Articles

เข้าใจหลักการเลือกใช้ฉนวนให้ประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ และตู้แช่

3074

ฉนวนป้องกันหยดน้ำ เป็นส่วนเล็ก ๆ ที่อยู่ในระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ หรือระบบตู้แช่ ทำหน้าที่ป้องกันการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของน้ำเย็น หรือน้ำยาทำความเย็นในระบบดังกล่าว ในแบบที่ระบุไว้ในแบบของงานระบบส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดคุณสมบัติของฉนวนไว้พร้อมแล้ว เช่น มีค่าการนำความร้อน (K-value) ต่ำ ค่าความหนาแน่นในช่วงหนึ่ง หรือมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ เป็นต้น โดยคุณสมบัติเหล่านี้มีเหตุผลหลายประการซ่อนอยู่ เพื่อให้ผู้ออกแบบได้เข้าใจยิ่งขึ้นถึงปัจจัย ที่มีผลต่ออายุการใช้งานของระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ และตู้แช่ บทความนี้จะนำเสนอในส่วนของหน้าที่ฉนวนและเหตุผลที่แตกต่างกันไป

ISO/TS 16949:2002 ระบบบริหารคุณภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ ตอนที่ 11

4981

ตอนที่ 11 การควบคุมเครื่องมือวัด และห้องปฏิบัติการ ในการควบคุมการผลิต เครื่องมือวัด รวมถึงเครื่องมือตรวจสอบและทดสอบ จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ มีความสอดคล้องตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนด รวมถึงสอดคล้องตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้นความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจสอบและทดสอบ รวมไปถึงห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการทดสอบ ตรวจสอบ หรือสอบเทียบเครื่องมือวัด จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เครื่องมือวัดที่ดี จะต้องให้ผลการวัดที่ถูกต้อง มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และนำไปสู่การตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธผลิตภัณฑ์และกระบวนการได้อย่างถูกต้อง เนื้อหาในมาตรฐาน ISO/TS 16949:2002 ได้มีการระบุข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจสอบและห้องปฏิบัติการ ไว้ในข้อกำหนดส่วนที่ 7 ข้อที่ 7.6 โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ การควบคุมเครื่องมือวัด การสอบเทียบ การวิเคราะห์ระบบการวัด และการควบคุมห้องปฏิบัติการทั้งภายใน (Internal Laboratory) และห้องปฏิบัติภายนอก (External Laboratory)

Chiller Plant Optimization

2881

ระบบทำน้ำเย็นใช้ไฟฟ้า เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อการปรับสภาพอากาศในโรงงาน และน้ำเย็นสำหรับกระบวนการผลิต และระบบทำน้ำเย็นก็เป็นระบบที่ใช้พลังงานสูงในอันดับต้น ๆ ของอุปกรณ์เครื่องจักรในโรงงาน ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำเย็นก็พยายามที่จะพัฒนาเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้พลังงานน้อยลง และตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี ที่ผ่านมาประสิทธิภาพเครื่องทำน้ำเย็นได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นกว่า 2 เท่า ประสิทธิภาพของเครื่องทำน้ำเย็นมี COP ถึง 7.8 หรือ 0.45 kW/RT ดังรูปที่ 1 อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดตามวัฏจักรของคาร์นอท (Carnot Cycle) COP สูงสุดจะอยู่ที่ 8.33 ทำให้การพัฒนาเครื่องทำน้ำเย็นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะยากขึ้นดังรูปที่ 2 ประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นแบบไม่เป็นสัดส่วนกับต้นทุนวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนความร้อนอย่างมากเพื่อจะให้ได้ประสิทธิภาพอุดมคติ ดังนั้นในการเพิ่มประสิทธิภาพอาจจะต้องพิจารณาการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบไม่ใช่มองเฉพาะเครื่องทำน้ำเย็นอย่างเดียว

Page : [First] [Prev] 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 [Next] [Last]