมดูลของรอยพิมพ์ เทคนิคอิงก์เจ็ตสามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วสำหรับชิ้นงานที่มีการเคลื่อนไหว และให้คอนทราสต์ที่ดี

การอ่านรหัส–องค์ประกอบสำคัญลำดับที่ 2
เมื่อรหัสถูกพิมพ์ลงบนชิ้นส่วนหรือสินค้าแล้ว มันจะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย ถ้าไม่สามารถถูกอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ และนี่คือส่วนที่แมชชีนวิชั่นเข้ามามีส่วนในการควบคุม และทำให้มั่นใจได้ว่าการตรวจสอบย้อนกลับได้ของสินค้าสามารถถูกจัดการด้วยความสมบูรณ์แบบ

โดยทั่วไป แมชชีนวิชั่นถูกใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อใช้ในการวัด ประมาณค่า ยืนยันความถูกต้อง ตรวจสอบ และแนะนำ บ่อยครั้งได้ถูกติดตั้งไว้ที่ใดที่หนึ่งในกระบวนการผลิตเพื่อจัดการงานแต่ละหน้าที่ แต่เนื่องจากความต้องการของลูกค้าสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับได้ของสินค้า และมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในกระบวนการผลิต ทำให้ระบบวิชั่นที่ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้ในตลาด ID Market มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ระบบแมชชีนวิชั่นถูกใช้ในการยืนยันความถูกต้องของรหัส Data Matrix และดำเนินการด้วยความแม่นยำ และไว้ใจได้ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ระบบวิชั่นสามารถรองรับแม้แต่งานที่ต้องใช้ความเร็วสูงในสายการผลิตได้โดยไม่มีปัญหา

สำหรับแอพพลิเคชั่นการผลิตโดยทั่วไป ชิ้นส่วนที่ถูกพิมพ์รหัสต้องถูกส่งผ่านหน้าเครื่องวิชั่นเซนเซอร์ โดยภาพของรหัส Data Matrix จะถูกบันทึก และถูกจัดการโดยใช้การประมวลผลภาพแบบพิเศษ และจำแนกอัลกอริทึม ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ความสามารถในการอ่านจะไม่ถูกลดลง แม้แต่ในรหัสที่มีคอนทราสต์ต่ำ หรือรหัสที่ด้อยคุณภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในระหว่างการพิมพ์รหัส หรือการสึกหรอของสินค้า

ดังรูปภาพที่ 6a, b, c และ d แสดงให้เห็นถึง รหัส Data Matrix ยังสามารถถูกอ่านค่าได้ โดยเครื่องอ่าน ID รุ่นใหม่ ทั้งที่มีความแตกต่างกันของคุณภาพในการพิมพ์ ชิ้นส่วนที่ถูกหมุนเวียน และข้อจำกัดในเรื่องของแสง

นอกจากนี้ ในการอ่านข้อมูลที่ถูกเก็บบนรหัส เซนเซอร์สามารถแจ้งผลลัพธ์สำหรับกระบวนการผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของรอยพิมพ์แต่ละรอยได้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสินค้าได้ถูกพิมพ์รหัสด้วยรหัส 2D ที่มีคุณภาพสูงสุด ในการทำให้คุณภาพของรหัสมีความสมบูรณ์จะนำไปสู่การผลิตในภาพรวมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และลดต้นทุนในการดำเนินงานอีกด้วย

รูปที่ 6 รหัส Data Matrix สามารถที่จะอ่านด้วยเครื่อง ID Reader อันทันสมัย

ชนิดของเครื่องอ่านรหัส
ระบบแมชชีนวิชั่นโดยส่วนมากจะถูกรวมเข้ากับสายการผลิตในรูปแบบของการติดตั้งเซนเซอร์เฉพาะที่ ซึ่งจะใช้ในการจำแนกชิ้นส่วนที่ถูกจับถือ หรือทำให้เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ ด้วยสายพานลำเลียง, Indexer หรือหุ่นยนต์แขนกล เป็นต้น ในการทำงานจริง ชนิดของเครื่องอ่านประเภทนี้จะถูกติดตั้งในตำแหน่งเฉพาะ โดยรอยพิมพ์ต้องสามารถถูกวางอยู่หน้าเครื่องอ่านได้ ในรูปแบบต่อเนื่อง หรือการเคลื่อนที่แบบ Indexed (Indexed Motion) โดยมากเครื่องอ่านประเภทนี้จะมีต้นกำเนิดแสงในตัวเอง หรือใช้ต้นกำเนิดแสงภายนอกตามความเหมาะสมของแต่ละแอพพลิเคชั่น 
     

รูปที่ 7 เครื่องอ่านรหัส ID รุ่นใหม่แบบใช้มือจับถือได้ทำงานด้วยเลเซอร์ เหมาะสำหรับอ่านสินค้าที่มีขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น และคล่องตัวในการใช้งาน เครื่องอ่านรหัส ID รุ่นใหม่ มีให้เลือกใช้แบบใช้มือจับถือได้ (ดูรูปภาพที่ 7) ซึ่งเหมาะในการใช้งานสำหรับชิ้นส่วนที่ไม่ถูกเคลื่อนย้ายโดยอัตโนมัติ หรือชิ้นส่วนมีขนาดที่หลากหลาย โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานในภาคโลจิสติกส์ที่สุด เนื่องจากสินค้าจำเป็นต้องถูกตรวจสอบในหลาย ๆ สถานที่ก่อนที่จะถึงปลายทางสุดท้าย

ถึงแม้ว่าเครื่องอ่านรหัส ทั้ง 1D และ 2D ได้ถูกใช้ในภาคโลจิสติกส์ แต่เครื่องอ่านส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้กับรหัสแบบ 2D เพราะว่าเครื่องอ่านรหัส 2D ในปัจจุบันสามารถอ่านได้ทั้งรหัสที่เป็น 1D และ 2D ในขณะที่เลเซอร์สแกนเนอร์ 1D อ่านได้แค่บาร์โค้ด 1D เพียงเท่านั้น

นอกจากนี้ เลเซอร์สแกนเนอร์ 1D (เป็นวิธีที่นิยมสำหรับสแกนบาร์โค้ด) มีปัญหายุ่งยาก เนื่องจากค่าคอนทราสต์ระหว่างพื้นหน้าและพื้นหลังต้องมีค่าสูงถึง 80% ถึงจะอ่านรหัสได้ ซึ่งเครื่องอ่านรหัส 2D สามารถอ่านรหัสได้ที่ค่าคอนทราสต์ต่ำเพียงแค่ 20% หรืออาจน้อยกว่า และไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดหากเกิดการหมุนเวียนของรหัส ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ไม่ควรถูกมองข้ามเมื่อต้องลงทุนในเทคโนโลยีการอ่านรหัส 

โลจิสติกส์ให้ความสนใจในหัวใจสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับได้
สองประโยชน์สำคัญที่เห็นได้ชัดของการตรวจสอบย้อนกลับได้ในภาคโลจิสติกส์ คือข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกจัดเก็บในพื้นที่ที่เล็กกว่าได้ และค่าระดับความต้านทานการเสียหายภายในรหัสที่สูงกว่า การตรวจสอบย้อนกลับได้ที่ใช้รหัส 2D ช่วยให้บริษัทโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัย โดยสินค้าแต่ละชิ้นสามารถถูกติดตามได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตลอดเส้นทางที่ทำการขนส่ง

เนื่องจากข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกใส่ไว้ในรหัส 2D ทำให้รูปแบบฟังก์ชันข้อมูลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ร่วมกันกับการเข้ารหัสของตัวแยกการบันทึก และมาตรฐานอุตสาหกรรมรูปแบบตัวอักษร เพื่อทำให้ข้อมูลสามารถถูกใช้งานแบบ Plug and Play ภายในรหัส 2D ในระบบ SAP และ ระบบจัดการ ERP ต่าง ๆ ซึ่งเป็นระบบแบ็กออฟฟิศได้ โดยข้อมูลจะถูกจัดเรียงเป็นแถวอย่างง่ายดายได้โดยตรงในฐานข้อมูลระบบจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อเข้าฐานข้อมูลเพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการในการใส่ค่า

แอพพลิเคชั่นที่ใช้ภายในงานโลจิสติกส์
* 1D/2D/Optical Character Verification (OCV) เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าอยู่ที่ไหนได้ตลอดเวลา (ติดตาม และตรวจสอบย้อนกลับได้)
    * Track: “สินค้าอยู่ที่ใด ณ ขณะนี้ ?”
    * Traceability: “สินค้ามีสถานะเป็นอย่างไรบ้าง ?”
* แก้ไขฉลากของสินค้าให้ถูกต้อง
* แก้ไขบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้ถูกต้อง (บรรจุภัณฑ์บรรจุสินค้าที่ถูกต้องหรือไม่)
* บรรจุภัณฑ์ไม่มีตำหนิ (เช่น ฝาบรรจุภัณฑ์ถูกปิดสนิททั้งหมด)
* แก้ไขข้อมูล/รหัสล็อตสินค้าที่ผลิตให้ถูกต้อง รวมไปถึง คุณภาพของวันที่ผลิต และรหัสล็อต สินค้าที่ผลิต
* วันที่ผลิต/รหัสล็อตสินค้าที่ผลิต หรือวันหมดอายุต้องตรงตามรหัส 1D หรือ 2D

บทสรุป
ทุก ๆ วัน ผู้ผลิตต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ คนพยายามที่จะเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้าในการป้อนรหัสและแมชชีนวิชั่น ซึ่งจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 

เกี่ยวกับผู้เขียน


มร.ลี จอร์แดน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขา Integrated Engineering จากมหาวิทยาลัยเวลส์ และมีประสบการณ์ทำงานทางด้านแมชชีนวิชั่นมานานกว่า 16 ปี โดยดำรงตำแหน่งวิศวกรทางด้านแอพพลิเคชั่นและ ID Specialist ของค็อกเน็กซ์ ปัจจุบันดูแลรับผิดชอบทางด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องอ่านรหัสในระดับอินเตอร์แนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
E-mail: leigh.jordan@cognex.com
    
    
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณชยุตม์ รักชลธี, วิศวกรฝ่ายขาย
บริษัท ค็อกเน็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ 084-644 5982
E-mail: chayut.luckchonlatee@cognex.com
     
     

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด