เนื้อหาวันที่ : 2010-09-30 18:07:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 13031 views

Lean Distribution: การกระจายสินค้าแบบลีน

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราได้มีการเปิดใช้สนามบินพาณิชย์นานาชาติแห่งใหม่ ที่ชื่อว่า สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในสนามบินก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นลอจีสติกส์อยู่แทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการขนย้ายผู้ใช้บริการจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สำหรับการขนส่งสินค้าก็เป็นกิจกรรมลอจิสติกส์เช่นเดียวกัน ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าในการที่จะดำเนินการจัดส่งด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งการขนส่งสินค้าเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของธุรกิจ

วัชรพงศ์ ฤกษนันทน์
ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 .

.

หลาย ๆ ท่านคงจะทราบแล้วว่าประเทศเราจะมีการเปิดใช้สนามบินพาณิชย์นานาชาติแห่งใหม่ (สนามบินสุวรรณภูมิ) ซึ่งในสนามบินก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นลอจิสติกส์อยู่แทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการขนย้ายผู้ใช้บริการจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สำหรับการขนส่งสินค้าก็เป็นกิจกรรมลอจิสติกส์เช่นเดียวกัน ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าในการที่จะดำเนินการจัดส่งด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งการขนส่งสินค้าเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของธุรกิจ

.
อะไรทำให้เกิดการกระจายสินค้า

ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงการจัดการโซ่อุปทานเพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ การจัดการโซ่อุปทานซึ่งการประสานรวมกระบวนการทางธุรกิจที่ครอบคลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผ่านการผลิตและการบริการไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย

.

ซึ่งมีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์การบริการและข้อมูลสารสนเทศควบคู่กันไป อันเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์และนำเสนอสิ่งเหล่านี้สู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย [1] ซึ่งในการประเมินความแม่นยำ, ความน่าเชื่อถือของส่วนประกอบในแต่ละระบบหรือระบบภาพรวมของโซ่อุปทานที่ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนในการตัดสินใจ,

.

โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องเผชิญกับความคาดหวังของลูกค้าที่ระดับสูง, ผลต่างของกำไรที่น้อยลงและความภักดีต่อตราสินค้ามีน้อย และการหาค่าสมรรถนะระบบในส่วนประกอบที่ซับซ้อนของการสร้างคุณค่าในระบบโซ่อุปทาน [2] จะเห็นได้ว่าในด้านของการกระจายสินค้ามีความสำคัญในกระบวนการธุรกิจ     

.

ซึ่งในสภาพของการแข่งขันทางธุรกิจที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งการเข้าถึงลูกค้าที่รวดเร็วได้นั้นก็จะต้องมีการจัดการในกระบวนการไหลของกระบวนการธุรกิจ โดยเริ่มจากการจัดหา จัดซื้อ การผลิต การกระจายสินค้า จนกระทั่งถึงลูกค้าคนสุดท้าย ในแต่ละกระบวนการก็มีความสำคัญซึ่งธุรกิจจะต้องมีการจัดการทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

.

ดังนั้นการกระจายสินค้า จึงเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ และให้อยู่ในสภาพที่ต้องการ หรือเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างองค์กรธุรกิจหรือการผลิตกับลูกค้า หน้าที่ของการกระจายสินค้าจึงควรจะต้องตอบสนองต่อการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

.
หลักการของการกระจายสินค้า

การกระจายสินค้ามีหลักในการกระจายสินค้าที่จะต้องมีการส่งมอบถูกเวลา ถูกสถานที่ ถูกปริมาณและถูกคุณภาพ ขณะเดียวกันก็จะต้องสามารถลดต้นทุนและสินค้าคงคลังได้อีกด้วย ในอดีตหน้าที่ของการกระจายสินค้าจะให้ความสนใจแต่คลังสินค้าขนาดใหญ่ การขนสินค้าขึ้นลง และสินค้าคงคลังสำหรับการขนส่งในแต่ละคำสั่งของลูกค้าการขนส่งที่เวลาไม่เหมาะสม, ความถี่ในการขนส่งของปริมาณเล็ก ๆ และการส่งสินค้าที่ผิดพลาด หรือเป็นสิ่งที่อยู่ในการขนส่ง

.

ความผิดพลาดหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือบรรจุภัณฑ์ได้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่แล้วจะเสนอให้มีการปรับปรุงในระบบการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการขนส่งและรวบรวมเพื่อที่จะรับการขนส่งบางครั้ง และการที่พื้นที่ของแต่ละลูกค้าที่มีความหลากหลายจึงทำให้เกิดการขาดประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า

.

.

ในการกระจายสินค้าจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าได้ด้วยความแม่นยำและถูกต้อง ซึ่งกระบวนการการกระจายสินค้าเริ่มจากการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าโดยการใช้การวางแผนความต้องการการกระจายสินค้า

.

ซึ่งมีการใช้ข้อมูลจากคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อจากนั้นก็จะทำการรวบรวมคำสั่งซื้อแล้วส่งผ่านไปยังการจัดทำแผนกำหนดตารางและทำการผลิต หลังจากที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์แล้วจะส่งไปยังคลังสินค้า แล้วทำการจัดส่งสินค้าด้วยตามเวลา สถานที่ ปริมาณและคุณภาพที่ถูกต้องแก่ลูกค้า

.

.

.

.

ซึ่งจะเห็นว่าในการวางแผนการกระจายสินค้าจะมีการเชื่อมโยงกับการวางแผนของฝ่ายผลิตในการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อใช้ในการวางแผน โดยในการวางแผนความต้องการกระจายสินค้าจะประกอบไปด้วย การพยากรณ์ความต้องการ แผนการสั่งซื้อ ปริมาณสินค้าคงคลัง จำนวนสินค้าที่ค้างส่ง ช่วงเวลานำของการผลิตและการสั่งซื้อ เป็นต้น

.
Waste ในการกระจายสินค้า

ในกระบวนการการกระจายสินค้ามีจุดที่เป็นหัวใจอยู่ก็คือ สถานที่ในการเก็บสินค้าและการขนส่งซึ่งถ้าจะให้มองแล้วปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการการกระจายสินค้าก็เกิดมาจากจุดสองจุดที่ประสานงานกัน โดยถ้าหากเกิดปัญหาของการส่งของไม่ตรงเวลาก็อาจจะเป็นเพราะในคลังสินค้ามีสินค้าไม่เพียงพอต่อการขนส่งจึงทำให้เกิด Lead Time ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะกระบวนการในการขนส่งก็อาจเป็นได้

.

การจัดส่งที่เวลาไม่เหมาะสม, ความถี่ในการจัดส่งของปริมาณน้อย ๆ, และความผิดพลาดด้านสถานที่หรือจำนวนของการจัดส่งได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ 44% ของผู้ค้าปลีกเห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาที่สำคัญ

.

ระบบการจัดส่งสินค้าในปัจจุบันมีลักษณะดังนี้คือ การจัดส่งเล็ก ๆ และจำนวนมากในการหยุดของยานพาหนะ, ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพของทรัพยากรการดำเนินการขนส่งและเป็นปัญหาสำหรับผู้ค้าปลีกและจำนวนที่มากของการดำเนินการขนส่งก็เกี่ยวข้องด้วย

.

ความไม่สม่ำเสมอและเวลาที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นบ่อยของการจัดส่ง, ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหากับผู้ค้าปลีก [3] ซึ่งอุปสรรคในการปรับปรุงกระบวนการการกระจายสินค้าเกิดจากการขาดการพยากรณ์ที่แม่นยำ ซึ่งตามที่ Supply Chain Digest, 2005 ได้ระบุว่าส่วนมาก 78% มีกระบวนการการวางแผนที่เป็นแบบพิธีการแต่มีเพียง 15% เท่านั้นที่มีการวางแผนแบบบูรณาการ

.

โดยทั่วไปการพยากรณ์มักจะผิดพลาดเสมอ ทำให้ต้องมีการแก้ไขด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสร้างความไม่แน่นอนในกระบวนการวางแผนจึงเกิดปรากฎการณ์ The Bullwhip Effect ที่เกิดจาการที่เราไม่ทราบความต้องการที่แท้จริงจึงทำให้มีการออกคำสั่งซื้อในปริมาณที่มากเกินความต้องการที่แท้จริง 

.

.

ซึ่งThe Bullwhip Effect นั้นธุรกิจควรที่จะสามารถระบุได้หลังจากทราบข้อเท็จจริงในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อของลูกค้า จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อการจัดส่งทั้งในด้านเวลา สถานที่ ปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นการวางแผนในการพยากรณ์จะต้องมีความร่วมมือกัน ตามแผนภาพความจำเป็นที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวางแผน

.

.

ในด้านของการพยากรณ์ก็จะนำไปใช้ในการวางแผนด้านการกระจายสินค้า โดยจะต้องมีความร่วมมือประสานงานกันระหว่างผู้จัดส่งกับลูกค้า ความน่าสนใจอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ที่อยากจะให้ผู้ค้าปลีกริเริ่มความร่วมมือ: แม้แต่คำสั่งซื้อ, ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดส่งทั้งหมดและควรที่จะสามารถควบคุมได้ในความร่วมมือกัน

.

[3] การวัดสมรรถนะการบริการการกระจายสินค้าที่ประสบความสำเร็จ มักจะขึ้นอยู่กับระดับของความร่วมมือที่เป็นอยู่ระหว่างการตลาดของบริษัทและลอจิสติกส์ หากปราศจากความร่วมมือระหว่างกันทางด้านการตลาด/ลอจิสติกส์, บริษัทจะไม่สามารถคาดหมายเพื่อจะตอบสนองที่เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า [4]

.
Lean Distribution 

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจในแนวความคิดของลีนกันก่อน ซึ่งแนวความคิดแบบลีนเป็นเสมือนอาวุธสำหรับการแข่งขันที่สำคัญโดยมุ่งเป้าหมายเพื่อการปรับปรุง เช่น การลดระยะเวลาการผลิต การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งใช้แนวความคิดในเรื่องคุณค่าของงานที่กระทำ (Value Added) โดยผลที่คาดหวังก็คือการลดต้นทุนให้ต่ำลง และการที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม 

.

นอกจากนี้แนวความคิดการผลิตแบบลีนยังมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยการสร้างให้เกิดการไหลของงาน ตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง [5] ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้จะต้องระบุจำแนกความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ซึ่งความสูญเปล่าอาจรวมถึง กิจกรรม ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า (Non-Value Added) โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยคุณภาพสูงสุด ใช้เวลาน้อยที่สุดและลดต้นทุนลงได้

.

ดังนั้น Lean Distribution เป็นการเข้าใกล้ในด้านการเพิ่มความยืดหยุ่นและการทำให้ง่ายและการลดด้วยเหตุนี้ ความน่าเชื่อถือในการพยากรณ์และแผนที่เหมาะสมจะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จ ในส่วนของลีน, เป็นการปรับปรุงกระบวนการและสมรรถนะคือมุ่งเน้นไปที่การลดเวลานำ, การลดขนาดของ Lot Size, และการเพิ่มความน่าเชื่อถือ, ความยืดหยุ่นและการทำให้ง่ายต้องการนำไปสู่ความสอดคล้องผลลัพธ์ที่บรรลุผลสำเร็จ

.

Lean Distribution นำไปสู่ความแตกต่างที่แท้จริงในการเข้าถึงจากสิ่งที่เหมาะสมที่สุดและการวางแผนที่อยู่บนการจำกัดเวลานำและ Lot Size ซึ่งพื้นฐานการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดแสวงหาในการจัดตารางใหม่ของคำสั่งซื้อและสินค้าคงคลังภายในแผน เพื่อที่จะลดต้นทุนด้วยเหตุที่แนวคิดแบบลีนเป็นการแสวงหาการสร้างความยืดหยุ่นในกระบวนการการกระจายสินค้า เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด 

.

ใน Lean Distribution เราจะนำระบบการดึง (Pull System) มาใช้เพื่อลดการเกิดปรากฎการณ์ The Bullwhip Effect ซึ่งจะทำให้สามารถลดเวลานำ ขนาด Lot Size อุปสรรคต่าง ๆ และทำให้กระบวนการการเติมเต็มให้คล่องตัวขึ้น

 .

การนำหลักการ Pull มาประยุกต์ใช้การกระจายสินค้า

 .
สรุป

การกระจายสินค้าที่ดีก็เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า การเข้าถึงที่รวดเร็วได้นั้นก็จะต้องมีการจัดการในกระบวนการไหลของธุรกิจ ซึ่งในแต่ละกระบวนการก็มีความสำคัญซึ่งธุรกิจจะต้องมีการจัดการทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 .

ในการกระจายสินค้าจะต้องมีการพยากรณ์ที่แม่นยำ โดยการมีความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตไปยังลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน ซึ่งการกระจายสินค้าแบบลีน เป็นการทำให้เพิ่มความยืดหยุ่นและทำให้ง่ายในกระบวนการการกระจายสินค้าตั้งแต่คลังสินค้า การจัดส่ง จนกระทั่งลูกค้า ซึ่งจะต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ถูกเวลา สถานที่ ปริมาณและคุณภาพที่ดีด้วย

 .

เอกสารอ้างอิง

[1] The International Center for Competitive Excellence
[2] Anthony D.Ross X and Cornelia Droge: Journal of Operation Management, (2004)
[3] D. Ljungberg, G. Gebresembet: International Journal of Transport Management, (2004)
[4] Alexander E.Ellinger: Improving Marketing/Logistics Cross-Functional Collaboration in the Supply Chain
[5] Fawas Abdullah: Lean Manufacturing Tools and Techniques in Process Industry with a focus on Steel., (2003)
[6] Kirk D.Zylstra: Lean Distribution, John Wiley & Sons, Inc

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด