เนื้อหาวันที่ : 2007-02-13 13:21:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7596 views

เบื้องหลังนโยบายส่งเสริม SMEs ประเทศญี่ปุ่น

คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศแห่งเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชีย อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หลายครั้งที่เราเห็นถึงการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นออกมาในภาพของสิ่งประดิษฐ์

คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศแห่งเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชีย อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หลายครั้งที่เราเห็นถึงการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นออกมาในภาพของสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ ทั้งทางด้านเครื่องจักร เทคโนโลยี ทางด้านยานยนต์ หุ่นยนต์ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันอย่าง หุ่นยนต์อาซีโม ซึ่งเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัย สามารถแสดงสรีระคล้ายกับมนุษย์ได้ ซึ่งในอนาคตคงจะพัฒนายิ่งขึ้นมากกว่านี้ 

.

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรถยนต์ หลาย ๆ ยี่ห้อ อย่างเช่น TOYOTA , ISUZU ฯลฯ ที่เข้ามาครอบครองตลาดบ้านเราอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ความก้าวหน้าเหล่านี้ทำไมเขาถึงทำได้ จึงเป็นเรื่องที่ภาคอุตสาหกรรมนั้นให้ความสนใจศึกษาและนำแนวทางมาพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยให้เทียบเท่า แต่การพัฒนาของแต่ละประเทศยังขึ้นอยู่กับ นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของแต่ละประเทศที่เราต้องให้ความสำคัญกันอย่างจริงจัง

.

บทความนี้ผู้เขียนจึงพยายามและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนโยบายของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของประเทศญี่ปุ่น ลองติดตามอ่านกันดูนะครับ

.

นโยบาย SMEs ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น

1. ช่วงเวลาของการปรับโครงสร้าง (ปี ค.1945-1954)

เป็นความจริงเมื่อสิ้นสุดสงครามโลก ญี่ปุ่นมีสภาวะที่ขาดแคลนทรัพยากรและวัตถุที่จะนำมาใช้ในการผลิต ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นตอนนั้น ทำให้ SMEs ต้องประสบกับปัญหาที่ยากต่อการประกอบธุรกิจในภาคการผลิต จึงเป็นเหตุให้ภาครัฐบาลต้องมีมาตรการเกี่ยวกับ การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศหลังสงครามโลกสิ้นสุดโลก

.

จากมาตรการดังกล่าว ภาครัฐจึงได้ทำการสนับสนุนด้านวัตถุดิบในการผลิต ด้านการเงินและการลงทุน เพียงเพื่อหวังที่จะให้กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศเป็นเสาหลักของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นเหตุให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาในอุตสาหกรรมของ SMEs และอีกทั้งยังขาดความรู้ในการบริหารธุรกิจ เช่น การขาดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีการเงิน การขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต การขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ทำให้เป้าหมายที่จะพัฒนาในการขยายการลงทุนและการผลิตสินค้านั้นมีขีดจำกัด ไม่สามารถเติบโตได้

.

จากปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบการให้ภาครัฐสนับสนุน SMEs ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากในขณะนั้น ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ก็จะเป็นหลักที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศได้ ถ้ามองในการรวมกันของอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs เหล่านั้น มีหลากหลายสายอาชีพในการผลิต ความชำนาญของแต่ละกิจการจึงเป็นความชำนาญเฉพาะด้านที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เมื่อได้รับการพัฒนา และส่งเสริมจากภาครัฐแล้ว ก็จะเป็นส่วนสนับสนุนให้กับประเทศมีการพัฒนาก้าวไกลทั้งในและต่างประเทศได้

.

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น นโยบายทางด้านการส่งเสริม SMEs จึงเริ่มเกิดขึ้นมา โดยเปิดโอกาส พร้อมทั้งมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กมากขึ้น โดยในปี ค.. 1947 ได้มีการออกพระราชบัญญัติต่อต้านการผูกขาด หรือ Japanese Antimonopoly Act ซึ่งออกมาเพื่อห้ามมิให้มีการผูกขาดในเรื่องใด ๆ ก็ตาม และได้ออกกฎหมายการกำจัด การรวมตัวในการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ

.

การประกาศพระราชบัญญัติและกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการเริ่มต้นปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดในยุคเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการประกาศใช้มาตรการที่จะกระจายความเป็นอำนาจของประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศ โดยให้ประชาชนได้รับสิทธิ รับโอกาสในสังคมของความเท่าเทียมกันในประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น

.

ภายหลังต่อมา จากผลในทางปฏิบัติการดำเนินมาตรการดังกล่าว ในปี 1948 ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับ SMEs ที่เรียกว่า The Small and Medium Enterprise Agency เพื่อปกป้องให้เป็นศูนย์รวมของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ภายใต้การกำกับแบบพิเศษของ The General Headquarters of Allied Powers: GHQ เป็นจุดเริ่มต้นในการเกิดขึ้นของมาตรการสนับสนุน SMEs ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดกิจกรรมระหว่างกันของกลุ่มผู้ประกอบการ สนับตั้งแต่ด้านความรู้ เทคนิควิชาการ เทคโนโลยีในการผลิต การบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งในอดีตกลุ่ม SMEs ของญี่ปุ่นยังขาดการสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความสำคัญต่อ SMEs

.

การปรับโครงสร้างของ SMEs ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายส่วนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นพื้นฐานต่อการสนับสนุน SMEs ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย อาทิเช่น แหล่งเงินทุน การให้บริการปรึกษาแนะนำด้านการจัดการ แนวทางประกอบอาชีพ และการพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ SMEs ได้เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับการปรับโครงสร้างที่เกิดขึ้น มีการเกิดขึ้นของสถาบันการเงินมากมาย เช่น ในปี 1936 มีการจัดตั้ง Shoko Chukin Bank,ในปี 1949 มีการจัดตั้ง The Nation life Finance Cooperation เพื่อขยายตลาดเงินทุนให้กับ SMEs สอดคล้องตามมาตรการสนับสนุนที่เกิดขึ้น ทำให้ SMEs มีแหล่งเงินลงทุนในการประกอบธุรกิจ และรวมถึงการขยายการลงทุนให้มากขึ้นอีกด้วย

.

ดังนั้น การเกิดขึ้นของสถาบันการเงินโดยภาครัฐจึงเกิดขึ้นมา เพื่อสร้างความยุติธรรมให้กับระบบการเงินสำหรับ SMEs เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกทางการเงินให้กับ SMEs ในระยะยาว โดยได้ก่อตั้งในปี 1953 ชื่อว่า The Finance Corporation ต่อมา การให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางด้านการเงินสำหรับ SMEs จึงเป็นประเด็นที่นำมาพิจารณากัน จึงเกิดการจัดตั้ง ระบบการสนับสนุนสินเชื่อขึ้นดังต่อไปนี้

.

- ในปี 1950 จัดให้มี Small and Medium Enterprise Credit Insurance Law

- ในปี 1953 จัดให้มี The Credit Guarantee Association Law

- ในปี 1949 มีการประกาศใช้  The Cooperative Association of Small and Medium Enterprise Law  เพื่อมุ่งหวังจะสร้างความถูกต้องให้เกิดขึ้นในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ SMEs เสียเปรียบ

- ในปี 1950 The Chamber of Commerce and Industry Law โดยหอการค้าของญี่ปุ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกฎหมายที่ออกมาใช้ในขณะนั้นให้เกิดความสมบูรณ์

.

นโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสนับสนุน SMEs ในยุคของการปรับโครงสร้าง คือการสนับสนุน และส่งเสริมการให้ความรู้และแนวทางของการจัดการธุรกิจของ SMEs ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีความอ่อนแอ และเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังขาดระบบที่เป็นมาตรการที่ดีขององค์กร จึงทำให้ผลการประกอบการออกมาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นได้นำ ระบบการจดทะเบียนที่ปรึกษา SMEs (The Registration System of SMEs Consultant) เข้ามาใช้ในปี 1952 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการเตรียมการเผยแพร่ ทำให้งานบริการปรึกษามีส่วนสำคัญยิ่งต่อ SMEs ในขณะนั้น จากระบบดังกล่าวนั้นเรียกว่า Blue Return System โดยเริ่มตั้งแต่ การประเมินผลอย่างเป็นทางการแบบเดิม มาเป็น ระบบภาษีแบบประเมินผลตัวเอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ SMEs เกิดความสับสนและความกลัวในการทำบัญชีธุรกิจผิดพลาดตามระบบใหม่นี้ ซึ่งผลจากความผิดพลาดอาจจะทำให้พวกเขาต้องชำระภาษีมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการความสับสนใน Blue Return System ดังนั้นรัฐบาลในปี 1949 จึงอนุญาตการส่งคืนภาษีของ SMEs นั้นใช้ระบบที่เรียกว่า Certain Formula of Quick Bookkeeping System ซึ่งเป็นระบบการจัดทำบัญชีในการส่งคืนภาษีของธุรกิจ SMEs ที่มีสูตรการคำนวณที่แม่นยำ และง่ายต่อการจัดทำบัญชี การเกอดขึ้นระบบที่ถูกต้องและเป็นระบบการเงินที่เป็นมาตรฐานนี้ เป็นสิ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการด้านการเงินและบัญชีของธุรกิจ SMEs อย่างยิ่งในขณะนั้น ซึ่งถ้าจะมองภาพรวมแล้วเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านการเงินให้กับธุรกิจของ SMEs ในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี

.

จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า มีนโยบายการพัฒนาและให้การสนับ SMEs ตั้งแต่การปรับปรุงเครื่องมือพื้นฐานเพื่อสนับสนุนนโยบาย SMEs ไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุนด้านเงินทุน การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองความมั่นคงให้กับ SMEs การจัดให้มีการจัดตั้งระบบการจดทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและชี้แนะให้กับ SMEs ที่ยังขาดทักษะการจัดการที่ดี และการตั้งหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนซึ่งถือเป็นตัวแทนให้กับ SMEs  

.

2.ช่วงเวลาของอัตราการเจริญเติบโต (ช่วงแรกปี ค.1955-1962)

ช่วงเวลาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงนี้นับได้ว่า ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ SMEs ต่างก็มีบทบาทที่สำคัญไปคนละด้าน ในความแตกต่างกันนั้นคือ ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การเพิ่มผลผลิตย่อมมีผลกระทบที่มากว่าเนื่องจากด้วยขนาดของการประกอบธุรกิจที่สามารถสร้างฐานการผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทั้งด้านจำนวนของพนักงานที่มีจำนวนมากในธุรกิจ พร้อมกับจะต้องมีการนำเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาช่วย จึงจะสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมาก ประกอบกับความสามารถทางการเงินที่สามารถขยายผลผลิตได้ตามจำนวนเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่ง SMEs เมื่อพิจารณาถึงเพียงตัวธุรกิจนั้นก็ไม่สามารถเทียบเท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้ามีการรวมกันทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศแล้วย่อมมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ฉะนั้นช่วงแรกของการเจริญเติบ โต ทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในช่วงระยะเวลานี้ จึงมีการกล่าวถึงเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบสองภาค

.

นั่นคือการมีสองขั้วของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่าง ความก้าวหน้าของธุรกิจขนาดใหญ่ และความล่าช้าของธุรกิจ SMEs ที่มีการผสมผสานร่วมกันจนเกิดการเติบ โต ของสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลานั้น ช่องว่างที่เกิดขึ้นของธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดข้อเสียเปรียบได้เปรียบกันมาก โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงได้มีความพยายามที่จะหามาตรการ ในการระบบเศรษฐกิจโครงสร้างอุตสาหกรรมแบบสองภาค โดยในปี 1956 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมและช่วยเหลือทางการเงินของธุรกิจขนาดเล็ก (The Law on Finance Assistance for Promoting SMEs) ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจขนาดเล็ก

.

ต่อมาการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ SMEs ก็นำมาเป็นประเด็นที่กล่าวถึง เนื่องจากในขณะนี้ SMEs เริ่มมีจำนวนมากขึ้น และจะต้องมีผู้รับผิดชอบ รวมถึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมและพัฒนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ที่เกิดขึ้น ฉะนั้นประเด็นนี้จึงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับองค์กร SMEs คือ Small and Medium Enterprises Organization Law โดยได้มีการประกาศใช้เป็นทางการในปี ค.. 1957 ความต้องการที่จะให้เป็นองค์กร SMEs ที่เข้มแข็ง โดยรัฐพยายามสร้างกฎหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานขององค์กร SMEs ให้เป็นองค์กรที่ดีและมีความเข้มแข็งจะเป็นสิ่งที่ทางภาครัฐจะสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดเล็กเหล่านั้น ได้นำวิธีการของการบริการปรึกษาแนะนำเข้ามาใช้ นั้นหมายถึงว่าภาครัฐต้องการที่จะจัดให้มีการปรึกษาแนะนำในเรื่องการจัดการธุรกิจ SMEs ที่ดีให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ โดยนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ตามเจตนารมณ์ดังกล่าว ภายใต้ กฎหมายอุตสาหกรรมและการค้า (The Commerce and Industry Association Law) ซึ่งได้ประกาศใช้ในปี 1960

.

เช่นเดียวกันในปี 1963 รัฐบาลได้มีแผนการที่จะเตรียมแนวทางที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องเป็นระบบสำหรับ SMEs ให้เกิดขึ้น เพื่อมุ่งหวังจะให้ SMEs นำระบบการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งด้านการจัดการการเงิน การผลิต การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาใช้ในธุรกิจของตน โดยภาครัฐในส่วนต่าง ๆ สามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงกัน ในเรื่องดังกล่าวข้างต้นจึงได้เริ่มมีการประกาศใช้กฎหมาย The Small and Medium Enterprises Guidance Law ขึ้นมาในปี 1963

.

การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงแรก และช่วงที่สองของการเจริญเติบ โต ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับ SMEs ของประเทศนั้น มีการพัฒนาจนทำให้เกิดการแบ่งเป็นชั้นของโครงสร้าง SMEs นั่นคือ การรับช่วงการผลิตของโครงสร้างแรงงาน (Subcontracting Division of Labor Structure) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาในขณะนั้น ของเครือข่ายธุรกิจ SME ตั้งแต่ขนาดใหญ่ขึ้นมา ดังนั้น การรับช่วงการผลิตของ SMEs จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ในโครงการแบ่งเป็นชั้นของการผลิต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในขณะนั้นได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า และการผลิตอุปกรณ์สำหรับการขนส่ง

.

ในทางกลับกันในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของการรับช่วงการผลิตที่เกิดขึ้นในธุรกิจ SMEs ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ให้งานกับกลุ่มธุรกิจ SMEs ได้ใช้โอกาสที่เกิดขึ้นนี้ในทางความได้เปรียบของพวกเขากับพวกที่รับช่วงการผลิต ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่มีความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมธุรกิจขณะนั้น นั้นคือกลุ่มธุรกิจใหญ่ได้ใช้ความได้เปรียบนี้ในการจ่ายค่าจ้างการผลิตให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่เข้ามารับช่วงการผลิตให้กับตน เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการมีอำนาจต่อรองทางธุรกิจส่งผลต่อความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดเสียงเรียกร้อง และการมองของภาครัฐที่เกิดความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นทำให้กฎหมายที่เรียกว่า The Subcontractor’s Payment Law เป็นกฎหมายที่สร้างความยุติธรรมในเรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับช่วงการผลิต ให้มีการจ่ายเป็นระบบและมีเงื่อนไขเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้รับช่วงการผลิตและงานเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยมีการควบคุมทั้งผู้รับช่วงการผลิตและผู้จ้างผลิต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายโดยมิให้เกิดการ โต ้แย้งความเป็นธรรมของกฎหมายให้เกิดขึ้นในปี 1956

.

จากการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นของกลุ่มธุรกิจ SMEs ในช่วงของโครงสร้างคู่ขนานกันระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ กับ SMEs ทำให้เกิดช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างกันในเรื่องของปัญหาด้านการจ่ายเงินค่าจ้างที่เกิดขึ้นและออกกฎหมายที่มาช่วยเหลือ SMEs ที่มีอำนาจการต่อรองต่ำว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยยังคงใช้ระบบการบริหารอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องบนสภาวะการเจริญเติบ โต แบบสองโครงสร้างที่เอื้ออำนวยธุรกิจต่อกัน ฉะนั้นในเรื่องของการรับช่วงการผลิตจึงเป็นที่กล่าวถึงกันมากในเวลานั้น  

.

3.ช่วงเวลาของอัตราการเจริญเติบโต (ช่วงสองปี ค.1963-1972)

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในช่วงแรกเป็นการเจริญเติบโตแบบสองโครงสร้างระหว่าง ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SMEs ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศก้าวไปอีกขั้นโดยมีมาตรการการเปิดเสรีทางการค้าและมีการลงทุนจากนักลงทุนชาวต่างชาติ เพื่อที่จะสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การเข้ามาของนักลงทุนชาวต่างชาติในขณะนั้นสร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาครัฐมีความพยายามที่จะดำเนินการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดความสมดุล โดยการพัฒนาโครงสร้างทางอุตสาหกรรมและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งประเด็นของความสามารถของ SMEs จำเป็นที่ต้องเริ่มพัฒนาให้มีความเข้มแข็งก่อน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบเป็นหน่วยธุรกิจ หนึ่ง ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี และสภาพคล่องทางด้านการเงินยังมีน้อย ฉะนั้นเมื่อไม่ได้ส่งเสริม SMEs ให้เกิดความเข็มแข็งก่อน ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับเศรษฐกิจสากลไม่เกิดขึ้น เนื่องจาก SMEs เมื่อนำมารวมกันเป็นกลุ่มทั้งประเทศแล้วจะมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปี 1963 กฎหมายพื้นฐานของ SMEs (The Small and Medium Enterprises basic Law) จึงได้ประกาศใช้ขึ้น เพื่อส่งเสริมความสามารถพื้นฐานทางการบริหารของ SMEs ให้มีประสิทธิภาพและมีรากฐานที่มั่นคง รองรับกับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของประเทศที่เริ่มเปิดมาตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา

.

ตามกฎหมายพื้นฐานของ SMEs (The Small and Medium Enterprises basic Law) นั้น ได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ดังนี้

1.เพื่อกำจัด SMEs ที่มีผลเสียหายต่อข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและสังคม

2.เพื่อสนับสนุนให้กลุ่ม SMEs นั้นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อภาครัฐได้เข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือแล้ว ในระยะยาว

3.เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถของกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs ของช่องว่างระหว่าง SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้เศรษฐกิจแบบสองภาค เพื่อมิให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าระหว่างกัน

4.เพื่อสร้างสถานะทางสังคมที่ดีแก่ลูกจ้างในธุรกิจ

.

ในเวลาเดียวกันนั้นรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่อมาตรการกับกลุ่มธุรกิจ SMEs เพื่อกฎหมายพื้นฐานของ SMEs เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ปัจจุบันกฎหมายพื้นฐาน SMEs กลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานของการบังคับใช้กับ SMEs ไปแล้ว ซึ่งเป็นการแสดงแนวคิดพื้นฐานของกฎหมาย เพื่อที่จะนำมาระบุเป็นมาตรการที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อ SMEs เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมได้แล้วจึงนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติทั่วประเทศ ซึ่งกล่าวได้ว่ากฎหมายพื้นฐาน SMEs เป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการเจริญเติบ โต ทางด้านเศรษฐกิจในช่วงที่สอง ที่สอดคล้องกับสภาวะการเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้นที่มีการแข่งขันกันเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า

.

ภาครัฐบาลในขณะนั้นได้สนับสนุน SMEs ของประเทศอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงที่สองของการเจริญเติบ โต ทางเศรษฐกิจ โดยในปี 1963 ได้มีการออกกฎหมายการส่งเสริม SMEs และมาตรการเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรม The SMEs the Small and Medium Enterprise Modernization Promotion Law and Measures for Upgrading by Industry เพื่อที่จะทำการส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของ SMEs โดยกฎหมายส่งเสริมดังกล่าวดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมโดยเป็นโครงการที่มีการวางแผนที่ทันสมัย ซึ่งประกอบด้วยมาตรการหลายอย่าง ซึ่งบางมาตรการนั้นเข้าไปส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตให้กับอุตสาหกรรมใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตให้กับธุรกิจ SMEs ในสัดส่วนที่สูงด้วย เนื่องจากผลลัพธ์ในมาตรการการเพิ่มผลผลิตของ SMEs เหล่านั้นเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมในภาพรวมของประเทญี่ปุ่น มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับการค้าต่างประเทศได้ นับได้ว่าเป็นมาตรการ หนึ่ง ที่ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งที่แท้จริงให้กับ SMEs ส่งผลต่ออุตสาหกรรมของประเทศด้วย

.

ในขณะเดียวกัน กฎหมายเกี่ยวกับด้านการเงินและการช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ที่ทันสมัยก็ได้ถูกเป็นข้อบังคับใช้ในปี 1963 เพื่อที่จะส่งเสริมและยกระดับโครงสร้างธุรกิจ SMEs ให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งกฎหมายนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมาก อย่างเช่นการมีโครงการร่วมลงทุนทางธุรกิจ การจัดกลุ่มและรวมกลุ่มกันทางอุตสาหกรรม (Industry Clusters) กฎหมายดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและการพิจารณาถึงทางด้านการเงินจึงเกิดขึ้น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1967 ภายใต้ชื่อ The Japan Small Business Promotion Corporation

.

การตกต่ำของเศรษฐกิจของประเทศเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 1964 มีการกล่าวอ้างถึง การที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้ SMEs ไว้มิให้เกิดผลกระทบ ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้ภาครัฐที่ได้ทำการส่งเสริม และสนับสนุน SMEs มาอย่างต่อเนื่องได้ประกาศใช้กฎหมายปี 1966 ที่เรียกว่า the Law on Ensuring the Receipt of Orders from the Government and Other Public Agencies by Small and Medium Enterprises เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับมาตรการโดยการตรวจสอบ SMEs ที่มีข้อจำกัด ไม่มีศักยภาพ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย SMEs ปีต่อปีและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

.

เช่นเดียวกับ การปกป้องธุรกิจที่รับช่วงการผลิต (Subcontracting Enterprises) ได้มีการแปรญัตติเพิ่มขึ้น ในกฎหมายที่ปกป้องความล่าช้าในการรับช่วงการผลิต โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมการการชำระเงินเมื่อเกิดการล่าช้าระหว่างกันของผู้รับช่วงการผลิตซึ่งเป็นธุรกิจ SMEs และผู้จ้างผลิตซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ให้มีส่วนสัมพันธ์กับตัวบทบัญญัติไว้ในกฎหมาย

.

ในประเด็นต่อมา ความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่พิจารณาตามมา โดยพิจารณาประเด็นของการแก้ไขข้อกำหนดของการเปลี่ยนแปลงเงินทุน ในปี1970 จึงมีกฎหมายขึ้นมาเรียกว่า the Law on the Promotion of Subcontracting Small and Medium Enterprises เพื่อที่จะส่งเสริมให้ SMEs ในประเทศให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการจัดการสมัยใหม่ และการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในธุรกิจของตน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตมีความสามารถและมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ สร้างความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในต่างแดนได้

.

การพัฒนามาตรการของธุรกิจ SMEs ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากพื้นฐานของกฎหมาย SMEs มีการกำหนดแนะนำถึงมาตรการทางด้านสังคมการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องที่จะดำเนินการต่อธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาความทันสมัยให้กับธุรกิจ SMEs ในการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาทักษะของการจัดการที่ทันสมัย และสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างธุรกิจ

.

จากพื้นฐานที่กล่าวถึง หลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการจัดการได้เริ่มแผ่กระจาย ไปพร้อม ๆ กับระบบที่ปรึกษาด้านการจัดการ และธุรกิจขนาดเล็กมีการจัดระบบผ่อนปรนซึ่งกันและกัน เริ่มต้นขึ้นในการจัดให้มีกฎหมายในปี 1965 ที่เรียกว่า the Small Enterprise Mutual Relief Projects Law และเพื่อที่จะตอบสนองความจำเป็นของระบบให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยากในการรับเงินทุนจากการเปิดตลาดหุ้นของเงินทุนระยะยาวของรัฐบาลที่สร้างขึ้น แนวคิดการพัฒนามาตรการสร้างความเข้มแข็งเจ้าของทุนจึงได้เริ่มขึ้น โดยได้จัดทำเป็นกฎหมายขึ้นในปี 1963 ที่เรียกว่า the Small Business Investment Company Limited Law ในเวลาต่อมา

.

4.ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตที่มีเสถียรภาพ ( ปี ค.1973-1984 )

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงการเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก นั้นเป็นผลทำให้สภาวะเศรษฐกิจเกิดการถดถอย หลายประเทศขาดดุลการค้า เนื่องจากต้องมีการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งในช่วงวิกฤติมีการขาดแคลนเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องนำเข้าในราคาที่สูง ในขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่นนั้นเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ  การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้มีการปรับเป้าหมายที่จะสร้างเครื่องมือที่ทันสมัยในการเพิ่มผลผลิตและขยายขอบเขตการบริหารจัดการของพวกเขา มุ่งไปสู่โครงสร้างอุตสาหกรรมที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาทางอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีการพิจารณาถึงทรัพยากร อย่างทักษะทางด้านเทคนิค คนงาน และข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณาร่วมกัน

.

จากเป้าหมายที่เปลี่ยนไปทำให้ในปี 1980 ได้มีการจัดตั้งเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเช่น The Institute for Small Business Management and Technology ในเวลาต่อมาเช่นเดียวกันเกี่ยวกับด้านการให้บริการข้อมูลข่าวสารการเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการ ทำให้เกิดศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับธุรกิจ SMEs (The Information Center for Small and Medium Enterprise) ขึ้น และต่อมาก็ได้เกิดมีการเปิดศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สำหรับ SMEs ตามภูมิภาคต่าง ๆ เกิดขึ้น

.

จะเห็นว่าในช่วงของการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คือระบบเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะที่สมดุล แต่สภาวะเศรษฐกิจเกิดความย่ำแย่ รัฐบาลญี่ปุ่นได้มุ่งที่จะพัฒนาคนและข้อมูลข่าวสาร โดยมีการเปิดศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารมากมาย นั้นคือต้องการพัฒนาความรู้ของคนในประเทศให้เกิดขึ้น ซึ่งจะสร้างเป็นทรัพยากรทางทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้สภาวะของการพัฒนาทางด้านนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับ SMEs ไม่เกิดขึ้นมากนัก

.

5. ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง (ช่วงแรกปี ค.1985-1999) 

 ตั้งแต่ปี 1985 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นได้เจอประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติเงินเยน ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกกดดัน ซึ่งได้ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมในส่วนของอุตสาหกรรมที่อยู่ตามภูมิภาค ซึ่งจะมีการกระจุกตัวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและมาตรการการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมจึงได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการพิจารณาในครั้งนั้น กฎหมายชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs (The Temporary Law concerning Measures for Changing Business for Specific Small and Medium Enterprises) เพื่อที่จะระบุชนิดของ SMEs ที่จะให้การช่วยเหลือ จึงประกาศขึ้นในปี 1986 พร้อมกันนั้น กฎหมายชั่วคราวเกี่ยวกับมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ในภูมิภาคต่าง ๆ (the Temporary Law concerning Measures for Small and Medium Enterprises of Specific Regions) ก็ได้ประกาศขึ้น ที่จะให้การช่วยเหลือ SMEs ตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้รับแรงกดดันอย่างหนักของการปฏิวัติค่าเงินเยน

.

หลังจากที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ในปี 1992 ในประเทศญี่ปุ่นทำให้เกิดความไม่ยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ทางภาครัฐและหลายฝ่ายให้ความสนใจที่จะร่วมพิจารณาหาทางแก้ไขร่วมกัน กับสภาวะของอัตราการลดลงของการจัดตั้งธุรกิจ และการเพิ่มขึ้นของการปิดกิจการ และการเลิกจ้างงานมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อที่จะบรรเทาและแก้ไขกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยการส่งเสริมให้มีการเริ่มต้นกิจการ กฎหมายชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการสร้างธุรกิจแบบใหม่ของ SMEs จึงได้ประกาศใช้ขึ้นในปี 1955 (The Temporary Law Concerning Measures for the Promotion of the Creative Business Activities of Small and Medium Enterprises) เพื่อที่จะช่วยเหลือ SMEs และบุคคลทั่วไปจัดตั้งธุรกิจ โดยเน้นการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมิได้จำกัดประเภทของอุตสาหกรรม

.

ตั้งแต่ปี 1980-1990 เป็นต้นมาเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ SMEs นั้นมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตั้งแต่ ผลจากการเพิ่มขึ้นของการแข่งขัน กระบวนการทางเทคโนโลยีข่าวสาร และปัจจัยอื่น ๆ ในยุคโลกาภิ วัฒน์ แต่ละกิจการ SMEs ต่างมุ่งที่จะพยายามลดต้นทุนทางด้านการดำเนินการของตนให้ลดลง เพื่อที่จะสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาความสามารถทางด้านการตลาดที่มีการแข่งขันอย่างจริงจังในประเทศญี่ปุ่นขณะนั้น ฉะนั้นจึงเกิดกฎหมายที่จะสนับสนุนด้านนวัตกรรมของ SMEs โดยในปี 1963 ได้ประกาศใช้กฎหมาย The Small and Medium Enterprise Modernization Promotion Law ซึ่งส่งเสริมให้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมทั้งประเทศในด้านการพัฒนามาตรการที่สนับสนุนนวัตกรรมทางธุรกิจ และต่อมาในปี 1999 ได้เกิดกฎหมายที่เรียกว่า The Temporary Law concerning Measures for Smooth Adaptation to Structural Changes in Economy by Advancement of Specific Small and Medium Enterprises to New Fields  เป็นการช่วยเหลือที่ข้อจำกัดจนกลายมาเป็น กฎหมายใหม่ที่เรียกว่า Law on Supporting Business Innovation of Small and Medium Enterprises ในปี 1999

.

6. ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง (ช่วงสองปี ค.200 เป็นต้นไป)

ในปัจจุบันการพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่นยังใช้นโยบายและมาตรการ โดยอิงกฎหมายพื้นฐานของ SMEs ที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 1963 ภาพของ SMEs ในสายตาของการออกนโยบายยังคงมองถึง ธุรกิจ SMEs นั้นเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก คือเป็นกิจกรรมที่ใช้คน เงินทุน และการจัดการที่ยังไม่เป็นระบบมาตรฐานมากนัก ประกอบกับปัจจุบัน SMEs ในประเทศมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มีความสำคัญมาก มีการใช้ระบบการบริหารงานแบบเก่าที่ยังไม่ทันสมัยมากนักนั้นคือจะใช้ระบบธุรกิจแบบครอบครัว ซึ่งทำให้กลุ่มธุรกิจ SMEs มีความอ่อนแอ ซึ่งต้องการนโยบายทางสังคมที่มีความเข้าใจเป็นอันดีของช่องว่างระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ จุดหลักของนโยบาย SMEs เพื่อเยียวยาจุดที่เป็นข้อเสียเปรียบของกิจกรรมทางธุรกิจของ SMEs แต่ละขั้นตอนของการจัดการสมัยใหม่แต่ละอุตสาหกรรม ในอดีตนั้นพิจารณาถึงขนาดของอุตสาหกรรม แต่วิธีการใช้นโยบายที่เป็นสากลจะใช้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ SMEs ได้ดำเนินการไปด้วยความแตกต่างกันแนวคิดในอดีตของนโยบายไม่มีความเหมาะสมและพอดีสำหรับ SMEs การเปลี่ยนแปลงนั้นรวมถึง การเจริญเติบ โต และความสมดุลทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างของความต้องการผู้บริโภค การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระบวนการทางโลกาภิ วัฒน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก ที่จะสามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการลดช่องว่างในตัวมันเอง

.

ในการเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกิจที่มีความหลากหลายในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ที่จะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์โดยรวมที่มีมาตรฐาน และการเพิ่มขึ้นของโอกาสทางธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น เรายอมรับว่า  สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว SMEs จะต้องใช้โอกาสเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ ในการที่จะเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งความยืดหยุ่น ที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงในสภาวะเศรษฐกิจนั้น ๆ การลดลงของการเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า การหยุดกิจการ SMEs เป็นสิ่งที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของการดูดแรงงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจให้น้อยลง นั้นคือ มีผู้ประกอบการ SMEs ลดจำนวนลงจากระบบเศรษฐกิจของประเทศ

.

จากความจริงที่เกิดขึ้นนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้การช่วยเหลือ SMEs ทุกประเภท จากการร่วมลงทุนทำธุรกิจกับ SMEs และสนับสนุนให้เขาช่วยเหลือตนเองได้เมื่อรัฐบาลได้หมดสัญญาที่จะร่วมลงทุนทางธุรกิจต่อ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการบริหารแบบใหม่ ที่ต้องการให้ SMEs มีความรู้ที่ดีขึ้น จากเหตุผลนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการที่จะทบทวนนโยบาย SMEs ซึ่งรวมถึงกฎหมายพื้นฐานของ SMEs ซึ่งเราเรียกว่า SMEs Diet ในปี 1999

.

กฎหมายพื้นฐานใหม่นี้ อยู่บนพื้นฐานการส่งเสริมที่มีความหลากหลาย และมีความรวดเร็วในการพัฒนาความเป็นอิสรภาพของ SMEs โดยมีประเด็นสำคัญหลัก 3 ประการดังนี้

.

1.การส่งเสริมความยั่งยืนของ SMEs โดยส่งเสริมนวัตกรรมทางธุรกิจและการเริ่มต้นธุรกิจ

ฎหมายใหม่ได้มองภาพของ SMEs ในศตวรรษที่ 21 นั้น SMEs จะต้องยืนได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการมองเห็นภาพเป็นเช่นนี้ได้นั้น SMEs จะต้องมีการปรับตัว อย่างเช่น SMEs จำเป็นที่จะต้องทำกิจกรรมทางธุรกิจแบบใหม่ หรือมีนวัตกรรมทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาการขายสินค้าและบริการใหม่ การใช้วิธีการผลิตและวิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบใหม่ โดยใช้วิธีการบริหารจัดการแบบใหม่

 

การร่วมลงทุนทางธุรกิจ ผู้จัดการโดยมากก็จะเป็นตัวของผู้ประกอบการ ผู้ที่มีความกล้าที่จะพัฒนาความรู้ทางธุรกิจและกล้ารับกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น กิจกรรมนี้คาดหวังที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามความจริงของธุรกิจที่จะต้องเจอกับความเสี่ยง ที่พวกเขามีหน้าที่จะสร้างสรรค์ธุรกิจอยู่แล้ว และคาดหวังว่าจะได้รับผลรับผลกระทบก่อนที่จะดำเนินการต่อ โดยการได้มาซึ่งเงินทุน เทคโนโลยีทางการค้า สวัสดิการทางสังคม นวัตกรรมทางธุรกิจและการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ มีการพิจารณาถึงการส่งเสริมให้ SMEs สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งเป็นส่วนของงานที่สำคัญของรัฐบาลญี่ปุ่นในอนาคต ที่ต้องการเห็นมาเป็น

.
นโยบาย SMEs

1) ภายใต้นโยบายการให้ความช่วยเหลือการเพิ่มของเงินทุน ตลาดทุนใหม่ ได้เริ่มดำเนินการในตลาดการเงิน-ตลาดทุนในญี่ปุ่น มีชื่อว่า
 “MOTHERS” ตั้งแต่เดือนธันวาคม 1999 และ “NASDAQ Japan” ตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องการขยายตลาดทุนแห่งใหม่ให้เกิดขึ้นและเพิ่มโอกาสทางด้านการเงินแก่ SMEs

2) ระบบการรับประกันสินเชื่อ เป็นการร่วมลงทุนด้านพันธบัตรของภาคเอกชน โดย SMEs เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรให้กับ SMEs

3) การสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีโดยรัฐบาลพยายามที่จะจัดหาการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่และใช้เงินในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ SMEs ภาครัฐจึงได้ตั้ง SBIR system หรือ Small Business Innovation Research system, ที่จะสนับสนุน SMEs ในระยะของการแข่งขัน

.

2.การสร้างความเข้มแข็งพื้นฐานของการบริหารจัดการ SMEs

อย่างที่กล่าวไว้ ธุรกิจ SMEs มักจะขาดพื้นฐานการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ยากในการที่จะหาทรัพยากรจากภายนอกมา ดังนั้นรัฐบาลจึงมีความพยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งของพื้นฐานการบริหารจัดการให้กับธุรกิจ SMEs ดังนี้

1.การส่งเสริมการบริหารทรัพยากรของ SMEs ในจุดที่เป็นข้อบกพร่องอยู่

2.การพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี ในการพัฒนาเงื่อนไขพื้นฐานของกิจกรรมทางธุรกิจ ในการบริหารทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเชื่อว่า จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมทางกิจกรรมธุรกิจที่มีการบริหารจัดการที่ไม่ใช่ทรัพยากร อย่างเช่น ผู้ชำนาญการธุรกิจ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรบุคคล ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะดำเนินการตามมาตรการนี้ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องจัดเตรียมศูนย์อำนวยการสนับสนุน ที่จะเตรียมความพร้อมเรียกว่า One-Stop ที่จะให้การช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ทั้งเงินทุน และทรัพยากร อย่างเช่น ทรัพยากรบุคคล ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี ทั้ง SMEs ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งศูนย์ให้ความช่วยเหลือนี้จะเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคและหน่วยงานที่สนับสนุน SMEs ในการให้ข้อมูลข่าวสารและแนะนำ ในแนวทางของมาตรการตามนโยบาย เป็นการช่วยเหลือทางธุรกิจและเทคโนโลยีของ SMEs 

.

สำหรับด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นั้นรัฐบาลได้ทบทวนระบบที่ปรึกษาทางด้านการจัดการที่ใช้ในวินิจฉัยธุรกิจของภาครัฐ ในระบบใหม่นี้จะเป็นการพิจารณาถึง ที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอกชน ทั้ง การเผยแพร่ความรู้ให้กับธุรกิจ SMEs ในหลักการทั่วไป และการให้คำปรึกษาำทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำแบบเชิงลึกอีกด้วย

.

3.ช่วยเหลือในการปรับตัวของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ

ถึงแม้ว่าภาครัฐจะให้การส่งเสริมให้ SMEs สามารถที่จะช่วยเหลือได้ด้วยตนเองในระยะยาวหลังจากที่ภาครัฐเดินออกมาแล้ว แต่ความไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ในระบบการทำธุรกิจ อย่างเช่น การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงทางการค้า อัตราแลกเปลี่ยน ข้อจำกัดของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และการเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่หรือการล้มละลายของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ SMEs เป็นผู้รับจ้างผลิตอยู่ ในกรณีจากประสบการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากจำนวน SMEs ที่มีอยู่มากทำให้นโยบายนี้ มีความพยายามที่จะช่วยเหลือ SMEs ในการปรับตัวของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อเสถียรภาพของ SMEs เอง มาตรการนี้รวมไปถึงมาตรการด้านการเงินที่ช่วยเหลือจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และมาตรการล้มละลายของกิจการ และรัฐบาลยังได้พิจารณาทบทวนขั้นตอนพื้นฟูธุรกิจในกฎหมายล้มละลายของธุรกิจที่จะนำมาพิจารณาใช้กับ SMEs ในแผนการฟื้นฟูธุรกิจใหม่ ในกฎหมายฟื้นฟูธุรกิจ

.

อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลได้พิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้มละลายของธุรกิจขนาดใหญ่และภัยพิบัติหลักทางธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลมีแผนการในอนาคตที่จะเพิ่มมาตรการความเข้มแข็งและความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินและการรับประกันสินเชื่อทางธุรกิจ เพื่อที่จะพร้อมรับกับสถานการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

มาถึง ณ ตอนนี้ผู้อ่านก็คงจะทราบถึงการพัฒนาของการใช้นโยบายส่งเสริม SMEs ของประทศญี่ปุ่นกันแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์นโยบายส่งเสริม ที่ประเทศเราสามารถทำการศึกษาและนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเราได้ไม่มากก็น้อยนะครับ...พบกับเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นในตอนหน้าครับ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด