เนื้อหาวันที่ : 2010-12-03 17:30:57 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 12514 views

เทคนิคการควบคุมและลดการสูญเสีย

การแข่งขันในยุดปัจจุบันและอนาคตนั้นซึ่งเป็นแบบโลกาภิวัฒน์ โดยต้องคำนึงถึง แหล่งผลิตคุ้มค่า การผลิตยืดหยุ่น, มีมาตรฐานสากล, มีความเร็ว (Speed), มีคุณภาพสูงสุด, ราคาถูก, เป็นนวัตกรรม, ใช้เทคโนโลยีทันสมัย, เป็นไปตามข้อตกลงใหม่ทางการค้าและความพึงพอใจของลูกค้า ตามหลัก QCD

เทคนิคการควบคุมและลดการสูญเสีย
(Wastes Loss Control)

ธนกร ณ พัทลุง

.

.

การแข่งขันในยุดปัจจุบันและอนาคตนั้นซึ่งเป็นแบบโลกาภิวัฒน์ โดยต้องคำนึงถึง แหล่งผลิตคุ้มค่า การผลิตยืดหยุ่น, มีมาตรฐานสากล, มีความเร็ว (Speed), มีคุณภาพสูงสุด, ราคาถูก, เป็นนวัตกรรม, ใช้เทคโนโลยีทันสมัย, เป็นไปตามข้อตกลงใหม่ทางการค้าและความพึงพอใจของลูกค้า ตามหลัก QCD 

.

Q คือ Quality มีคุณภาพ, C คือ Cost มีราคาถูก, D คือ Delivery มีการจัดส่งถึงที่ตามที่ต้องการ ดังรูปที่ 1 หรือดังประโยคที่ว่า “ของดีราคาถูกส่งตามที่สั่ง”

.

รูปที่ 1 หลัก QCD

.

จากเหตุผลข้างต้นเราจึงควรหันมาค้นหาการสูญเสียที่เกิดขึ้นและหาแนวทางควบคุมและลดการสูญเสียนั้นลง

.
ความหมายของ Wastes

Wastes คือ ความสูญเสีย, ความสูญเปล่า, สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่สร้างมูลค่าเพิ่มกับงานหรือสินค้า, สิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นหรือต้องการกำจัด, สิ่งที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นหรือสิ่งที่เป็นภัยต่อ QCD เช่นการค้นหาของเป็นการเสียเวลาก็คือ wastes

.

Wastes ที่เกิดขึ้นในโรงงานประกอบด้วย 3 มุ คือ
1. มุดะ (MUDA) คือ ความสูญเสีย ความสูญเปล่า 7 ประการ
       - การผลิตมากเกินไป (เกินความต้องการลูกค้า)
       - การสต๊อกมากเกินไป (R/M WIP)
       - การเสียเวลารอคอยในกระบวนการผลิต
       - การขนส่งหรือการลำเลียงและการขนถ่ายยาวไกล
       - กระบวนการผลิตขาดประสิทธิผล
       - การเคลื่อนไหวหรือวิธีการทำงานไม่ถูกต้องหรือถูกหลัก
       - มีของเสียหรือการแก้ไขงานเกิดขึ้น
2. มุระ (MURA) คือ ความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน เช่น เครื่องจักร คน วัตถุดิบ ฯลฯ
3. มุริ (MURI) คือ การทำงานเกินกำลังที่มีอยู่หรือเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้

.

ประเภทของ Wastes
1. ความสูญเสีย 6 ประการที่ยิ่งใหญ่ของเครื่องจักร (Machine)
       - เครื่องจักรหยุดฉุกเฉินหรือเสียหายก่อนกำหนด
       - เสียเวลาในการปรับแต่งหรือปรับเปลี่ยนแม่พิมพ์นานเกินไป
       - เครื่องจักรหยุดเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อย
       - เครื่องจักรทำงานไม่ได้ตามความเร็วที่กำหนด
       - เครื่องจักรผลิตงานที่ไม่ได้คุณภาพ
       - การเริ่มต้นเดินเครื่อง (Start up Time)

.
2. วัตถุดิบ (Materials)
       - การใช้วัสดุหรือวัตถุดิบไม่ได้ตามกำหนด
.

3. พลังงาน (Energy)
       - การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพทั้งด้านไฟฟ้า น้ำ ลมอัด ไอน้ำ ความร้อน เป็นต้น

.

4. คน (Manpower)
       - การบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
       - การเคลื่อนไหวที่ไม่ได้งานหรือทำงานไม่ถูกวิธี
       - การจัดสายการผลิต การแบ่งงานหรือจัดงานไม่ดี
       - ไม่มีการวางแผนหรือการวางแผนไม่เป็น
       - ความผิดพลาดจากการวัด ปรับแต่งหรือใช้เครื่องมือไม่ถูกต้อง

.

ทำไมต้องกำจัด/ควบคุม Wastes ?
       1. การลด Wastes เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่เราพึงกระทำได้เพื่อให้สินค้าหรือบริการเป็นที่พอใจของลูกค้ารวมทั้งทำกำไรสูงขึ้น
       2. การลด Wastes เป็นการเพิ่มการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ดังรูปที่ 2

.

รูปที่ 2 Diagram การใช้ทรัพยากรและการสูญเสีย

.
เทคนิคและแนวทางการกำจัด Wastes

หลักการโดยรวม คือ ต้องปรับมุมมองใหม่แล้วเข้าใจหลักการลด Wastes จากนั้นไปดำเนินการทดลองทำในงาน

1. ปรับมุมมองใหม่ โดยมีหลักดังนี้
       - ที่ใดมีปัญหาที่นั้นเกิดปัญญา
       - ทุก Wastes สามารถแก้ไขได้ ถ้าเราแก้ไข
       - ทุกความสูญเสียต้องมีต้นเหตุ
       - การแก้ไขต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ
       - ถ้ามีโอกาสแก้ไขได้เกิน 60 % ควรรีบลงมือทันที
       - บางเหตุแก้ไขไม่ได้แต่ป้องกันได้
       - การลดความสูญเสียต้องลดทุกตัว
       - การลด Wastes มาพร้อมโอกาสเสมอ
       - ต้องรับฟังความคิดการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุง สิ่งใหม่อยู่เสมอ

.

2.หลักการลด Wastes
       - กำหนด Wastes ได้ถูกต้องชัดเจน
       - รู้ตัวเลขปัจจุบันอยู่ที่เท่าไร
       - หาต้นตอได้
       - รู้วิธีแก้ไขหรือนำมาประยุกต์ได้
       - ลงมือปฏิบัติ วัดผลและสรุป (ต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนด้วย)

.

3. วิธีการแก้ไขและป้องกัน Wastes
       3.1.1 Wastes ที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อนและรู้ประเด็นอยู่แล้วดำเนินการแก้ไขทันที
       3.1.2 Wastes ที่ยากมีความซับซ้อนจะต้องใช้การวิเคราะห์และนำเทคนิคต่าง ๆมาช่วย
ในการแก้ไขหรือหาทางป้องกัน

.

ตัวอย่างและเทคนิคในการลดและควบคุม Wastes บางตัว

แนวทางการกำจัด MUDA

1. เรื่อง “การจัดเก็บสต๊อกมากเกินไป “

.

2. เรื่อง “ผลิตของเสียหรืองานแก้ไข“

หมายเหตุ ระบบ Poka-Yoka คือ ระบบป้องกันความผิดพลาดจากคน

.
สรุป

Wastes นั้นเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับสินค้าโดยไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันซึ่งถ้าเราลดหรือกำจัดได้ เราจะอยู่ได้อย่างปลอดภัยและเรายังมีโอกาสในการปรับปรุงได้

.

เอกสารอ้างอิง
1.
www.trainingbynumpon.com
2. www.cannac.co.jp/sf/images/qcd.gif
3. นำพล ตั้งทรัพย์, การลดเวลาปรับเปลี่ยนเครื่องจักร (Set up time), พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์, 2544.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด