Key Words :

จำหน่าย,ขาย,รับตัดเหล็ก,เหล็กตัดแก๊ส,รับตัดเหล็ก,ร้านรับตัดเหล็กขาย,เหล็กตัดเลเซอร์,เหล็กตัดตามแบบ

ข้อมูลสินค้าที่ลงประกาศ

ประกาศ:
ขาย
หมายเลขประกาศ:
P441511039965
ราคา:
ติดต่อสอบถาม
ผู้ประกาศ:
philip
สภาพสินค้า:
ใหม่
ช่วงเวลา:
2015-11-03 23:50:04
จำนวนผู้เข้าชม:
2393 ครั้ง
ไอพีผู้ประกาศ:
1.10.201.55
ที่อยู่สินค้า:
234/7 หมู่ 7
จังหวัด:
สมุทรปราการ
อีเมล์:
asianplussupply@hotmail.com
ติดต่อ:
234/7 หมู่ 7

รายละเอียดของสินค้า

ตัดเหล็ก,เหล็กตัดแก๊ส,รับตัดเหล็ก,ร้านรับตัดเหล็กขาย,เหล็กตัดเลเซอร์,เหล็กตัดตามแบบ การตัดโลหะด้วยแก๊ส การตัดงานโลหะด้วยแก๊ส สามารถตัดได้ 2 วิธี 1. แบบตัดด้วยมือ (Manual Cutting) 2. แบบใช้เครื่องตัด (Machine Cutting) การตัดด้วยมือและการตัดโลหะด้วยแก๊ส 1. เป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด คือ ให้จุดกึ่งกลางของเปลวไฟ Preheat อยู่ที่ขอบของชิ้นงาน และให้ฐานของเปลวไฟอยู่เหนือชิ้นงาน 1.5 – 3 มม. จนเมื่อขอบด้านบนของชิ้นงานมีสีเหลืองแดง จะเริ่มทำการเปิดวาล์วของออกซิเจนที่ใช้ในการตัดและเริ่มทำการตัด 2. ให้ขอบของชิ้นงานอยู่ที่กึ่งกลางเปลวไฟ โดยที่วาล์วออกซิเจนที่ใช้ตัดถูกเปิดไว้แล้ว เมื่อโลหะมีสีเหลืองแดงจะเริ่มทำการเปิดตัด วิธีนี้จะทำให้สิ้นเปลืองออกซิเจนและเริ่มทำการตัดได้ยากกว่าวิธีแรก วิธีนี้ใช้ตัดวัสดุที่บาง ๆ โดยจะใช้เวลาในการ Preheat สั้น 3. ให้ปลายของหัวตัดอยู่เหนือวัสดุที่จะทำการตัด และให้ทำการ Preheat จนชิ้นงานมีค่าอุณหภูมิถึงจุด Kindling Temperature จากนั้นโลหะที่หลอมเหลวจะถูกเป่าออกไปโดยออกซิเจน วิธีนี้จะมีข้อดีคือให้ขอบชิ้นงานที่ตัดเรียบในขณะที่เริ่มทำการตัด ในขณะทำการตัดแก๊สควรให้หัวตัดมีการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ และผู้ตัดควรรักษาระยะระหว่างหัวตัดกับชิ้นงานให้คงที่ ในกรณีที่แผ่นโลหะมีความหนาตั้งแต่ 0.5 นิ้ว ขึ้นไป ควรให้หัวตัดตั้งฉากกับชิ้นงาน และกรณีที่แผ่นโลหะบางสามารถเอียงหัวตัดในขณะตัดได้ เครื่องตัดแก๊สระบบซีเอ็นซี การตัดโดยใช้เครื่อง การเริ่มตัดชิ้นงานจนสิ้นสุดกระบวนการตัดชิ้นงานจะมีลักษณะเหมือนกับการตัดด้วยมือ อย่างไรก็ตามควรมีการตั้งค่าพารามิตเตอร์ต่างๆ ให้ถูกต้องมากขึ้นด้วย ในกรณีที่ทำการตัดด้วยความเร็วสูงและต้องการคุณภาพของรอยตัดที่ดี ซึ่งเราสามารถเลือกขนาดของปลายหัวตัดที่ใช้สำหรับตัดโลหะที่ความหนาต่าง ๆ กันได้จากตารางที่ผู้ผลิตให้มา นอกจากนั้นยังมีค่าจากพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น เชื้อเพลิงที่เริ่มใช้ , ความดันของออกซิเจน ,ความเร็วในการตัด แนะนำไว้ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นการปรับตั้ง Regulator ก็มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของการตัดด้วยเช่นกัน กรรมวิธีการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีน ( OXY ACETYLENE WELDING : OAW ) เป็นกรรมวิธีการเชื่อมโลหะแบบหลอมเหลว โดยใช้ความร้อนจาก เชื้อเพลิงซึ่งเป็นแก๊สผสมระหว่างแก๊สอะเซทิลีนกับแก๊สออกซิเจนบริสุทธิ์เปลวไฟจากการ เผาไหม้จะเกิดความร้อนในปริมาณสูง ทำให้ชิ้นงานหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยที่ลวดเชื่อมจะเติมหรือไม่เติมก็ได้ขึ้นอยู่กับความหนาของงานและชนิดของรอยต่อ ดังแสดงในรูปที่ 19 และ 2 1.1 ชนิดของแก๊สเชื้อเพลิงและค่าความร้อนสูงสุด แก๊สเชื้อเพลิงมีหลายชนิดถ้าผสมกับออกซิเจนแล้วจะให้ความร้อนที่สูงขึ้นกว่าการเผาไหม้ปกติ สำหรับในอุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สนั้นแก๊สสมระหว่าง แก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีน เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะให้ค่าความร้อนสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น 1.2เปลวไฟในการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีน การเชื่อมแก๊สเป็นกรรมวิธีการเชื่อมโลหะที่ใช้กันมานาน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมกันแพร่หลาย ความร้อนจากการเผาไหม้ระหว่างแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีน ให้เปลวไฟที่มีความร้อนสูงประมาณ 6,300 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,480 องศาเซลเซียส เพียงพอที่จะทำให้โลหะแต่ละชนิดหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเย็นตัวลงโลหะสองชิ้นจะติดกันมีความแข็งแรงเท่ากับหรือมากกว่าเนื้อโลหะเดิม เปลวไฟที่ใช้สำหรับเชื่อมจะมีองค์ประกอบ ดังนี้ สมบัติของเปลวไฟ เปลวไฟที่ใช้ในการเชื่อมโลหะด้วยแก๊สออกซีอะเซทิลีนจะต้องมี สมบัติดังนี้ - มีอุณหภูมิสูงเพียงพอที่จะหลอมละลายชิ้นงาน - มีปริมาณความร้อนเพียงพอเมื่อต้องการ - ต้องไม่มีสิ่งสกปรกจากเปลวไฟ หรือนำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามารวมตัวกับเนื้อโลหะที่หลอมละลาย - เปลวไฟต้องไม่เพิ่มธาตุคาร์บอนลงในเนื้อโลหะซึ่งจะทำให้ คุณสมบัติของโลหะเปลี่ยนไป - เปลวไฟต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในทางเคมี ชนิดของเปลวไฟ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับโลหะงานแต่ละชนิด เปลวไฟในการเชื่อม จึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้ - เปลวลดหรือเปลวคาร์บอนมาก ( Caburizing Flame ) เป็นเปลวที่ได้จากการเผาไหม้ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนผสมกัน โดยมีปริมาณของแก๊สอะเซทิลีนมากกว่าแก๊สออกซิเจน เปลวชั้นนอก มีลักษณะเป็นเปลวยาวมีสีส้มล้อมรอบเปลวชั้นใน ซึ่งมีความยาวครึ่งหนึ่งของเปลวชั้นนอก เปลวชั้นในจะมีลักษณะพริ้วเหมือนขนนก ในระยะที่ห่างจากกรวยไฟประมาณ 3 มม. จะมีอุณหภูมิ 5,700 องศาฟาเรนไฮต์ ( 2,800 0C ) การเผาไหม้จะมีแก๊สอะเซทิลีนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง จึง เหมาะสำหรับเชื่อมงานที่ต้องการเติมคาร์บอนที่ผิวโลหะ หรือเชื่อมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิในการหลอมไม่สูงมากนัก เช่นอะลูมิเนียม แมกนีเซียม และใช้ในการบัดกรีแข็ง เปลวกลาง ( Neutral Flame ) เป็นเปลวที่ได้มาจากการผสมกันระหว่างแก๊สออกซิเจนกับอะเซทิลีนในอัตราส่วน 1:1 การเผาไหม้สมบูรณ์ ประกอบด้วยเปลวไฟ 2 ชั้น ชั้นในเป็นกรวยปลายม ระยะห่างจากปลายกรวยประมาณ 3 มม. จะมีอุณหภูมิประมาณ 6,000 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,150 องศาเซลเซียส (3,150 0C) เมื่อนำ เปลวไฟนี้ไปเผาโลหะที่เป็นเหล็กจะหลอมละลายเป็นบ่อน้ำโลหะคล้ายน้ำเชื่อมเมื่อเย็นลงจะได้แนวเชื่อมที่สะอาดมีความแข็งแรง เปลวไฟชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมและตัดโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก เนื่องจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จึงไม่เกิดการเติมธาตุคาร์บอนลงในรอยเชื่อม เปลวเพิ่มหรือเปลวออกซิเจนมาก (Oxidizing Flame) เป็นเปลวไฟที่ได้มาจากการผสมกันระหว่างแก๊สออกซิเจนกับแก๊สอะเซทิลีนโดยปรับให้ออกซิเจนมากกว่าอะเซทิลีน ลักษณะเปลวมี 2 ชั้น เปลวชั้นในเป็นรูปกรวยแหลมหดสั้น เปลวนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าเปลวอีก 2 ชนิด ที่กล่าวมาคือ มีอุณหภูมิประมาณ 6,300 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 3,480 องศาเซลเซียส เมื่อทำการเชื่อมจะเกิดประกายไฟหรือสะเก็ดไฟกระเด็นออกมาจากบ่อหลอมเหลว ทำให้เกิดฟองอากาศไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เชื่อมเหล็ก เพราะการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่และจะถูกเติมลงในเนื้อเหล็ก ทำให้แนวเชื่อมเปราะ แต่นิยมนำไปใช้ในการตัดโลหะแผ่นบาง ประเภทของเหล็กแผ่น เหล็กแผ่นโดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการรีดด้วยลูดรีดเพื่อให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ หากแบ่งประเภทของเหล็กแผ่นตามรูปร่าง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ -เหล็กแผ่นม้วน -เหล็กแผ่นหนา 1. เหล็กแผ่นม้วน จะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –12 มม. ซึ่งยังแบ่งตามลักษณะการผลิตออกเป็น -เหล็กแผ่นรีดร้อน จะมีความหนาตั้งแต่ 1.0 –12 มม.หรือภาษาตลาดเรียกว่าเหล็กแผ่นดำ เพราะมีผิวสีดำเนื่องจากต้องรีดที่อุณหภูมิกว่า 700 องศาเซนติเกรด โดยมากมักใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนในงานท่อ งานถังแก๊ส งานโครงสร้าง งานขึ้นรูปทั่วไปที่ไม่เน้นคุณภาพผิวและเป็นการขึ้นรูปไม่ลึกมาก เหล็กแผ่นรีดร้อนยังมีชนิดที่ผ่านการล้างผิวด้วยกรดเพื่อขจัดสนิมที่เกิดในการรีดร้อนออก หรือที่เรียกว่าเหล็กPO(Pickling and oil) เพื่อสามารถทำสีแล้วผิวจะสวยและทนทานกว่า -เหล็กแผ่นรีดเย็น จะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –3.2 มม.หรือภาษาตลาดเรียกว่าเหล็กแผ่นขาวเพราะเป็นผิวที่ไม่มีสนิมร้อนเหมือนเหล็กแผ่นรีดร้อน มีความสามารถในการปั๊มขึ้นรูปลึกมากกว่าขึ้นตามลำดับ โดยมากมักใช้กับงานขึ้นรูปที่เน้นคุณภาพผิวและเป็นการขึ้นรูปไม่ลึก เช่น ตัวถังรถยนต์ ตัวบอดี้เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ นำไปเคลือบดีบุกเพื่อผลิตกระป๋อง งานที่ปั้มขึ้นรูปลึก งานต้องการความบาง -เหล็กแผ่นเคลือบ ชุบผิวจะมีความหนาตั้งแต่ 0.1 –3.2 มม. 2. เหล็กแผ่นหนาจะมีความหนาตั้งแต่ 10 –200 มม. โดยมากมักใช้ในการต่อเรือ งานก่อสร้าง ท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ และงานผลิตหม้อต้มไอน้ำ (Boiler) ถ้าแบ่งเหล็กแผ่นตามองค์ประกอบทางเคมี แบ่งได้เป็น - เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าไม่เจือ - เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าเจือ - เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม เหล็กแผ่นที่เป็น เหล็กกล้าไม่เจือ (Unalloyed Steel Sheet) เป็นเหล็กกล้าที่มีปริมาณธาตุต่อไปนี้ปนอยู่ห้ามเกินพิกัด คือ ซิลิคอน 0.5%, แมงกานีส 0.8%,อะลูมิเนียมหรือไทเทเนียม 0.1% และทองแดง 0.25% เหล็กแผ่นที่เป็น เหล็กกล้าเจือ (Alloyed Steel) คือ เหล็กที่เจือธาตุต่าง ๆ นอกเหนือไปจากธาตุคาร์บอนและธาตุบางตัวที่ติดมา เนื่องจากกรรมวิธีการถลุง เช่น Mn Si Pธาตุที่เจือจะเจือกับโลหะดังต่อไป คือ โครเมียม นิกเกิล โมลิบดีนัม วุลแฟรม โคบอลต์ วาเนเดียม แมงกานีส ของการเติมธาตุเจือลงในเหล็กมีหลายประการคือ 1. เพิ่มสมบัติด้านการชุบแข็ง 2. ปรับปรุงความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติ และที่อุณหภูมิสูง 3. เพิ่มสมบัติต้านทานการสึกหรอ อันเนื่องมาจากการเสียดสีขณะใช้งาน 4. เพิ่มความเหนียวทนต่อแรงกระแทก 5. เพิ่มสมบัติต้านทานการกัดกร่อน 6. ปรังปรุงสมบัติด้านแม่เหล็ก เหล็กแผ่นที่เป็น เหล็กกล้าเจือ ยังแยกเป็น เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าเจือต่ำ (Low Alloy Steel) จะมีโลหะเจือไม่เกิน 5% เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าเจือสูง (High Alloy Steel) จะมีโลหะเจืออยู่เกิน 5% ร้าน รับ ตัด เหล็ก ตัด แก็ส ตามแบบ ตัด เหล็ก แผ่น เพลา ขาย เกรด SS400 รับ ตัด เหล็ก ขายเหล็กตัดแก๊ส ขายเหล็กตัดเลเซอร์ SS400 ขายพร้อมวัตถุดิบ เหล็ก แผ่น แดง ดำ ตัด laser เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าเจือต่ำ ส่วนใหญ่ จะใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ต้องรับแรงได้สูง มีความเหนียวดี เช่นเฟือง เพลาข้อเหวี่ยงและก้านสูบเป็นต้น โดยที่โครงสร้างสภาพใช้งานเป็น Tempered martensite(ผ่านการอบชุบก่อนใช้งาน) ยังแบ่งได้เป็น a) High strength low alloy steels (HSLA) 1. ธาตุเจือคือ Mn Si Ni Cr Cu P และ Moเป็นต้นรวมแล้วน้อยกว่า 5% 2. %C ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับนำไปชุบแข็ง 3. โครงสร้างหลักคือ Ferriteและมี Pearliteละเอียดกระจายอยู่ทั่วไป โดยธาตุเจือละลายเป็น Solid solutionอยู่ใน Ferrite 4. เหนียว เหมาะกับงานรีด ปั๊มขึ้นรูป เชื่อม เจาะ โครงรถยนต์ ก้ามปู ตัวถังรถยนต์ ล้อรถไฟ เป็นต้น 5. ข้อดีเหนือเหล็กธรรมดาคือ strengthและ toughnessสูงกว่า ทนการกระแทกดีกว่า เชื่อมได้ง่ายกว่า 6. Ultimate tensile strength 70,000 - 90,000psi (4,900 – 6,300 kg/cm2) b) Low – Alloy Engineering Steel (เหล็กกล้าเจือต่ำวิศวกรรม) 1. C อย่างน้อย 0.3%จึงชุบแข็งได้ดี ใช้สร้างชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหวรับแรงสูงในรถยนต์ เครื่องจักร และชุบได้ลึกโดยไม่เกิดแรงเค้นภายใน 2. Strengthสูงกว่า เหล็กธรรมดา ถึง 30 – 40% 3. ทนแรงกระแทกได้ดีกว่าเหล็กธรรมดา 2เท่า 4ธาตุเจือกลุ่มนี้ได้แก่ Ni Cr Moส่วนใหญ่ และอื่น ๆ คือ V, Si, Ti, B, Co 5. มักมี Mnปนอยู่เสมอ (0.4 – 1.00%)บางครั้งขึ้นถึง 1.65% 6. ตัด กลึงได้ง่าย (Free cutting steels)เศษ (chip) มักแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เหมาะกับเครื่องกลึงอัตโนมัติ 7. มี S 0.08 – 0.33%เพื่อให้ได้ Manganese sulfideกระจายทั่วไปทำให้เนื้อเหล็กเปราะขึ้นเล็กน้อย (ไม่นิยมให้มี Mnสูงในระหว่าง 2- 8%เพราะจะเปราะเกินไป) เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าเจือสูง มีธาตุเจือ 5%ขึ้นไปจนถึง 50%โดยแบ่งออกตามประโยชน์ใช้สอยเป็น 4กลุ่มคือ a) Stainless steels(เหล็กกล้าไร้สนิม) b) Heat resisting steels c) Tool steels d) Special steels เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม (Stainless steels) ก. เหล็กกล้าสเตนเลสหรือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steels) เป็นกลุ่มเหล็กที่มีโครเมียมผสมอยู่เป็นปริมาณมาก (มากกว่า 10%) อาจมีธาตุอื่น เช่น นิกเกิล แมงกานีส คาร์บอน โมลิบดินัมผสมอยู่ด้วย ข. โครเมียมทำให้เกิดฟิล์มออกไซด์เคลือบที่ผิวเหล็กทำให้เหล็กทนต่อการเป็นสนิมในบรรยากาศธรรมดาได้ดี การแบ่งกลุ่ม Stainless steels 1. Austenitic stainless steels. (Cr = 16-26%, Ni = 6-22%) มี Microstructure เป็น Austenite (g, FCC ไม่ติดแม่เหล็ก) 2. Ferritic Stainless steels (Cr = 1.5-27%, C = 0.08-0.2%) มี Microstructure เป็น Ferrite (a, BCC ติดแม่เหล็ก) อ่อน (soft) Ductile 3. Martensitie stainless steels (Cr = 11.5-18% , C = 0.15-1.2%) มี Microstructure เป็น martensitic แข็ง 4. Duplex stainless steels มี Microstructure ผสมกันของทั้ง Austenitic และ Ferritic 5. Precipitation hardening stainless steels แข็งมาก โดยไม่ต้องชุบแข็ง ชื่อจะมีคำ PH ต่อท้าย เหล็กแผ่นที่เป็นเหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบโลหะผสมสังกะสี อีกกลุ่มหนึ่งของเหล็กแผ่นคือ เหล็กแผ่นเคลือบ ชุบผิวซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบโลหะผสมสังกะสี เป็นเหล็กกล้าชนิดแผ่นที่มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนในสภาพบรรยากาศทั่วไปเหนือกว่าเหล็กกล้าชนิดแผ่นธรรมดา โดยทั่วไปเหล็กจะถูกกัดกร่อนได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กระบวนการกัดกร่อนเกิดจากการรวมตัวของเนื้อเหล็กกับออกซิเจนเป็นออกไซด์ของเหล็กซึ่งมีอยู่หลายประเภท การเคลือบเหล็กแผ่นด้วยสังกะสีเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี โดยชั้นเคลือบสังกะสีจะทำหน้าที่ 2ประการคือ 1. ป้องกันเนื้อเหล็กจากการสัมผัสกับบรรยากาศภายนอก 2. สังกะสีจะทำหน้าที่ผุกร่อนแทนเหล็ก (Sacrificial protection)ในบริเวณขอบตัดของแผ่นเหล็กหรือบริเวณที่เกิดรอยขีดข่วน ดังนั้นเนื้อเหล็กจะคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนกว่าชั้นเคลือบสังกะสีในบริเวณนั้นจะผุกร่อนจะหมด วิธีการนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในการป้องกันเหล็กจากการเกิดสนิม เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบโลหะผสมสังกะสีมีหลายชนิดด้วยกัน โดยขึ้นกับกระบวนการผลิตและส่วนผสมของชั้นเคลือบ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเหล็กกล้าเคลือบโลหะผสมสังกะสี 5 กลุ่มใหญ่ดังต่อไปนี้ 1. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized; HDG) เป็นเหล็กกล้าที่เคลือบสังกะสีโดยการผ่านเหล็กกล้าชนิดแผ่นลงในอ่างสังกะสีหลอมเหลว ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ดีและมีคุณสมบัติการทาสีติด (Printability) ความสามารถในการเชื่อมและการบัดกรีที่ดี แต่เนื่องจากจุดหลอมเหลวของชั้นสังกะสีมีอุณหภูมิต่ำกว่าชั้นเหล็กกล้า ดังนั้นความสามารถในการเชื่อมแบบต่อเนื่องจึงลดลง โดยเป็นผลมาจากสังกะสีที่ติดกับแท่งอิเลคโทรดในขณะทำการเชื่อม ส่วนการบัดกรีจะทำได้ง่ายหากใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม ได้แก่ ทองเหลืองและตะกั่ว นอกจากนี้การเคลือบโครเมตภายหลังการเคลือบสังกะสีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการบัดกรีได้มากยิ่งขึ้นด้วย ข้อจำกัดในการใช้งานคือไม่ควรใช้งานภายใต้สภาวะที่มีการกัดกร่อนที่รุนแรง เช่น บริเวณชายฝั่งทะเล เขตอุตสาหกรรม ตัวอย่างการใช้งาน เช่น กรอบประตู พื้นสำเร็จรูป ผนังภายในและภายนอกอาคาร อุปกรณ์ระบายความร้อน ท่อระบายอากาศ 2. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อนและอบ (Galvannealหรือ Iron-Zinc coating, IZ) เป็นเหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเช่นเดียวกับ HDG แต่ต่างกันที่ภายหลังจากการเคลือบผิวด้วยสังกะสี เหล็กกล้าชนิดแผ่นจะถูกส่งผ่านไปยังเตาอบ เพื่อเร่งให้เกิดชั้นของสารประกอบ Zn-Fe ผิวชั้นเคลือบที่ได้จะมีลักษณะสีเทาด้าน (matt gray) สม่ำเสมอและไม่มีลวดลายแพรวพราว (spangle) ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบด้วยวิธีนี้จะมีความสามารถในการทาสีติดและความสามารถในการเชื่อมแบบ spot และ seam เหนือกว่าเหล็กกล้าเคลือบด้วยวิธี HDG เนื่องจากชั้นเคลือบสังกะสีของ HDG มีความสามารถนำไฟฟ้าต่ำกว่าชั้นของแผ่นเหล็ก อีกทั้งจุดหลอมเหลวก็ยังต่ำกว่าแผ่นเหล็กด้วย ส่วนชั้นเคลือบ Zn-Fe ของเหล็ก Galvanneal มีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่าและมีความแข็งมากกว่าเมื่อเทียบกับ HDG ดังนั้นความสามารถในการเชื่อมจึงเทียบเท่าได้กับแผ่นเหล็กซึ่งเป็นโลหะพื้น เหล็กกล้าเคลือบแบบ IZ นี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนตัวถังภายนอกที่ต้องการคุณสมบัติของการทาสี และการเชื่อมที่ดี รวมถึงใช้ในการผลิตถังน้ำมันรถยนต์ เป็นต้น 3. Galvalume(Zincalume) เป็นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเหมือนกับ HDG แต่ต่างกันที่ส่วนผสมภายในอ่างชุบ โดยวิธีนี้จะใช้อลูมิเนียม 55% ซิลิคอน 1.6% และที่เหลือเป็นสังกะสี (JIS Handbook: Ferrous Material & Metallurgy II 2001) โดยธาตุผสมของชั้นเคลือบเหล่านี้จะมีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันคือ - อลูมิเนียม เพิ่มความทนทานต่อการใช้งาน (durability) การป้องกันการกัดกร่อนในตัวเอง และเพิ่มความต้านทานต่อระดับความร้อนที่อุณหภูมิสูง (high temperature resistant) - สังกะสี เพิ่มการป้องกันการกัดกร่อนโดยการผุกร่อนแทนเหล็ก (sacrificial protection) การใช้งานของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ เช่น งานที่ต้องการคุณสมบัติทนความร้อน สะท้อนแสงและความร้อนได้ดี การใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น หลังคา ฝาผนัง ท่อ รางน้ำ เหล็กโครงสร้าง รั้ว ป้าย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนรุนแรง โดยมีระยะเวลาการใช้งานนานกว่าผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแบบ HDG และ Galfan ถึง 2-4 เท่าโดยขึ้นกับสภาวะการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการใช้งานอื่นๆ เช่น ท่อไอเสีย ชิ้นส่วนภายในเครื่องซักผ้า เตาปิ้งขนมปัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อจำกัดประการสำคัญ คือ ความสามารถในการเชื่อมที่อยู่ในระดับต่ำ โดยไม่สามารถทำการเชื่อมที่ระดับกระแสไฟฟ้าสูงได้ และไม่สามารถทำการบัดกรีได้ 4. Galfan (Galvanized fantastic steel) เป็นเหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนที่เหมือนกับ HDG แต่ต่างกันที่ส่วนผสมภายในอ่างชุบ โดยการเคลือบแบบ Galfanนี้จะมีส่วนผสมของอลูมิเนียมใกล้จุดยูเทคติคคือประมาณ 5%(Zn-5Al) (โดยมีการผลิตทั้ง Zn-4Al และ Zn-7Al) ซึ่งโครงสร้างที่ได้จะมีขนาดละเอียดโดยเป็นผลมาจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วหลังจากการเคลือบ ผลิตภัณฑ์นี้มีคุณสมบัติทาสีติดดี และผิวชั้นเคลือบไม่มีลวดลายแพรวพราว (spangle)จึงไม่มีการแตกของ spangle ในระหว่างการขึ้นรูป แต่ข้อจำกัดที่สำคัญคือความสามารถในการเชื่อมอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น การใช้งานของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ เช่น heatexchanger, ventilator housing,garage doors, sign posts, window frames 5. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า (Electrogalvanized steel) กระบวนการนี้เป็นการเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้าภายในอ่างชุบ โดยมีส่วนประกอบ คือ ขั้วบวก ขั้วลบ และสารละลายอิเลคโทรไลท์ ซึ่งได้แก่ สารละลายสังกะสีซัลเฟต (zinc sulfate)โดยสังกะสีจะเคลือบลงบนแผ่นเหล็กในลักษณะเป็นอิออน ซึ่งจะต่างไปจากวิธีจุ่มร้อนที่เป็นสารละลายของเหลวติดบนแผ่นเหล็ก ดังนั้นประสิทธิภาพในการเคลือบด้วยวิธีทางไฟฟ้าจึงสูงกว่า จากนั้นจะนำไปเคลือบด้วยฟอสเฟต (phosphate treatment; P) หรือโครเมต (Chromate treatment; C) ซึ่งการเคลือบฟอสเฟตจะช่วยให้ความสามารถในการทาสีติดดียิ่งขึ้น ส่วนโครเมตข่วยเพิ่มความสามารถต้านทานการกัดกร่อนและป้องกันคราบต่างๆ ได้ ข้อดีของการเคลือบประเภทนี้ คือ สามารถทำการเคลือบผิวโดยที่ความหนาในแต่ละด้านไม่จำเป็นต้องเท่ากันได้ เนื่องจากการเคลือบทำที่อุณหภูมิห้อง ดังนั้นความสามารถในการขึ้นรูปจะขึ้นกับคุณสมบัติของเหล็กกล้าชนิดแผ่นเป็นหลัก โดยไม่มีผลของความร้อนเหมือนการผลิตแบบจุ่มร้อนที่เหล็กแผ่นจะได้รับความร้อนในขณะเคลือบและถูกทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์เคลือบสังกะสีด้วยวิธีทางไฟฟ้ามีความสามารถในการขึ้นรูป การทาสีติด และการเชื่อมที่ดีเยี่ยม การใช้งาน เช่น ตัวถังและชิ้นส่วนภายนอกรถยนต์ ฝาครอบของมอเตอร์ ฝาครอบคอมพิวเตอร์ panelsfor communications equipmentเป็นต้น การเจาะจงชนิดของเหล็กแผ่นจึงจำเป็นต้องระบุทั้งประเภทตามรูปร่างและตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น - เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ - เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดเหล็กกล้าคาร์บอนสูง - เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อน กรณีนี้อาจจะไม่ต้องระบุองค์ประกอบทางเคมี เพราะมักจะเป็นเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ - เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า แบบเคลือบด้วยฟอสเฟต ชนิดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือภาษาตลาดเรียกว่า เหล็กแผ่นชุบซิ้งค์ฟ้า - เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า แบบเคลือบด้วยโครเมต ชนิดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือภาษาตลาดเรียกว่า เหล็กแผ่นชุบซิ้งค์เทา - เหล็กแผ่นหนาชนิดเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง ขายพร้อมวัสดุ บริการจัดส่ง เหล็กตัดแก๊ส ราคาถูก ติดต่อเรา ...................... บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด 34/7 ม.7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 087-6039752 02-1863711,02-1863713 Fax.02-1863712 E-Mail : asianplussupply@hotmail.com

แผนที่

สินค้าอื่นของผู้ประกาศท่านนี้

รายการสินค้าใกล้เคียง