Regulars ; Editor's massage!

“เวลาของการโชว์”

     วัสดีครับ... วันเวลาก็ล่วงเลยกลางปีมากันแล้ว เวลามันก็ยังคงเดินอย่างไม่มีวันหยุดไม่มีจุดหมายปลายทาง (แต่เรากำหนดให้มันเดินวนรอบ 24 ชั่วโมง เพื่อการกำหนดเวลาของชีวิตและการทำงานในมาตรฐานเดียวกัน) แต่วงการระบบเสียงนั้นมีเวลา ผู้ทำงานด้านเสียงนั้นมีเวลา ระบบหรือซีสเต็มนั้นก็มีเวลา และเวลาที่ว่านี้ก็คือ “เวลาของการโชว์” ระบบที่ดีและสมบูรณ์รวมถึงผู้ทำงานที่ดี จะต้องสามารถดำเนินการหรือทำงานได้จนจบโชว์ นั่นคือเป้าหมาย และประสิทธิภาพจะเป็นตัวชี้วัดว่าจะดำเนินงานได้ตลอดรอดฝั่งจนจบโชว์ บ่อยครั้งที่มักจะเกิดปัญหาขึ้นมาในเซตอัพระบบเสียง แม้จะสามารถเดินงานได้จนจบโชว์ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีระบบหรือเซตลำโพงบางจุดไม่สามารถทำงานได้ หรืออาการดับกลางทาง แต่ด้วยประสบการณ์ของผู้ทำงานด้านเสียงที่สามารถเอาตัวรอดได้ในแบบเฉพาะหน้า แต่กระนั้นก็ตาม ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แม้จะไม่สามารถรับรู้ได้จากผู้เข้าชมงานทั้งหมด แต่ในบางจุดนั้นสามารถรับรู้ได้ ก็ย่อมสร้างความรู้สึกที่ติดลบกับทีมงานที่ทำระบบเสียงนั้นไปแล้ว

           

          ระบบเสียงที่มาตรฐาน มีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม จะไม่เกิดอาการดับหรือเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างโชว์ และผู้ที่ทำหน้าที่คอนโทรลสามารถที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่บนระบบที่เสถียร ตลอดช่วงเวลาโชว์ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรืออาจต้องมากกว่านั้น เพราะต้องมีช่วงที่ซ้อมและซาวด์เช็คอีกหลายชั่วโมง แต่เวลาที่สำคัญที่สุดก็คือช่วงที่กำลังมีการโชว์นั้นอยู่ ซึ่งทุกอย่างต้องพร้อมแบบเกินร้อยเปอร์เซ็นต์

               

          ความจริงและไม่ได้มีเพียงแค่เซตอัพระบบเสียงเท่านั้นที่สำคัญที่ต้องรองรับการใช้งานได้จนครบชั่วโมงแห่งโชว์ หากแต่ยังรวมไปถึงในทุกส่วนองค์ประกอบที่ถูกเซตขึ้นมารองรับโชว์ในแต่ละครั้งนั้น เริ่มตั้งแต่สถานที่ การเซตระบบสเตจ การเซตระบบไล้ติ้ง การเซตระบบภาพมีเดีย การเซตระบบเสียง และระบบกระแสไฟฟ้าจากเจเนอเรเตอร์ เหล่านี้ต้องสมบูรณ์แบบมีมาตรฐานแบบเดียวกันหมด ระบบสเตจ ต้องมั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะสเตจในภาคเอาต์ดอร์ ที่ต้องได้รับผลกระทบจากกระแสลมและความร้อนจากแสงแดด โครงเหล็และทรัสอลูมิเนียมอาจได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ได้ ระบบไล้ติ้งนั้นอาจจับผิดได้ไม่ง่ายนัก เพราะไฟเวทีนั้นไม่ใช่ระบบไฟแสงสว่างปรกติ ที่ต้องติดสว่างค้างไว้เมื่อเปิดใช้งาน เพราะมีการติดสว่างและดับหรือกะพริบเป็นจังหวะที่แตกต่างกันในแต่ละจุด หากในจุดใดที่เป็นเพียงแสงประกอบก็อาจไม่รู้สึกได้ถึงความผิดปรกติ แต่หากเป็นไฟหลักหรือเป็นไฟฟอลโลว์ หากเกิดปัญหาขึ้นมาก็อาจสังเกตได้ทันทีว่า หน้าตาศิลปินเอกของเราทำมัยไม่เกิดออร่าเลย มืดสนิท หรืออาจใช้ไฟจากจุดอื่นมาแทนได้แต่ก็อาจได้มุมการส่องสว่างไม่สวยงาม เป็นต้น ปัญหาใหญ่ที่สุดรองจากปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ้าก็คือระบบเสียง เพราะหากเสียงดับ งานโชว์ก็จบ โดยเฉพาะเมนพีเอ หากเสียงหายไปแม้เพียงบางส่วนในเซตจะฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวาก็ตาม ก็มักจะถูกจับผิดได้โดยง่ายจากทางฝั่งผู้ชม หรือแม้แต่ผู้ควบคุมเสียงที่ FOH นั้นก็ย่อมสังเกตถึงความผิดปรกติได้ง่ายๆเช่นกัน แอกชั่นที่ตามมาทันทีเลยก็คืออารมณ์ของผู้ชม ที่ต้องเปลี่ยนไปจากสนุกสนานในโชว์ก็จะมีเสียงที่ไม่ใช่ความยินดีในการชมอย่างแน่นอนแทรกขึ้นมา ดังนั้นระบบเสียงที่ดีต้องเดินงานให้ได้จนจบโชว์...

               

          “แบรนด์” ของอุปกรณ์ในระบบ แม้จะสามารถสร้างความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งก็ตาม แต่สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมาตรฐานที่สมบูรณ์แบบนั้น “เวลาของการโชว์” ที่สามารถยืนหยัดแผดเสียงได้ตลอดจนจบโชว์อย่างไม่เกิดปัญหาใดๆนั้น เป็นอีกตัวชี้วัดที่สำคัญไม่น้อย ที่บ่งบอกได้ว่าเซอัพเหล่านั้น ทีมงานเหล่านั้น ผู้คอนโทรลในระบบเหล่านั้น ถือเป็นองค์ร่วมการทำงานที่เรียกได้ว่ามีมาตรฐานดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบ...

 

          อย่าลืม... ท้ายนี้ผู้อ่าน Sound & Stage และผู้สนับสนุนทุกท่าน สามารถติดตามอ่านเนื้อหาบางส่วนและบางฉบับเต็ม รวมถึงข่าวและการแนะนำผลิตภัณฑ์ได้อีกทางหนึ่งที่ www.soundstagemag.com ซึ่งสามารถเข้าไปติดตามหาอ่านความรู้ได้ตลอดเวลาครับ...

 

          … ผู้ให้บริการเครื่องเช่าที่ต้องการแปะรายชื่อและรายละเอียดการติดต่อ สามารถส่งรายละเอียด เช่น ชื่อร้าน, บริษัท, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ มายังทีมงานได้ทางอีเมล์ soundstage@se-ed.com เรากำลังรอเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมช่องทางประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มผู้ให้บริการเครื่องเช่า ได้มีโอกาสดีๆเช่นนี้อยู่นะครับ... รีบส่งรายละเอียดกันเข้ามาได้ตั้งแต่บัดนี้...

 

        เศกสิทธิ์ คำชมภู
seaksitsound@se-ed.com
 soundstage@se-ed.com

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด