เนื้อหาวันที่ : 2007-03-19 11:53:46 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 16025 views

การออกแบบเพื่อการผลิต

ปัญหาทางด้านการผลิตที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท การวิเคราะห์ไปยังต้นเหตุของปัญหา พบว่าสาเหตุ กระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ถ้าไม่ปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ออกแบบไม่เหมาะสมนั้นเสียใหม่ ทำให้กระบวนการในการผลิตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

ปัญหาทางด้านการผลิตที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหลายๆประเภท หากทำการวิเคราะห์ไปยังต้นเหตุของปัญหาแล้ว พบว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่ง เกิดจากการออกแบบกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ดังนั้นหากทำการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ได้ออกแบบไว้ไม่เหมาะสมนั้นเสียใหม่  ทำให้กระบวนการในการผลิตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่จะเกิดขึ้นตามมาได้อีกเป็นอย่างมาก

.

เมื่อมองย้อนกลับไปถึงกระบวนการทำงานของวิศวกรออกแบบ จะเห็นได้ว่าพื้นฐานการวิเคราะห์โดยทั่วไป ก็คือ วิศวกรจะเริ่มจากการนำความต้องการของตลาด ที่ถูกส่งผ่านมาทำการแปลผลให้ออกมาในแบบของรูปวาดผลิตภัณฑ์ (Drawing) และรายการวัสดุ (Bill of Material) เสียก่อน โดยกระบวนการนี้วิศวกรออกแบบจะเป็นผู้ที่ทำการวิเคราะห์ดูว่าประเด็นปัญหาและความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตคืออะไรในการออกแบบทุกครั้ง ในกระบวนการออกแบบนี้ วิศวกรจะต้องพยามยามค้นหาแนวทางในการออกแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิรูปและมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด ภายใต้ปัญหาหลักทางด้านของการควบคุมค่าใช้จ่าย และข้อจำกัดในการผลิตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตนั้นๆ

.

โดยทั่วไปแล้วแน่นอนว่าผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์มักเป็นวิศวกรเป็นหลักแต่บางครั้งหรือบางผลิตภัณฑ์ผู้ออกแบบอาจไม่ใช่วิศวกรหรือผู้ที่เข้าใจว่ากระบวนการผลิตโดยละเอียดเป็นอย่างไรรวมถึงข้อกำหนด และข้อจำกัดในกระบวนการผลิตที่จะต้องพิจารณา ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างล่าช้าและสูญเสียค่าใช้จ่ายที่เกินความต้องการจากการปรับแก้แบบและกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตนั่นคือ ผู้ออกแบบต้องพยายามออกแบบกระบวนการผลิตให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้น หรือในช่วงกระบวนการออกแบบ จากรูปที่ 1 และ 2 ด้านล่าง (Chanan and Unny, 1994)  สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า  แท้จริงแล้วใครและแผนกใด ที่เป็นผู้ที่มีผลกระทบมากที่สุดกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เพราะจากรูปจะเห็นได้ชัดเจนว่า  ผู้ออกแบบเป็นผู้ที่สามารถสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นตามมาได้มากที่สุดถึงกว่า 70% แต่ในขณะเดียวกันกระบวนการออกแบบนี้เป็นส่วนที่จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดของกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ประมาณ5% เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าหากผู้ออกแบบสามารถทำการออกแบบได้ดีตามหลักการที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการในกระบวนการผลิต ย่อมจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมและแก้ปัญหาได้มากที่สุด ในการช่วยลดต้นทุนกระบวนการผลิตและเวลาที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

.

.

รูปที่ 1 แสดงเปอร์เซ็นต์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับค่าใช้จ่ายในการผลิตจากบุคคลต่างๆ

.

.

รูปที่ 2 แสดงเปอร์เซ็นต์ผลกระทบกับค่าใช้จ่ายในการผลิตที่จะเกิดขึ้นจากฝ่ายต่างๆ (Chanan and Unny, 1994)

.

เบื้องต้นก่อนที่ผู้ออกแบบจะทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ออกแบบจำเป็นต้องทราบพื้นฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ก่อนว่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง ผู้ออกแบบต้องพยายามออกแบบให้ครอบคลุมหลักการพื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใดบ้าง ปัจจัยพื้นฐานเหล่านั้น ได้แก่

- การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องออกแบบให้มีความพึงพอใจทางด้านหน้าที่การทำงาน และความต้องการทางด้านความสวยงาม (Aesthetic) มากที่สุด

- ต้องออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือและคุณรูปสูงสุด (Optimum Quality and Reliability)

- การออกแบบต้องเป็นไปตามข้อกำหนด, นโยบายของบริษัท, มาตรฐานอุตสาหกรรม รวมถึงกฎหมายทางด้านการค้าต่างๆ ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
- การออกแบบต้องให้มีต้นทุนในการผลิตและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด

- การออกแบบต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการประกอบน้อยที่สุด

.

 

.

ตารางที่ 1 การออกแบบเพื่อการผลิต- แนวทางพื้นฐานในการออกแบบเพื่อสร้างความพึงพอใจ

.

การออกแบบเพื่อการผลิต

การออกแบบเพื่อการผลิตเป็นการพิจารณาความสำคัญในด้านของการผลิตตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นในการออกแบบ ซึ่งแนวคิดนี้จำเป็นต้องใช้การพิจารณาแบบขนานจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ (Concurrent Engineering) โดยจุดประสงค์หลักของการออกแบบเพื่อการผลิตนี้ก็คือ เพื่อทำการออกแบบแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำการผลิตได้ง่าย  จากการมุ่งเน้นการออกแบบในแต่ละชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ให้ง่ายในการผลิตและประกอบ รวมถึงการพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของแนวคิดในการประสานการออกแบบกระบวนการผลิตไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ต้องมั่นใจได้ว่าการออกแบบนั้นได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสรูปการผลิตที่มี และความต้องการจากผลิตภัณฑ์ ดังรูปที่ 3 ด้านล่าง

.

.

รูปที่ 3  โมเดลในการนำความต้องการมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

.
เทคนิคในการออกแบบเพื่อการผลิต

การออกแบบเพื่อการผลิตจะมีการประยุกต์เทคนิควิธีการที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การออกแบบที่ได้นั้นมีความเหมาะสมกับการผลิตมากที่สุด โดยเทคนิคในแต่ละวิธีจะช่วยให้การออกแบบเพื่อการผลิตนั้นมีการพิจารณาไปอย่างเป็นระบบมากขึ้น เทคนิคหลักๆ ที่มีความสำคัญ และและถูกนำมาใช้กันแพร่หลาย เนื่องจากสามารถช่วยในการออกแบบการผลิตได้เป็นอย่างดี รวมถึงเมื่อทำการประยุกต์ใช้แล้ว เทคนิคเหล่านี้จะส่งผลอย่างมากกับต้นทุนการผลิต ที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ได้แก่

.

.

 ตารางที่ 2  เทคนิคที่สามารถนำมาใช้ในการออกแบบเพื่อการผลิต

.

วิศวกรรมคุณค่าเทคนิควิศวกรรมคุณค่าเป็นเทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาหน้าที่หลักของผลิตภัณฑ์และต้นทุนที่สัมพันธ์กับหน้าที่หลังใช้(Value=Function/Cost) ซึ่งเทคนิควิศวกรรมคุณค่านี้ จำเป็นต้องใช้แนวทางการระดมสมองในการสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้แก้ปัญหาการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นหลัก

.

แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิต  แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิตพื้นฐานในการออกแบบที่สำคัญเกี่ยวข้องกับ การออกแบบระบบการผลิตที่เหมาะสมที่สุด (Optimization) ด้วยการมุ่งประเด็นการพิจารณาหลักไปที่ การลดค่าใช้จ่าย คุณรูปและ การเพิ่มผลผลิต

.

ตัวอย่างแนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิตมีดังนี้

-  ออกแบบให้มีจำนวนชิ้นส่วนชิ้นงานให้น้อยที่สุด

-  ออกแบบชิ้นงานแบบโมดูลาร์หรือการออกแบบให้ชิ้นงานมีการต่อประสานมาตรฐานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ให้ง่ายในการประกอบ โดยการลดชิ้นส่วนที่จะประกอบและง่ายต่อการตรวจสอบก่อนการประกอบ

-  ออกแบบให้มีความหลากหลายของชิ้นส่วนน้อยที่สุด หรือชิ้นส่วนมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเหมะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์มากที่สุด (Economic of Scale)

-  ออกแบบชิ้นส่วนให้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่(Multi Functional Design)

-  ออกแบบชิ้นส่วนให้สามารถใช้ได้ในหลายตำแหน่ง

-  ออกแบบชิ้นส่วนให้ง่ายในการปรับแต่ง

-  ออกแบบโดยหลีกเลี่ยงการใช้ตัวยึดแน่นแบบแยกส่วน เช่น สกรูหรือคลิป

-  ออกแบบให้ง่ายในการประกอบ

-  ออกแบบให้ใช้เครื่องมือในการขนย้ายน้อยที่สุด

-  ออกแบบโดยพิจารณาพิกัดความเผื่อ จากการออกแบบชิ้นงานความละเอียดสูงเกินไป

-  ออกแบบให้ชิ้นงานง่ายที่สุดไม่เกิดความยุ่งยากในการผลิต

.

การออกแบบเพื่อการประกอบ  การออกแบบเพื่อการประกอบ คือ การวิเคราะห์วิธีการในการประกอบและออกแบบโดยคำนึงถึงความง่ายในการประกอบและการขนย้าย ด้วยพื้นฐานวิธีการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการวิเคราะห์และศึกษาเวลา ซึ่งวิธีการ DFAที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการของ Boothroy Dewhurst, วิธีการ Lucus และวิธีการ Hitachi  จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในครั้งต่อไป

.

วิธีการในการออกแบบเชิงประดิษฐ์  จะอยู่ในส่วนสำคัญใน กระบวนการออกแบบแนวคิดผลิตภัณฑ์ แนวทางในการออกแบบแนวคิดนี้ได้ถูกนำเสนอโดย (BSI,1989) BS7000, Guide to Managing Product Designในปี1985 และถูกรวบรวมจนเป็นมาตรฐาน British Standard ในปี 1989  โดยมาตรฐาน BS นี้ ได้แนะนำแนวทางในการจัดการไว้ 5 ข้อหลักได้แก่ แนวทางในการพิจารณาออกแบบผลิตภัณฑ์ การกระตุ้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง การจัดหาจุดประสงค์ที่ชัดเจน การจัดหาบุคคลเครื่องมือและทรัพยากร และ การจัดระบบองค์กร นอกจากนี้ยังมีการรบรวมรายละเอียดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Pugh,1991) ดังรูปประกอบที่ 4 นอกจากนี้ยังได้มีการรวบรวมออกมาเป็น แนวทางในการเตรียมรายการออกแบบรายละเอียดผลิตภัณฑ์ BS 7373, Guide to the Preparation of Specifications ไว้อีกด้วย

.

.

รูปที่ 4  ส่วนประกอบของรายการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Pugh, 1991)

.

การออกแบบผลิตภัณฑ์แบบครอบครัว คือ แนวทางในการออกแบบการผลิตโดยการค้นหาจำแนกชิ้นส่วนที่มีลักษณะคล้ายกัน ตามพื้นฐานของขนาดรูปร่าง และกระบวนการผลิต โดยจัดเรียงไว้ตามรหัสอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายในการจำแนกและเข้าใจความเหมือนหรือแตกต่างรวมถึงค่าพารามิเตอร์ในการดำเนินการ  ในการออกแบบเพื่อการผลิตนี้ จะนำแนวทางการออกแบบแบบครอบครัว มาใช้ในการช่วยวิเคราะห์ควบคุมชิ้นส่วนและขจัดการออกแบบชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดมาตรฐานและเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุดในการผลิต จากการควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น (Variant Control) โดยการดำเนินการด้านนี้เรียกว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนและผลกระทบ ดังตัวอย่างกระบวนการในรูปประกอบที่ 5 (Variant Mode and effect analysis, VMEA) (Schuh and Becker, 1989)

.

.

รูปที่ 5  แนวทางในการควบคุมความแปรปรวน

.

.

 รูปที่ 6  การควบคุมความแปรปรวนด้วย VMEA ก่อนการปรับปรุง ของชุดควบคุมเท้ารถยนต์ Audi 100

.

.

รูปที่ 7  การควบคุมความแปรปรวนด้วย VMEA หลังการปรับปรุงของชุดควบคุมเท้ารถยนต์ Audi 100

.

ส่วนรูปประกอบที่ 6 และ 7 แสดงตัวอย่างผลการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีการ VMEA Analysis ของชุดควบคุมที่เท้าในรถยนต์ Audi 100 จากผลการวิเคราะห์ออกแบบรถยนต์รุ่นนี้ เดิมเริ่มต้นมีชิ้นส่วนทั้งสิ้น 67 ชิ้น และมีค่าความแปรปรวนทั้งสิ้น16 แบบ ภายหลังการวิเคราะห์ปรากฏว่าสามารถลดจำนวนชิ้นส่วนลงเหลือเพียง 47 ชิ้นและมีค่าความแปรปรวนทั้งสิ้นเพียง 6 แบบส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงมากถึง 16 %

.

หลักการออกแบบ แนวคิดเรื่อง Poka-Yoke และ  Taguchi Design Methods เป็นวิธีการในการประกันคุณรูปการออกแบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการผลิต โดยเทคนิค Poka-Yoke จะเป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการลืมในการทำงาน

.

โดยคำว่า Paka Yoke หมายถึง "การป้องกันความผิดพลาดจากความเขลา" (Mistake Proofing) ซึ่งในส่วนของการออกแบบเพื่อการผลิตเทคนิค Poka-Yoke นี้ จะถูกนำมาใช้ในการออกแบบระบบประกันความผิดพลาดในการประกอบภายในกระบวนการผลิต ซึ่งรูปแบบการติดตั้งระบบ Poka-Yoke ในกระบวนการผลิตนั้นเราสามารถแบ่งออกได้ 3 ส่วน ดังนี้

1. วิธีการสัมผัส (Contact Methods) เป็นการตรวจสอบความผิดปกติอันเนื่องมาจาก รูปร่าง สัดส่วน ซึ่งชิ้นงานแต่ละชิ้นจะถูกตรวจสอบโดยผ่านมายังเครื่องมือนี้ เพื่อเช็คดูว่า ขนาด รูปร่างชิ้นงานได้มาตรฐานปกติหรือไม่

2. วิธีการกำหนดค่าที่แน่นอน (Fixed Value Methods) เป็นวิธีการตรวจนับชิ้นงานตาม จำนวนที่กำหนดไว้และบอกความผิดพลาดเมื่อชิ้นงานไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้

3. วิธีการตรวจสอบที่ขั้นตอนของการส่งชิ้นงาน (Motion Step Methods) วิธีนี้ชิ้นงานจะถูก ตรวจสอบ โดยการส่งชิ้นงานแต่ละชิ้นไปบนสายพานลำเลียง ซึ่งการตรวจสอบจะทำโดยนำชิ้นงานไปเทียบกับมาตรฐานที่วางไว้

.

ส่วนวิธีการของ Taguchi Design Methods จะเน้นทางด้านการออกแบบเพื่อให้ชิ้นงานมีความทนทาน จากแนวคิดในการออกแบบพารามิเตอร์ให้เหมาะสม ด้วยพื้นฐานวิธีการทางสถิติทางด้านการออกแบบการทดลอง  เพื่อให้ค่าที่ได้จากการออกแบบมานั้นเหมาะสมที่สุด ซึ่งเมื่อการออกแบบนั้นได้ค่าที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นมีค่าเหมาะสมที่สุดด้วย (Resit and Edwin, 1991)

.

.

รูปที่ 8  ความสูญเสียด้านค่าใช้จ่ายจากการได้ค่าการออกแบบที่ไม่เหมาะสม (Resit and Edwin, 1991)

.

ระเบียบวิธีการในการประเมินค่าความสามารถในการผลิตเชิงปริมาณ

การวัดความสามารถในการผลิตด้วยค่าเชิงคุณรูปนั้นค่อนข้างมีความยุ่งยากมาก ในการเปรียบเทียบว่าการออกแบบแต่ละอันแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นจึงมีผู้พยายามคิดค้นวิธีการในการเปรียบเทียบวัดความสามารถในการผลิตทางด้านเชิงปริมาณขึ้นเพื่อให้สามารถช่วยผู้ออกแบบ ในการประเมินการออกแบบเพื่อการผลิตได้ง่ายขึ้น

.

วัตถุประสงค์หลักๆ ของทุกวิธีการที่ได้มีการคิดค้นขึ้นมานี้ล้วนแล้วแต่ช่วยให้ผู้ออกแบบ สามารถประเมินความสามารถในการออกแบบได้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้นทั้งสิ้น โดยวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบันประกอบด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

.

1. วิธีการของบูธทรอยด์ ดิวเฮอร์ส (Boothroyd Dewhurst  Manufacturer Analysis Methodology)  ระเบียบวิธีการนี้จะเน้นที่ การประมาณราคาต้นทุนให้กับผู้ออกแบบในการตัดสินใจ โดยเป้าหมายอยู่ที่การออกแบบการผลิตเพื่อให้มีต้นทุนต่ำที่สุด เช่น การประเมินในการผลิตงานหล่อที่จะประมาณต้นทุนจากขนาดที่เหมาะสมของเครื่องจักร, จำนวนช่องของแม่พิมพ์ตัวหล่อ, เวลาในการหล่อ, ปริมาณและราคาวัสดุที่ใช้ เป็นต้น (www.dfma.com)

.

2. วิธีการของ แช็งการ์ และแจนเซนส์ (Shankar and Janssons Methodology)  วิธีการนี้จะเน้นการประเมินความสามารถในการผลิต เพื่อใช้ในการวัดประเมินความสามารถการออกแบบเพื่อการผลิต ด้วยการประเมินความสามารถของค่าดังต่อไปนี้ได้แก่ ความเข้ากันได้ หรือการใช้วัสดุเดียวกันในหลายกระบวนการ, ความซับซ้อนที่จะส่งผลต่อการปรับแต่งเพิ่ม, ทางด้านคุณรูปเพื่อให้การออกแบบนั้นผลิตง่ายแต่คุณรูปยังอยู่ตามเป้าหมาย, ทางด้านประสิทธิรูปการผลิตเพื่อให้ชิ้นส่วนมาตรฐานทำหน้าที่เดียวกันในผลิตภัณฑ์หลายแบบ และความต่อเนื่องกันจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการออกแบบส่วนหนึ่งอาจทำให้หน้าที่การทำงานในอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลง

.

3. วิธีการของลูคัส (LUCUS Manufacturer Analysis Methodology)  วิธีการของลูคัสนี้เป็นวิธีการที่เพิ่มเติมจากวิธีการของลูคัสในการออกแบบเพื่อประกอบ (DFA) โดยส่วนเพิ่มเติมนี้จะช่วยในการวิเคราะห์ทางด้าน การแบ่งแยกวัสดุและกระบวนการผลิต ซึ่งวิธีการนี้ปัจจุบันได้มีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำการวิเคราะห์ชื่อ โปรแกรมทีมเซ็ต (TeamSET Programme) ที่มีหลักการในการให้ผู้ใช้ทำการป้อนข้อมูลไปคำนวณต้นทุนการผลิต เช่น ทางด้านของกระบวนการที่จะใช้ในการผลิต วัสดุที่จะใช้ในการผลิต ระดับความยากง่ายในการผลิต เป็นต้น ดังรูปประกอบที่ 9 และ 10 (www.teamset.com)

.

.

รูปที่ 9  ตัวอย่างโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการผลิต teamSET

.

.

รูปที่ 10  ตัวอย่างโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการประกอบ

.

สรุป

การออกแบบเพื่อการผลิตสิ่งสำคัญที่สุด คือ การออกแบบแล้วต้องสามารถวัดความสามารถในการผลิตของกระบวนการผลิต และส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลิตจากงานที่ออกแบบได้  สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนของเชิงคุณรูป (Qualitative) เช่นคำแนะนำในการออกแบบทั่วไปและส่วนของงานเฉพาะด้าน และส่วนของเชิงปริมาณ ที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสามวิธีการ

.

ดังนั้นจากแนวคิดและวิธีการในการออกแบบเพื่อการผลิตนี้เอง หากอุตสาหกรรมนำไปประยุกต์ใช้แล้วก็จะสามารถช่วยในการลดต้นทุนทางด้านการผลิตได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้เนื่องจากปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านนี้อยู่หลายโปรแกรมที่สามารถนำไปใช้ได้ไม่ยุ่งยากนัก  ดังนั้นการประยุกต์ใช้จึงสามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น สำหรับฉบับหน้าผู้เขียนจะกล่าวถึงรายละเอียดวิธีการในด้านของการออกแบบเพื่อการประกอบ  ที่เป็นประเด็นสำคัญด้านหนึ่ง สำหรับการลดต้นทุนในการผลิต พร้อมทั้งตัวอย่างวิธีการในการคำนวณต่อไป

.

เอกสารอ้างอิง

1. BSI, BS 7000 –Guide to Managing Product Design, BSI, Milton , Keynes, 1989.

2. BSI, BS 7373 – Guide to the Preparation of Specifications, BSI, Milton , Keynes, 1991

3. Chanan S.Syan and Unny Menon, Concurrent Engineering Concept Implementation and plactice, Chapman &Hal, 1994.

4. Resit Unal and Edwin B. Dean, Taguchi Approach to Design Optimization for Quality and Cost: AN Overview, Annual Conference of the International Society of Parametric Analysts. 1991.

5. Schuh G. and Becker T., Variant Mode Effect Analysis:A New Approach for Reducing the Number of Product Variants, Fourth Boothroyd-Dewhurst Inc.Conference, Rhode Island, USA, 1989.

6. www.dfma.com

7. www.teamset.com/ tools/tools.html

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด