เนื้อหาวันที่ : 2018-05-23 11:00:13 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2081 views

เอปสันเปิดตัวเครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล SurePress ครั้งแรก ในอาเซียน เน้นเสริมแกร่งธุรกิจโรงพิมพ์ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และโรงงานอุตสาหกรรม

เครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล SurePress L-4533AW

เอปสัน ประเทศไทย เปิดตัว เครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัลรุ่น Epson SurePress L-4533AW เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในงาน LabelExpo Southeast Asia 2018 ชูคุณภาพงานพิมพ์ระดับสูง ต้นทุนสุดประหยัด และสามารถรองรับวัสดุได้หลากหลายชนิด ช่วยสนับสนุนการ ขยายไลน์ธุรกิจในโรงพิมพ์ระบบอนาล็อกและธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังรองรับการปฏิบัติงานของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตสินค้าในกลุ่มอุปโภค-บริโภค ยา เคมีภัณฑ์ และสินค้าเพื่อสุขภาพ

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการด้านการขายและการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “งาน LabelExpo Southeast Asia 2018 ที่จัดขึ้นระหว่าง 10-12 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและงานประชุมไบเทค เป็นงานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์ฉลากสินค้าและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปีนี้ได้มาจัดในไทยเป็นครั้งแรก มียักษ์ใหญ่เจ้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก ทั้งจากยุโรป อเมริกา และเอเชียเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและการเติบโตของ อุตสาหกรรมการพิมพ์ฉลากของโลก” 

“สำหรับงานครั้งนี้ เอปสันได้นำเครื่องพิมพ์ฉลากเพื่ออุตสาหกรรมมาจัดแสดงรวม 3 โซลูชั่น ประกอบด้วย Epson ColorWorks C7510G เครื่องพิมพ์ฉลากสีสำหรับงานอุตสาหกรรมรุ่นแรกของเอปสัน  ที่ใช้เทคโนโลยี PrecisionCoreTM สามารถพิมพ์งานคุณภาพสูง โดยมีความละเอียดอยู่ที่ 1200x600 dpi และพิมพ์ได้เร็วถึง 300 มิลลิเมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดสำหรับเครื่องพิมพ์ประเภทเดียวกัน ทั้งยังรองรับงานได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นฉลากอุตสาหกรรมสาร เคมี ยา หรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ”

“ต่อมาคือรุ่น Epson LabelWorks LW-Z900FK เครื่องพิมพ์ฉลากรุ่นแรกของโลก ที่สามารถพิมพ์ฉลากความละเอียดสูงได้ที่ความเร็ว 35 มิลลิเมตรต่อวินาที พิมพ์งานจำนวนมากได้ต่อเนื่อง ถือว่าเป็นโซลูชั่นแห่งอนาคต สำหรับการผลิตฉลากอุตสาหกรรม รับประกันด้วยรางวัล iF Design Awards 2016 จากคุณสมบัติอันโดดเด่น มีฟังก์ชั่นครบตอบรับกับความต้องการใช้งานจริง  การออกแบบเน้นให้สามารถใช้งานได้สะดวกง่ายดาย และมี ฟังก์ชั่นกรอเทปส่วนเกินกลับอัตโนมัติ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง”

นายยรรยง กล่าวเสริมว่า “สำหรับไฮไลท์ในงานครั้งนี้อยู่ที่การเปิดตัวเครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัลรุ่น Epson SurePress L-4533AW เครื่องพิมพ์ฉลากคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการฉลากในกลุ่มอุตสาหกรรม  รองรับการพิมพ์ลงบนผิววัสดุที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มใส วัสดุทึบแสง ฟอยล์ หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีความกว้าง ตั้งแต่ 3.15-13 นิ้ว และความบางไม่ต่ำกว่า 0.00314 นิ้ว  เครื่องพิมพ์รุ่นนี้ใช้ชุดหมึกพิพม์ 7 สี ที่ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบหลัก จึงสร้างสรรค์สีได้หลากหลาย ให้สีสันที่สดใส ผสมสีได้อย่างแม่นยำ รวมถึงสีเฉพาะอีกด้วย

L-4533AW ใช้ชุดหัวพิมพ์ Micro Piezo ทำให้สามารถควบคุมการปล่อยหมึกได้อย่างแม่นยำ สม่ำเสมอ และ มีรูปทรงที่ถูกต้อง  ให้ภาพที่มีคุณภาพคมชัดสูงสุด ทั้งยังมีระบบเป่าแห้ง 2 ขั้นตอน และหมึกพิมพ์ยังถูกเคลือบด้วยเรซิ่น จึงมั่นใจได้ว่าหมึกพิมพ์จะยึดติดแน่นกับพื้นผิวฉลากและมีความมันวาว ช่วยป้องกันฉลากพิมพ์จากน้ำ แสง และรอยขีดข่วน สำหรับฉลากที่ทำจากวัสดุเกือบทุกประเภท”

                                                                                              

L-4533AW ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการพิมพ์ฉลาก สามารถพิมพ์ งานต่อเนื่องได้นานถึง 8 ชั่วโมง ผู้ใช้สามารถพิมพ์ฉลากที่หลากหลายขั้นตอนได้เพียงแค่กดปุ่มเดียว ช่วยประหยัด เวลาและค่าใช้จ่ายด้วยรอบการบำรุงรักษาที่ยาวนานกว่าเครื่องพิมพ์อื่นๆ รวมถึงความง่ายในการดูแลรักษา เช่น ระบบเปลี่ยนตลับหมึกที่รวดเร็วง่ายดายโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์  พร้อมระบบบำรุงรักษาหัวพิมพ์ อัตโนมัติ”

“L-4533AW จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับโรงพิมพ์ที่ใช้ระบบอนาล็อกหรือธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน ที่ต้องการ ขยายไลน์ธุรกิจรับพิมพ์แบบออนดีมานด์ เพื่อให้บริการธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เจ้าของธุรกิจ สามารถเลือกสั่งพิมพ์ฉลากดีไซน์ต่าง ๆ ในคุณภาพและบนวัสดุที่แตกต่างจากการพิมพ์แบบอนาล็อก ทั้งยัง สามารถเลือกพิมพ์ในจำนวนที่มากหรือน้อยตามความต้องการ ไม่ต้องสต็อกฉลากในปริมาณมากอีกต่อไป ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค ยา เคมีภัณฑ์ หรือสินค้าเพื่อสุขภาพ

ก็สามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ ที่ใช้พิมพ์ฉลากเหมาะกับปริมาณและประเภทสินค้าที่ผลิตและมาตรฐานที่กำหนดในอุตสาหกรรมของตน” นายยรรยง กล่าวสรุป