เนื้อหาวันที่ : 2011-04-01 17:39:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7894 views

การวางแผนและการควบคุม (ตอนที่ 1)

การวางแผนและการควบคุมนั้นต้องกระทำไปพร้อมกัน ไม่มีสิ่งใดที่จะกระทำให้บรรลุผลสำเร็จได้ถ้าเลือกที่จะกระทำเพียงการวางแผนงานหรือการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

ผศ. วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

การวางแผนและการควบคุมนั้นต้องกระทำไปพร้อมกัน ไม่มีสิ่งใดที่จะกระทำให้บรรลุผลสำเร็จได้ถ้าเลือกที่จะกระทำเพียงการวางแผนงานหรือการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น การวางแผนเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และรายละเอียดของแนวปฏิบัติในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงการกำหนดแนวทางในการประเมินค่าผลงาน การเลือกนโยบาย กลยุทธ์ การดำเนินงานที่ต้องการเพื่อที่จะทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้

ส่วนการควบคุมเป็นการดำเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับแผนงานที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการเปรียบเทียบนั้นจะต้อแงมีข้อมูลทั้งในส่วนที่เป็นยอดรวมและข้อมูลที่เป็นรายละเอียดในส่วนที่แยกย่อย ๆ ของแต่ละส่วนงานด้วย เพื่อการบริหารการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ผลต่างที่เกิดขึ้นระหว่างข้อมูลที่เป็นแผนงานกับผลการปฏิบัติงานจริงจะได้นำมาทำการตรวจสอบสาเหตุเพื่อให้ผลต่างที่ควรจะเกิดขึ้นเป็นค่าผลต่างที่น่าพอใจต่อไป

ภาพแสดงวัฎจักรการวางแผนและการควบคุม

งบประมาณเพื่อการวางแผนงาน
งบประมาณเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการวางแผนการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี งบประมาณหลักเป็นงบประมาณโดยภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะได้มาจากการรวบรวมงบประมาณของทุก ๆ แผนกงานขององค์กร ผลลัพธ์ของการรวบรวมงบประมาณของทุกแผนกงานเข้าด้วยกันจะทำให้ทราบถึงข้อตกลงที่ต้องดำเนินงานไปในแนวทางเดียวกันขององค์กรที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์หลักขององค์กร การสรุปข้อมูลสำคัญของงบประมาณในแต่ละแผนกงานจะทำให้ทราบถึงงบประมาณการเงินที่สำคัญ ได้แก่

• งบประมาณงบกำไรขาดทุน
• งบประมาณงบดุล
• งบประมาณกระแสเงินสด

นอกจากงบประมาณการเงินดังกล่าวแล้ว อาจจะต้องมีการจัดทำงบประมาณการจ่ายลงทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบถึงการวางแผนการจ่ายลงทุนเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานระยะยาวเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องมีการคาดการณ์ความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรและทำการจัดหาทรัพยากรมาให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงความสามารถในการหาเงินทุนมาใช้เพื่อการจ่ายซื้อทรัพยากรเหล่านั้นได้ด้วย

การจัดทำงบประมาณ
ต่อไปนี้จะยกตัวอย่างกิจการแห่งหนึ่งเพื่ออธิบายถึงขั้นตอนในการจัดทำงบประมาณ
กิจการแห่งหนึ่งมีโรงงานเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง กระบวนการผลิตแยกออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการประกอบ โดยกิจการได้ซื้อชิ้นส่วนจากผู้ผลิตภายนอกแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันตามรูปแบบ หลังจากทำการประกอบเรียบร้อยแล้วจึงโอนงานไปยังขั้นตอนต่อไปคือ การทดสอบและการบรรจุสินค้าสำเร็จรูป

สินค้าสำเร็จรูปทั้งหมดที่ผ่านกระบวนการทดสอบและบรรจุเรียบร้อยแล้วจะถูกโอนไปยังสาขาต่าง ๆ ของกิจการเพื่อการจัดจำหน่ายต่อไป ผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ ที่ร่วมกันจัดทำงบประมาณสำหรับปี ได้ประมาณการปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์โดยคาดการณ์ว่าในปีต่อไปที่กำลังจะมาถึงนี้ต้องทำการผลิตประมาณ 20,000 หน่วย

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งจะโอนไปยังสาขาจัดจำหน่ายต่าง ๆ จะขายผลิตภัณฑ์ในราคาหน่วยละ 18 บาทต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานและการจัดจำหน่ายในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 60,000 บาท และคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนดังกล่าวในปีต่อไปยังคงเท่าเดิม

                          ต้นทุนมาตรฐานสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งหน่วย มีดังนี้

                         


                          ฝ่ายงานคลังสินค้าคงเหลือได้ประมาณการเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือที่ต้องการ ณ วันต้นงวดและปลายงวดไว้ดังนี้

                         
                          ข้อมูลข้างต้นจัดทำงบประมาณได้ดังนี้

งบประมาณการผลิต

งบประมาณการผลิต

เมื่อประมาณการหน่วยผลิตได้แล้วจำเป็นต้องทำการประมาณการวัตถุดิบที่ต้องการใช้เพื่อการผลิตและหน่วยวัตถุดิบที่ต้องทำการจัดซื้อมาใช้ให้เพียงพอกับความต้องการในการผลิต จัดทำงบประมาณวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการผลิตและงบประมาณวัตถุดิบที่ซื้อมาใช้ ได้ดังนี้

งบประมาณวัตถุดิบ

งบประมาณวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการผลิต

งบประมาณวัตถุดิบที่ซื้อมาใช้

งบประมาณวัตถุดิบที่ต้องการใช้เพื่อการผลิตและงบประมาณวัตถุดิบที่ต้องทำการจัดซื้อมาใช้จะต้องทำแยกจากกัน ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่จะมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละส่วนงานออกจากกันระหว่างแผนกงานที่เบิกใช้ไปในการผลิตและแผนกงานจัดซื้อ ซึ่งจะต้องทำการคาดการณ์แผนงานในการจัดซื้อและการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับราคาที่ดีที่สุดของวัตถุดิบที่ต้องทำการจัดซื้อ

ในบางครั้งวัตถุดิบที่ต้องการซื้ออาจจะมีราคาเปลี่ยนแปลงไปหรือแตกต่างไปจากราคาวัตถุดิบคงคลัง ในกรณีนี้ต้องทำการปรับเปลี่ยนปริมาณวัตถุดิบคงคลังที่ต้องสำรองไว้แตกต่างไปจากเดิม

งบประมาณแรงงานทางตรง
หลังจากที่ทราบปริมาณความต้องการสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องทำการผลิตแล้ว นอกจากจะต้องจัดทำงบประมาณวัตถุดิบ กิจการจะต้องจัดทำงบประมาณแรงงานทางตรงที่ต้องการใช้เพื่อการผลิตด้วย แสดงงบประมาณแรงงานทางตรงสำหรับรอบงบประมาณที่กำลังจะมาถึงได้ดังนี้

งบประมาณแรงงานทางตรง
 

จำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรงที่ประมาณการขึ้นจากการจัดทำงบประมาณแรงงานทางตรงข้างต้นนั้น จะถูกนำมาคำนวณเพื่อการประมาณการจ้างพนักงานต่อไป พนักงานที่ทำงานในลักษณะที่แตกต่างกันไปต้องการใช้เวลาเพื่อการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ แตกต่างกันไป ในที่นี้ถ้ากิจการได้ทำการประมาณการความสามารถในการผลิตของพนักงานแต่ละคนไว้ว่าจะสามารถทำงานได้ประมาณ 1,500 ชั่วโมงแรงงานต่อปี

ดังนั้นความต้องการพนักงานเพื่อมาปฏิบัติงานในส่วนของการประกอบชิ้นส่วนจะประมาณได้ 7 คน (10,250 ชั่วโมงแรงงานที่ต้องการ ? ชั่วโมงแรงงานที่สามารถทำได้ต่อคนต่อปี 1,500 ชั่วโมงแรงงาน) ส่วนจำนวนพนักงานที่ต้องทำการจัดจ้างมาเพื่อการปฏิบัติงานในหน้าที่การทดสอบและการบรรจุจะคำนวณได้ประมาณ 2.73 ซึ่งก็คือ 3 คน (4,100 ชั่วโมงแรงงานที่ต้องการ ? ชั่วโมงแรงงานที่สามารถทำได้ต่อคนต่อปี 1,500 ชั่วโมงแรงงาน) ถ้าในขณะนี้พนักงานที่ปฏิบัติงานในการประกอบชิ้นส่วนมีเพียง 6 คนเท่านั้น

ในกรณีนี้กิจการอาจจะมีนโยบายในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อาจต้องจัดจ้างพนักงานเพิ่มอีก 1 คน หรืออาจจะให้มีการทำงานล่วงเวลา หรืออาจจะมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้มีทักษะในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น หรืออาจจะกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ในการตรวจสอบหรือประเมินผลงานของพนักงานเสียใหม่ให้พนักงานต้องปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเข้มงวดกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานให้มากกว่าเดิมเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้มากขึ้นตามที่ต้องการ


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด