เนื้อหาวันที่ : 2010-11-25 17:24:34 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 10107 views

การติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ

เพื่อให้สามารถเดินเครื่องสูบน้ำได้ดี เราจำเป็นต้องจัดให้เกิดการไหลของของไหลเข้าสู่ทั้งที่ปากทางเข้าท่อดูดและในท่อดูดอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้เพราะเครื่องสูบน้ำเมื่อเดินเครื่องจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการไหลเข้าสู่ใบพัดเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบซึ่งส่งผลต่ออัตราการสูบน้ำ

การติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ
หลักพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้งานในระบบส่งน้ำ

.

ธนกร ณ พัทลุง
thanakon.n@cpf.co.th

.

.
การจัดถังพักน้ำรอการสูบ

เพื่อให้สามารถเดินเครื่องสูบน้ำได้ดี เราจำเป็นต้องจัดให้เกิดการไหลของของไหลเข้าสู่ทั้งที่ปากทางเข้าท่อดูดและในท่อดูดอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้เพราะเครื่องสูบน้ำเมื่อเดินเครื่องจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการไหลเข้าสู่ใบพัดเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบซึ่งส่งผลต่ออัตราการสูบน้ำ

.

1. น้ำวนที่มีฟองอากาศปน การไหลรอบแนวแกนเพลาในแนวดิ่งของเครื่องที่ติดตั้งเพลาแนวดิ่งหรือในท่อดูดที่อยู่ในแนวดิ่งมักก่อให้เกิดน้ำวนที่มีฟองอากาศ ถ้าไม่จัดวางตำแหน่งของท่อดูดและน้ำในถังให้ถูกหลัก เมื่อเกิดน้ำวนขึ้นที่ผิวน้ำใกล้ท่อดูด น้ำวนจะดูดฟองอากาศให้ติดมากับน้ำด้วยทันทีและจะเกิดมากขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลง

.

ดังรูปที่ 1 ในบางครั้งถึงกับเกิดมีฟองน้ำต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ฝาหนังหรือพื้นจนถึงทางเข้า เมื่อน้ำวนที่มีฟองอากาศติดมานี้เคลื่อนตัวถึงปากทางเข้าเครื่องสูบน้ำจะไม่สามารถสูบน้ำได้ดังเดิม เนื่องจากฟองอากาศเหล่านี้มาแทนที่น้ำไปบางส่วนซึ่งจะทำให้เครื่องสูบน้ำเดินสั้นมาก

.

รูปที่ 1 น้ำวนในถังล่าง

.

2. การปั่นป่วนที่ปากทางเข้าท่อดูด การทำงานของเครื่องสูบน้ำอาจขึ้นกับการเกิดการปั่นป่วนที่ทางเข้าท่อดูดได้อีกด้วยโดยหัวความดันรวมอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางการหมุนวนที่เกิดขึ้นอาจเกิดอาการที่เครื่องต้นกำลังต้อง Over Load ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้น้ำที่ไหลเข้าท่อดูดไหลเข้าได้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องสูบที่มีความเร็วจำเพาะสูงและติดตั้งเพลาในแนวดิ่ง

.

3. การจัดตำแหน่งถังพักน้ำรอสูบ เพื่อที่จะทำให้เกิดรูปแบบการที่เอื้อต่อการดูดรอบ ๆ ทางเข้าท่อดูดจะต้องวางแผนการจัดตำแหน่งถังสูบน้ำให้เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กจะเป็นดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 และ 3 โดยมีวาล์วกันกลับติดตั้งไว้ด้วยและปากทางเข้าผายออกเป็นรูปปากระฆัง

.

รูปที่ 2 การจัดตำแหน่งท่อดูดในถังสูบแบบมีวาล์วกันกลับติดตั้งไว้ด้วย

.

รูปที่ 3 การจัดตำแหน่งท่อดูดในถังพักน้ำรอสูบแบบท่อผายเป็นปากระฆัง

.

รูปที่ 4 การจัดขนาดมาตรฐานต่าง ๆ ในถังพักรอสูบ

.

จากรูปที่ 4 จะแสดงการจัดตำแหน่งท่อดูดในถัง สำหรับเครื่องสูบขนาดตั้งแต่ 600 มิลลิเมตรไปจนถึง 2,200 มิลลิเมตร ขนาดถังดูดมาตรฐานต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 3D (เมื่อ D เป็นขนาดท่อดูด) แต่อาจจะขยายขึ้นเป็น 4D ก็ได้ ถ้ามีความจำเป็นเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ระยะห่างระหว่างพื้นถึงปากทางเข้า F ควรจะมีระยะไม่น้อยกว่า D หากไม่มีตะกอนตกในถังก็สามารถลดลงเป็น D/2 ได้

.

4. การจัดนำน้ำเข้าหาท่อดูด รางน้ำนำเข้าหาท่อดูดนั้นต้องเป็นแบบที่จัดให้มีการไหลเข้าสู่เครื่องสูบน้ำตรงและเป็นระยะทางตรงที่ยาวพอสมควร (ไม่น้อยกว่า 8D) ทั้งนี้ก็เพื่อกันการเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าของความเร็วอย่างกะทันหัน ถ้าจะเกิดการเปลี่ยนทิศทางการไหลก็ควรจัดทำผนังแบ่งน้ำเพื่อให้น้ำไหลได้ตรงเข้าสู่ท่อดูด

.

ค่าความเร็วเฉลี่ยที่ปากทางเข้าถังดูด เมื่อติดตั้งตะแกรงจะต้องจัดให้มีค่าไม่เกิน 0.5 m/s ณ จุดที่ออกแบบค่าอัตราสูบไว้ดังในรูปที่ 4 ความเร็วของไหล ณ จุดก่อนระดับปากทางเข้าจะต้องไม่เกิน 0.5 m/s เช่นกัน เมื่อได้จัดตำแหน่งกับขนาดถังดูดแล้วตามที่กำหนดในรูปที่ 4 

.

จากรูปที่  5 แสดงตัวอย่างการจัดตำแหน่งต่าง ๆ ที่ทางเข้า

รูปที่ 5 การจัดตำแหน่งต่าง ๆ ในถังพักน้ำรอสูบ

.

วาล์วน้ำควบคุมและระบบท่อ
เพื่อให้เครื่องสูบน้ำทำงานได้ดีจำต้องมีการติดตั้งวาล์วน้ำและระบบท่อตามวัตถุประสงค์
1. วาล์วน้ำ ที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ จัดแบ่งได้เป็น
          * วาล์วน้ำบานเดี่ยว ใช้แยกเครื่องสูบน้ำ มิให้ติดต่อกับระบบท่อทั้งด้านดูดและด้านส่ง ขณะที่เครื่องยังไม่ทำงานหรือใช้ในการบำรุงรักษาเมื่อต้องการถอดชิ้นส่วนของเครื่องสูบออกมาตรวจสอบ
          * วาล์วน้ำกันกลับป้องกันการไหลย้อนกลับของของไหลโดยเฉพาะเมื่อหยุดเดินเครื่อง
          * วาล์วควบคุมอัตราการไหลให้พอเหมาะกับความต้องการ

.

ตารางที่ 1 แสดงหน้าที่และการใช้งานวาล์วน้ำ

.

ในการควบคุมอัตราการไหลด้วยการปรับตำแหน่งวาล์วน้ำนั้นจะต้องตรวจสอบสัมประสิทธิ์การเกิด Cavitations ด้วย ดังแสดงไว้ในสมการที่ 1 ทั้งนี้ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดผลร้ายเนื่องมาจากการเกิด Cavitations ขณะเดินเครื่อง
         K = (10 + HVd)/hv     . ………………………….. (1)
เมื่อ  K  = สัมประสิทธิ์ Cavitations
         HVd  = หัวความดันที่ทางออกวาล์วน้ำ
         hv  = ผลต่างความดันทั้งสองข้างวาล์วน้ำ

.

ค่าของ K นี้โดยทั่วไปแล้วควรมีค่ามากกว่า 3 สำหรับวาล์วน้ำบานผีเสื้อและอาจลดลงมาได้ถึง 1.5 สำหรับแบบบอลวาล์วที่มีรูระบายอยู่ที่ทางเข้าวาล์วกับที่ทางออก หรืออาจจะใช้เครื่องมือวัดค่า Cavitations ก็ได้ดังรูปที่ 6

.

รูปที่ 6 แสดงเครื่องมือที่ใช้วัดค่า Cavitations เรียกว่า Vibscanners

.

2. ท่อประธาน จะใช้ต่อกับเครื่องสูบน้ำ โดยเริ่มจากจุดที่ดูดน้ำไปจนถึงจุดปล่อยน้ำ ตามรูปแบบและเส้นแนวที่ได้ออกแบบไว้

การเลือกวัสดุท่อประธานนั้นต้องคำนึงถึงแรงดันตกที่เกิดขึ้นในเส้นท่อและปริมาณของของไหลที่ต้องสูบ เช่น ท่อฉาบสังกะสี จะเป็นท่อที่ใช้กันโดยทั่วไป ส่วนท่อเหล็กหล่อเหนียวจะใช้ในงานพิเศษและท่อพลาสติกหรือพีวีซี มีใช้กันบ้าง

.

การเลือกขีดความสามารถทนแรงดันและความหนาแน่นของท่อประธานจะเลือกตามแรงดันภายในท่อกับโมเมนต์แรงดันที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกระทำภายนอกท่อและ/หรือน้ำหนักของท่อกับของเหลวในท่อ การเลือกความหนาท่อต้องดูแรงดันจากภายนอกท่อด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องการฝังดิน ทั้งนี้อาจดูมาตรฐานวัสดุท่อและต้องพิจารณาวัสดุที่มีขายตามท้องตลาดด้วย

.

ค่าความหนาของท่อที่เหาะสมกับความดันภายในท่ออาจหาได้จากสมการที่ 2
     t = {(P.d)/ (2)} + c   ………………………. (2)
     เมื่อ t = ความหนาท่อ หน่วย mm.
  P  = ความดันภายในท่อสูงสุดที่ใช้ออกแบบ หน่วย kgf/cm2
  d  = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ หน่วย mm.
   = ค่าความเค้นที่ยอมให้รับได้ หน่วย kgf/cm2
  c  = ค่าเผื่อไว้สำหรับอายุท่อ (ประมาณ 1.3 มิลลิเมตร)

.

การเลือกข้อต่อท่อแบบต่าง ๆ ต้องดูจากขนาดท่อและสภาพการติดตั้งในรูปที่ 7 จะแสดงการใช้ข้อต่อแบบต่าง ๆ โดยข้อต่อที่มีหน้าแปลนและวัสดุกันรั่วซึม (ปะเก็น) ซึ่งใช้ได้กับท่อขนาดกลางและท่อขนาดใหญ่ในขณะที่ข้อต่อเกลียวจะมีการใช้ในระบบท่อขนาดที่เล็กกว่า 100 มิลลิเมตร

.

รูปที่ 7 แสดงการเลือกข้อต่อท่อแบบต่าง ๆ

.

บางครั้งก็จำเป็นต้องนำข้อต่ออ่อนมาใช้ เช่น เมื่อการวางตำแหน่งรับเครื่องเรียบร้อยแล้วท่อจมลงหรือเมื่อต้องการรับการยืดหดตัวของท่อ เมื่อเกิดความร้อน ท่อในกรณีเช่นนี้จะต้องจัดการให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถรับแรงผลักเชิงชลศาสตร์ที่เกิดขึ้นโดยความดันภายในท่อได้

.

3. ท่อดูด เพื่อให้เครื่องสูบน้ำทำงานได้ดีจะต้องจัดท่อดูดไว้ให้เหมาะสมด้วย การจัดนี้ต้องให้เกิดการสูญเสียหัวความดันน้อยที่สุดและต้องไม่ปรับตำแหน่งวาล์วน้ำด้านดูดไม่ว่ากรณีใด ๆ เมื่อท่อดูดเกิดแรงดันเป็นลบ จะต้องระมัดระวังไม่ให้การดูดอากาศเข้าไปโดยจัดท่อให้ถูกต้อง เนื่องจากฟองอากาศอาจเข้าไปขัดขวางการไหล (Air Pocket) ทำให้เกิดการสูญเสียหัวความดันมากขึ้นได้ ดังนั้นจะต้องจัดการท่อดูดดังต่อไปนี้

.

* ในกรณีท่อดูดที่ยาวมาก ๆ ควรจัดท่อให้ท่อดูดเอียงขึ้น ดังรูปที่ 8
* ในกรณีที่มีการเปลี่ยนขนาดท่อต้องใช้ข้อลดเอียง ดังรูปที่ 9
* ในการติดตั้งวาล์วน้ำขนาดกลางและใหญ่ควรจัดไว้ในแนวนอน ดังรูปที่ 10

.

นอกจากจะต้องจัดให้การไหลก่อนถึงเครื่องสูบไหลได้อย่างสม่ำเสมอ การติดตั้งข้องอก่อนถึงเครื่องสูบจึงไม่ควรมี ถ้าจะต้องมีข้องอก็ควรจัดให้มีข้อตรงต่อกับเครื่องสูบก่อนเข้าและควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 3 เท่าของขนาดท่อดูด

.

รูปที่ 8 ในกรณีท่อดูดที่ยาวมาก ๆ ควรจัดท่อให้ท่อดูดเอียงขึ้น

.

รูปที่  9 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนขนาดท่อต้องใช้ข้อลดเอียง

.

รูปที่  10 การติดตั้งวาล์วน้ำขนาดกลางและใหญ่ควรจัดไว้ในแนวนอน

.

4. ท่อส่ง ท่อส่งควรมีขนาดที่เหมาะสม ที่จะไม่เกิดการสูญเสียหัวความดันมากเกินไป ถ้าขนาดท่อของเครื่องแตกต่างกับขนาดท่อส่งที่คัดเลือกไว้ควรจัดหาท่อขยายใส่ไว้ให้ที่จุดที่หอพักข้องอแล้วอาจเกิดฟองอากาศไปติดอยู่ อันอาจทำให้เกิดการสูญเสียหัวความดันมากขึ้นหรือขวางทางเดินของของไหลถ้าท่อมีแรงดันเป็นบวกก็ควรติดตั้งวาล์วระบายอากาศ (Automatic Air Vent) เพื่อไล่อากาศทิ้ง ดังรูปที่ 11

.

รูปที่  11 ติดตั้งวาล์วระบายอากาศ

.

เพื่อลดค่าหัวความดันจริงที่กระทำต่อเครื่องสูบ เราจึงเสนอแนะให้จุ่มปลายท่อดูดไว้ใต้ระดับน้ำ ในกรณีที่ติดตั้งเป็นแบบกาลักน้ำ ระยะตามแนวดิ่งวัดจากระดับน้ำในถังดูดจนถึงจุดสูงสุดต้องมากกว่าค่าหัวความดันรวมที่เครื่องสูบน้ำจะให้ได้โดยมีอัตราการไหลผ่านกาลักน้ำในช่วงเริ่มเดินเครื่องได้ด้วย

.

5. ปัญหาการอัดกระแทกของ (Water Hammer) ปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่าการอัดกระแทกน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อความเร็วการไหลในท่อเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันในท่อขึ้น ๆ ลง ๆ ในระบบท่อ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ

.

* เริ่มเดินเครื่องสูบหรือหยุดเครื่องสูบ
* ปิดหรือเปิดวาล์วน้ำทันทีทันใด
* เปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่อง
ในสามสิ่งที่กล่าวข้างต้นแล้วที่พบเห็นกันบ่อยจะเป็นที่เกิดขึ้นเมื่อมีการปิดเครื่องสูบน้ำอย่างทันทีทันใด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

.

เพื่อป้องกันมิให้ท่อเสียหายจากปรากฏการณ์ Water Hammer นั้นจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์แรงดันที่อาจเกิดขึ้นได้สูงสุดและเตรียมการป้องกันไว้ก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จะเกิดขึ้น ปกติจะทำการวิเคราะห์หาค่าแรงดันสูงสุดจากสูงสุดจากปรากฏการณ์การอัดกระแทกน้ำ เมื่อพบว่า

.

* หัวความดันจริงมีค่าเกิน 10 เมตร ในท่อที่มีความยาวประมาณ 20 เท่าของหัวความดันจริง
 หรือมากกว่า
* ท่อวางสูงกว่าระดับท่อที่ต่อระหว่างเครื่องสูบน้ำกับถึงปลายทาง
* ปิด/เปิดวาล์วน้ำเร็วเกินไป
* เริ่มเดินเครื่องขณะที่ยังมีอากาศหรือสุญญากาศในท่อระหว่างเครื่องสูบน้ำกับวาล์วน้ำ

.
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
เพื่อให้เครื่องสูบน้ำทำงานได้ตามต้องการ เราจำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังนี้

1. ฐานรองรับเครื่อง โดยทั่วไปแล้วเครื่องสูบน้ำจะต้องตั้งอยู่บนฐานคอนกรีต ฐานนี้จะต้องมีกำลังพอรองรับน้ำหนักเครื่องสูบน้ำและแรงที่เกิดขึ้นจากการสูบของเหลวขณะเดินเครื่อง

.

เราจะยึดแผ่นรองรับเครื่องสูบน้ำกับฐานด้วยน๊อตที่ฝังไว้ในฐานซึ่งต้องมีรูที่ใช้ฝังที่มีขนาดใหญ่พอที่จะอัดปูนได้แน่น ซึ่งคงจะต้องทำตามแบบที่ได้รับการออกแบบไว้แล้ว การติดตั้งจะทำก็ต่อเมื่อคอนกรีตในฐานแข็งตัวดีแล้วซึ่งมักใช้เวลา 14 วัน หลังการเท 

.

2. การตั้งเครื่อง การตั้งเครื่องต้องวางแผ่นรองแนวด้วยชั้นรองแนวทำด้วยเหล็กบนฐานและแผ่นรองรับติดตั้งไว้ทั้งสองข้างของน๊อตที่ฝังไว้แล้ว ต้องใช้แผ่นรองรับลิ่มใส่เข้าไปด้วย เพื่อให้สามารถปรับฐานได้เมื่อจำเป็น หลังจากตรวจสอบว่าได้ระดับแล้วจึงอัดน้ำปูนลงในช่องเพื่อฝังน๊อต

.

 3. การตั้ง Alignment ดังรูปที่ 12 เพื่อกันมิให้เครื่องสูบน้ำสั่นขณะเดินเครื่องจะต้องมีการตั้ง Alignment โดยเฉพาะที่ข้อเพลาเครื่องที่ต่อเพลามาตรงแล้วก็อาจจะขยับได้ จึงต้องปรับโดยการปรับแผ่นรองรับแท่นเครื่องเส้นแนวการต่อเพลานี้เราตรวจสอบได้โดยใช้ Dial Gage

.

ในการติดตั้งท่อที่มาต่อกับเครื่องและวาล์วน้ำจะต้องระวังมิให้เกิดแรงกดเครื่องสูบน้ำหลังจากที่ตรวจสอบแนวเพลาจนได้ศูนย์แล้วควรเชื่อมแผ่นรองรับกับแท่นเครื่องและอัดน้ำปูนกับน๊อตยึดติดฐานแล้วจึงร้อยน๊อตที่ข้อต่อเพลา

.

รูปที่ 12 แสดงการตั้ง Alignment โดย Laser

.
สรุป

เพื่อให้เครื่องสูบน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด, การบำรุงรักษาน้อยนั้นสามารถทำได้โดยการติดตั้งอย่างเหมาะสมเป็นไปตามหลักวิศวกรรมที่กำหนดข้างต้น

.
อ้างอิง

1. ไพโรจน์ คีรีรัตน์, ปั๊มและระบบน้ำ, เอกสารประกอบการอบรม In-house Practical Training, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2543
2. Jebsen & Jessen industrial Products, คู่มือการติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ, Jebsen & Jessen Engineering (T) Ltd., 2544

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด