เนื้อหาวันที่ : 2010-10-20 16:01:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 10955 views

สร้างศักยภาพการแข่งขันด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้

ด้วยความเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจทำให้องค์กรยุคใหม่ต้องดำเนินการปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสภาวะอันขับเคี่ยว ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาศักยภาพจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากกระบวนการทำงานจึงมีบทบาทพัฒนาผลิตภาพ ซึ่งผลลัพธ์จากการเรียนรู้แสดงด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve)

โกศล ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com

.

.

ด้วยความเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจทำให้องค์กรยุคใหม่ต้องดำเนินการปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสภาวะอันขับเคี่ยว ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาศักยภาพจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากกระบวนการทำงานจึงมีบทบาทพัฒนาผลิตภาพ ซึ่งผลลัพธ์จากการเรียนรู้แสดงด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve)

.

สำหรับเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ได้ถูกนำเสนอครั้งแรกในอุตสาหกรรมการบินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ T.P. Wright ได้ตีพิมพ์เรื่อง “Factors Affecting the Cost of Airplanes” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1936 Wright ได้อธิบายถึงทฤษฎีพื้นฐานของการประมาณต้นทุนบนฐานการผลิตแบบซ้ำของสายการประกอบเครื่องบิน

.

เส้นโค้งดังกล่าวแสดงด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ของการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและการปรับปรุงสมรรถนะขององค์กร บางครั้งอาจเรียกว่าโค้งประสบการณ์ หรือ Manufacturing Progress Function แสดงด้วยชั่วโมงแรงงาน/หน่วย ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ เช่น การประมาณจำนวนชั่วโมงทำงานของวิศวกรที่ออกแบบรายละเอียดผลิตภัณฑ์และการประมาณชั่วโมงแรงงานสำหรับสายการประกอบรถยนต์ 

.

.

โดยแนวคิดพื้นฐานเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ คือปัจจัยทรัพยากรนำเข้า (Input Resources) เช่น ต้นทุนพลังงาน ชั่วโมงทำงาน ต้นทุนวัตถุดิบ เป็นต้น โดยมีค่าลดลงต่อหน่วยของผลิตผล (Output) เมื่อปริมาณหน่วยผลิตหรือการให้บริการสูงขึ้นทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์บนสมมติฐานของสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงอย่างคงที่ (Constant Percentage) นั่นคือ เมื่อปริมาณผลิตผลหรือการให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ส่งผลให้รอบเวลาทำงานลดลง

.

เช่น หากใช้จำนวนชั่วโมงแรงงานสำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยแรก 100 ชั่วโมง โดยใช้ฐานของการเรียนรู้ที่ 90% ดังนั้นการผลิตชิ้นงานหน่วยที่สองใช้เวลา 90 ชั่วโมง ในทำนองเดียวกันหากใช้ฐานของการเรียนรู้ที่ 80 % ถ้าใช้เวลาสำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยแรก 100 ชั่วโมง ชิ้นงานหน่วยที่สองใช้เวลา 80% ส่วนชิ้นงานหน่วยที่สี่ใช้เวลา 100(0.8)2 = 64 ชั่วโมง หรือกล่าวได้ว่าเวลาที่ถูกใช้สำหรับการผลิตต่อหน่วยได้ลดลงเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์คงที่ เมื่อดำเนินการผลิตด้วยปริมาณสองเท่า  โดยแสดงด้วยเลขฐานลอการิธึม ดังนี้

.
         Tn  = T1 nb
เมื่อ  T1 = เวลาหรือทรัพยากรนำเข้า สำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยแรก
         Tn = เวลาหรือทรัพยากรนำเข้าสำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยที่ n
         n  = ปริมาณผลิตผลสะสม (Cumulative)
         b =  ,   r = อัตราการเรียนรู้ (Learning Rate) 
.

นอกจากนี้สามารถใช้สัมประสิทธิ์โค้งแห่งการเรียนรู้ด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้
                                   Tn    = T1C
                      เมื่อ      Tn    = เวลาที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยที่ n
                                   T1    = เวลาที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยแรก
                                   C     = สัมประสิทธิ์โค้งแห่งการเรียนรู้ที่ขึ้นกับอัตราการเรียนรู้ (ดูตาราง)

.

.

ดังนั้นการพัฒนาเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้สรุปได้ดังนี้
• แรงงานทางตรงที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยที่ n+1 น้อยกว่ากว่าแรงงานทางตรงที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นงานหน่วยที่ n
• แรงงานทางตรงที่ใช้มีอัตราลดลง (Declining Rate) เมื่อเกิดการผลิตปริมาณเพิ่มขึ้น
• เวลาที่ลดลงแสดงด้วยเส้นโค้งเอ็กซ์โปเนนเชียล (Exponential Curve)

.

ตัวอย่าง ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารรายหนึ่งได้พัฒนาระบบโทรศัพท์รุ่นใหม่ โดยมีอัตราการเรียนรู้ 80%
a) หากอุปกรณ์ชุดแรกใช้เวลาผลิต 56 ชั่วโมง ให้หาเวลาที่ใช้ผลิตระบบโทรศัพท์ชุดที่ 11
b) ระยะเวลาสำหรับผลิตระบบโทรศัพท์ 11 ชุดแรก
c) ในฐานะที่เป็นตัวแทนจัดซื้อหากต้องการซื้อระบบโทรศัพท์ ตั้งแต่หน่วยที่ 12 ถึงหน่วยที่ 15 ให้หาต้นทุนคาดหวัง โดยทางผู้ผลิตได้คิดอัตราค่าแรงงาน 32 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

.

Sol.    a) Tn  = T1C
           ดังนั้น  T11 = 56 x 0.462 = 25.90 ชั่วโมง

           b) หาเวลารวมสำหรับผลิตโทรศัพท์ 11 ชุดแรก = 56 x 6.777 = 379.5 ชั่วโมง
           c) หาเวลาสำหรับหน่วยที่ 12 ถึง 15 โดยคำนวณเวลาตั้งแต่หน่วยที่ 1 ถึง 15 และหักเวลาตั้งแต่หน่วยที่ 1 ถึง 11
                    เวลาสำหรับการผลิต 15 หน่วยแรก = 56 x 8.511 = 476.6 ชั่วโมง
                    เวลาสำหรับ 11 หน่วยแรก = 379.5 ชั่วโมง
           ดังนั้น  เวลาสำหรับหน่วยที่ 12 ถึง 15 = 476.6 - 379.5 = 97.1 ชั่วโมง
           ต้นทุนสำหรับหน่วยที่  12 ถึง 15 = 97.1 x 32 = $3107.2 

.
การประยุกต์เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้

โดยทั่วไปแต่ละองค์กรดำเนินธุรกิจที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้จึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งอัตราการเรียนรู้ได้แปรตามระบบบริหารคุณภาพและสมรรถนะของกระบวนการ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์จึงส่งผลกระทบต่อความชันเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้

.

โดยค่าความชันแสดงถึงอัตราการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อต้นทุนที่ลดลงและประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ที่ 90% เทียบกับ 70% แสดงถึงเวลาที่ลดลง 10% และ 30% ตามลำดับ เมื่อดำเนินการผลิตสินค้าหรือให้บริการด้วยรูปแบบเดิมเพิ่มขึ้นสองเท่า

.

ดังนั้นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้จึงแสดงถึงอัตราการปรับปรุงที่สามารถประยุกต์ใช้ทั้งในกิจกรรมการผลิตและการให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์การประยุกต์ใช้งาน คือ การพยากรณ์แรงงานภายในเพื่อจัดทำกำหนดการและงบประมาณ การจ้างผู้รับเหมาหรือจัดซื้อภายนอกและการประเมินกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อใช้สำหรับการเทียบเคียง (Benchmarking) สำหรับแนวทางประยุกต์เส้นโค้งการเรียนรู้ในธุรกิจสามารจำแนกได้ดังนี้    

.

1. การประมูลโครงการ โดยผู้ประมาณราคาได้ประมาณค่าแรงงานทำให้ทราบอัตราการเรียนรู้และอัตราค่าจ้างด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ หลังจากได้คำนวณค่าแรงงานและค่าวัสดุจึงดำเนินการบวกอัตรากำไร นั่นคือ ราคาที่ใช้สำหรับประมูล

.

ตัวอย่าง บริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งได้ออกแบบสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของบริษัทได้พัฒนากลยุทธ์จัดซื้อวัสดุก่อสร้างจากผู้ค้ารายใหญ่และได้เปิดให้มีการประมูลแข่งขันเพื่อสรรหาผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง ทางบริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างบ้าน 16 หลัง แต่ละหลังมีพื้นที่ 2400 ตารางฟุต โดยมีลักษณะการออกแบบเหมือนกันแต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางรายละเอียด       

.

สำหรับผู้ชนะการประมูลวัสดุก่อสร้างได้เสนอราคา 648,000 บาท หรือ 270 บาทต่อตารางฟุต สำหรับบ้านหลังแรก ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเชื่อว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเมื่อทำการก่อสร้างปริมาณสองเท่า สามารถลดค่าวัสดุลงได้ 8 % 

.

a) ประมาณการค่าวัสดุสะสมเฉลี่ยต่อตารางฟุตสำหรับบ้าน 5 หลังแรก
b) ประมาณราคาวัสดุต่อตารางฟุตของบ้านหลังที่สิบหก

.

Sol.  a) จากข้อมูลที่กำหนดสามารถคำนวณค่าวัสดุก่อสร้าง โดยนำค่าจากการคำนวณใส่ในตาราง ดังนี้
              T3 = 270 (16)log0.92/log2 = 236.60 บาท/ตารางฟุต

.

.

b).      จากสมการ  T16 = 270(16)log0.92/log2
                                        = 270(16)-0.1203
                                        = 270/1.3959 = 193.40 บาทต่อตารางฟุต    

.
การยุกต์สำหรับงานวิศวกรรม สำหรับหาเวลาที่ใช้ออกแบบหรือประกอบชิ้นงาน  

ตัวอย่าง ทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งได้ออกแบบรถฟอร์มูลา (Formula Car) เพื่อใช้แข่งขันระดับประเทศ เวลาสำหรับใช้ประกอบรถคันแรก 100 ชั่วโมง โดยมีอัตราการเรียนรู้ที่ 80% จากข้อมูลดังกล่าว ให้คำนวณหา

.

a) เวลาที่ทีมนักศึกษาใช้ประกอบรถคันที่ 10
b) เวลารวมที่ใช้สำหรับประกอบรถทั้งสิบคัน
c) ประมาณค่าเวลาเฉลี่ยสะสม (Cummulative Average Time) สำหรับประกอบรถ 10 คัน

.

Sol.  a) Tn = T1 nb
                          ดังนั้น   T10 = 100(10)log0.8/log2    = 100(10)
-0.322
                                                                = 100/2.099 = 47.6 ชั่วโมง

.
         b) หาเวลารวมสำหรับผลิตชิ้นงาน x หน่วย 
.

c) เวลาเฉลี่ยสะสมสำหรับการผลิต x หน่วย, Cx
             โดยที่      Cx    = Tx/x
              C10   = T10/10 = 63.1 ชั่วโมง      

.

2. การวางแผนทางการเงิน เส้นโค้งการเรียนรู้สามารถช่วยให้นักวางแผนสามารถประมาณการกระแสเงินสดเพื่อใช้ดำเนินงานของโครงการ เช่น กระแสเงินรับและจ่ายของโครงการ ตลอดจนการเปรียบเทียบราคาเพื่อทำสัญญาจ้างด้วยการกำหนดค่าแรงงานเฉลี่ยต่อหน่วยตามปริมาณงานที่ทำสัญญาจ้าง

.

โดยทั่วไปช่วงแรกของการผลิต ค่าแรงงานทางตรงสูงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ในช่วงปลายผลลัพธ์จะกลับกัน ข้อมูลเหล่านี้ทำให้นักวางแผนทางการเงินสามารถจัดสรรเงินทุนเพื่อใช้ดำเนินโครงการแต่ละช่วง

.

ตัวอย่าง บริษัทผู้ผลิตเรือแข่งได้จัดทำกำหนดการผลิต โดยสินค้าดังกล่าวมีความแตกต่างจากสินค้าที่บริษัทเคยผลิตมา  ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเรียนรู้ 80% สำหรับโครงการใหญ่ โดยสินค้าหน่วยแรกใช้เวลาผลิต 1000 ชั่วโมง ซึ่งมีรายละเอียดแสดงในตาราง 

.

a) ประมาณการจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิตสินค้า 38 หน่วย

b) ถ้างบประมาณแต่ละเดือนสามารถจ้างแรงงานได้สูงสุดเพียง 30 คน กำหนดจำนวนชั่วโมงแรงงานโดยรวมตลอดโครงการ 15000 ชั่วโมง โดยคนงานแต่ละคนมีเวลาการทำงาน 150 ชั่วโมง/เดือน อยากทราบว่างบประมาณที่ตั้งไว้เพียงพอหรือไม่ ?

.

.

         

             b) คำนวณเวลาสะสมแต่ละเดือนด้วยตารางค่าสัมประสิทธิ์เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้
.

.

ผลลัพธ์จากการคำนวณเวลาสะสมของกำหนดการผลิตทั้ง 38 หน่วยใช้เวลา 16580.9 ชั่วโมง ซึ่งเกินจากงบประมาณที่ตั้งไว้ที่ 15000 ชั่วโมง ดังนั้นจึงต้องหาจำนวนชั่วโมงสะสมที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนหารด้วยชั่วโมงการทำงานแต่ละเดือน คือ 150 ชั่วโมง

.

.

ตารางกำหนดการแสดงถึงความเป็นไปได้ของปริมาณแรงงานทางตรงที่ต้องใช้แต่ละเดือน เนื่องจากไม่เกินจากที่ตั้งไว้ 30 คน แม้ว่าจำนวนชั่วโมงสะสมรวมจะเกินจากงบประมาณ 1581 ชั่วโมงก็ตาม

.

ตัวอย่าง แผนกเฮลิคอปเตอร์ของบริษัทผลิตอากาศยานแห่งหนึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อประมาณต้นทุนของการประกอบเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากบริษัทเพิ่งได้รับคำสั่งซื้อจำนวน 8 เครื่อง ดังนั้นจึงเปรียบเทียบต้นทุนการประกอบเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองวิธี โดยมีรายละเอียดดังนี้

.

.

จากข้อมูลรายละเอียดที่แสดงในตารางดังกล่าว
1.  จำนวนชั่วโมงแรงงานสำหรับประกอบเฮลิคอปเตอร์ 8 เครื่องแรก โดยวิธี
               a). Labor Intensive
               b). Machine Intensive
2. ต้นทุนสำหรับการประกอบเฮลิคอปเตอร์ 8 เครื่องแรก โดยวิธี
              a). Labor Intensive
              b). Machine Intensive

.

Sol.  1a. การประกอบแบบเน้นแรงงานบนฐานค่าเวลาเฉลี่ยสะสมของเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ 85 % ดังนั้น

            
เวลาที่ใช้สำหรับหน่วยที่ 3, T3 = (2000) x 3-0.2345 = 1546               
.

.
1b) วิธีการเน้นเครื่องจักรสำหรับประกอบ เส้นโค้งการเรียนรู้ 90 % 
ดังนั้น 
             T3 = (800) x 3-0.152 = 677 ชั่วโมง
.

.

2) คำนวณต้นทุนสำหรับประกอบเฮลิคอปเตอร์ 8 เครื่อง

.

ดังนั้นผลต่างของต้นทุนแสดงว่าการประกอบด้วย Machine Intensive เกิดต้นทุนต่ำกว่าแบบ Labor Intensive = (892692 - 826350) = $66342 ดอลลาร์  

.

3. ประมาณการแรงงาน สำหรับการจัดทำกำหนดการผลิต (Production Schedule) นักวิศวกรได้ใช้เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้สำหรับประมาณแรงงานทางตรงและสามารถใช้วางแผนฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทำงานให้กับแรงงาน  

.

ตัวอย่าง ผู้จัดการของผู้ผลิตชิ้นส่วนแห่งหนึ่งได้รับกำหนดการผลิตเทอร์ไบน์ 30 หน่วย โดยมีแผนการผลิตล่วงหน้าภายในห้าเดือน ดังนี้ 2, 3, 5, 8 และ12 หน่วย ตามลำดับ โดยหน่วยแรกที่ผลิตใช้แรงงานทางตรง 30000 ชั่วโมงแรงงาน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาสามารถกำหนดเส้นโค้งการเรียนรู้ที่ 95% ดังนั้นชิ้นงานที่สองใช้เวลา 28500 ชั่วโมง โดยคนงานแต่ละคนทำงานเฉลี่ย 150 ชั่วโมงต่อเดือน ให้ประมาณจำนวนแรงงานแบบเต็มเวลาแต่ละเดือนสำหรับอีกห้าเดือนข้างหน้า

.

.

Sol. หาเวลาสะสมรวมเฉลี่ยต่อหน่วยโดยใช้ตารางสัมประสิทธิ์ เพื่อคำนวณจำนวนชั่วโมงสะสมรวมแต่ละเดือนและชั่วโมงแรงงานที่ใช้แต่ละเดือน โดยแสดงข้อมูลในตาราง ดังนี้

.

.

คำนวณหาจำนวนชั่วโมงที่ใช้แต่ละเดือนหักด้วยจำนวนชั่วโมงสะสมจากเดือนก่อน  ดังนี้
เดือนที่ 1: 57000                 = 57000 ชั่วโมง
เดือนที่ 2:130175 - 57000   = 73175 ชั่วโมง
เดือนที่ 3: 239830-130175  = 109655 ชั่วโมง
เดือนที่ 4: 400032-239830  = 160202 ชั่วโมง
เดือนที่ 5: 621810 -400032 = 221778 ชั่วโมง

.

คำนวณหาจำนวนแรงงงานแต่ละเดือน โดยใช้ชั่วโมงแรงงานแต่ละเดือนหารด้วยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของคนงานแต่ละเดือน (150) ได้ผลดังนี้
เดือนที่ 1: 57000/150   = 380 คน
เดือนที่ 2: 73175/150   = 488 คน
เดือนที่ 3: 109655/150 = 731 คน
เดือนที่ 4: 160202/150 = 1068 คน
เดือนที่ 5: 221778/150 = 1479 คน          

.
บทบาทเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้กับกลยุทธ์การแข่งขัน       

ปัจจุบันเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ได้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถประมาณต้นทุนการผลิตต่อหน่วย โดยเฉพาะองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ (Low Price) แต่ผลิตปริมาณมาก (High Volume) เพื่อรักษาส่วนกำไรทำให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยลดลงเมื่อผลิตปริมาณมาก ซึ่งเป็นการสกัดกั้นการเข้ามาของคู่แข่งขัน เช่น อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ ที่มีต้นทุนการพัฒนาสูงมากจึงทำให้สินค้าที่ผลิตรุ่นแรก ๆ มีราคาสูง          

.

แต่หากมีการผลิตปริมาณสะสมมากขึ้นก็ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและสามารถกำหนดราคาในระดับแข่งขันได้ นั่นคือ หากองค์กรใดเป็นผู้บุกเบิกตลาดเป็นเจ้าแรกก็จะสามารถเป็นผู้นำตลาด เนื่องจากผู้เข้ามาทีหลังต้องขายสินค้าในระดับราคาต่ำเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นที่เข้ามาก่อนรวมทั้งแบกภาระต้นทุนจากการลงทุนขั้นต้น แม้ว่าเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือวางแผนปฏิบัติงาน แต่ผู้บริหารควรพิจารณาปัจจัยข้อจำกัด ดังนี้

.

• เนื่องจากเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน โดยแต่ละอุตสาหกรรมได้มีลักษณะเฉพาะเนื่องจากประเภทหรือลักษณะงานและการแข่งขันเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกัน ทำให้การประมาณอัตราการเรียนรู้ของแต่ละองค์กรควรมีการพัฒนาภายในองค์กรเองมากกว่าการนำแนวทางจากองค์กรอื่นเพื่อประยุกต์ใช้ 

.

• เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้มักขึ้นกับฐานเวลาของการผลิตหน่วยแรก (Early Units) ดังนั้นจึงต้องมีสารสนเทศเกี่ยวกับเวลาที่เที่ยงตรง แต่หากชิ้นงานหน่วยแรกยังไม่ได้ดำเนินการผลิต การประมาณอาจใช้ประสบการณ์หรือข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่ง Learning Curve ได้ให้ประโยชน์สูงสุดในช่วงต้นของกิจกรรมการผลิต

.

• การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการออกแบบและวิธีการทำงาน โดยเฉพาะความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้แรงงานเป็นระบบอัตโนมัติได้มีผลกระทบต่ออัตราการเรียนรู้     

.

• วัฒนธรรมขององค์กรและความพร้อมทางทรัพยากร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความชันของ Learning Curve เช่น โครงการที่ใกล้ดำเนินการเสร็จสิ้นความมุ่งมั่นเอาใจใส่ในงานของพนักงานมักลดลง

.
สรุป

ปัจจุบันเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ได้มีบทบาทสนับสนุนผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ โดยเฉพาะการประมาณต้นทุนมาตรฐานทั้งในภาคการผลิตและการบริการ แต่เนื่องจากองค์กรแต่ละแห่งได้มีรูปแบบและวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นประสิทธิผลเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้จึงควรพัฒนาจากปัจจัยภายในองค์กร

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด