PA & Sound / Light On Stage ; เรียนรู้และใช้งาน

Analog Mixer (09)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

“ มิกเซอร์ราคาถูกมักจะไม่ค่อยทนทาน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับเฟดเดอร์และลูกบิดอยู่บ่อยๆ รวมถึงคุณภาพไมค์ปรีเกรดไม่ดีนัก ”

 

 

... (เนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว..)

 

 

การเชื่อมต่อแบบทางเลือกพิเศษ ในภาพเป็นบอร์ด Behringer UB-1002

  

ทางเลือกการเชื่อมต่อแบบอื่น

 

          สำหรับเทคนิคการเชื่อมต่อสองทางผ่านบัส ALT, Direct Outs หรือ Inserts ในกรณีที่บอร์ดมิกเซอร์ของท่านไม่มีช่องสัญญาณดัง กล่าวจะแก้ปัญหาอย่างไร... ซึ่งแน่นอนมิกเซอร์ราคาถูกจะไม่มี alt/subgroups เรามาดูแนวทางการแก้ปัญหานี้กัน สำหรับแนวทางคือ เชื่อมต่อช่อง Send Outs (FX) จำนวนทั้ง 2 (ซึ่งหวังว่าบอร์ดท่านจะมีนะ) ตรงไปยังซาวด์การ์ด และนำสัญญาณเอาต์พุตจากซาวด์การ์ดต่อกลับมาเข้าที่แชนเนลใดๆ ที่เป็นไลน์อินพุต แน่นอนบางทีท่านต้องใช้อะแดปเตอร์สำหรับแปลงหัวสเตอริโอจาก 1/8 นิ้ว ที่เป็นสเตอริโอเอาต์ของซาวด์การ์ดโดยแยกให้ไปเข้าไลน์อินพุต ท่านต้องมีแจ็คมินิสเตอริโอเพื่อที่จะต่อให้มันเป็นโมโนคู่ บนแชนเนลไมค์ใดๆ เมื่อท่านต้องการบันทึก ให้ Send ไปยังแชนเนลนั้น เพื่อที่จะนำสัญญาณดังกล่าวส่งไปยังซาวด์การ์ด ในบางสถานการณ์ ท่านอาจจะต้องเซตค่ามอนิเตอริ่งของซอฟต์แวร์ให้มีค่าเป็น off ในระหว่างที่ทำการบันทึกเสียง สิ่งที่ควรจำ ถ้าท่านเจอปัญหาฟีดแบ็ก หากใช้กับ Tape อินพุตบนมิกเซอร์ ในส่วนนี้จะพบได้บ่อยๆ แนะนำว่าอย่าไปใช้กับมอนิเตอร์ที่เล่นพวกซินธ์ที่ใช้สัญญาณ MIDI มันเป็นเรื่องไม่ง่ายที่แก้ปัญหานี้ เพราะมิกเซอร์แต่ละตัวต่างมีความแตกต่างกัน จากประสบการณ์ก่อนที่ท่านจะทำอะไร ลองใช้หลายๆ แบบ พยายามทั้งช่อง Tape, Line ins, Aux Return พยายามปิด off ของซอฟต์แวร์ที่เป็นมอนิเตอริ่ง ถ้าทำทั้งหมดแล้ว คิดว่าน่าจะมีหนึ่งในวิธีทั้งหมดที่กล่าวไปที่มันเวิร์กแน่ๆ

 

 

Motu 828mk3 ด้านหน้าและหลัง

 

 

Behringer ADA8000

 

 

MOTU 24io

 

การเชื่อมต่อกับคอนโซลขนาดใหญ่

 

          การเชื่อมต่อแบบสองทางบนคอนโซลขนาดใหญ่ร่วมกับซอฟต์แวร์ DAW ผ่านออดิโออินเทอร์เฟซ ซึ่งในกรณีศึกษาเราจะใช้บอร์ดขนาด 24 แชนเนล 8 บัส พร้อมกับออดิโออินเทอร์เฟซขนาด 10x10 ซึ่งก็คือ MOTU 828mk3 กรณีนี้เป็นการเชื่อมต่อไม่ยาก กล่าวคือท่านสามารถใช้บัสเอาต์และเชื่อมต่อไปยัง 828 ซึ่งมี 8 ไลน์อินพุต แล้วจากนั้นให้ท่านเชื่อมต่อสัญญาณจากตัว 828 ฝั่งไลน์เอาต์ทั้ง 8 มาเข้าที่แชน เนล 1-8 ของมิกเซอร์ แนวทางนี้สามารถเชื่อมต่อได้กับทุกๆ แชนเนล ถ้าออดิโออินเทอร์เฟซท่านมีจำนวน I/O มากก็จะทำให้เชื่อมต่อสัญญาณได้มากเช่นกัน แล้วให้เลือกอินพุตซึ่งจะมีปุ่มอยู่แถวๆ เฟดเดอร์ของมิกเซอร์ หากท่านไม่อยากใช้ช่องสัญญาณบัส ท่านสามารถใช้ช่องอื่นคือ Direct outputs ถ้ามิกเซอร์ท่านมีหรือใช้ aux sends ก็ได้ ท่านจะเพิ่มอุปกรณ์อย่างเช่น Behringer ADA8000 แล้วเชื่อมต่อไปยัง 828mk3 บนตัวออดิโออินเทอร์เฟซ ตอนนี้ท่านจะได้ทั้งหมด 18 อินพุต และ 16 เอาต์พุต ในกรณีนี้ท่านสามารถควบรวมทุกบัส ทุก sends และ direct outs ส่งไปยัง DAW และสามารถที่จะใช้มอนิเตอร์ได้ทั้ง 16 เอาต์บนแชนเนลของ DAW บน aux returns หรือจะเป็น tape input

 

          ท่านจะสงสัยไอเดียนี้ว่ามันต้องเปะๆ ตามนั้นหรือไม่ ท่านจะทำได้สมบูรณ์ไหมหากมีจำนวนบัสถึง 8 ชุด แน่นอนคงไม่ใช่ ท่านสามารถใช้จำนวนบัส 4 ชุด หรือใช้เพียง 1 สเตอริโอบัส ต้องมี direct outs และ sends ซึ่งจะใช้เฉพาะในกรณีที่ไม่ต้องการบันทึกเสียงหลายๆ แทร็กพร้อมกันในคราวเดียว ซึ่งอาจจะเสียเวลามากกว่าการทำงานแบบบันทึกเสียงรวดเดียว 24 แทร็ก ดังนั้นจะต้องประเมินขนาดมิกเซอร์และออดิ โออินเทอร์เฟซเอง ว่าต้องใช้จำนวนแทร็กเท่าไหร่ สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงคือ ถ้าท่านมี MOTU 24io หมายถึงท่านจะมี 24 ins/24 outs ทันที ตรงนี้เมื่อท่านมีมิกเซอร์ขนาด 24 แชนเนล 8 บัส กับ Mix B ซึ่งตัว Mix B จะให้ท่านเชื่อมต่อได้ 2 อินพุตในแต่ละแชนเนล และมอนิเตอร์พร้อมกันในคราวเดียว เมื่อท่านรัน DAW ระดับ 24 เอาต์พุตไปยัง Mix B และมี Direct outs 24 ชุด ซึ่งมาจาก 24io หรือถ้าท่านต้องการใช้งานบัส จะต้องใช้ผ่าน group แชนเนล และ send ไปที่ DAW เป็นแบบสเตอริโอซับมิกซ์ ซึ่งเป็นอะไรที่เยี่ยมทีเดียว ข้อดีอย่างหนึ่งของการมีมิกเซอร์ระดับ 24 แชน เนล พร้อม Mix B และตัว 24io มันจะทำให้ท่านสามารถทำงานในสตูดิโอคล่องตัวขึ้น เมื่ออินพุตถูกเปิดและท่านต้องการกดปุ่มเพื่อบันทึก จาก นั้นสัญญาณก็จะวิ่งเข้าซอฟต์แวร์ DAW ของท่านทันที...

 

 

แผนผังการเชื่อมต่อแบบ Front end และ Back end

 

มิกเซอร์และคุณภาพ

 

          ทำไมมิกเซอร์จึงมีต้นทุนสูง แต่กลับให้ลูกเล่นไม่เยอะ บางท่านรู้สึกแบบนั้นจริง โดยทั่วไปมิกเซอร์ ท่านจ่ายเท่าไหร่ท่านได้แค่นั้น และท่านอย่าไปจ่ายมากๆ เพียงเพราะสเป็กของมัน เพราะคุณภาพของอุปกรณ์ นอกจากขึ้นอยู่กับวงจรที่ออกแบบแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอะไหล่ที่ใช้ประ กอบ ดังนั้นลืมสเป็กเครื่องไปบ้าง วัสดุที่ใช้ผลิต ค่าแรงงานที่โรงงานจ้างประกอบ ค่าโสยหุ้ยต่างๆ จำไว้ว่ามิกเซอร์จำนวนมากมันถูกขับเคลื่อนด้วยชิ้นส่วนอะไหล่ เหมือนกับชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ทำไมอะไหล่รถยุโรปแพงกว่ารถญี่ปุ่น ทั้งๆที่ สเป็กเครื่องไม่ว่าจะเป็นแรงม้า แรงอัด ก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก ถ้าท่านไปดูมิกเซอร์สักโหลนึง แล้วดูรูปลักษณ์ภายนอก อาจรู้สึกว่าโรงงานผลิตได้สุดยอดมาก โลหะดี พ่นสีสวย แต่ปรากฎว่ารา คาไม่แพงเลย อย่าเพิ่งแปลกใจเช็คเฮดรูมก่อนเลย และฟังเสียงถ้ามันมีอาการฮัมจี่ก็ต้องระวัง หรือเวลาอัดหนักๆ แล้วเกิดโอเวอร์โหลด พอลดเกนลงมาเสียงก็ยังแตกอยู่ ก็เป็นอันว่าไม่ผ่าน รวมถึงการเชื่อมต่อสาย หรือการปรับ EQ มันต้องตอบสนองมือเราได้ดี กล่าวคือ เราปรับย่านความถี่ใด เสียงจะต้องเปลี่ยนตาม ไม่ใช่ปรับบูสต์หรือคัตไปจนสุดก้านแต่เสียงยังอยู่ที่เดิม และการประมูลซื้อมิกเซอร์รุ่นเก่าๆ มือสองบนเว็บ ต้องระวัง ถ้ามีคนประกาศขายต้องไปฟังและตรวจเช็คด้วยตัวเองก่อน

 

          อย่างไรก็ดี คุณภาพเสียงของมิกเซอร์จำนวนมาก มักจะแปรผันตรงกับราคา กล่าวคือถ้าซื้อแพงก็จะได้ของดีไปใช้ ถ้าซื้อถูกก็จะได้ของไม่ค่อยดี แต่มีอยู่ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งก่อตั้งบริษัทที่เยอรมัน แล้วมีโรงงานตนเองประกอบของที่จีน ปัจจุบันยี่ห้อที่ว่านี้ ไล่เทคโอเวอร์สินค้าแบรนด์ชั้นนำมากมาย ปัจจุบันหลายคนเริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า คุณภาพสินค้ายี่ห้อนี้มันช่างคุ้มค่าเกินราคาจริงๆ ยี่ห้อนี่ชื่อว่า "Behringer" นั่นเอง หลายคนอาจจะร้องอ๋อ...!! ตั้งแต่บอกว่าบริษัทก่อตั้งอยู่เยอรมันละมั้ง ข้อมูลนักเล่นเครื่องเสียงในต่างประเทศให้การยอมรับว่า Behringer เป็นค่ายที่ผลิตมิกเซอร์มีราคาถูกกว่าคู่แข่ง โดยเทียบสเป็กที่ใกล้เคียงกันมีความคุ้มค่ากว่า สมมติว่าถ้าท่านจ่ายทุกๆ 100 บาท/ท่านได้มิกเซอร์ Behringer มาหนึ่งตัว แต่สเป็กเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ตัวสินค้าค่ายอื่น ท่านต้องจ่ายมากกว่า 100 บาท ลองไปเปิดราคาเทียบกันได้ ส่วนเรื่องคุณภาพสินค้าเป็นปัญหาโลกแตก เป็นเรื่องนานาจิตตัง ซึ่งท่านต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นว่า อย่าตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะสเป็กเพียงอย่างเดียว ควรจะฟังเสียงประกอบการตัดสินใจไปด้วย

 

          อย่างไรก็ดีมิกเซอร์ราคาถูกมักจะไม่ค่อยทนทาน จะมีปัญหาเกี่ยวกับเฟดเดอร์และลูกบิดอยู่บ่อยๆ หรือบางทีก็เกิดจากการที่บริษัทเจ้า ของแบรนด์ไปจ้างโรงงานอื่นประกอบเพื่อจ่ายค่าแรงถูกๆ แล้วควบคุมคุณภาพการผลิตไม่ได้ตามที่วิศวกรออกแบบเอาไว้ ซึ่งถ้าเปิดดูฝาเครื่องจะเห็นการออกแบบ การเชื่อมต่อสายสัญญาณแตกต่างกัน ระหว่างบอร์ดรุ่นใหญ่ราคาสูงๆ กั บบอร์ดที่ราคาถูกๆ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องยากที่จะขอตรวจสอบเรื่องพวกนี้ก่อนจะซื้ออุปกรณ์ ยิ่งกว่านั้นการซื้อสินค้าที่ไม่คงทนจะมีปัญหาเรื่องซ่อมบำรุงตามมา ซึ่งเผลอๆ กลับกลายเป็นว่า ซื้อของถูกแต่ค่าซ่อม (สะสม) แพง เพราะยกไปซ่อมบ่อยไงครับ.. (ฮา) นอกจากนั้น การที่สินค้าจะถูกจะแพง ปัจจัยหนึ่งที่มีผลไม่น้อย คือภาคปรีแอมป์หรือไมค์ปรี ซึ่งปรีแอมป์จะเป็นวงจรที่ช่วยขยายสัญญาณให้มีความดังมากขึ้น และยังช่วยปรับปรุงสัญญาณให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งในทางเทคนิคช่องไลน์จะไม่ค่อยได้ประโยชน์จากตรงนี้

 

          เมื่อบอร์ดใช้ปรีแอมป์ไมค์ราคาถูก สัญญาณที่ได้ก็จะไม่สมบูรณ์นัก ถ้าหากนำไปใช้กับพวกซินธิไซเซอร์ ซึ่งปกติจะอาศัยการเชื่อมต่อที่ช่องไลน์อินพุต ท่านไม่ต้องสนใจเรื่องคุณภาพของไมค์ปรี แต่เมื่อไหร่ที่ท่านเน้นการบันทึกเสียงแบบอคูสติกผ่านไมโครโฟน ท่านจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของไมค์ปรีเป็นอันดับแรก มิกเซอร์ Mackie เป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากเป็นบอร์ดที่มีราคาสูง แต่ผลิตสินค้าด้วยไอเดียเหมือนสร้างรถถัง ให้เสียงยอดเยี่ยม ตอบสนองการทำงานดี เพราะมีภาคปรีแอมป์อย่าง XDR เป็นแกนหลัก ซึ่งไม่ต้องห่วงในเรื่องคุณภาพเสียง ท่านอาจจะคิดว่าบอร์ดราคาถูก ปรีแอมป์ไม่ดี นั่นนี่ อย่างไรก็ตาม มีคนไม่น้อยยอมซื้อบอร์ดเหล่านั้นมาใช้งาน เพราะมืออาชีพหลายคนซึ่งทำ งานในสตูดิโอเลือกที่จะใช้ปรีแอมป์นอกบอร์ดมิกเซอร์ โดยบายพาสปรีแอมป์ของมิกเซอร์ไปเลย

 

 

TotalMix ของ RME

 

 

MixControl ของ Focusrite

 

          ใครบ้างที่ต้องการมิกเซอร์... (1) สตูดิโอขนาดเล็ก ที่ต้องการลดต้นทุนในการสร้างงาน พวกเขาต้องใช้มิกเซอร์เพื่อนำสัญญาณดัง กล่าวไปบันทึกเสียง โดยบางครั้งอาจจะใช้ซาวด์การ์ดคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะมีจำนวนอินพุต/เอาต์ไม่มาก... (2) สตูดิโอขนาดใหญ่ พวกเขาต้องการมิกเซอร์ขนาดใหญ่ ไว้เชื่อมต่อกับซินธิไซเซอร์ ไมโครโฟน หรือต้องการคุณภาพจากเอาต์บอร์ด เช่น พวกรีเวิร์บ ดีเลย์ คอมเพรสเซอร์ เอ็นจิเนียร์มักจะต้องเราท์ติ้งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์ หรือใช้อุปกรณ์บันทึกเสียงแบบสแตนอโลน บทบาทของมิกเซอร์ยังไม่จบเพียงเท่านี้ หน้าที่ของมิกเซอร์จะถูกเซตเอาไว้สองลักษณะคือทำเป็น Front End กับ Back End ท่านสามารถติดตั้งบอร์ดชุดนึงไว้ใช้งานร่วมกับออดิโออิน เทอร์เฟซ โดย Front End เป็นบอร์ดที่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สัญญาณที่ให้แหล่งกำเนิดหลายๆ ประเภท อาทิ ไมค์ ซินธ์ กีตาร์ เบส ฯลฯ ไปยังออดิโออินเทอร์เฟซที่ท่านต้องการบันทึก สำหรับตำแหน่ง Front End เป็นจุดที่เชื่อมกับออดิโออินเทอร์เฟซ มันจะรับสัญญาณจากตัวมันเอง และให้ผู้ใช้เลือกที่จะส่งสัญญาณอะนาลอกเอาต์พุตไปยังส่วนอื่นๆ ได้หลากหลาย มิกเซอร์ทั้งหมดไม่ได้เป็น Front End และ Back End ในตัวเดียว กัน เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้มันทำงานทั้งสองแบบในตัวเดียว แน่นอนท่านสามารถใช้อุปกรณ์หนึ่งที่เป็นมิกซ์แต่ไม่ได้เป็นมิกเซอร์ (“งง” ไหมล่ะ) เพื่อเชื่อมต่อกับออดิโออินเทอร์เฟซ... ถ้าท่านสนใจ ต้องติดตามอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง Control Surface และเรื่องออดิโออินเทอร์เฟซ

 

          บางท่านอาจยังไม่เข้าใจว่ามิกเซอร์ตัวไหนทำหน้าที่เป็น Front end หรือเป็น Back End อันที่จริงตามที่กล่าวไปแล้ว มิกเซอร์บางตัวสามารถนำไปใช้เป็นทั้ง Front end และ Back end ได้ มิกเซอร์ที่ถูกเซตเป็น Front end ลักษณะการเชื่อมต่อของสัญญาณจะออกมาในลักษณะนี้... (1) เชื่อมต่อสัญญาณเครื่องดนตรีหรือไมโครโฟน เข้าไปที่มิกเซอร์ตัวนั้น... (2) ส่งสัญญาณเอาต์พุตจากบอร์ดไปเข้าอินพุตของออดิ โออินเทอร์เฟซ... (3) นำสัญญาณเข้าสู่ซอฟต์แวร์ DAW บนคอมพิวเตอร์... หากท่านเชื่อมต่อการทำงานในลักษณะนี้ เราจะเรียกมิกเซอร์ตัวนั้นว่า กำลังทำหน้าที่เป็น Front end และในกรณีที่มิกเซอร์ทำหน้าที่เป็น Back end จะทำการเชื่อมต่อสัญญาณในลักษณะดังนี้... (1) เชื่อมต่อสัญญาณเอาต์พุตจากซอฟต์แวร์ DAW ผ่านช่องเอาต์พุตออดิอินเทอร์เฟซ ไปยังไลน์อินพุตของมิกเซอร์... (2) แล้วต่อสัญญาณดังกล่าวผ่านช่องเอา ต์พุตคอนโทรลรูมไปสู่มอนิเตอร์ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เรียกว่า Back end

 

 

dspMixFx ของ Steinberg

 

 

CueMix DSP ของ Motu

 

          ใครไม่จำเป็นต้องใช้มิกเซอร์... (1) ผู้ที่ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ตัวเดียว ไม่จำเป็นต้องผสมสัญญาณมากกว่า 2 แหล่ง... (2) ผู้ที่ต้องการสัญญาณทั้งหมดที่ถูกรวมไว้ในเทอมของดิจิตอลโดเมน... (3) ผู้ที่มีคอมพิวเตอร์เร็วดั่งจรวด ซึ่งใช้ปลั๊กอิน VSTi จำนวนมากหรือมีจำนวนของอินพุต/เอาต์พุตบนออดิโออินเทอร์เฟซมากพอ และไม่จำเป็นต้องรับสัญญาณจากมิกเซอร์ หรือควบคุมมอนิเตอร์ เพราะออดิโออินเทอร์เฟซมีฟังก์ชันพื้นฐาน และออดิโออินเทอร์เฟซมีซอฟต์แวร์มิกเซอร์มาให้ อาทิ TotalMix ของ RME, MixControl ของ Focusrite, dspMixFx ของ Steinberg, CueMix DSP ของ Motu,  Console ของ UAD โดยแต่ละตัวได้จำลองการทำงานของมิกเซอร์จริงๆ ได้เกือบทุกฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นเฟดเดอร์ควบคุมความดังของอินพุตแต่ละแชนเนล ลูกบิด Pan ลูกบิด Aux ลูกบิดปรับค่า EQ และช่องใส่ Inserts เอฟเฟ็กต์ รวมถึงลูกบิด Trim สำหรับตั้งเกนของอินพุต ปุ่มเปิด/ปิดแพนทอมเพาเวอร์ ปุ่ม solo/mute พร้อมกับเฟดเดอร์คุมมาสเตอร์เอาต์พุต และชุดควบคุมคอนโทรลรูม อย่างครบถ้วน บางค่ายจะแบ่งโซนการควบคุมตามชนิดอินพุตและเอาต์พุตของออดิโออินเทอร์เฟซได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ใช้กำหนดเราท์ติ้งสัญญาณเองได้สะดวก อาทิ แชนเนลคุมอะนาลอกอินพุต แชนเนลคุม ADAT หรือ Group Buses ต่างๆ สำหรับรายละเอียดลึกๆ ต้องศึกษาจากคู่มือของอุปกรณ์รุ่นนั้นๆ...

 

 

Console ของ UAD

  

... (โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป..)...

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด