เนื้อหาวันที่ : 2010-06-02 15:26:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 71250 views

VMI (Vendor Managed Inventory) และกรณีศึกษา

VMI (Vendor Managed Inventory) คือ ระบบการบริหารคลังสินค้าโดยผู้ขาย กล่าวคือการที่ผู้ผลิตเข้าไปจัดการคลังสินค้าของลูกค้านั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ไทยน้ำทิพย์ เข้าไปดูแลน้ำอัดลมในคลังของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วนำสินค้ามาส่งทันตามกำหนดเวลา

สนั่นเถาชารี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

VMI(VendorManagedInventory)คือระบบการบริหารคลังสินค้าโดยผู้ขายกล่าวคือการที่ผู้ผลิตเข้าไปจัดการคลังสินค้าของลูกค้านั่นเองยกตัวอย่างเช่นบริษัทไทยน้ำทิพย์เข้าไปดูแลน้ำอัดลมในคลังของท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วนำสินค้ามาส่งทันตามกำหนดเวลา(JustinTime:JIT)ซึ่งระบบVMIนี้ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปได้แก่SupplierManagedInventory(SMI)SupplierAssistedInventoryManagement(SAIM)RemoteInventoryManagement(RIM)

โดยอาศัยความร่วมมือกับลูกค้าในการวางแผนรายการสินค้าเพื่อวางโครงการความต้องการสินค้าในขั้นตอนท้ายสุดจากนั้นตรวจสอบความต้องการเพื่อให้ได้ระดับVMIที่แท้จริง

ตามระบบของVMIแล้วการส่งมอบหน้าที่ในการเก็บและจัดส่งสินค้าให้ผู้ผลิตดำเนินการแทนนั้นจะช่วยลดปัญหาการเก็บสะสมของสต็อกสินค้าทั้งในส่วนของฝ่ายผลิตเองและรวมไปถึงศูนย์กระจายสินค้าของผู้ค้าปลีกเพราะเกิดการเก็บสินค้าไว้ที่จุดเดียวเท่านั้นเท่ากับเป็นการลดปัญหาในการสื่อสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือที่เรียกว่า"การลดระยะของห่วงโซ่ลง"(ShortentheChain)(เช่นเดียวกันกับกระบวนการขายตรง(MultiLevelMarketing)ที่ช่วยให้เกิดการลดขั้นตอนของSupplyChainได้หากคุณหรือผู้จัดจำหน่ายของคุณเกิดสินค้าขาดแคลน)

โดยที่บริษัทในต่างประเทศได้มีการใช้ระบบVMIในหลายบริษัทดังแสดงตัวอย่างตามตารางที่1ข้างล่างนี้

ตารางที่1ตารางแสดงบริษัทในต่างประเทศที่ได้หันมาใช้ระบบVMI

ซึ่งระบบVMIนั้นส่วนหนึ่งมาจากEDIดังนั้นจะขอกล่าวEDIไว้บางส่วนดังนี้คือ
EDI หรือElectronicDataInterchangeเป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษใดๆทั้งสิ้นนิยามของEDIก็คือ“EDIคือระบบส่งถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปของสัญญาณอิเลคทรอนิกส์โดยมนุษย์เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวน้อยที่สุด”

ข้อมูลข่าวสารที่EDIจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่จัดรูปแบบและมีคุณภาพความหมาย(MessageStandards)ที่เป็นมาตรฐานตามที่ตกลงกันไว้ระบบจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นถ้าบริษัทธุรกิจ2บริษัทใช้EDIติดต่อกันจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะใช้ข้อมูลแบบใดและติดต่อกันอย่างไร

สรุปแล้วในการใช้EDIนั้นคู่ติดต่อจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและEDIจะเป็นเครื่องมือเพื่อธุรกิจที่มีประสิทธิภาพถึงแม้ใช้คนละระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถเชื่อมโยงEDIได้ยิ่งถ้าใช้ระบบEANCOMการสื่อข้อมูลข่าวสารจะยิ่งรวดเร็วมีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำไม่ว่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ปลายทางจะเป็นแบบใด

องค์ประกอบของEDI
ระบบEDIประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ3ส่วนดังนี้คือ1)ข้อความมาตรฐาน(StandardMessages)2)ซอฟต์แวร์และ3)ระบบโทรคมนาคมซึ่งแต่ละองค์ประกอบก็มีรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้

1) ข้อความมาตรฐาน EDI พัฒนามาจากระบบการสื่อสารข้อมูลแบบวงจรปิดมาก่อนดังนั้นการมีเครือข่ายกว้างขวางมากขึ้นระบบที่ใช้จะต้องเป็นระบบเปิดข้อมูลข่าวสารจะต้องเป็นมาตรฐานที่สามารถรับรู้กันได้เหมือนกับที่มนุษย์จะติดต่อกันในสังคมที่พูดภาษาเดียวกันสรุปแล้วก็คือจะต้องสื่อภาษาให้ได้ความหมายที่ตรงกันนั่นเองการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์จะต้องมีภาษาร่วมเพื่อจะได้สามารถรู้เรื่องกันได้คือ"EDIMessage"อาทิเช่นในระบบUN/EDIFACTหรือEANCOM

2) Software ซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลEDIMessageให้เป็นภาษาธรรมดาเมื่อEDIMessageส่งถึงปลายทางขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่แปลงภาษาธรรมดาที่ต้นทางให้เป็นภาษาEDIMessageเพื่อส่งไปยังปลายทางด้วยนอกจากนี้ซอฟต์แวร์ยังทำหน้าที่อื่นๆอีกได้แก่แปลงภาษาที่ไม่ใช่EDIMessageให้เป็นEDIMessageช่วยดูแลข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มอินเตอร์เฟซบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่เข้าหรือออกรวมทั้งตรวจสอบควบคุมการทำงานของเมนูโปรแกรมและควบคุมการใช้โปรแกรมด้วยรหัสPassword

3) ระบบโทรคมนาคม การทำงานของEDIหลังจากซอฟต์แวร์แปลงข้อมูลที่คีย์เข้าให้เป็นEDIMessageข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังปลายทางโดยระบบโทรคมนาคมโดยการส่งจะมีจังหวะระเบียบและกฎเกณฑ์เพื่อความเรียบร้อยไม่สับสนเปรียบเสมือนคน2คนพูดจาติดต่อกันถึงแม้พูดภาษาเดียวกันแต่ถ้าพูดพร้อมๆกันหรือแซงกันก็จะไม่รู้เรื่องจะต้องพูดกันสื่อความกันคนละที

นอกจากนี้ยังจะต้องมีระบบหรือเครือข่ายเพื่อสำรอง(Options)อีกหลายชุดอาทิเช่นระบบคมนาคมลับส่วนตัว(PrivateLineCommunications)ระบบคมนาคมกับสายโทรศัพท์สาธารณะระบบThirdPartyValueAddedNetworkServiceเป็นต้น

ประวัติของVMI: บริษัทP&G(ProctorandGamble)ถือเป็นบริษัทแรกที่เริ่มมีการใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย:VMI(VendorManagedInventory)โดยP&Gเริ่มใช้ในปีค.ศ.1985โดยมุ่งใช้กับร้านค้าปลีกขนาดกลางที่ขายสินค้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคก่อนโดยP&Gได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่ร้านเพื่อรับข้อมูลการขายผ่านทางEDIและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าทุกวันทำให้

P&Gรู้ปริมาณสินค้าคงเหลือในร้านค้าได้และรู้จำนวนข้อมูลของลูกค้าว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงแต่ก็ทำให้P&Gเสียค่าใช้จ่ายไปกับส่วนนี้ไปเป็นจำนวนมากต่อมาในปีค.ศ.1986P&Gได้ทำข้อตกลงกับห้างWal–martซึ่งเป็นSuperStoreขนาดใหญ่และได้ทำกิจกรรมโดยเริ่มสินค้ากับประเภทผ้าอ้อมก่อนปีค.ศ.1988Wal–martได้เสนอโปรแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขายผ้าอ้อมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

โดยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและการจัดส่งให้น้อยที่สุดโดยมีข้อเสนอให้P&Gนำเสนอข้อมูลยอดขายจริงของร้านค้าที่ขายได้มาใช้ในการเติมเต็มสินค้าในร้านค้าให้เต็มและยังสามารถกระจายสินค้าไปส่งยังศูนย์กระจายสินค้าเพื่อจัดส่งไปยังร้านค้าปลีกได้อย่างพอเหมาะ

ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลดจำนวนสินค้าคงคลังลงได้และยังทำให้การสั่งซื้อสินค้าสามารถทำได้รวดเร็วและสั้นลงอีกทั้งยังสามารถทำนายความต้องการของตลาดได้ด้วยโปรแกรมการค้าระหว่างP&GและWal–martประสบความสำเร็จอย่างมากในปีค.ศ.1990โดยP&Gได้ขยายการใช้VMIไปยังสินค้าทุกชนิดทำให้ปัจจุบันกิจกรรมVMIนั้นเป็นที่ยอมรับในหลายวงการและเป็นวิธีการตลาดอย่างหนึ่งของผู้ผลิตหลายราย

จากประวัติข้างต้นก็ทำให้ทราบว่าVMIเป็นกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน(SPM:SupplyChainManagement)กิจกรรมของVMIในฐานะผู้ให้บริการOutsourcingจะให้บริการในการจัดการสต็อกของคู่ค้าหรือของSuppliersโดยภารกิจสำคัญของผู้ให้บริการVMIProvidersจะเป็นผู้รับโอนสิทธิความเป็นเจ้าของสินค้าชั่วขณะหนึ่งขณะใด(Transferofthesametime)จากผู้ว่าจ้างซึ่งจะเป็นผู้ผลิตซึ่งซื้อสินค้าจากVenderหรือSupplier

โดยผู้ผลิตจะมอบสิทธิให้VMIเป็นคนกลางในการติดต่อกับSupplierแต่ละรายโดยผู้ผลิตจะดำเนินขั้นตอนจัดซื้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสินค้าจำนวนของสินค้าที่จะซื้อคุณภาพของสินค้าและตกลงเรื่องราคาและเงื่อนไขการชำระเงิน

ส่วนกิจกรรมอื่นๆได้แก่เงื่อนไขการส่งมอบปริมาณการส่งมอบแต่ละครั้งการตรวจสอบจำนวนวิธีการขนส่งการรับผิดชอบความเสียหายทั้งที่เกิดกับตัวสินค้าและการผิดนัดการส่งมอบรวมถึงการดูแลการเก็บรักษาสินค้าและการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสต็อก(Inventory)จะมอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการVMIซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อกับVenderหรือSupplierทั้งในประเทศและต่างประเทศแทนผู้ว่าจ้างคือผู้ผลิตผู้ให้บริการ

VMIจึงทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์ของสต็อกสินค้า(IMR:InventoryManagementRelationship)โดยVMIจะก่อประโยชน์ในการลดสต็อกหรือInventoryซึ่งต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าจะเป็นต้นทุน1ใน3ของต้นทุนลอจิสติกส์โดยVMIจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นJustInTimeในห่วงโซ่อุปทานก่อให้เกิดการไหลลื่นของสินค้าจากSupplierไปสู่ผู้ผลิตตามจำนวนและเวลาที่ต้องการ

และยังอาจทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าสำเร็จรูปไปสู่ร้านค้าย่อย(RetailStore)โดยVMIจะต้องเป็นการผสมผสานของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจะทำให้สามารถควบคุมการส่งมอบสินค้าในระดับที่ทันเวลา(RealTimeUse)โดยจะต้องมีการผสมผสานของการนำระบบEDIมาใช้ร่วมกับBarcodeหรือRFIDเพื่อสามารถให้การส่งมอบเป็น“JustinTimeatpointofSale”

จะเห็นว่าภารกิจของVMIจะคล้ายกับความหมายของLogisticsทั้งนี้กระบวนการVMIจะเกิดประสิทธิภาพได้นั้นจะต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานทั้งที่เป็นInternalและExternalSupplyChainโดยต้องให้มีกระบวนการส่งมอบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยการพยากรณ์การผลิตและการขายที่แม่นยำ

โดยกิจกรรมหลักของVMIนอกเหนือจากเป็นการลดสต็อกทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปแล้วยังมีส่วนที่ทำให้การเติมเต็มสินค้าให้กับลูกค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดความพอใจของลูกค้าและมีการสนองตอบที่ดีจากลูกค้า(ECR:EfficientCustomerResponse)ดังนั้นกระบวนการจัดการSupplyChainยุคใหม่จึงให้ความสำคัญแก่VMIในฐานะเป็นSupplyChainBestPracticeในการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดซื้อและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดีปัญหาของการใช้VMIก็คือองค์กรจะต้องมีระบบการจัดการที่เรียกว่าMaterialRequirementPlanningและการบริหารSRM:SupplierRelationManagementที่มีประสิทธิภาพอีกทั้งจะต้องมีการจัดการลอจิสติกส์อย่างเป็นเลิศโดยองค์กรที่จะนำVMIมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเป็นองค์กรที่มีระบบการจัดการที่เรียกว่า“JustInTime”Valueที่ดีโดยธุรกิจข้ามชาติส่วนใหญ่แล้วจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้การจัดการVMIไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมConsumerPracticeอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆที่ต้องมีการซื้อวัตถุดิบจากหลายๆSupplier

สาเหตุที่องค์กรธุรกิจหันมาใช้ระบบVMI
เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกต้องบริหารให้มีสินค้าพร้อมที่จะขายเมื่อลูกค้าต้องการนั่นหมายถึงผู้ที่ทำการสั่งซื้อต้องมีความสามารถในการวางแผนการสั่งซื้อที่มีความแม่นยำสูงคือสั่งไปเท่าใดก็ได้ขณะเดียวกันผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ผลิตก็ต้องการขายหรือส่งสินค้าตามจำนวนที่ได้รับคำสั่งซื้อโดยไม่มีสินค้าเหลือค้างในมือจนมากเกินไป

ซึ่งในอดีตจากการทำงานแบบวิธีการที่ต่างคนต่างทำนี้จะเห็นได้ว่าผู้ค้าปลีกจะต้องประเมินการสั่งซื้อให้กับผู้จัดจำหน่ายจากยอดการเบิกของร้านค้าไปที่ศูนย์กระจายสินค้าเพื่อประเมินเป็นยอดสั่งซื้อกับผู้จัดจำหน่ายและต้องมีการสำรองสินค้าไว้ส่วนหนึ่งเพื่อกันความผิดพลาดส่วนผู้จัดจำหน่ายเองก็มีการสำรองสินค้าไว้อีกส่วนหนึ่งสำหรับบริการลูกค้าของตนและผู้ผลิตเองก็ต้องมีการสำรองสินค้าไว้ให้กับผู้จัดจำหน่ายเหมือนกัน

ดังนั้นการคาดคะเนจากการสั่งสินค้าของทุกฝ่ายนั้นซึ่งจะใช้การประมาณการหรือส่วนใหญ่จะใช้ความรู้สึกตนเองเป็นเกณฑ์แทนที่จะใช้ข้อมูลการขายและไม่มีการหารือระหว่างคู่ค้าทั้งในเรื่องการผลิตและการสำรองสินค้าซึ่งส่วนมากมักจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอันเนื่องจากพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่มีหลายปัจจัยอาทิเช่นฤดูกาลความนิยมเป็นต้น

รวมทั้งพฤติกรรมการเบิกสินค้าของร้านซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังทำให้เกิดการบิดเบือนจากข้อเท็จจริงจนบางครั้งอาจจะทำให้เกิดBullWhipEffectซึ่งมักจะเกิดกับร้านสั่งสินค้าแล้วไม่ได้ตามรอบที่สั่งทำให้มีการสั่งซ้ำเพราะกลัวจะไม่ได้สินค้านั้นอีกทำให้เกิดการสั่งซื้อมากเกินความเป็นจริงในทุกขั้นตอนจนส่งผลให้ทุกฝ่ายต้องแบกรับภาระสินค้าคงเหลือไว้มากมาย

รูปแบบจำลองการทำVMI สามารถแสดงได้ดังรูปที่2ข้างล่างนี้

รูปที่1แสดงแบบจำลองการทำVMI

1.DCส่งข้อมูลการเบิกสินค้าของร้านและจำนวนสินค้าคงเหลือของDCของวันที่ผ่านมา
2.ผู้ผลิตทำใบเสนอให้สั่งสินค้ากลับมาที่ฝ่ายจัดซื้อของผู้ค้าปลีก
3.ฝ่ายจัดซื้อเห็นชอบและเปลี่ยนข้อมูลสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอเป็นคำสั่งซื้อกลับไปที่ผู้ผลิต
4.ผู้ผลิตจัดส่งสินค้าให้กับDCของผู้ค้าปลีก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้VMI สามารถแบ่งแยกได้ดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีกมีดังต่อไปนี้
*ป้องกันการเกิดสินค้าขาดและสูญเสียยอดขาย
*เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
*ลดปริมาณสินค้าหรือระดับสินค้าคงคลังค่าใช้จ่ายในการเก็บและเพิ่มทุนหมุนเวียน
*ย้ายความรับผิดชอบการสั่งซื้อไปให้ผู้ผลิตทำแทน

ประโยชน์ต่อผู้ผลิตมีดังต่อไปนี้
*ให้บริการกับคู่ค้าให้เกิดความสะดวกและประหยัดต้นทุนการจัดการและเวลาแทนที่จะให้เป็นส่วนลดราคาของสินค้า

*ช่วยในการวางแผนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถสรุปได้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการนำVMIมาใช้ในธุรกิจจะช่วยทำให้ลดต้นทุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าลดMaterialinProcessจำนวนแรงงานเป็นหลัก

กรณีศึกษา:บริษัทTESCOLOTUS
*ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท
TESCOLOTUSจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ.2537โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในปัจจุบันกลุ่มเทสโก้อังกฤษจะถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่า90%จากเดิมที่กลุ่มTESCOอังกฤษและเครือเจริญโภคภัณฑ์ถือหุ้นในสัดส่วนเท่ากันคือ50%ปัจจุบันTESCOLOTUSมีรูปแบบStoreทั้งหมด4รูปแบบคือ

1.HyperMarketปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด43Storeคาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก6Store
2.SuperMarketปัจจุบันมีทั้งหมด1Storeที่สาขางามวงศ์วาน
3.Valueหรือคุ้มค่าปัจจุบันมีทั้งหมด2Storeคือร้อยเอ็ดและอุตรดิตถ์
4.Expressปัจจุบันมีทั้งหมด9สาขาและจะเปิดเพิ่มอีก21สาขา

ซึ่งStoreทั้ง4นั้นมีPositioningที่เหมือนกันมีสินค้าหลากหลายและราคาถูกอีกทั้งเป็นร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านคุณ

TESCOLOTUSมีพนักงานกว่า16,000คนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า21,000คนภายในปี2547เทสโก้โลตัสมีบริษัทSupplierที่เป็นคู่ค้าทั้งหมดกว่า2,499รายในจำนวนนี้เป็นบริษัทคู่ค้าของคนไทย97.9%ส่วนที่เหลือเป็นบริษัทคู่ค้าจากต่างประเทศโดยในปี2548นี้TESCOLOTUSได้ซื้อสินค้าและบริการจากคู่ค้าคิดเป็นเงินประมาณ45,000ล้านบาท

โดยบริษัทคู่ค้า774รายหรือ31%เป็นธุรกิจขนาดย่อมโดยมีวงเงินสั่งซื้อน้อยกว่าหนึ่งล้านบาทต่อรายตั้งแต่ปี2541เทสโก้นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยรวม45,400ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ5.5ของเงินลงทุนจากต่างประเทศซึ่งได้ช่วยเสริมสร้างกระแสเงินสดหมุนเวียนและช่วยเสริมสร้างรายได้ประชาชาติโดยรวมของประเทศไทยไม่ต่ำกว่า45,000ล้านบาท

*SupplyChainของTESCOLOTUS
ปัจจุบันมีสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของTESCOLOTUSจำนวน934รายการซึ่งพัฒนามาจากบริษัทคู่ค้าของไทยโดยมียอดขายรวม1,500ล้านบาทและTESCOLOTUSยังจัดกิจกรรมวันพบคู่ค้าเป็นประจำทุกปีและยังได้ขยายไปยังส่วนภูมิภาคซึ่งจัดเป็นครั้งแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อเดือนตุลาคม2545และมีคู่ค้ารายใหม่ให้ความสนใจถึง120ราย

ที่สำคัญTESCOLOTUSยังช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหราชอาณาจักรคิดเป็นมูลค่า3,000ล้านบาทต่อปีซึ่งสินค้าที่ส่งออกได้แก่ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ทูน่าผลิตภัณฑ์พลาสติกเช่นฟิล์มห่ออาหารบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารเครื่องครัวอาหารเลี้ยงสัตว์ผลิตภัณฑ์อาหารไทยจีนและอินเดียล่าสุดได้สนับสนุนการส่งออกข้าวหอมมะลิรวมทั้งเสื้อผ้าถุงเท้าและรองเท้าด้วย

ประเทศไทยถือเป็น1ใน6ที่เป็นศูนย์กลางการหาสินค้าเพื่อส่งให้กับเครือข่ายของเทสโก้ทั่วโลกโดยในปี2548มียอดมูลค่าการส่งออกสินค้าอุปโภคจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยสูงถึง700ล้านบาทและได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าประเภทอุปโภคให้กับเครือข่ายเทสโก้ทั่วโลกซึ่งในแต่ละเดือนนั้นจะมีลูกค้าเข้ามาจับจ่ายสูงถึง10.5ล้านคนและลูกค้าที่เข้ามาซื้อในห้างได้ชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิตของTESCOLOTUSกว่า350,000ราย

ศูนย์กระจายสินค้าของTESCOLOTUSในประเทศไทยตั้งอยู่ที่อ.วังน้อยจ.พระนครศรีอยุธยาสามารถบริหารการกระจายสินค้ากว่า800,000หน่วยบรรจุต่อวันโดยมีการพัฒนาต่อเนื่องล่าสุดได้ทำการก่อสร้างอาคารและติดตั้งสายสะพานลำเลียงอัตโนมัติ(CrossDock)เสร็จสมบูรณ์

*ระบบVMIของTESCOLOTUS
TESCOLOTUSได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่สำนักงานใหญ่เพื่อใช้ในงานทางด้านการจัดซื้อและบัญชีซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์“นอติลุส”ซึ่งจะติดตั้งไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้าระบบจะเริ่มปฏิบัติการเมื่อฝ่ายจัดซื้อได้มีคำสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบแม่ข่ายข้อมูลคำสั่งซื้อจะถูกส่งตรงไปยังคู่ค้าพร้อมๆกับศูนย์กระจายสินค้า

เมื่อคำสั่งซื้อมาถึงศูนย์กระจายสินค้าและสินค้าที่สั่งได้จัดส่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้าสินค้าก็จะถูกบันทึกลงในรายการของคลังสินค้าและระบบซอฟต์แวร์นอติลุสก็จะสร้างระบบบาร์โค้ดและฉลากสินค้าขึ้นขณะที่สินค้าถูกบันทึกรายการ

ระบบก็จะสามารถบอกรายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้านั้นๆเช่นสินค้าเป็นสินค้ารายการครอสด็อกกิ้งหรือเป็นสินค้าที่จะต้องสต็อกอุปกรณ์ตรวจรับสินค้าด้วยคลื่นความถี่วิทยุก็จะบอกรายละเอียดของโซนและที่จะจัดวางสินค้านั้นๆในการรับสินค้าแต่ละครั้งระบบซอฟต์แวร์“นอติลุส”ก็จะส่งข้อมูลจำนวนสินค้าที่รับไปยังระบบแม่ข่ายอัตโนมัติ

บัญชีเจ้าหนี้จะได้รับข้อมูลและลงรายการตามจำนวนที่ได้รับระบบแม่ข่ายและระบบซอฟต์แวร์“นอติลุส”จะให้ประโยชน์แก่คู่ค้าในด้านการลดลงจำนวนเอกสารที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อ(ใช้ใบสั่งซื้อ1ใบแทนการสั่งซื้อจากสาขา)ความถูกต้องของข้อมูลรายการและจำนวนสินค้าที่ถูกจัดส่งทำให้ฝ่ายจัดซื้อสามารถประมาณการจำนวนสินค้าที่ต้องการจากคู่ค้าจำนวนยอดขายสินค้าได้จึงทำให้ต้องมีการสต็อกสินค้าไว้สำหรับTESCOLOTUSทุกสาขาซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนการสั่งซื้อให้กับลูกค้าและจะมีสินค้าอยู่บนชั้นวางสินค้าTESCOLOTUSทุกสาขาอยู่ตลอดเวลา

การทำงาน VMI ของ TESCOLOTUS ถ้าเทสโก้โลตัสสั่งซื้อแชมพูรีจ๊อยซ์เพียงหนึ่งรายการจากP&Gแล้วให้เขาส่งมาให้ที่DCวังน้อยแล้วแชมพูถูกลำเลียงออกจากDCวังน้อยส่งให้เทสโก้โลตัสสาขาซีคอนสแควร์

การปฏิบัติงานของที่DCวังน้อยก็คงจะไม่มีความยุ่งยากอะไรแต่ในความเป็นจริงลองจินตนาการว่ามีสินค้าทั้งหมด30,000SKUsและมีสินค้าผ่านเข้ามาในDCวังน้อย(Casein)500,000เคสต่อวัน(เคสในที่นี้หมายถึงอะไรก็ตามที่เห็นด้วยตาว่าสามารถจะนับได้ว่าเป็นหีบห่อหลักๆเช่นเบียร์หนึ่งลังผ้าปูที่นอนหนึ่งกล่อง)และมีสินค้าออกจากDCวังน้อย(Caseout)500,000เคสต่อวัน

นั่นหมายถึงมีThroughputLevelสูงถึง1,000,000เคสต่อวันที่ผ่านเข้าออกที่DCวังน้อยบนพื้นที่ปฏิบัติงาน80,000ตารางเมตร(ประมาณ50ไร่)ไม่นับรวมพื้นที่โดยรอบระบบการปฏิบัติการอันเป็นเลิศที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังอันสร้างความสำเร็จในการกระจายสินค้าให้เกิดขึ้นกับเทสโก้โลตัสเป็นสิ่งที่น่าติดตามหาคำตอบอย่างยิ่ง

กระบวนการที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำในชีวิตคือเรานำสินค้าออกมาจากรถเข็นของแล้วกองไว้บนสายสะพานข้างแคชเชียร์พอแคชเชียร์หยิบสินค้ามาสแกนบาร์โค้ดพร้อมทยอยใส่ถุงพลาสติกจนครบทุกรายการแล้วก็แจ้งยอดรวมตามด้วยเราก็จ่ายเงินเราก็นำสินค้าออกไปเป็นอันเสร็จกระบวนการนั่นเป็นสิ่งที่เราได้เห็นแต่สิ่งที่เรามองไม่เห็นก็คือในทันทีที่แคชเชียร์หยิบสินค้ามาสแกนบาร์โค้ดที่หน้าร้าน(FrontOffice)สินค้ารายการนั้นก็จะถูกตัดสต็อกหลังร้าน(BackOffice)

กระบวนการไม่จบแค่นั้นข้อมูลจะถูกอัพโหลดส่งจากสาขา(ที่ทางเทสโก้โลตัสเองเรียกว่า“สโตร์”ตอนนี้มีอยู่75แห่งตั้งแต่รูปแบบที่เป็นHyperMarket,SuperMarketร้านคุ้มค่าและLOTUSExpress)แบบเรียลไทม์ไปยังสำนักงานใหญ่แล้วสำนักงานใหญ่ก็จะรวบรวมคำสั่งซื้อของแต่ละสาขาเข้าด้วยกันแล้วส่งไปให้กับVendor(ซึ่งก็คือคู่ค้าที่เป็นSupplierจัดหาสินค้าให้กับเทสโก้โลตัสนั่นเอง)และส่งข้อมูลไปให้ที่DCวังน้อยโดยมีโปรแกรมการทำงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

*โปรแกรมSCS(StockControlSystem)เป็นระบบบริหารการขายของสโตร์ที่ทั้ง75สโตร์มีใช้งานอยู่จะทำหน้าที่รับสินค้าเข้าสโตร์และตัดยอดสินค้าออกจากสโตร์เมื่อขายสินค้าได้ซึ่งฟังก์ชั่นการทำงานหลักๆก็เหมือนกับโปรแกรมการขายสินค้าที่ใช้งานในซูเปอร์มาเก็ตหรือมินิมาร์ททั่วๆไป

*โปรแกรมRAMS(RichterAutomatedMerchandisingSystem)เป็นระบบที่เป็นทั้งมันสมองของการปฏิบัติการและเป็นประตูควบคุมการไหลของรายการสินค้าและข้อมูลข่าวสารทั้งหมด

หลังจากที่SCSแต่ละสาขาอัพโหลดข้อมูลในทันทีที่ขายได้มาให้RAMPSแล้วRAMPSก็จะรวบรวมข้อมูลจากทุกสาขาเข้าด้วยกันแล้วส่งข้อมูลไปให้Vendorที่เป็นคู่ค้าทราบเพื่อเป็นสัญญาณให้เกิดกระบวนการเติมสินค้า(Replenishment)ให้กับDCวังน้อยรูปแบบในการส่งข้อมูลจะเป็นแบบEDIให้กับVendorหลักๆ30กว่ารายส่วนVendorที่เหลือก็จะเป็นการส่งแฟกซ์แบบอัตโนมัติและในขณะเดียวกันRAMPSจะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับDCวังน้อยเพื่อให้เป็นการเตรียมตัวรับสินค้าที่จะส่งเข้าไปที่DistributionCenter

*โปรแกรมPCS(ProductControllingSystem)เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารDistributionCenterแบบเรียลไทม์ทำหน้าที่ให้กับDCให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยระบบการติดต่อสื่อสารทั้งหมดในDCจะใช้คลื่นสัญญาณความถี่วิทยุ(RadioFrequency:RF)ผ่านสถานีฐานรับส่งสัญญาณ(BaseStation)ที่ติดตั้งห่างเป็นระยะๆอยู่รอบDistributionCenterวังน้อย

โดยในระบบVMIของเทสโก้โลตัสนี้เราสามารถจำแนกสินค้าได้เป็น2ประเภทซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้

(1)สินค้าประเภทDistributionCenterItemคือสินค้าที่คู่ค้าไม่สามารถที่จะส่งมอบให้กับเทสโก้โลตัสได้ตามเวลาที่กำหนดไว้(เรียกได้ว่ามีVendorServiceLevelต่ำ)ดังนั้นเทสโก้โลตัสจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งสินค้าเข้ามาตุนไว้เองเพื่อยังคงที่จะสามารถกระจายสินค้าไปยังสโตร์ทั้ง75แห่งได้อันจะช่วยป้องกันไม่ให้สินค้าในสโตร์ขาดสต็อกที่เป็นการเสียโอกาสในการขายสินค้ารายการนั้นๆและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เทสโก้โลตัสมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลาลูกค้าสามารถที่จะมาเลือกจับจ่ายใช้สอยได้ในทุกเวลาที่ต้องการ

(2)สินค้าประเภทCrossdockItem(หรือเรียกว่าเป็นประเภทส่งผ่าน)คือสินค้าที่คู่ค้ามีความสามารถที่จะส่งมอบให้กับเทสโก้โลตัสได้ตามเวลาที่กำหนดไว้(เรียกได้ว่ามีVendorServiceLevelสูง)ดังนั้นเทสโก้โลตัสจึงสามารถที่จะวางใจได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งสินค้าเข้ามาตุนไว้เลย

ในทันทีที่สินค้าถูกลำเลียงเข้ามาส่งที่DCวังน้อยสินค้าก็จะถูกแกะหีบห่อออกมาเพื่อนำมาติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดทุกกล่องแล้วส่งขึ้นสายพานลำเลียง(BeltConveyor)ส่งไปผ่านเครื่องVisualizedScannerที่มีความสามารถสแกนบาร์โค้ดด้วยระดับความเร็ว1ใน2000วินาทีในทันทีที่เครื่องอ่านสติกเกอร์บนกล่องแต่ละกล่อง

เครื่องจะสามารถแยกแยะได้ทันทีว่ากล่องที่กำลังวิ่งผ่านเครื่องจะต้องถูกส่งไปที่สโตร์ไหนพร้อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะประสานงานกับระบบทำงานของสายพานลำเลียงให้รับทราบว่ากล่องนี้ที่วางอยู่บนสายพานลำเลียง(ที่กำลังวิ่งวนไปเรื่อยๆ)จะต้องถูกผลักออกไปจากสายพานที่ช่องไหนเพราะแต่ละช่องที่กล่องถูกผลักออกไป(ใช้แผ่นยางสีดำเรียกว่า“Shoe”ที่ติดเรียงอยู่บนสายพานช่วยผลักตัวกล่อง)จะหมายถึงสโตร์แต่ละสโตร์นั่นเอง

นั่นแสดงว่าเครื่องสแกนเนอร์ที่อ่านบาร์โค้ดบนสติกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นผู้คัดแยกสินค้าแต่ละกล่องว่าจะต้องถูกส่งไปที่ไหนแล้วสายพานลำเลียงจะเป็นผู้ช่วยในการผลักกล่องออกไปยังช่อง(หรือสโตร์)ที่ต้องการหลังจากที่กล่องไหลออกไปจากระบบสายพานแยกอยู่ตามช่อง(แยกสโตร์)แล้วก็จะมีพนักงานมาจัดเรียงกล่องซ้อนขึ้นพาเลตของแต่ละช่อง(หรือสโตร์)แล้วใช้แฮนด์ลิฟต์ลากพาเลตออกไปรอที่ท่าของ(Dock)เพื่อรอรถของแต่ละสโตร์วิ่งมารับออกไป

โดยทั่วไปแล้วสินค้าหมวดอาหารแห้งจะมีการส่งสินค้าผ่านเข้ามาที่DCวังน้อยประมาณ90%(เรียกว่าPercentageofCentralization=90%)ส่วนอีก10%ที่เหลือจะเป็นการส่งตรงไปยังสโตร์เลย(เรียกว่าDirecttoStore)ซึ่งเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่เช่นรถจักรยานที่นอน6ฟุตเก้าอี้หวายเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

ส่วนสินค้าหมวดอาหารสดเช่นผักผลไม้จะส่งผ่านเข้ามาที่DCวังน้อยเพียง80%เท่านั้นในStoreนั้นจะใช้ระบบSCSส่วนที่HeadOfficeหรือสำนักงานใหญ่จะเป็นโปรแกรมSCSและโปรแกรมRAMSซึ่งRAMSนั้นจะเป็นโปรแกรมใหญ่บริหารงานทั้งบริษัทขณะที่PCSนั้นเป็นโปรแกรมสำหรับคลังสินค้าโดยเฉพาะและมีหน้าที่บริหารคลังสินค้า

ลักษณะการทำงานเมื่อโปรแกรมSCSทำการขายของก็จะOnlineไปยังRAMSที่สำนักงานใหญ่จากนั้นจะlinkมายังPCSนอกจากนี้RAMSยังมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือจะPressOrderไปยังVendorเพื่อให้Vendorมาส่งสินค้าในDC

กล่าวโดยสรุประบบVMIของTescoLotus
ในส่วนVMIของTESCOLOTUSนั้นเป็นการลงทุนเพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภายนอกสาเหตุหนึ่งนั้นมาจากการที่ต่างประเทศลงทุนส่วนใหญ่ทำให้มีอำนาจและการจัดการด้วยตนเองทำให้มีอิสระและสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้และTESCOLOTUSมีอำนาจเหนือการเจรจาต่อบริษัทคู่ค้าเองทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นกล่าวคือสามารถกำหนดให้คู่ค้าหรือSupplyChainทำตามที่บริษัทกำหนดเองทำให้สอดคล้องกับเป้าหมายและระบบที่วางไว้อีกทั้งการวางระบบก็ย่อมเป็นไปได้โดยง่ายด้วย

เอกสารอ้างอิง
1.ธนิตโสรัตน์.VM:VenderManagedInventory.2548[อ้างเมื่อ12มีนาคม2550].จากhttp://www.v-servegroup.com/new/documment.php?Bookno=100

2.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.ประวัติความเป็นมาของVMIกระบวนการVMIและกรณีศึกษา[ออนไลน์]2548[อ้างเมื่อ12มีนาคม2550].จากwww.jit.nida.ac.th/th/jit800/Anuratt/PDF/lesson2.pdf

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด