เนื้อหาวันที่ : 2010-03-02 17:57:06 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4646 views

การตรวจวัดการใช้พลังงาน เตาอุตสาหกรรม

การตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์หลักที่ใช้พลังงานในโรงงานเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าพลังงานถูกใช้ไปที่ไหนบ้าง เท่าไร เมื่อไร และอย่างไร เหมาะสมหรือยัง การตรวจวัดการใช้พลังงานควรจะทำให้ถูกต้อง มิฉะนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นขยะข้อมูล ใช้งานไม่ได้ และหลายครั้งทำให้เกิดความเสียหายหากนำเอาไปใช้

วัชระ มั่งวิทิตกุล
realyouenergy@yahoo.com

.

.

การตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์หลักที่ใช้พลังงานในโรงงานเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าพลังงานถูกใช้ไปที่ไหนบ้าง เท่าไร เมื่อไร และอย่างไร เหมาะสมหรือยัง การตรวจวัดการใช้พลังงานควรจะทำให้ถูกต้อง มิฉะนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นขยะข้อมูล ใช้งานไม่ได้ และหลายครั้งทำให้เกิดความเสียหายหากนำเอาไปใช้

การตรวจวัดให้ถูกต้อง ประการแรก คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจไปทำไม เพื่อปรับปรุงการเดินเครื่องจักร เพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ต่างกันระดับความถูกต้องอาจจะแตกต่างกัน

.

ตรวจวัดเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรต้องตรวจให้ถูกต้องแม่นยำกว่าการตรวจวัดเพื่อปรับปรุงการเดินเครื่องจักร การตรวจวัดเพื่อการวิจัยและพัฒนาจะใช้เครื่องมือตรวจวัดแตกต่างจากการตรวจวัดเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ไม่ใช่หมายความว่าตรวจวัดเพื่อปรับปรุงการเดินเครื่องให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นจะไม่สนใจเรื่องความถูกต้องเอาเสียเลย แต่หมายความถึงการตรวจให้ถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้มากกว่า

.

เช่นอาจจะผิดพลาด  5% หรือ  10% จากการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการที่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้พลังงานได้ หรือผิดพลาดจากการสุ่มตรวจวัดเฉพาะจุด หรือบางช่วงเวลาการใช้งาน เป็นต้น การตรวจวัดให้ถูกต้องประการที่สอง คือ ต้องเลือกเครื่องมือตรวจวัดให้เหมาะสม เช่น ต้องการตรวจวัดอุณหภูมิในช่วง 5-15 oC ท่านก็ควรเลือกใช้หัวตรวจวัดให้เหมาะสม หรือต้องการวัดโหลดขนาดเล็กไม่เกิน 5 แอมป์ แต่ไปใช้แคลมป์แอมป์ขนาด 100 แอมป์ เป็นต้น

.

การตรวจวัดให้ถูกต้องประการที่สาม คือ ตรวจวัดในเวลาที่เหมาะสม เช่น ในช่วงที่มีการใช้งานจริง ไม่ใช่เห็นว่าเครื่องหยุดทำงาน ก็สั่งให้เดินเครื่องเพื่อตรวจวัด โหลดอาจจะไม่มี หรือต่ำเกินไป ผลก็ไม่ถูกต้อง

.

เนื่องจากการตรวจวัดต้องมีค่าใช้จ่าย การตรวจวัดถูกต้องอย่างเดียวไม่ใคร่จะประสบความสำเร็จสักเท่าไร ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าค่าใช้จ่ายการตรวจวัดสูงเกินไป ไม่รู้จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ทำให้การตรวจวัดการใช้พลังงานไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าไหร่ ดังนั้นนอกจากจะตรวจวัดให้ถูกต้องแล้วเราต้องตรวจวัดให้ถูกใจด้วย

.

การตรวจวัดให้ถูกใจคือ ตรวจวัดเท่าที่จำเป็นไม่ใช่ตรวจวัดอุปกรณ์ทุก ๆ ตัว ใช้เวลาตรวจวัดให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการหยุดเดินเครื่อง และใช้เครื่องมือประหยัดที่สุด และยิ่งถ้ามีประสบการณ์มาก ๆ ไม่ต้องใช้เครื่องมือได้ก็ยิ่งถูกใจ เช่น แค่ใช้สายตา อาศัยการสังเกต หรือฟังเสียงก็สามารถบอกได้แล้วว่ามีศักยภาพจะปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานหรือไม่  

.

เช่น ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความส่องสว่างของแสงสว่างบ่อย ๆ จนกระทั่งมีความชำนาญพอที่จะบอกได้ด้วยตาเปล่าว่าความสว่างน่าจะประมาณเท่าไร หรือท่านอาจจะลองสำรวจตัวเองว่าเป็นคนช่างสังเกตหรือไม่ ง่าย ๆ ก็ลองคิดดูว่านาฬิกาข้อมือที่ท่านใส่อยู่ทุกวัน เป็นเวลาหลายปี ท่านดูเวลาวันหนึ่ง ๆ ก็หลายต่อหลายครั้ง รวม ๆ แล้วตั้งแต่ใช้มาอาจจะดูมากว่า หมื่นครั้งแล้ว

.

ท่านพอจะบอกรายละเอียดได้หรือไม่ว่า นาฬิกาของท่านมีหน้าปัดสีอะไร เข็มนาฬิกาเป็นเหลี่ยม หรือ กลม มีเข็มวินาทีหรือไม่ สีอะไร ตัวเลขบอกเวลาเป็นเลขโรมัน เลขอารบิก หรือเป็นขีด หรือมีเฉพาะเลข 12 มีวันที่แสดงหรือไม่ ถ้ามี อยู่ที่ตำแหน่งเลข 3 หรือ เลข 6 เป็นเลขชนิดไหน เป็นต้น ถ้าท่านสามารถเขียนรายละเอียดปลีกย่อยของนาฬิกาท่านได้แสดงว่าท่านเป็นคนช่างสังเกต

.

การจะให้ผู้ประกอบส่งเสริมสนับสนุนให้ตรวจวัดการใช้พลังงาน ต้องตรวจวัดให้ถูกต้องและถูกใจ
สำหรับในฉบับนี้ ขอนำเสนอวิธีการตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานสำหรับ เตาอุตสาหกรรม-อบเหล็ก เพื่อเป็นแนวทางไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

.

รูปที่ 1 การตรวจวัดเตาอุตสาหกรรม-อบเหล็ก

.

.

จากข้อมูลการตรวจวัด เราสามารถใช้สำหรับวิเคราะห์หาประสิทธิภาพเตาอุตสาหกรรม และวิเคราะห์จุดสูญเสียเพื่อหาวิธีปรับปรุงให้ถูกจุด

การหาสมดุลมวล  

                       Mbi + Mf + Ma = Mbo+ Msc + Mg + M’g
โดย
Mbi  = ปริมาณวัตถุดิบเข้า (ตันวัตถุดิบ)
Mf    = เชื้อเพลิงเข้า (กิโลกรัม/ตันวัตถุดิบ)
Ma   = มวลอากาศป้อน (กิโลกรัม/ตัน)
Mbo = มวลผลผลิตออก (กิโลกรัม/ตันวัตถุดิบ)
Msc  = มวลของ Scale หรือสิ่งเจือปน (กิโลกรัม/ตันวัตถุดิบ)
Mg    = มวลไอเสียออกปล่อง (กิโลกรัม/ตัน)
M’g   = มวลไอร้อนจากการเปิดเตา และอื่น ๆ (กิโลกรัม/ตัน)

.

1. วัตถุเข้า Mbi = 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม
2. เชื้อเพลิงเข้า Mf = อัตราการใช้เชื้อเพลิง mf/อัตราการป้อนวัตถุดิบ mbi 
                          = 665 กิโลกรัม/ชั่วโมง/(15 ตัน/ชั่วโมง)
                          = 44.3 กิโลกรัม/ตันวัตถุดิบ

.
3. มวลอากาศป้อน Ma = ma/mbi
                 ma = a * Aa * Va
     a คือ ความหนาแน่นอากาศที่อุณหภูมิอากาศที่ออก Tao = 180 C = 0.762 กิโลกรัม/ลบ.ม
     Aa คือ พื้นที่หน้าตัดของท่ออากาศ = 0.785 ตารางเมตร
     Va คือ ความเร็วอากาศ 9 เมตร/วินาที
     ดังนั้น ma = 19,380 กิโลกรัม/ชั่วโมง และ Ma = 19,380/15 = 1,292 กิโลกรัม/ตัน
.
4. Mbo = 990 กิโลกรัม/ตัน
5. Msc = (Mbi-Mbo)/(%Fe ใน Scale)
    กำหนดให้ %Fe ใน Scale = 95% ดังนั้น Msc = 10/0.95 = 10.5 กิโลกรัม/ตัน
.
6. Mg  = mg/mbi
                mg = g * Ag * Vg
     g คือ ความหนาแน่นไอเสียที่อุณหภูมิไอเสียที่ออก Tg = 280 C = 0.634 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
     Ag คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อไอเสีย = 2.5 ตารางเมตร
     Vg คือ ความเร็วไอเสีย 2 เมตร/วินาที
ดังนั้น mg = 11,412 กิโลกรัม/ชั่วโมง และ Mg = 11,412/15 = 761 กิโลกรัม/ตัน
.
7. M’g = m’g/mbi 
    m’g = ma + mf – mg 
          = 19,380+655-11,412 = 8,633 กิโลกรัม/ชั่วโมง
    ดังนั้น M’g = 8633/15 = 575 กิโลกรัม/ตัน
.

.

เมื่อวิเคราะห์สมดุลมวลแล้ว ต่อไปทำการวิเคราะห์สมดุลพลังงาน 
        Qi     = Qo + Q Loss MJ/ตันวัตถุดิบ

.
Qi คือ พลังงานเข้า ประกอบด้วย
       Qc    = พลังงานจากการเผาไหม้
       Qf     = พลังงานจากการเพิ่มอุณหภูมิเชื้อเพลิง
       Qbi   = พลังงานในตัวของวัตถุดิบ
       Qsc   = พลังงานออกซิเดชันของสเกล
       Qr     = พลังงานนำกลับจากอุปกรณ์นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ (Recuperator)
.
Qo คือ พลังงานที่ผลผลิต
QLoss คือ พลังงานสูญเสีย ประกอบด้วย
       QLsc  = พลังงานสูญเสียส่วนสเกล 
       Qg     = พลังงานสูญเสียในไอเสีย
       Q’g    = พลังงานสูญเสียจากการเปิดเตา
       Qsur  = พลังงานสูญเสียที่ผิวเตา
       Qun   = พลังงานสูญเสียอื่น ๆ
.

จากสมการพื้นฐาน Q = M * H
โดย M คือ มวล H คือ ค่าเอนทาลปี = C * (T – Ta)
โดย C คือ ความจุความร้อนจำเพาะ Ta คือ อุณหภูมิอากาศรอบ ๆ เตา

.

1. หา Qc = Mf * LHV ของเชื้อเพลิง กรณีนี้ใช้น้ำมันเตาที่ LHV 40.8 MJ/kg
        Qc = 44.3 * 40.8 = 1807.4 MJ/ตันวัตถุดิบ

.
2. Qf =  Mf * Cpf * (Tfi – Ta)
โดย  Cpf = ค่าความร้อนของเชื้อเพลิง 1.88 kJ/kg K
    Tfi = อุณหภูมิเชื้อเพลิง 100 C
    Ta = 41 C
ดังนั้น  Qf = 44.3 * 1.88 *(100-41) = 4.9 MJ/ตัน
.
3. Qbi = Mbi * (hbi – hba)
    hbi คือ เอนทาลปีของเหล็กแท่งที่อุณหภูมิใด ๆ
    hbo คือ เอนทาลปีของเหล็กแท่งที่อุณหภูมิอากาศรอบ ๆ เตา
.
จากตารางพลังงานความร้อนของเหล็กที่ฐานอุณหภูมิ 50 C
อุณหภูมิเหล็ก (C) ค่าความร้อน (kJ/kg)

50

0

100

25

150

50

200

75

250

103

300

130

350

160

400

190

450

220

500

254

550

289

600

326

650

365

700

407

750

478

800

512

850

563

900

596

950

630

100

659

1050

693

1100 

727

.
hbi ที่ Tbi 80C  = 14.57 kJ/kg
hba ที่ Ta 41C  = -4.37 kJ/kg
ดังนั้น Qbi         = 18.9 MJ/ตัน
.
4. Qsc = Msc * Hsc 
    โดย Hsc    = 5588 kJ/kg Fe
    ดังนั้น Qsc = Msc * 5588 * %Fe = 10.5 * 5588 * 0.95 = 55.8 MJ/ตัน
.
5.    Qr  = Ma * Cpa * (Tao – Ta)
            = 1292 * 1.012 * (180-41) = 181.6 MJ/ตัน
.
6. Qo = Mbo * (hbo-hba)
             โดย hbo จากตารางที่ Tbo 1056 C = 697 kJ/kg
                    hba ที่ Ta 41C = -4.37 kJ/kg
         = 990 * (697- (-4.37))/1000 = 694 MJ/ตัน
.

7.    QLsc = Msc * Cpsc * (Tbo –Ta) 
       โดย Cpsc = 0.9 kJ/kg C
                      = 10.5 * 0.9 * (1056 –41)/1000 = 9.6 MJ/ตัน

.
8.   Qg = Mg * Cpg * (Tgo – Ta)
      โดย Cpg  = 1.11 kJ/kg K
                    = 761 * 1.11 * (280 – 41)/1000 = 201.8 MJ/ตัน
.
9.    Q’g = M’g * Cpg * (T’g – Ta)
       โดย T’g = 862.5 C 
       ดังนั้น Q’g = 575 * 1.11 * (862.5 –41) = 524.3 MJ/ตัน
.
10. Qsur = ความร้อนสูญเสียที่ผิว 16 kW / mbi = (16* 3600) /(15*1000) = 3.8 MJ/ตัน
.
11. Qun = Qc+Qf+Qbi+Qsc+Qr – (Qbo+QLsc+Qg+Q’g+Qs)
            = (1807.4+4.9+18.9+55.9+181.6) –(694+9.6+201.8+524.3+3.8)
            = 635.2 MJ/ตัน
.

.
จากการวิเคราะห์สมดุลพลังงาน สามารถคำนวณประสิทธิภาพของเตาอุตสาหกรรม ได้ดังนี้
                        = (Qbo –Qbi)/(Qc+Qf)
                     = (694-18.9)/(1807.4 +4.9) = 37%
 .

.
และจากสมดุลพลังงาน เมื่อแสดงโดยใช้ Sankey Diagram จะทำให้เห็นภาพว่ามีความร้อนสูญเสียไปส่วนไหนบ้าง สำหรับในกรณีนี้

• ถึงแม้ว่ามีการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ แต่พลังงานสูญเสียในไอเสียยังสูง ควรพิจารณานำความร้อนกลับให้มากขึ้นโดยการปรับปรุงชุดรีคัปเปอร์เรเตอร์ และปรับหัวเผาให้อัตราส่วนอากาศและเชื้อเพลิงเหมาะสมเพื่อให้การเผาไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

.

• พลังงานสูญเสียจากการเปิดเตาค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรลดความสูญเสียส่วนนี้โดยบริหารจัดการการป้อนวัตถุดิบ กำหนดปริมาณวัตถุดิบในแต่ละครั้งให้มีประสิทธิภาพ

.

• พลังงานสูญเสียอื่น ๆ สูง แต่เนื่องจากเป็นการสูญเสียจากการออกแบบเตาซึ่งค่อนข้างยากที่จะปรับปรุงและถ้าต้องการปรับปรุงก็ยากที่จะคุ้มทุนสำหรับเตาที่ติดตั้งใช้งานอยู่แล้ว จึงควรเลือกซื้อเตาที่มีประสิทธิภาพดีตั้งแต่ลงทุนเริ่มแรก

.
เอกสารอ้างอิง

• วัชระ มั่งวิทิตกุล กระบวนการและเทคนิค การลดค่าใช้จ่ายพลังงาน พิมพ์ครั้งที่ 2, 297 หน้า พ.ศ. 2548
• Kazuki Tanabe, Energy saving diagnostic technology and practice for heating furnaces, 2001
• Jeeradej S., Process Modeling for Energy Management in Steel Manufacturing Industry, 1990

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด