เนื้อหาวันที่ : 2018-03-13 17:14:06 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2107 views

โนเกียเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่ายรองรับ 5G ในงาน Mobile World Congress 2018

บรรยากาศภายในบูธของโนเกียที่ได้รับความสนใจและมีผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก

กระแสการใช้งานเครือข่าย 5G ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลกกำลังจะเริ่มทดลองให้บริการ 5G ในปี 2561 คาดว่าจะมีการเปิดตัวเครือข่ายเต็มรูปแบบในปี 2562  โนเกียได้แสดงความพร้อมสำหรับเครือข่าย 5G ด้วยการนำนวัตกรรมไปแสดงใน Mobile World Congress (MWC) 2018 ซึ่งมีส่วนที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่

ชิปเซต ReefShark ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงมากในเครือข่าย 5G โดยการเพิ่มปริมาณงาน (Throughput) ของเซลล์ไซต์ได้ถึง ใน ลดขนาดเสาอากาศ MIMO ที่เดิมมีขนาดใหญ่และใช้พลังงานมาก ชิปเซตดังกล่าวฝังขีดความสามารถของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรคลื่นวิทยุ รองรับเครือข่ายแยกส่วน (Network Slicing) รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม AirScale ระดับเทราบิต ซึ่ง Airscale เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G แบบครบวงจรของโนเกีย ปัจจุบันโนเกียกำลังทดสอบชิปเซต ReefShark กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำนวน 30 ราย
สถาปัตยกรรมเครือข่าย Future X สำหรับ 5G ที่ให้ประสิทธิภาพเครือข่ายที่ล้ำยุคและช่วยลดต้นทุน
‑ Future X ผสาน 5G New Radio ความจุสูงเข้ากับ Core และตัวนำสัญญาณ 'Anyhaul' ที่ควบคุมด้วย SDN (Software-Defined Networking) เพื่อให้บริการเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่สมบูรณ์แบบ
‑ สถาปัตยกรรมเครือข่ายและชิปเซต ReefShark ให้ขีดความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพที่เหนือชั้นกว่า โดยเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของเทคโนโลยี RAN ปัจจุบันของโนเกียซึ่งเป็นเทคโนโลยีผู้นำตลาดในขณะนี้
‑ ระบบอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) แบบเปิดของโนเกียช่วยประหยัดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 30%
ปัจจุบันโนเกียทำงานร่วมกับผู้ให้บริการหลายรายเพื่อทำให้ 5G เป็นจริงได้ในเชิงพาณิชย์ เพียง 2 เดือนแรกของปี 2018 โนเกียได้ประกาศโครงการความร่วมมือในด้าน 5G กว่า 10 โครงการร่วมกับผู้ให้บริการ อาทิ ข้อตกลงในการจัดหาอุปกรณ์ 5G ให้กับ NTT DOCOMO เพื่อรองรับการเปิดตัวบริการ 5G เชิงพาณิชย์ (คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายยุคดิจิทัล ช่วยให้เครือข่ายการสื่อสารได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามทั้งหมดอย่างเพียงพอ มีการป้องกัน การตรวจหา และการตอบสนองต่อการโจมตี รวมถึงการกู้คืนระบบ ผู้ให้บริการสามารถให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Managed Security แก่ลูกค้าองค์กรภายใต้แบรนด์ของตนเอง เป็นการร่นระยะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ในตลาดการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายสำหรับองค์กร ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

บริการและเทคโนโลยีที่ช่วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมตอบสนองความต้องการของเมืองดิจิทัล ได้แก่
‑ IoT สำหรับ Smart Cities ของโนเกียเป็นเฟรมเวิร์กแบบโมดูล ปรับขนาดได้และครบวงจรเพื่อให้บริการและจัดการบริการต่าง ๆ ของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบกล้องวงจรปิด แสงสว่าง ที่จอดรถ การจัดการขยะ และการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม
‑ Sensing as a Service ซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ให้ขีดความสามารถในการวิเคราะห์อัจฉริยะเกี่ยวกับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้ให้บริการสามารถเสนอขายให้กับเมืองหรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบได้
‑ S-MVNO (Secure Mobile Virtual Network Operator) เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย LTE ด้วยบริการบรอดแบนด์สำหรับหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะ สร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้แก่ผู้ให้บริการ
การเพิ่มประสิทธิภาพของโซลูชัน Wi-Fi แบบใช้ได้ในบ้านทั้งหลัง (Whole-home) สำหรับผู้ให้บริการเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้บริการเครือข่ายที่ชาญฉลาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น โนเกียเพิ่มประสิทธิภาพหลายด้านของโซลูชัน Wi-Fi สำหรับใช้งานในบ้าน ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการเครือข่าย โซลูชัน Wi-Fi ใหม่นี้ได้เพิ่ม Wi-Fi เกตเวย์ที่เชื่อมต่อแบบเมช (Mesh) และบีคอน ทำให้ผู้ให้บริการมี Wi-Fi Home Portal ใหม่ไว้ให้บริการ นำเสนอแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับผู้ใช้ มีฟังก์ชันของซอฟต์แวร์และเครื่องมือวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่ช่วยยกระดับระบบเครือข่ายอัจฉริยะ
การทำงานร่วมกันกับเฟซบุ๊กเพื่อขยายระบบนิเวศสำหรับ Fixed Wireless Access บนย่านความถี่ 60 GHz โนเกียและเฟซบุ๊กกำลังเร่งนำเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูง 60 GHz แบบ Fixed Wireless Access เพื่อนำเสนอบริการสื่อสารระดับกิกะบิตเพื่อเชื่อมต่อผู้คนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ย่านความถี่ 60 GHz ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อบรอดแบนด์ความเร็วสูงในเขตเมืองหรือชานเมืองได้ โดยโนเกียจะผสานความสามารถในการนำเสนอบริการที่ครอบคลุมทั่วโลกและเครือข่าย Wireless Passive Optical Network (WPON) กับเทคโนโลยี Terragraph ของเฟซบุ๊กเพื่อเริ่มทดลองให้บริการบรอดแบนด์ระดับกิกะบิตในปี 2018 (เริ่มที่ลูกค้าบางราย)
ความร่วมมือกับเครือข่ายโวดาโฟน (Vodaphone) เพื่อนำ 4G ไปยังดวงจันทร์ โวดาโฟน เยอรมนี ได้แต่งตั้งให้โนเกียเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเครือข่ายมาตรฐานบนยานอวกาศขนาดกะทัดรัด (Ultra Compact Network) ซึ่งมีน้ำหนักเทียบเท่ากับถุงใส่น้ำตาล (น้อยกว่า กิโลกรัม) เพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดสดวิดีโอคุณภาพระดับเอชดีสำหรับภารกิจ Mission to the Moon ในปี 2562
แนวคิด “Conscious Factory in a Box” ให้โซลูชันที่ตอบสนองต่อความต้องการของ Industry 4.0 โนเกียและอีก 12 องค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เปิดเผย “Conscious Factory in a Box” โดยนำแนวคิดที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างสายการผลิตอิเล็กทรอนิกส์สายเดี่ยวโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ผลิตสินค้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ต้องการได้ ความร่วมมือนี้ได้ถูกขับเคลื่อนโดยความเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไว้ในอุตสาหกรรมสายการผลิตที่ถูกกระตุ้นโดย Industry 4.0 ประกอบด้วยโซลูชันที่มีระบบคลาวด์เป็นพื้นฐาน หุ่นยนต์ และโซลูชันไอโอทีเพื่อการผลิตอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการความคล่องตัวสูงและความยืดหยุ่นจากผู้ผลิต

นายเซบาสเตียน โลรองท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและกัมพูชา โนเกีย กล่าวว่า ภายในงาน Mobile World Congress 2018 บูธของโนเกียได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้ร่วมงานชาวไทย ซึ่งได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโซลูชันที่เหมาะสมต่อการพัฒนาให้เกิดสมาร์ท ซิตี้ (Smart City) สมาร์ท เฮลธ์ (Smart Health) และสมาร์ท อินดัสทรี่ (Smart Industry) ขึ้นในประเทศไทย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย 4.0 โดยโนเกียได้นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) มาใช้ในหลาย ๆ โซลูชัน โนเกียเป็นผู้นำระดับโลกเพียงรายเดียวที่นำเสนอระบบเครือข่ายและบริการแบบครบวงจร เป็นเหตุผลที่ทำให้เรามีความพร้อมที่สุดในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0"