หลังจากที่เราได้จัดหาตัว KPI (Key Performance Indicators) หรือตัวชี้วัดของกระบวนการธุรกิจต่าง ๆ ทั้งกระบวนการหลักและกระบวนการย่อยต่าง ๆ แล้ว กิจกรรมในการเอาตัว KPI เหล่านั้นมาใช้งานคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายกว่าการจัดทำ KPI เพราะถ้าไม่มีกระบวนการวัดสมรรถนะที่ดีและเป็นระบบ แล้ว KPI ที่ได้มาก็จะไม่มีประโยชน์อันใดและเราจะไม่รู้ได้เลยว่า KPI ตัวไหนมีอิทธิพลกระบวนการมากที่สุด เพราะว่าถ้าเรารู้และเข้าใจในความสัมพันธ์กับกระบวนการอื่น ๆ แล้วเราจะสามารถควบคุมและปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้
ดร.วิทยา สุหฤทดำรง |
. |
. |
หลังจากที่เราได้จัดหาตัว KPI (Key Performance Indicators) หรือตัวชี้วัดของกระบวนการธุรกิจต่าง ๆ ทั้งกระบวนการหลักและกระบวนการย่อยต่าง ๆ แล้ว กิจกรรมในการเอาตัว KPI เหล่านั้นมาใช้งานคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายกว่าการจัดทำ KPI เพราะถ้าไม่มีกระบวนการวัดสมรรถนะที่ดีและเป็นระบบ แล้ว KPI ที่ได้มาก็จะไม่มีประโยชน์อันใดและเราจะไม่รู้ได้เลยว่า KPI ตัวไหนมีอิทธิพลกระบวนการมากที่สุด เพราะว่าถ้าเรารู้และเข้าใจในความสัมพันธ์กับกระบวนการอื่น ๆ แล้วเราจะสามารถควบคุมและปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้ |
. |
กระบวนการวัดสมรรถนะ |
การวัดสมรรถนะ (Performance Measurement) นั้นเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญมากในกระบวนการจัดการ (Management Process) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ด้วยเหตุผลหลัก คือ การลดความแปรปรวนของกระบวนการผลิตผลลัพธ์ของกระบวนการและเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย |
. |
การวัดสมรรถนะจะบอกเราในเชิงปริมาณในสิ่งสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ การบริการ และกระบวนการหรือกระบวนการธุรกิจที่ผลิตหรือสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมา กิจกรรมในการวัดเหล่านี้จะช่วยเราให้เข้าใจกระบวนการธุรกิจ การจัดการและการพัฒนากระบวนการธุรกิจ |
. |
การวัดสมรรถนะของกระบวนการธุรกิจ จะทำให้เรารู้ว่าเราจัดการกระบวนการธุรกิจได้ดีแค่ไหน ? บรรลุเป้าหมายหรือไม่ ? ลูกค้ามีความพึงพอใจหรือไม่ ? กระบวนการธุรกิจอยู่ในควบคุมและไม่มีความแปรปรวนเชิงสถิติหรือไม่ ที่สำคัญตรงไหนในกระบวนการธุรกิจขั้นตอนและกระบวนการในการจัดเหล่านี้จะช่วยให้เราได้มีข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญในการทำการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในเรื่องที่เราปฏิบัติอยู่ |
. |
เราสามารถที่จะแบ่งคุณลักษณะหรือมุมมองการวัดสมรรถนะได้ออกเป็น 6 กลุ่มตามแต่ละกระบวนการธุรกิจหรือองค์กรก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน คือ (1) ประสิทธิผล (Effectiveness) คือ คุณลักษณะของกระบวนการจะบ่งชี้ถึงระดับของกระบวนการที่ผลิตผลลัพธ์ออกมาได้ตามความต้องการหรือจะพูดได้ว่า “เราได้ทำถูกเรื่องหรือไม่” |
. |
(2) ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ คุณลักษณะของกระบวนการนี้บ่งชี้ถึงระดับของกระบวนการที่ผลิตผลลัพธ์ออกมา ด้วยทรัพยากรที่น้อยที่สุด หรือ คุ้มค่าหรือไม่ (3) คุณภาพ คือ ระดับของผลผลิตภัณฑ์และบริการและความคาดหวังของลูกค้า |
. |
(4) ระยะเวลา เป็นการวัดว่าหน่วยของงานได้ถูกกระทำในกระบวนการอย่างถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ (5) ผลิตภาพ (Productivity) ได้จากคุณค่าที่ถูกเพิ่มโดยกระบวนการหารด้วยคุณค่าหรือมูลค่าของแรงงานและการลงทุน (6) ความปลอดภัย เป็นการวัดสภาพโดยภาพรวมของกระบวนการธุรกิจหรือองค์กร และสภาพสถานที่ทำงานของพนักงาน |
. |
เมื่อมีลักษณะของการวัดแล้วคุณสมบัติของหน่วยวัดก็มีความสำคัญเช่นกัน ทุกตัววัดจะต้องมีหน่วยวัดซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติในเชิงอุดมการณ์ เช่น หน่วยวัดนั้นจะสะท้อนความต้องการของลูกค้าเหมือนกับความรู้สึกของเราเอง และมีความเข้าใจได้ง่ายในความหมายเดียวกัน หน่วยวัดเหล่านี้จะต้องนำมาใช้ได้ในการตัดสินใจ การใช้หน่วยวัดนั้นจะต้องมีความประหยัด และมีแน่นอนในการแปลความหมายร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
. |
การวัดให้ประโยชน์อะไร ? |
PBM / SI ได้แบ่งประโยชน์จากการวัดออกเป็น 7 ชนิด คือ 1) จะได้ทราบว่าผลการปฏิบัติของเราหรือกระบวนการธุรกิจตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่ 2) ช่วยเราให้มีความเข้าใจในกระบวนการเพื่อที่จะได้ยืนยันในสิ่งที่เราไม่รู้ ทำให้เรามีความสามารถล่วงรู้ปัญหา |
. |
3) ทำให้มั่นใจได้ว่าเราได้ตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความจริงตามธรรมชาติของกระบวนการไม่ได้มาจากอารมณ์ส่วนตัว 4) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าตรงไหนของกระบวนการควรจะปรับปรุงและที่สำคัญนั้นควรจะปรับปรุงอย่างไร 5) แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการปรับปรุงนั้นที่ได้เกิดขึ้น |
. |
6) เพื่อที่จะได้ค้นพบถึงสิ่งที่ถูกชี้นำ ปฏิบัติกันมานานจนเป็นประเพณีนิสัยและมีอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเราได้ปฏิบัติงานมาเป็นเวลานานโดยไม่มีการวัดเลย เราอาจจะคิดว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ทั้ง ๆ ที่กำลังจะมีปัญหา 7) เพื่อที่จะบ่งชี้ว่าทรัพยากรหรือผู้จัดหาทรัพยากรหรือวัตถุดิบนั้น ทำได้ตามที่เราต้องการหรือไม่ ? เรารู้กำลังของเราเองหรือไม่ ? หรือผู้จัดหาทรัพยากรหรือวัตถุดิบรู้หรือไม่ว่าทำงานหรือส่งวัตถุดิบให้เราหรือกระบวนการได้ตามเป้าหมายหรือไม่ |
. |
ในอดีตการวัดนั้นอาจจะไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าไรนัก นอกจากจุดประสงค์เพื่อการควบคุม (Control) เสียมากกว่า ต่อมาการวัดได้รับความนิยมและมีความสำคัญต่อการจัดการมาก มีหนังสือและเทคนิคการจัดการมากมายใช้ตัววัดเป็นเครื่องผลักดันทั้งเพื่อการควบคุมและการพัฒนาปรับปรุง |
. |
ดังนั้นตัววัดในเครื่องมือทางธุรกิจ ก็คือ ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator: KPI) ที่ได้ยินกันอยู่ทุกวัน เราจึงได้เห็นหลายคนได้สร้าง KPI กันออกมาอย่างมากมาย |
. |
ที่จริงแล้วเราไม่จำเป็นที่จะต้องมี KPI อย่างมากมาย เราจะวัดเฉพาะ KPI ที่สำคัญเท่านั้น เราจะรู้ว่าเป็น KPI ตัวไหนก็ต่อเมื่อเรามีความเข้าใจในกระบวนการนั้น การวัด KPI ในที่สุดแล้วนั้นก็ต้องมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้า เพราะจะไม่มีประโยชน์เท่าใดนัก ถ้าการวัดนั้นไม่สะท้อนต่อความต้องการและความพึ่งพอใจของลูกค้า |
. |
แบบจำลองระบบการจัดการ |
ทุกครั้งที่ผมจะอธิบายว่า การจัดการคืออะไร ? ผมมักจะใช้แบบจำลองการจัดการ (Management Model) ของ Scott Sink มาอธิบายเสมอ เพราะแบบจำลองนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นระบบของการจัดการซึ่งมีตัววัดหรือการวัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ บางครั้งเราเองอยู่ในระบบของการจัดการในองค์กร |
. |
หรือเป็นผู้จัดการเองก็ยังไม่เข้าใจในระบบหรือกระบวนการของการจัดการว่าระบบการจัดการนั้นทำงานอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร มีใครทำอะไรบ้าง ไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่ในตำแหน่งงาน (Job Description) เท่านั้น Sink ได้สร้างแบบจำลองระบบออกมาในรูปของกลไกลสำหรับการสร้างวัฏจักรของการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิผลได้ตรงเป้าหมาย |
. |
แบบจำลองนี้ดูแล้วไม่มีอะไรใหม่มาก พิจารณาแล้วก็คล้ายกับ Plan Do Check Action (PDCA)ในวงจรคุณภาพ ส่วนการบริหารจัดการในยุคปัจจุบันนั้นคงจะต้องดำเนินในมุมของการพัฒนาปรับปรุงเป็นหลัก ระบบการวัดจะเป็นตัวป้อนข้อมูลสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบติดตามการทำงานของกระบวนการธุรกิจ |
. |
ระบบการจัดการนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับปรุง Sink เองยังอ้างถึงหนังสือ Build to last ของ Jim Collins ( ที่ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ชื่อว่า องค์กรอมตะ) ที่กล่าวถึงบริษัทต่าง ๆ ที่มีวิสัยทัศน์ และก้าวมาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกได้ก็เพราะมีระบบการวัดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฏจักรของการปรับปรุง (Improvement Cycle) |
. |
แบบจำลองของระบบการจัดการแสดงไว้อยู่ในรูปที่ 1 ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ บุคคล ซึ่งเป็นผู้นำและผู้จัดการ สิ่งของหรือกระบวนการ ซึ่งถูกนำและถูกจัดการ และ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งสามองค์ประกอบของระบบการจัดการนี้ จะมีการเชื่อมโยงกันด้วย การตัดสินใจ/การปฏิบัติ, การวัด/ข้อมูล และ การแสดงผล/การรับรู้ข้อมูล ตามลำดับ |
. |
แน่นอนว่าทุก ๆ ระบบการจัดการจะถูกฝังอยู่ในระบบการจัดการใหญ่ขององค์กร เป้าหมายก็คือ จะทำอย่างไรเพื่อที่จะใช้ระบบทั้งหมดนั้นเกิดจุดที่เหมาะสม (Optimal) ตัวอย่างเช่น คุณเป็นผู้ผลิตสินค้าและมีการเชื่อมโยง กับ ฝ่ายจัดซื้อ และกระจายสินค้า และคุณต้องการที่จะหาจุดที่เหมาะสมที่สุด |
. |
คุณก็จะต้องทราบสถานการณ์ดำเนินงานของตัวเองของฝ่ายจัดซื้อ และการดำเนินงานของฝ่ายกระจายสินค้า เพื่อหาจุดเหมาะสมที่สามารถทำงานได้ตรงกันจะได้ไม่พลาดหรือมีความสูญเสีย |
. |
ดังนั้นการที่จะสื่อสารกันได้นั้นก็คงจะต้องผ่านระบบการวัดสมรรถนะ อาจจะอธิบายให้ง่าย ๆ ขึ้นเหมือนเวลาเราเล่นฟุตบอล เราจะส่งลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่หน้าประตู ก่อนจะส่งลูกให้นั้นเราจะต้องมองหาเพื่อนร่วมทีมว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ ? วิ่งมารับลูกทันหรือไม่ ? กิจกรรมอย่างนี้ คือ การจัดการแบบหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างจากแบบจำลองนี้เลย |
. |
แล้วเราจะอ่านหรือทำความเข้าใจแบบจำลองนี้ได้อย่างไร ? เมื่อเราสร้างกรอบความคิดของแบบจำลองนี้แล้ว เราอาจจะเริ่มจากองค์ประกอบที่ 2 ผ่านมาที่องค์ประกอบที่ 3 และ 1 จากนั้นให้ดูที่ส่วนเชื่อมโยงที่ 4 มาจนถึงส่วนเชื่อมโยงที่ 5 และ 6 ลองคิดดูอย่างนี้ ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจในกระบวนการธุรกิจซึ่งก็คือองค์ประกอบที่ 2 จากนั้นก็ไปศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้ซึ่งก็คือองค์ประกอบที่ 1 |
. |
ต่อจากนั้นจะศึกษาให้เข้าใจถึงการตัดสินใจแผนกลยุทธ์และ ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งก็ คือ ส่วนเชื่อมโยงที่ 4 จากนั้นเราจะต้องรู้ว่าข้อมูลสารสนเทศใดบ้างที่มีอยู่และต้องการสารสนเทศได้บ้างเพื่อที่จะได้ใช้สนับสนุนการตัดสินใจและการปฏิบัติ ส่วนนี้ คือ ส่วนเชื่อมโยงที่ 6 จากนั้นก็มากำหนดว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องจัดเก็บและจะต้องทำการวัดอย่างไร |
. |
ส่วนนี้ คือ ส่วนเชื่อมโยงที่ 5 สุดท้ายเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะต้องจัดเก็บอย่างไรและจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างไร และเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลมาเป็นสารสนเทศอย่างไร ซึ่งเป็นกิจกรรมในส่วนเชื่อมโยงที่ 6 การจัดการที่เป็นระบบจะอยู่ในวงจรอย่างนี้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้เข้าใจมันอย่างเป็นระบบ แต่ถ้าเราเข้าใจ มีการวางแผนและควบคุมตามระบบแล้ว ผลลัพธ์จากกระบวนการเช่นนี้ย่อมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
. |
สรุป |
เราจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ระบบการวัด (Measurement System) นั้นมีไว้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อหาโอกาสที่ดีในการพัฒนาปรับปรุงต่าง ๆ และที่สำคัญการวัดทำให้เราเข้าใจระบบของตัวเองได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การที่องค์กรหรือกระบวนการธุรกิจมีระบบการวัดที่ดีจะช่วยให้เราสามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนา รู้และประเมินวิธีการปรับปรุงได้ สามารถจูงใจและยืนยันว่าแผนกลยุทธ์และการปฏิบัติสามารถทำงานได้ |
. |
เอกสารอ้างอิง |
• Sink, D. Scott and Smith, George, L. “Reclaiming Process Management”, IIE Solutions February, 1999, pp.41-46 |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด