TECHNOLOGY TREND

เทรนด์ของเทคโนโลยีเซนเซอร์จับภาพยุคใหม่ที่เก่งขึ้นกว่าเดิม

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เซนเซอร์จับภาพแบบซีมอส (CMOS image capture) ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น Fast Auto-Focus, Low-Light Sensitivity และ Back-Illuminated Pixel Arrays และเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ การนำส่วนประมวลผลภาพ (vision processor) เข้ามาเพิ่มความสามารถใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในเซนเซอร์ชนิดนี้

 

          ยกตัวอย่างเช่น Omron Corporation ซึ่งได้พัฒนาโมดูลฮาร์ดแวร์ที่เรียกว่า Human Vision Component (HVC) module โดย HVC นั้นถูกมีพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2013 โดยการใช้อัลกอริทึมในการรู้จำใบหน้าที่เรียกว่า OKAO Vision ซึ่ง Omron พัฒนาขึ้น และทำให้ HVC สามารถใช้ข้อมูลภาพของส่วนต่างๆ บนใบหน้า การจ้องมองและการเคลื่อนไหวของดวงตา ในการรู้จำตัวบุคคล รวมทั้งสามารถคาดคะเน เพศ อายุ อารมณ์และความรู้สึก ได้ภายในเสี้ยววินาที (ดังตัวอย่างในรูปด้านล่าง) โมดูลที่ว่านี้มีขนาดเล็กและใช้งานได้ง่ายมาก โดยที่โมดูลจะมีพอร์ต UART ที่จะส่งข้อมูลของการตรวจจับใบหน้า (facial data) ออกมา ซึ่งนักพัฒนาสามารถจะนำข้อมูลจากพอร์ตดังกล่าวไปใช้งานต่อได้ในทันที

 

 

 

รูปที่ 1 HVC เป็นโมดูลที่ Omron Corporation พัฒนาขึ้นโดยมีส่วนประมวลผลภาพซึ่งจะทำงานบนอัลกอริทัมซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Omron และสามารถประมวลผลภาพและทำการรู้จำจากภาพใบหน้าได้ภายในเสี้ยววินาที

 

 

          OminiVision OV2744 เป็นเซนเซอร์จับภาพยุคใหม่อีกรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเซนเซอร์รุ่นนี้มีทั้งส่วนจับภาพที่ใช้เทคโนโลยี RGB-Ir ซึ่งสามารถจับภาพสีและภาพจากรังสีอินฟราเรดที่ความละเอียด 1080P และอัตรา 60 เฟรมภาพต่อวินาที และยังมีส่วนประมวลผลภาพ (image sensor processor) สำหรับการรู้จำใบหน้าอยู่ในเซนเซอร์รุ่นนี้อีกด้วย

 

 

 

รูปที่ 2 โครงสร้างภายในของ OV2744 เซนเซอร์จับภาพยุคใหม่ของ OminiVision ที่จะมาพร้อมกับความสามารถในการรู้จำใบหน้าด้วย

  

          เซนเซอร์เหล่านี้ในอนาคตจะถูกนำไปใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น ในระบบ ADAS (Advanced Driver Assistance System) โดยเซนเซอร์ที่ว่านี้จะถูกใช้ตรวจดูพฤติกรรมการขับขี่ที่อาจก่อให้เกิด อันตราย หรืออาการหลับในโดยการตรวจภาพใบหน้าของผู้ขับรถแบบเรียลไทม์, ในด้านการ แพทย์สามารถใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยของโรคออทิสติก อาการซึมเศร้า และการรักษาผู้ป่วยโรคความเครียด เป็นต้น

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด