เนื้อหาวันที่ : 2010-08-09 18:10:55 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 22583 views

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง (Location Analysis) ตอนจบ

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นเทคนิควิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะต้องขายให้ได้เพื่อให้สามารถชดเชยต้นทุนในการดำเนินงานได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าจุดคุ้มทุนคือปริมาณสินค้าที่กิจการจำเป็นต้องขายเพื่อให้คุ้มทุนในการดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่ขายสินค้าได้มากกว่าปริมาณการขายที่จุดคุ้มทุนจะทำให้กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา,
wiwatapi@gmail.com

.

.

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break–Even Analysis)

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นเทคนิควิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะต้องขายให้ได้เพื่อให้สามารถชดเชยต้นทุนในการดำเนินงานได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าจุดคุ้มทุนคือปริมาณสินค้าที่กิจการจำเป็นต้องขายเพื่อให้คุ้มทุนในการดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่ขายสินค้าได้มากกว่าปริมาณการขายที่จุดคุ้มทุนจะทำให้กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน และเมื่อใดที่ขายสินค้าต่ำกว่าจุดคุ้มทุน กิจการจะขาดทุนจากการดำเนินงาน สำหรับในที่นี้จะได้นำการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนมาใช้เพื่อการประเมินค่าทางเลือกในแต่ละทำเลที่ตั้ง  

.

โดยแนวคิดการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนนี้จะต้องทำการจำแนกประเภทต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมกล่าวคือเป็นต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ เทคนิคดังกล่าวนี้สามารถให้ประโยชน์ได้ดีในสถานการณ์ที่มีเงื่อนไขที่ต้องทำการพิจารณาที่แสดงอยู่ในรูปของต้นทุนได้ ทบทวนพื้นฐานของสมการจุดคุ้มทุนได้ดังนี้

       TC = FC + vQ
       TR = pQ
.
กำหนดให้
       TC = ต้นทุนรวม
       FC = ต้นทุนคงที่
         v   = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
        Q  = จำนวนหน่วยขาย
        p   = ราคาขายต่อหน่วย
       TR = รายได้รวม
.
ที่ตำแหน่งของจุดคุ้มทุน รายได้รวมและต้นทุนรวมนั้นเท่ากัน สามารถแสดงสมการเพื่อหาค่าจำนวนหน่วยขายที่จะทำให้คุ้มทุนได้ดังนี้
           
.
ขั้นตอนพื้นฐานของการนำการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนมาใช้เพื่อหาทำเลที่ตั้งทำได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 คำนวณหาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของแต่ละทำเลที่ตั้ง
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดเพื่อแสดงตำแหน่งต้นทุนรวมในแต่ละทำเลที่ตั้งบนกราฟเดียวกัน ในการกำหนดเส้นตรงใด ๆ ลงบนแผนภาพนั้นจำเป็นต้องมี 2 จุด จุดแรกคือที่หน่วยการขายเท่ากับ 0 ซึ่งจะแสดงเป็นตำแหน่งของจุดตัดแนวแกน Y ส่วนอีกจุดหนึ่งจะกำหนดให้เป็นหน่วยขายที่เท่าใดก็ได้ที่สามารถเป็นไปได้ แต่ที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือหน่วยขายที่คาดการณ์ว่าจะขายได้ในอนาคต

.
ขั้นที่ 3 ระบุตำแหน่งผลลัพธ์ที่มีต้นทุนรวมต่ำสุดในแต่ละทำเลที่ตั้ง
ขั้นที่ 4 นำไปแก้สมการพื้นฐานเพื่อคำนวณหาหน่วยการขายที่จุดคุ้มทุนในแต่ละทำเลที่ตั้ง
.
ตัวอย่างที่ 4
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนในการดำเนินงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้าทำการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งทั้ง 4 แห่งดังนี้

.

จากข้อมูลข้างต้น ถ้าระดับกิจกรรมการผลิตและขายในอนาคตประมาณการไว้เท่ากับ 12,000 หน่วยควรจะตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งใดเมื่อใช้การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การเลือกทำเลที่ตั้งโดยใช้การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสามารถทำได้ตามลำดับขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 คำนวณหาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของแต่ละทำเลที่ตั้ง

.
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดเพื่อแสดงตำแหน่งต้นทุนรวมในแต่ละทำเลที่ตั้ง

.
ขั้นที่ 3 ระบุตำแหน่งผลลัพธ์ที่มีต้นทุนรวมต่ำสุดในแต่ละทำเลที่ตั้ง

.

จากแผนภาพที่ได้ในขั้นที่ 2 จะเห็นได้ว่าช่วงที่เหมาะสมของผลลัพธ์เกิดขึ้นในทำเลที่ตั้ง A, B และ C โดยสังเกตจากเส้นกราฟของแต่ละทำเลที่ตั้งที่ตัดกัน ในที่นี้จะเห็นได้ว่าเส้นกราฟของทำเลที่ตั้ง D นั้นไม่มีช่วงระดับกิจกรรมที่ทำให้มีต้นทุนต่ำที่สุดได้แม้ว่าจะมีจุดตัดกับเส้นกราฟ A ในช่วงแรกก็ตามแต่ในขณะเดียวกัน ณ ระดับกิจกรรมช่วงนั้นมีจุดตัดของเส้นกราฟ B และ C เกิดขึ้นซึ่งให้ต้นทุนที่ต่ำกว่าจึงไม่ถือว่าจุดตัดของเส้นกราฟ A และ D ที่เกิดขึ้นก่อนหน้ามีความสำคัญ

.
ขั้นที่ 4 แก้สมการพื้นฐานเพื่อคำนวณหาหน่วยการขายที่จุดคุ้มทุนในแต่ละทำเลที่ตั้ง
สมการของต้นทุนรวมสำหรับจุดตัดเส้นกราฟ B และเส้นกราฟ C แสดงได้ดังนี้
200,000 + 60Q = 300,000 + 40Q
60Q – 40Q        = 300,000 – 200,000
20Q                    = 100,000
Q                         = 5,000 หน่วย
.
สมการของต้นทุนรวมสำหรับจุดตัดเส้นกราฟ C และเส้นกราฟ A แสดงได้ดังนี้
300,000 + 40Q = 500,000 + 22Q
40Q – 22Q        = 500,000 – 300,000
18Q                    = 200,000
Q                         = 11,111 หน่วย
.
ต้นแบบการขนส่ง (The Transportation Model)

ในบางครั้งต้นทุนของการขนส่งมีบทบาทที่สำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกทำเลที่ตั้ง เมื่อกล่าวถึงคำว่าการขนส่งนี้มีความหมายรวมไปถึงการขนส่งจากโรงงานผลิตไปยังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังลูกค้า หรือการขนส่งจากโรงงานผลิตไปยังลูกค้าโดยตรง

.

ปัญหาการขนส่งนี้เป็นแผนงานในการกระจายสินค้าคงคลังที่เป็นแหล่งต้นทางหรือที่เรียกว่า ซัพพลาย (Supply) ซึ่งอาจจะมีหลาย ๆ แห่งทำการกระจายสินค้าคงคลังเหล่านั้นไปยังแหล่งปลายทางหลาย ๆ แห่งที่มีความต้องการสินค้าคงคลังเหล่านั้นหรือเรียกได้ว่า ดีมานด์ (Demand) ทั้งนี้ต้องการให้มีต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ต่ำที่สุด

.

ภาพต่อไปนี้แสดงถึงตัวอย่างกิจการแห่งหนึ่งที่มีโรงงานผลิต 4 แห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ และมีคลังสินค้าจำนวน 3 แห่งที่กระจายสินค้าออกไป ต้นแบบการขนส่งสามารถที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยในการประเมินได้ว่าควรจะกระจายสินค้าที่โรงงานผลิตต่าง ๆ สามารถทำการผลิตได้นั้นไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ อย่างไรเพื่อจะทำให้มีต้นทุนในการขนส่งต่ำที่สุด

.

.

จุดเริ่มต้นของการขนส่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งโรงงาน คลังสินค้า แผนกงาน หรือสถานที่ในลักษณะใด ๆ ที่เป็นต้นทางของสินค้าที่ถูกส่งออก จุดปลายทางก็เช่นกันเป็นไปได้ทั้งโรงงาน คลังสินค้า แผนกงาน หรือสถานที่ในลักษณะใด ๆ ที่เป็นปลายทางของการรับสินค้าเข้า ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบสำหรับการใช้เทคนิครูปแบบการขนส่งมีดังนี้

.

1. ปริมาณสินค้าหรือกำลังการผลิต ณ จุดต้นทางต่อรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ
2. ปริมาณความต้องการ ณ จุดต้นทางต่อรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ
3. ต้นทุนการขนส่งจากจุดต้นทางหนึ่ง ๆ ไปยังจุดปลายทางหนึ่ง ๆ

.

ต้นแบบการขนส่งนี้จัดอยู่ในรูปแบบโปรแกรมเชิงเส้นอย่างหนึ่ง การที่ได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมเชิงเส้นเนื่องจากใช้ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่ทำการวิเคราะห์เพื่อหาค่าผลลัพธ์ที่ต้องการ แนวคิดต้นแบบการขนส่งนี้จะพิจารณาว่าต้นทุนการขนส่งจะผันแปรโดยตรงไปตามหน่วยสินค้าที่ทำการขนส่งเป็นสำคัญ

.

การใช้ต้นแบบการขนส่งจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจได้นั้นแน่นอนว่าจะต้องมีข้อสมมติฐานหลักที่สำคัญดังนี้
1. สินค้าที่จะทำการขนส่งมีลักษณะเดียวกัน
2. ต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อหน่วยสินค้าแต่ละหน่วยมีค่าเท่ากัน
3. รูปแบบการขนส่งที่ใช้ในการขนส่งระหว่างจุดต้นทางจนถึงปลายทางในแต่ละเส้นทางนั้นมีเพียงรูปแบบเดียวกัน

.
ตัวอย่างที่ 5
กิจการแห่งหนึ่งมีความต้องการขนส่งสินค้าไปยังคลังสินค้า 3 แห่งซึ่งมีความสามารถสูงสุดในการรองรับสินค้าได้ดังต่อไปนี้

.

ปริมาณสินค้าที่แต่ละโรงงานทำการผลิตได้

.
ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจากโรงงานผลิตแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้ 

.

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นสามารถนำมาแสดงรายละเอียดโดยสรุปเกี่ยวกับปริมาณสินค้าที่โรงงานสามารถทำการผลิตได้ ปริมาณสินค้าที่คลังสินค้าสามารถรองรับได้ และต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยจากโรงงานผลิตไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ ได้ดังนี้

.

.

จากปัญหาข้างต้นสามารถนำมาเขียนเป็นแผนภาพอย่างง่ายเพื่อให้สามารถมองเห็นถึงแนวทางของสมการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้ได้มาซึ่งปริมาณสินค้าที่จะขนส่งไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ แล้วทำให้ได้มาซึ่งต้นทุนการขนส่งโดยรวมต่ำที่สุดได้ดังนี้

.

.
จากแผนภาพกำหนดให้
Xij = ปริมาณสินค้าที่ขนส่งจากโรงงาน i ไปยังคลังสินค้า j
โดยที่  i = 1, 2, 3, 4
            j =1, 2, 3
.

ต้นแบบการขนส่งในรูปของโปรแกรมเชิงเส้นตรงที่เป็นสมการเป้าหมายในที่นี้จะได้ว่า
ต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุด = 1.50X11 + 1.98X12 + 1.74X13 + 1.38X21 + 1.68X22 + 1.62X23 + 1.86X31 + 2.52X32 + 2.34X33+ 2.22X41+ 2.82X42+ 2.58X43

.

เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ทำการขนส่งจากโรงงานใด ๆ ไปยังคลังสินค้าใด ๆ ก็ตามจะต้องมีปริมาณโดยรวมเท่ากับปริมาณสินค้าที่โรงงานสามารถทำการผลิตได้ ดังนั้นสมการเงื่อนไขในส่วนของความสามารถในการผลิตหรือซัพพลายจะได้ว่า

.
X11 + X12 + X13 = 24,000 (ปริมาณสินค้าที่โรงงาน ก สามารถผลิตได้)
X21 + X22 + X23 = 18,000 (ปริมาณสินค้าที่โรงงาน ข สามารถผลิตได้)
X31 + X32 + X33 = 12,000 (ปริมาณสินค้าที่โรงงาน ค สามารถผลิตได้)
X41 + X42 + X43 = 30,000 (ปริมาณสินค้าที่โรงงาน ง สามารถผลิตได้)
.

เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ทำการขนส่งจากโรงงานใด ๆ ไปยังคลังสินค้าใด ๆ ก็ตามจะต้องมีปริมาณโดยรวมเท่ากับปริมาณสินค้าที่คลังสินค้าสามารถรองรับได้ ดังนั้นสมการเงื่อนไขในส่วนของความสามารถในการรองรับสินค้าได้หรือดีมานด์จะได้ว่า

.
X11 + X21 + X31 + X41 = 30,000 (ปริมาณสินค้าที่คลังสินค้า 1 สามารถรองรับได้)
X12 + X22 + X32 + X42 = 18,000 (ปริมาณสินค้าที่คลังสินค้า 2 สามารถรองรับได้)
X13 + X23 + X33 + X43 = 36,000 (ปริมาณสินค้าที่คลังสินค้า 3 สามารถรองรับได้)
.

การแก้ปัญหาต้นแบบการขนส่งในลักษณะดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์คอมพิวเตอร์ที่มี Spreadsheet ในการหาคำตอบปริมาณการขนส่งสินค้าจากโรงงานแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขของต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุดได้ โปรแกรมสำเร็จรูปที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปโปรแกรมหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Microsoft Excel เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีลำดับขั้นตอนในการหาคำตอบดังนี้

.
1. นำข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณมาสร้างตารางดังนี้

.

.
2. ใส่ค่าสูตรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันในตาราง Excel ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1 ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

.
สูตรที่ใส่ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้นแสดงได้ดังภาพต่อไปนี้

.

.
เมื่อใส่สูตร ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้วจะปรากฏผลลัพธ์แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้

.

.

เมื่อใส่สูตรในตารางที่สร้างไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถหาคำตอบต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำที่สุดได้โดยใช้คำสั่ง Solver เมื่อมีการเรียกใช้งานคำสั่ง Solver จะปรากฏกล่องคำสั่ง Solver ในลักษณะดังนี้

.

.

การหาคำตอบจะต้องทำการป้อนข้อมูลในช่องต่าง ๆ ที่ปรากฏในกล่องคำสั่ง Solver ดังนี้

.
หลังจากทำการป้อนข้อมูลต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วหน้าตาของ Solver จะปรากฏดังนี้

.

เมื่อทำการกำหนดค่าต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการเลือก Options ในการคำนวณโดยคลิกที่ปุ่ม Options ซึ่งจะปรากฏหน้าจอของกล่องข้อความใหม่ในอีกลักษณะหนึ่งให้ทำการเลือกคลิกที่ Assume Linear Model และ Assume Non–Negative หลังจากนั้นใช้ Solver เพื่อหาคำตอบที่ต้องการได้ ซึ่งจะได้ค่าผลลัพธ์ดังนี้

.

.

จากค่าคำตอบที่คำนวณได้สามารถสรุปได้ว่า
1.โรงงาน ก จะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปเก็บไว้ ณ คลังสินค้า 3 จำนวน 24,000 หน่วย
2.โรงงาน ข จะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปเก็บไว้ ณ คลังสินค้า 2 จำนวน 18,000 หน่วย
3.โรงงาน ค จะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปเก็บไว้ ณ คลังสินค้า 1 จำนวน 12,000 หน่วย
4.โรงงาน ง จะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปเก็บไว้ ณ คลังสินค้า 1 จำนวน 18,000 หน่วย และคลังสินค้า 3 อีก 12,000 หน่วย
การขนส่งสินค้าตามปริมาณที่สรุปไว้ทั้ง 4 ข้อนั้นจะทำให้มีต้นทุนค่าขนส่งต่ำที่สุดในที่นี้เท่ากับ 165,240 บาท

.

.
จากค่าคำตอบที่ได้สามารถนำมาแสดงลงในแผนผังโรงงานและคลังสินค้าได้ดังนี้

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด